จิตแพทย์ ชี้อย่าซ้ำเติม “ปอม” รวมทั้งครอบครัว เผยเหตุฆ่าตัวตายส่งผลกระทบคนรอบข้างทั้งหมด อาจส่งผลให้เกิดอาการซึมเศร้า อย่าโทษตัวเอง หมั่นพูดคุย เตรียมเผยแพร่ 2 คำถาม ให้ประชาชนตรวจสอบภาวะซึมเศร้าอย่างง่าย
นพ.มล.สมชาย จักรพันธุ์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวถึงภาวะด้านสุขภาพจิตของ แฟนหนุ่ม ของ “พลอย” อาจารย์สาวเอแบค-อดีตดาวจุฬาฯ ซึ่งโดดตึกฆ่าตัวตาย ที่ขณะนี้ยังเก็บตัวเงียบไม่เข้าให้การกับตำรวจ ว่า การสูญเสียบุคคลที่รัก ไม่ว่าจะเป็นครอบครัว คนรัก หรือเพื่อน ต่างก็จะได้รับผลกระทบในเรื่องความเศร้าโศก และยิ่งเป็นการตายที่ไม่ได้เกิดจากธรรมชาติ เป็นการฆ่าตัวตาย ทางวิชาการพบว่า เมื่อมีคนฆ่าตัวตาย 1 คน จะส่งผลกระทบกับคนใกล้ชิดทั้งหมด ไม่ว่าจะมีกี่คนก็ตาม และไม่ว่าจะมีความเกี่ยวข้องมากหรือน้อย โดยเฉพาะหากเป็นคนใกล้ตัวที่ได้รับรู้ความทุกข์ ปัญหาของผู้ตาย ก็จะทำให้เกิดความรู้สึกผิด หรือเกิดตราบาปขึ้น ว่า ไม่สามารถช่วยเหลือได้ หรือไม่ได้ดูแลอย่างดี ซึ่งยิ่งทำให้รู้สึกผิดมากขึ้น และหากได้เห็นภาพการฆ่าตัวตายทั้งโดยตรงหรือจากหน้าหนังสือพิมพ์ ก็จะยิ่งทำให้เกิดความรู้สึกไม่ดีมากยิ่งขึ้น
“ความรู้สึกอย่างแรกของผู้ที่ได้รับผลกระทบ คือ โศกเศร้า และหากมีความรู้สึกผิดหรือโทษตัวเองมากขึ้น ก็อาจทำให้เกิดอาการซึมเศร้าตามมาได้ ซึ่งคนใกล้ชิดต้องพูดคุยดูแลซึ่งกันและกัน ไม่โทษว่าเป็นความผิดของใคร ไม่ตอกย้ำถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เพราะคนฆ่าตัวตายนั้น ส่วนมากจะเกิดจากหลายสาเหตุ ไม่ใช่สาเหตุใด สาเหตุหนึ่ง และส่วนใหญ่จะมีโรค คือ โรคซึมเศร้า เป็นทุนเดิม ทำให้เกิดการฆ่าตัวตายได้ เพราะขณะนี้ โรคซึมเศร้ามีอัตราของผู้ป่วยมากเป็นอันดับ 2 รองจากโรคหัวใจ ทำให้กระบวนการตัดสินใจของแต่ละคนไม่เหมือนกัน”นพ.มล.สมชาย กล่าว
นพ.มล.สมชาย กล่าวต่อว่า ปัจจัยอีกประการที่ทำให้เกิดความรู้สึกผิดบาป คือ การเห็นภาพการตายทั้งทางตรง คือ เห็นด้วยตัวเอง หรือทางอ้อม คือ จากสื่อต่างๆ ดังนั้น การนำเสนอข่าว หรือ ภาพต่างๆ ควรต้องเคารพความสูญเสียของครอบครัวนั้นๆ เหตุการณ์แบบนี้ สร้างบาดแผลในจิตใจให้กับครอบครัว คนรัก และเพื่อนของผู้ตายอยู่แล้ว การนำเสนอเรื่องราวต่างๆ จึงต้องเคารพเหมือนเป็นญาติของตนเอง และนำเสนออย่างสร้างสรรค์ โดยการให้ความรู้เพื่อให้ผู้อื่นเกิดความตระหนัก และดูแลคนรอบข้าง เพื่อเฝ้าระวังไม่ให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นอีก
