นายวิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ขณะนี้ประเทศไทยเข้าสู่ฤดูฝน การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศในฤดูกาลนี้เป็นสาเหตุให้โรคหลายชนิด สามารถแพร่ระบาดได้ง่ายและรวดเร็ว ที่สำคัญ เช่น โรคไข้เลือดออก โรคฉี่หนู โรคไข้หวัดใหญ่ ไข้มาลาเรีย โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน โรคบิด โรคไข้สมองอักเสบเจอี โรคเยื่อบุตาอักเสบหรือโรคตาแดง โรคปอดอักเสบ และโรคไข้หวัดนก ได้สั่งการให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด โรงพยาบาลทุกแห่ง จับตาเป็นพิเศษ ตั้งแต่เดือนมิถุนายน-สิงหาคม 2552 เป็นช่วง 90 วันอันตราย ให้แพทย์ตรวจคัดกรองผู้ป่วยโดยละเอียด และโรคที่ต้องติดตามต่อเนื่อง 2 โรค คือ โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิดเอ เอช 1 เอ็น 1 ซึ่งเป็นโรคระบาดใหม่ที่ขณะนี้พบการระบาดในประเทศ และโรคไข้หวัดนกที่มีแหล่งแพร่ระบาดมาจากสัตว์ปีก โดยเฉพาะโรคไข้หวัดนกไทยไม่พบติดเชื้อในคนมาเป็นเวลาเกือบ 3 ปี แต่ประมาทไม่ได้ เพราะหากเกิดขึ้นในฤดูฝน เชื้ออาจผสมข้ามสายพันธุ์กับเชื้อไข้หวัดใหญ่ในคนที่อยู่ในช่วงระบาดในฤดูฝนได้
ทางด้านนายแพทย์ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุขโดยกรมควบคุมโรค ได้ออกประกาศเตือนประชาชนในการป้องกันโรคติดต่อที่มักเกิดขึ้นในฤดูฝน จัดส่งให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ประชาชนในการป้องกัน โดยมี 5 กลุ่ม รวม 15 โรค ได้แก่ กลุ่มโรคติดต่อของระบบทางเดินอาหาร ที่พบบ่อย ได้แก่ โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน บิด ไทฟอยด์ อาหารเป็นพิษ ตับอักเสบ กลุ่มโรคติดเชื้อผ่านทางบาดแผลหรือเยื่อบุผิวหนัง ที่พบบ่อยคือ โรคเลปโตสไปโรซิส หรือไข้ฉี่หนู
กลุ่มโรคระบบทางเดินหายใจ ที่พบบ่อยได้แก่ โรคหวัด ไข้หวัดใหญ่ คออักเสบ หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบหรือปอดบวม กลุ่มโรคติดต่อที่เกิดจากยุง ที่สำคัญ 3 โรค ได้แก่ ไข้เลือดออก มียุงลายเป็นพาหะนำโรค ซึ่งกว่าร้อยละ 80 เป็นยุงลายที่อยู่ในบ้าน ไข้สมองอักเสบเจอี (Japanese Encephalitis) มียุงรำคาญ มักแพร่พันธุ์ในแหล่งน้ำตามทุ่งนาเป็นตัวนำโรค และโรคมาลาเรีย มียุงก้นปล่องที่อยู่ในป่า เป็นพาหะนำโรค และโรคเยื่อบุตาอักเสบหรือโรคตาแดง ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสที่อยู่ในน้ำสกปรกกระเด็นเข้าตา
ทั้งนี้ จากการเฝ้าระวัง 15 โรคดังกล่าว ตลอดเดือนพฤษภาคม 2552 พบผู้เสียชีวิตแล้ว 13 ราย โดยเสียชีวิตจากปอดบวม 8 ราย อุจจาระร่วงเฉียบพลัน 3 ราย และไข้เลือดออกและไข้สมองอักเสบ อย่างละ 1 ราย สถานการณ์โดยทั่วไปอยู่ในเกณฑ์ที่ควบคุมได้
ขณะที่นายแพทย์หม่อมหลวงสมชาย จักรพันธุ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า อาการนำของโรคติดเชื้อที่เป็นลักษณะเด่นหลักๆ คือ อาการไข้ ดังนั้นในช่วงนี้ หากมีไข้สูงและเช็ดตัวหรือกินยาลดไข้แล้วไม่ดีขึ้น หรือไข้ยังไม่ลดภายใน 3 วัน แนะนำว่าควรไปพบแพทย์ ไม่ควรซื้อยาปฏิชีวนะกินเอง เพื่อรับการตรวจรักษาที่ถูกกับโรค โดยเฉพาะถ้าเป็นกับเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจำตัว
อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวต่อว่า ยาลดไข้ที่ต้องระมัดระวังในการใช้ คือยาจำพวกแอสไพริน ห้ามกินอย่างเด็ดขาด เพราะมีอันตรายกับบางโรค ที่สำคัญ 3 โรค คือ โรคไข้เลือดออก โรคไข้หวัดใหญ่ และโรคไข้ฉี่หนู ซึ่งโรคดังกล่าวจะทำให้มีเลือดออกตามอวัยวะต่างๆ ในร่างกายอยู่แล้ว หากได้รับยาแอสไพริน ซึ่งมีสารป้องกันเลือดแข็งตัวเข้าไปอีก จะทำให้เลือดออกได้ง่ายขึ้นทำให้เสียชีวิตได้ง่ายขึ้น
ทางด้านนายแพทย์ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุขโดยกรมควบคุมโรค ได้ออกประกาศเตือนประชาชนในการป้องกันโรคติดต่อที่มักเกิดขึ้นในฤดูฝน จัดส่งให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ประชาชนในการป้องกัน โดยมี 5 กลุ่ม รวม 15 โรค ได้แก่ กลุ่มโรคติดต่อของระบบทางเดินอาหาร ที่พบบ่อย ได้แก่ โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน บิด ไทฟอยด์ อาหารเป็นพิษ ตับอักเสบ กลุ่มโรคติดเชื้อผ่านทางบาดแผลหรือเยื่อบุผิวหนัง ที่พบบ่อยคือ โรคเลปโตสไปโรซิส หรือไข้ฉี่หนู
กลุ่มโรคระบบทางเดินหายใจ ที่พบบ่อยได้แก่ โรคหวัด ไข้หวัดใหญ่ คออักเสบ หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบหรือปอดบวม กลุ่มโรคติดต่อที่เกิดจากยุง ที่สำคัญ 3 โรค ได้แก่ ไข้เลือดออก มียุงลายเป็นพาหะนำโรค ซึ่งกว่าร้อยละ 80 เป็นยุงลายที่อยู่ในบ้าน ไข้สมองอักเสบเจอี (Japanese Encephalitis) มียุงรำคาญ มักแพร่พันธุ์ในแหล่งน้ำตามทุ่งนาเป็นตัวนำโรค และโรคมาลาเรีย มียุงก้นปล่องที่อยู่ในป่า เป็นพาหะนำโรค และโรคเยื่อบุตาอักเสบหรือโรคตาแดง ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสที่อยู่ในน้ำสกปรกกระเด็นเข้าตา
ทั้งนี้ จากการเฝ้าระวัง 15 โรคดังกล่าว ตลอดเดือนพฤษภาคม 2552 พบผู้เสียชีวิตแล้ว 13 ราย โดยเสียชีวิตจากปอดบวม 8 ราย อุจจาระร่วงเฉียบพลัน 3 ราย และไข้เลือดออกและไข้สมองอักเสบ อย่างละ 1 ราย สถานการณ์โดยทั่วไปอยู่ในเกณฑ์ที่ควบคุมได้
ขณะที่นายแพทย์หม่อมหลวงสมชาย จักรพันธุ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า อาการนำของโรคติดเชื้อที่เป็นลักษณะเด่นหลักๆ คือ อาการไข้ ดังนั้นในช่วงนี้ หากมีไข้สูงและเช็ดตัวหรือกินยาลดไข้แล้วไม่ดีขึ้น หรือไข้ยังไม่ลดภายใน 3 วัน แนะนำว่าควรไปพบแพทย์ ไม่ควรซื้อยาปฏิชีวนะกินเอง เพื่อรับการตรวจรักษาที่ถูกกับโรค โดยเฉพาะถ้าเป็นกับเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจำตัว
อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวต่อว่า ยาลดไข้ที่ต้องระมัดระวังในการใช้ คือยาจำพวกแอสไพริน ห้ามกินอย่างเด็ดขาด เพราะมีอันตรายกับบางโรค ที่สำคัญ 3 โรค คือ โรคไข้เลือดออก โรคไข้หวัดใหญ่ และโรคไข้ฉี่หนู ซึ่งโรคดังกล่าวจะทำให้มีเลือดออกตามอวัยวะต่างๆ ในร่างกายอยู่แล้ว หากได้รับยาแอสไพริน ซึ่งมีสารป้องกันเลือดแข็งตัวเข้าไปอีก จะทำให้เลือดออกได้ง่ายขึ้นทำให้เสียชีวิตได้ง่ายขึ้น