การฟังเพลงวันละ 2-3 ชั่วโมงในช่วงสัปดาห์แรกๆ หลังโรคหลอดเลือดสมองกำเริบ อาจช่วยให้สมองและสุขภาพจิตของคนไข้ฟื้นตัวเร็วขึ้นกว่าปกติถึงสองเท่า
รายงานที่ตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ออนไลน์ ‘เบรน’ ระบุว่านี่เป็นครั้งแรกที่ผลลัพธ์ดังกล่าวปรากฏให้เห็นกับคน และนักวิจัยเชื่อว่า วิธีนี้อาจเป็นวิธีที่ง่ายดายและราคาย่อมเยาที่ช่วยให้ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองฟื้นตัวอย่างมีประสิทธิภาพ
เทปโป ซาร์คาโม นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเฮลซิงกิ ฟินแลนด์ เผยว่าการวิจัยก่อนหน้านี้พบว่า ในช่วงสัปดาห์แรกๆ หรือเดือนแรกๆ คนไข้ใหม่มักใช้เวลา 3 ใน 4 ส่วนของแต่ละวัน โดยปลอดจากกิจกรรมการบำบัด ส่วนใหญ่อยู่ในห้องพัก ไม่มีกิจกรรมหรือการโต้ตอบใดๆ ทั้งที่ช่วง 2-3 เดือนภายหลังอาการกำเริบ คือช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดในการบำบัดเพื่อให้ผู้ป่วยฟื้นตัวก็ตาม
“นี่เป็นงานวิจัยชิ้นแรกที่แสดงให้เห็นว่า การฟังเพลงระหว่างช่วงเวลาดังกล่าวช่วยในการฟื้นตัวของกระบวนการคิด และป้องกันอารมณ์แง่ลบ เราจึงอยากแนะนำให้ผู้ป่วยโรคนี้ฟังเพลงทุกวันในช่วงต้นๆ หลังอาการกำเริบ นอกเหนือจากการรับการบำบัดดูแลปกติ”
นักวิจัยของมหาวิทยาลัยเฮลซิงกิศึกษาจากคนไข้โรคหลอดเลือดสมอง 60 คนที่เพิ่งเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล โดยคนไข้เหล่านี้ส่วนใหญ่มีปัญหาในการเคลื่อนไหวหรือกระบวนการคิด เช่น การใช้สมาธิ และความจำ
นักวิจัยแบ่งคนไข้ออกเป็นสามกลุ่มๆ แรกฟังเพลง กลุ่มที่สองฟังหนังสือเสียง และกลุ่มสุดท้ายไม่ได้ฟังอะไรเลย โดยกิจกรรมนี้จะมีเป็นประจำทุกวันนานสองเดือน และสิ่งที่พบคือ สามเดือนหลังโรคกำเริบ ความจำด้านภาษาของคนไข้กลุ่มแรกดีขึ้น 60% กลุ่มที่สองดีขึ้น 18% และกลุ่มสุดท้าย 29%
นอกจากนั้น คนไข้กลุ่มแรกยังมีสมาธิดีขึ้น 17% ขณะที่อีกสองกลุ่มมีพัฒนาการด้านนี้น้อยมาก และความแตกต่างนี้คงอยู่อย่างน้อย 6 เดือน
คนไข้กลุ่มที่ฟังเพลงทุกวันยังมีอาการซึมเศร้าและอารมณ์แปรปรวนน้อยกว่าอีกสองกลุ่ม
ซาร์คาโมเสริมว่า ความแตกต่างของการฟื้นความจำด้านภาษาอาจเป็นผลโดยตรงจากการฟังเพลง เนื่องจากเพลงอาจไปกระตุ้นการฟื้นตัวของสมองส่วนที่เสียหายโดยตรง ช่วยส่งเสริมกลไกของสมองในการเยียวยาตัวเองหลังได้รับความเสียหาย หรือกระตุ้นพื้นที่สมองส่วนที่เกี่ยวโยงกับความพึงพอใจ แรงจูงใจและความจำ
กระนั้น ซาร์คาโมกล่าวว่า ต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อยืนยันผลนี้ และดนตรีอาจไม่ได้ผลกับคนไข้ทุกคน อย่างไรก็ดี แทนที่จะเป็นทางเลือก การฟังเพลงควรเป็นแนวทางเสริมสำหรับการบำบัดรูปแบบอื่นๆ เช่น การบำบัดด้วยการฝึกและแก้ไขการพูด