นพ.ม.ล.สมชาย กล่าวต่อว่า กรมสุขภาพจิต กำลังทำแบบสอบถามเพื่อให้ประชาชนทั่วไป มีความรู้เบื้องต้น เกี่ยวกับโรคซึมเศร้า ซึ่งประการแรก ต้องทราบให้ได้ก่อน ว่า เกิดโรคซึมเศร้าขึ้น โดยจะทำเป็นคำถามอย่างง่าย 2 ข้อ เพื่อให้วัดอาการเบื้องต้น คือ “ในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา คุณรู้สึกไม่สบายใจ ซึมเศร้าหรือท้อแท้หรือไม่” และ “ในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา คุณรู้สึกเบื่อ ทำอะไรๆก็ไม่เพลิดเพลิน หรือไม่” ซึ่งหากตอบข้อใดข้อหนึ่ง จะบ่งบอกว่า บุคคลดังกล่าวกำลังเกิดอาการซึมเศร้าขึ้น และควรใช้แบบสอบถามวัดสุขภาพจิตอย่างละเอียดต่อ เพื่อหาภาวะ การฆ่าตัวตาย หรือลักษณะสุขภาพจิตอย่างอื่นต่อไป ซึ่งหากสามารถค้นหาได้ ก็จะนำมาซึ่งการช่วยเหลือป้องกันได้
“สุขภาพทางจิต ทางการแพทย์ถือว่าเป็นวิทยาการใหม่ ซึ่งสามารถรักษาได้ด้วยการ ใช้ยา หรือ วิธีจิตบำบัด เพราะบางครั้งหากเกิดความเครียดเป็นเวลานาน จะทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงของสารเคมีในสมอง จนทำให้เกิดความป่วยตามมา ซึ่งการทานยา สามารถช่วยได้ และทำให้มีสุขภาพจิตที่ดีขึ้นได้ ซึ่งต้องเปลี่ยนทัศนคติว่า โรคซึมเศร้านั้น เป็นอาการเจ็บป่วยอย่างหนึ่ง ซึ่งสามารถรักษาได้ ไม่ใช่เรื่องน่าอาย และควรยอมรับความจริงเพื่อทำให้เกิดการรักษาอย่างถูกต้อง” นพ.มล.สมชาย กล่าว
นพ.มล.สมชาย จักรพันธุ์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวถึงภาวะด้านสุขภาพจิตของ แฟนหนุ่ม ของ “พลอย” อาจารย์สาวเอแบค-อดีตดาวจุฬาฯ ซึ่งโดดตึกฆ่าตัวตาย ที่ขณะนี้ยังเก็บตัวเงียบไม่เข้าให้การกับตำรวจ ว่า การสูญเสียบุคคลที่รัก ไม่ว่าจะเป็นครอบครัว คนรัก หรือเพื่อน ต่างก็จะได้รับผลกระทบในเรื่องความเศร้าโศก และยิ่งเป็นการตายที่ไม่ได้เกิดจากธรรมชาติ เป็นการฆ่าตัวตาย ทางวิชาการพบว่า เมื่อมีคนฆ่าตัวตาย 1 คน จะส่งผลกระทบกับคนใกล้ชิดทั้งหมด ไม่ว่าจะมีกี่คนก็ตาม และไม่ว่าจะมีความเกี่ยวข้องมากหรือน้อย โดยเฉพาะหากเป็นคนใกล้ตัวที่ได้รับรู้ความทุกข์ ปัญหาของผู้ตาย ก็จะทำให้เกิดความรู้สึกผิด หรือเกิดตราบาปขึ้น ว่า ไม่สามารถช่วยเหลือได้ หรือไม่ได้ดูแลอย่างดี ซึ่งยิ่งทำให้รู้สึกผิดมากขึ้น และหากได้เห็นภาพการฆ่าตัวตายทั้งโดยตรงหรือจากหน้าหนังสือพิมพ์ ก็จะยิ่งทำให้เกิดความรู้สึกไม่ดีมากยิ่งขึ้น
