จิตแพทย์ชี้วิกฤตการเมืองซ้ำเติมปัญหาข้าวยากหมากแพงทำให้คนเครียดมากขึ้น แนะใช้สติ อยู่ในกติกา ยิ้มสู้ มองปัญหาแง่บวก ระบุแบ่งขั้ว เห็นขัดแย้งเรื่องปกติแต่ต้องเคารพความเห็นซึ่งกันและกัน ไม่ใช้ความรุนแรง
นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน ผู้อำนวยการสำนักสุขภาพจิตสังคม กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า สถานการณ์ทางการเมืองขณะนี้ส่งผลกระทบต่อประชาชนทำให้เครียดมากยิ่งขึ้น เป็นการซ้ำเติมปัญหาความเครียดที่มีมากอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นความเครียดระดับบุคคล ในทุกเพศ ทุกวัย เช่น เด็กๆ ที่ต้องแข่งขันกันอย่างสูง คนที่ตกงาน คนที่เป็นโรคภัยไข้เจ็บ ขยายไปสู่ความเครียดระกับครอบครัว เกิดความขัดแย้งกัน รวมถึงระดับความเครียดระดับสังคม ที่น้ำมันแพง ข้าวของทุกสิ่งแพงขึ้น ไม่มีความปลอดภัยในการดำรังชีวิต ทรัพย์สินสูญหาย เหล่านี้แม้ไม่มีการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องก็หนักหนาอยู่แล้ว การเมืองจึงน่าจะเป็นคำตอบ เป็นตัวช่วยให้ปัญหาทุเลาเบาบางลง ไม่ใช่เป็นตัวที่เพิ่มปัญหา และเชื่อว่าหากไทยมีการเมืองที่ดีจะช่วยให้ผ่านพ้นปัญหาต่างๆ ได้
นพ.ทวีศิลป์ กล่าวต่อว่า จะเห็นได้ชัดว่าขณะนี้มีการเผชิญหน้ากันทั้ง 2 ฝ่าย ซึ่งทำให้เกิดความตึงเครียด ซึ่งจะนำไปสู่การเกิดวิกฤตหรือไม่ในอนาคตไม่สามารถตอบได้ แต่เราควรจะเกิดการเรียนรู้จาก บทเรียนที่ผ่านมาไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์เมื่อ 2 ปีที่แล้ว หรือย้อนไปเมื่อ 16 และ 14 ตุลาคม อยากให้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นจุดเปลี่ยนของสังคม โดยการสร้างความเข้าใจ และพัฒนายกระดับจิตใจ ซึ่งประชาธิปไตยในขณะนี้ถือว่ามีพัฒนาการที่ดีขึ้นเรื่อยๆ แม้จะมีม็อบหรือมีปะทะกันบ้าง ก็ถือเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้ ในต่างประเทศอย่างสหรัฐอเมริกาก็มีการแบ่งขั้นการเมืองอย่างชัดเจน แต่ก็สามารถอยู่ได้ แต่ที่สำคัญ คือ ขอให้ทั้งผู้นำม็อบ และผู้ที่อยู่ในกลุ่มม็อบมีสติ จะทำอะไรก็ควรคิดให้มาก ต่างฝ่ายต่างต้องเคารพกฎกติกา
“อย่าคิดถึงกลุ่มหรือพวกของตนเองมาก ให้คิดถึงประโยชน์ของประเทศชาติ เพราะหากเป้าหมายของทุกคนคือเพื่อประเทศชาติแล้ว ก็จะช่วยให้ต่างมีคำตอบที่ตรงกันในทิศทางเดียวกันทั้งสิ้น ความสูญเสียหรือความขัดแย้งก็จะไม่เกิดขึ้นเลย นอกจากนี้ ทุกสถาบันควรจะร่วมมือร่วมใจช่วยกันกอบกู้แก้ไขวิกฤต ถ้าสถาบันอ่อนแอประชาชนจะหาหลักยึดไม่ได้จะเกิดความระส่ำระสายกันไปหมด” นพ.ทวีศิลป์กล่าว
ผู้อำนวยการสำนักสุขภาพจิตสังคม กล่าวด้วยว่า การเมืองถือเป็นเรื่องที่ความระเอียดอ่อน เหมือนกับศาสนา ฉะนั้น หากพูดถึงเรื่องการเมือง หรือศาสนาควรระมัดระวัง แม้ความคิดจะแตกต่างกันได้ แต่ก็ต้องเคารพความเห็นของกันและกันด้วย ที่สำคัญไม่ควรรอให้ปัญหาถึงวิกฤตจนถึงที่สุด สังคมไทยควรจะใช้วิธีการยิ้มสู้ คิดในเชิงบวกมองว่าทุกคนมีความสนใจในเรื่องการเมืองมากขึ้นเป็นเรื่องดี เพียงแต่อย่ามีอารมณ์ร่วมกับการเมืองมาก อย่าตีความเข้าข้างตนเอง ให้ใช้ช่องทางที่เหมาะสมในการแสดงออกทางประชาธิปไตย โดยไม่ใช้กำลังทำร้ายฝ่ายที่มีความเห็นไม่เหมือนกันให้เงียบเสียงแต่เปิดรับฟังความเห็นของผู้อื่น และยึดเสียงส่วนมากเป็นหลัก ซึ่งเป็นหลักของประชาธิปไตยอยู่แล้ว
นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน ผู้อำนวยการสำนักสุขภาพจิตสังคม กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า สถานการณ์ทางการเมืองขณะนี้ส่งผลกระทบต่อประชาชนทำให้เครียดมากยิ่งขึ้น เป็นการซ้ำเติมปัญหาความเครียดที่มีมากอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นความเครียดระดับบุคคล ในทุกเพศ ทุกวัย เช่น เด็กๆ ที่ต้องแข่งขันกันอย่างสูง คนที่ตกงาน คนที่เป็นโรคภัยไข้เจ็บ ขยายไปสู่ความเครียดระกับครอบครัว เกิดความขัดแย้งกัน รวมถึงระดับความเครียดระดับสังคม ที่น้ำมันแพง ข้าวของทุกสิ่งแพงขึ้น ไม่มีความปลอดภัยในการดำรังชีวิต ทรัพย์สินสูญหาย เหล่านี้แม้ไม่มีการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องก็หนักหนาอยู่แล้ว การเมืองจึงน่าจะเป็นคำตอบ เป็นตัวช่วยให้ปัญหาทุเลาเบาบางลง ไม่ใช่เป็นตัวที่เพิ่มปัญหา และเชื่อว่าหากไทยมีการเมืองที่ดีจะช่วยให้ผ่านพ้นปัญหาต่างๆ ได้
นพ.ทวีศิลป์ กล่าวต่อว่า จะเห็นได้ชัดว่าขณะนี้มีการเผชิญหน้ากันทั้ง 2 ฝ่าย ซึ่งทำให้เกิดความตึงเครียด ซึ่งจะนำไปสู่การเกิดวิกฤตหรือไม่ในอนาคตไม่สามารถตอบได้ แต่เราควรจะเกิดการเรียนรู้จาก บทเรียนที่ผ่านมาไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์เมื่อ 2 ปีที่แล้ว หรือย้อนไปเมื่อ 16 และ 14 ตุลาคม อยากให้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นจุดเปลี่ยนของสังคม โดยการสร้างความเข้าใจ และพัฒนายกระดับจิตใจ ซึ่งประชาธิปไตยในขณะนี้ถือว่ามีพัฒนาการที่ดีขึ้นเรื่อยๆ แม้จะมีม็อบหรือมีปะทะกันบ้าง ก็ถือเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้ ในต่างประเทศอย่างสหรัฐอเมริกาก็มีการแบ่งขั้นการเมืองอย่างชัดเจน แต่ก็สามารถอยู่ได้ แต่ที่สำคัญ คือ ขอให้ทั้งผู้นำม็อบ และผู้ที่อยู่ในกลุ่มม็อบมีสติ จะทำอะไรก็ควรคิดให้มาก ต่างฝ่ายต่างต้องเคารพกฎกติกา
“อย่าคิดถึงกลุ่มหรือพวกของตนเองมาก ให้คิดถึงประโยชน์ของประเทศชาติ เพราะหากเป้าหมายของทุกคนคือเพื่อประเทศชาติแล้ว ก็จะช่วยให้ต่างมีคำตอบที่ตรงกันในทิศทางเดียวกันทั้งสิ้น ความสูญเสียหรือความขัดแย้งก็จะไม่เกิดขึ้นเลย นอกจากนี้ ทุกสถาบันควรจะร่วมมือร่วมใจช่วยกันกอบกู้แก้ไขวิกฤต ถ้าสถาบันอ่อนแอประชาชนจะหาหลักยึดไม่ได้จะเกิดความระส่ำระสายกันไปหมด” นพ.ทวีศิลป์กล่าว
ผู้อำนวยการสำนักสุขภาพจิตสังคม กล่าวด้วยว่า การเมืองถือเป็นเรื่องที่ความระเอียดอ่อน เหมือนกับศาสนา ฉะนั้น หากพูดถึงเรื่องการเมือง หรือศาสนาควรระมัดระวัง แม้ความคิดจะแตกต่างกันได้ แต่ก็ต้องเคารพความเห็นของกันและกันด้วย ที่สำคัญไม่ควรรอให้ปัญหาถึงวิกฤตจนถึงที่สุด สังคมไทยควรจะใช้วิธีการยิ้มสู้ คิดในเชิงบวกมองว่าทุกคนมีความสนใจในเรื่องการเมืองมากขึ้นเป็นเรื่องดี เพียงแต่อย่ามีอารมณ์ร่วมกับการเมืองมาก อย่าตีความเข้าข้างตนเอง ให้ใช้ช่องทางที่เหมาะสมในการแสดงออกทางประชาธิปไตย โดยไม่ใช้กำลังทำร้ายฝ่ายที่มีความเห็นไม่เหมือนกันให้เงียบเสียงแต่เปิดรับฟังความเห็นของผู้อื่น และยึดเสียงส่วนมากเป็นหลัก ซึ่งเป็นหลักของประชาธิปไตยอยู่แล้ว