รายงานที่ตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ออนไลน์ ‘เบรน’ ระบุว่านี่เป็นครั้งแรกที่ผลลัพธ์ดังกล่าวปรากฏให้เห็นกับคน และนักวิจัยเชื่อว่า วิธีนี้อาจเป็นวิธีที่ง่ายดายและราคาย่อมเยาที่ช่วยให้ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองฟื้นตัวอย่างมีประสิทธิภาพ
เทปโป ซาร์คาโม นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเฮลซิงกิ ฟินแลนด์ เผยว่าการวิจัยก่อนหน้านี้พบว่า ในช่วงสัปดาห์แรกๆ หรือเดือนแรกๆ คนไข้ใหม่มักใช้เวลา 3 ใน 4 ส่วนของแต่ละวัน โดยปลอดจากกิจกรรมการบำบัด ส่วนใหญ่อยู่ในห้องพัก ไม่มีกิจกรรมหรือการโต้ตอบใดๆ ทั้งที่ช่วง 2-3 เดือนภายหลังอาการกำเริบ คือช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดในการบำบัดเพื่อให้ผู้ป่วยฟื้นตัวก็ตาม
“นี่เป็นงานวิจัยชิ้นแรกที่แสดงให้เห็นว่า การฟังเพลงระหว่างช่วงเวลาดังกล่าวช่วยในการฟื้นตัวของกระบวนการคิด และป้องกันอารมณ์แง่ลบ เราจึงอยากแนะนำให้ผู้ป่วยโรคนี้ฟังเพลงทุกวันในช่วงต้นๆ หลังอาการกำเริบ นอกเหนือจากการรับการบำบัดดูแลปกติ”
นักวิจัยของมหาวิทยาลัยเฮลซิงกิศึกษาจากคนไข้โรคหลอดเลือดสมอง 60 คนที่เพิ่งเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล โดยคนไข้เหล่านี้ส่วนใหญ่มีปัญหาในการเคลื่อนไหวหรือกระบวนการคิด เช่น การใช้สมาธิ และความจำ
นักวิจัยแบ่งคนไข้ออกเป็นสามกลุ่มๆ แรกฟังเพลง กลุ่มที่สองฟังหนังสือเสียง และกลุ่มสุดท้ายไม่ได้ฟังอะไรเลย โดยกิจกรรมนี้จะมีเป็นประจำทุกวันนานสองเดือน และสิ่งที่พบคือ สามเดือนหลังโรคกำเริบ ความจำด้านภาษาของคนไข้กลุ่มแรกดีขึ้น 60% กลุ่มที่สองดีขึ้น 18% และกลุ่มสุดท้าย 29%
นอกจากนั้น คนไข้กลุ่มแรกยังมีสมาธิดีขึ้น 17% ขณะที่อีกสองกลุ่มมีพัฒนาการด้านนี้น้อยมาก และความแตกต่างนี้คงอยู่อย่างน้อย 6 เดือน
คนไข้กลุ่มที่ฟังเพลงทุกวันยังมีอาการซึมเศร้าและอารมณ์แปรปรวนน้อยกว่าอีกสองกลุ่ม
ซาร์คาโมเสริมว่า ความแตกต่างของการฟื้นความจำด้านภาษาอาจเป็นผลโดยตรงจากการฟังเพลง เนื่องจากเพลงอาจไปกระตุ้นการฟื้นตัวของสมองส่วนที่เสียหายโดยตรง ช่วยส่งเสริมกลไกของสมองในการเยียวยาตัวเองหลังได้รับความเสียหาย หรือกระตุ้นพื้นที่สมองส่วนที่เกี่ยวโยงกับความพึงพอใจ แรงจูงใจและความจำ
กระนั้น ซาร์คาโมกล่าวว่า ต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อยืนยันผลนี้ และดนตรีอาจไม่ได้ผลกับคนไข้ทุกคน อย่างไรก็ดี แทนที่จะเป็นทางเลือก การฟังเพลงควรเป็นแนวทางเสริมสำหรับการบำบัดรูปแบบอื่นๆ เช่น การบำบัดด้วยการฝึกและแก้ไขการพูด