“ความรู้สึกอย่างแรกของผู้ที่ได้รับผลกระทบ คือ โศกเศร้า และหากมีความรู้สึกผิดหรือโทษตัวเองมากขึ้น ก็อาจทำให้เกิดอาการซึมเศร้าตามมาได้ ซึ่งคนใกล้ชิดต้องพูดคุยดูแลซึ่งกันและกัน ไม่โทษว่าเป็นความผิดของใคร ไม่ตอกย้ำถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เพราะคนฆ่าตัวตายนั้น ส่วนมากจะเกิดจากหลายสาเหตุ ไม่ใช่สาเหตุใด สาเหตุหนึ่ง และส่วนใหญ่จะมีโรค คือ โรคซึมเศร้า เป็นทุนเดิม ทำให้เกิดการฆ่าตัวตายได้ เพราะขณะนี้ โรคซึมเศร้ามีอัตราของผู้ป่วยมากเป็นอันดับ 2 รองจากโรคหัวใจ ทำให้กระบวนการตัดสินใจของแต่ละคนไม่เหมือนกัน”นพ.มล.สมชาย กล่าว
นพ.มล.สมชาย กล่าวต่อว่า ปัจจัยอีกประการที่ทำให้เกิดความรู้สึกผิดบาป คือ การเห็นภาพการตายทั้งทางตรง คือ เห็นด้วยตัวเอง หรือทางอ้อม คือ จากสื่อต่างๆ ดังนั้น การนำเสนอข่าว หรือ ภาพต่างๆ ควรต้องเคารพความสูญเสียของครอบครัวนั้นๆ เหตุการณ์แบบนี้ สร้างบาดแผลในจิตใจให้กับครอบครัว คนรัก และเพื่อนของผู้ตายอยู่แล้ว การนำเสนอเรื่องราวต่างๆ จึงต้องเคารพเหมือนเป็นญาติของตนเอง และนำเสนออย่างสร้างสรรค์ โดยการให้ความรู้เพื่อให้ผู้อื่นเกิดความตระหนัก และดูแลคนรอบข้าง เพื่อเฝ้าระวังไม่ให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นอีก
นพ.ม.ล.สมชาย กล่าวต่อว่า กรมสุขภาพจิต กำลังทำแบบสอบถามเพื่อให้ประชาชนทั่วไป มีความรู้เบื้องต้น เกี่ยวกับโรคซึมเศร้า ซึ่งประการแรก ต้องทราบให้ได้ก่อน ว่า เกิดโรคซึมเศร้าขึ้น โดยจะทำเป็นคำถามอย่างง่าย 2 ข้อ เพื่อให้วัดอาการเบื้องต้น คือ “ในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา คุณรู้สึกไม่สบายใจ ซึมเศร้าหรือท้อแท้หรือไม่” และ “ในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา คุณรู้สึกเบื่อ ทำอะไรๆก็ไม่เพลิดเพลิน หรือไม่” ซึ่งหากตอบข้อใดข้อหนึ่ง จะบ่งบอกว่า บุคคลดังกล่าวกำลังเกิดอาการซึมเศร้าขึ้น และควรใช้แบบสอบถามวัดสุขภาพจิตอย่างละเอียดต่อ เพื่อหาภาวะ การฆ่าตัวตาย หรือลักษณะสุขภาพจิตอย่างอื่นต่อไป ซึ่งหากสามารถค้นหาได้ ก็จะนำมาซึ่งการช่วยเหลือป้องกันได้
“สุขภาพทางจิต ทางการแพทย์ถือว่าเป็นวิทยาการใหม่ ซึ่งสามารถรักษาได้ด้วยการ ใช้ยา หรือ วิธีจิตบำบัด เพราะบางครั้งหากเกิดความเครียดเป็นเวลานาน จะทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงของสารเคมีในสมอง จนทำให้เกิดความป่วยตามมา ซึ่งการทานยา สามารถช่วยได้ และทำให้มีสุขภาพจิตที่ดีขึ้นได้ ซึ่งต้องเปลี่ยนทัศนคติว่า โรคซึมเศร้านั้น เป็นอาการเจ็บป่วยอย่างหนึ่ง ซึ่งสามารถรักษาได้ ไม่ใช่เรื่องน่าอาย และควรยอมรับความจริงเพื่อทำให้เกิดการรักษาอย่างถูกต้อง” นพ.มล.สมชาย กล่าว