คนที่มีความสุขพอประมาณมีแนวโน้มรวยและสุขภาพแข็งแรงกว่าพวกที่สุขล้นคอหอย ทั้งนี้ จากผลการศึกษาของนักจิตวิทยาที่เฝ้าสังเกตการณ์เกี่ยวกับความสุขมากว่าสองทศวรรษ
แม้คนที่มีความสุขมีแนวโน้มสุขภาพดีและประสบความสำเร็จในหน้าที่การเงินมากกว่าคนที่โกรธขึ้งและซึมเศร้า แต่ดร.เอ็ด ไดเนอร์ จากมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ สหรัฐฯ ระบุว่าคนที่มีความสุขปานกลางอาจประสบความสำเร็จและมีอายุยืนยาวกว่าคนที่มีความสุขสุดๆ
“ผลการศึกษาของเราบ่งชี้ว่า ความสุขระดับสูงสุดอาจไม่ใช่เป้าหมายที่ต้องการ และมีภาวะที่เป็นสุขในเชิงจิตวิทยานอกเหนือไปจากความสุขสุดขีด” ไดเนอร์ระบุไว้ในรายงานที่ตีพิมพ์ในวารสารเพอร์สเพ็กทีฟส์ ออน ไซโคโลจิคัล ไซนส์
นักวิจัยศึกษารายงานว่าด้วยความสุขและผลลัพธ์ในชีวิต 6 ฉบับ เพื่อค้นหาภาวะที่ดีที่สุดของความสุข โดยในรายงานฉบับหนึ่งว่าด้วยการสำรวจค่านิยมทั่วโลก ซึ่งครอบคลุมกลุ่มตัวอย่างเกือบ 120,000 คนจาก 96 ประเทศนั้น พบว่าคนที่มีความสุขพอประมาณที่ให้คะแนนความพึงพอใจ 8 หรือ 9 จากคะแนนเต็ม 10 นั้น ทำเงินได้มากกว่าคนที่ให้คะแนนความพึงพอใจเต็มสิบ อย่างไรก็ตาม คนทั้งสองกลุ่มมีแนวโน้มมีความสัมพันธ์มั่นคงพอๆ กัน
รายงานอีกฉบับพบว่า นักศึกษาที่มีความสุขมากที่สุดและเป็นพวกที่เข้าสังคมมากที่สุดนั้น มีคะแนนสอบเฉลี่ยต่ำกว่าเพื่อนที่มีความสุขน้อยกว่าเล็กน้อย
ในการศึกษาอีกสี่ฉบับที่มุ่งเน้นภาวะที่เป็นสุขของแต่ละบุคคลโดยติดตามผลนานหลายปีหลังการประเมินผลความสุขครั้งแรกนั้น พบว่าคนที่มีความสุขที่สุดมีระดับการศึกษาและรายได้ต่ำกว่าคนที่มีความสุขปานกลาง
แม้รายงานฉบับปัจจุบันไม่ได้เน้นประเด็นความสุขและสุขภาพ แต่ไดเนอร์ตั้งข้อสังเกตว่า งานวิจัยชิ้นอื่นๆ แสดงให้เห็นว่าคนที่มีความสุขที่สุดอาจชีวิตไม่ยืนยาวเท่าคนที่มีความสุขพอดีๆ
ไดเนอร์เชื่อว่า คนที่สุขสุดขีดอาจดูแลสุขภาพน้อยลง ขณะเดียวกัน คนที่ตั้งเป้าหมายในชีวิตว่าต้องการมีความสุขสุดๆ อาจเป็นคนที่ชอบท้าทายความเสี่ยง ซึ่งเป็นอันตรายต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด
ในส่วนของความสำเร็จ คนที่มีความสุขมากที่สุดอาจพอใจในสิ่งที่มี จึงอุตสาหะน้อยลงที่จะเปลี่ยนแปลงชีวิต เช่น เรียนต่อหรือหางานใหม่
“คนเราอาจไม่ได้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้มีอารมณ์ปลาบปลื้มปิติอยู่ตลอดเวลา บางทีอาจมีบางเวลาที่เราต้องรู้สึกไม่ดีกับอะไรๆ บ้าง แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า เราควรพยายามทำให้ตัวเองไม่มีความสุข” ไดเนอร์ทิ้งท้าย
แม้คนที่มีความสุขมีแนวโน้มสุขภาพดีและประสบความสำเร็จในหน้าที่การเงินมากกว่าคนที่โกรธขึ้งและซึมเศร้า แต่ดร.เอ็ด ไดเนอร์ จากมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ สหรัฐฯ ระบุว่าคนที่มีความสุขปานกลางอาจประสบความสำเร็จและมีอายุยืนยาวกว่าคนที่มีความสุขสุดๆ
“ผลการศึกษาของเราบ่งชี้ว่า ความสุขระดับสูงสุดอาจไม่ใช่เป้าหมายที่ต้องการ และมีภาวะที่เป็นสุขในเชิงจิตวิทยานอกเหนือไปจากความสุขสุดขีด” ไดเนอร์ระบุไว้ในรายงานที่ตีพิมพ์ในวารสารเพอร์สเพ็กทีฟส์ ออน ไซโคโลจิคัล ไซนส์
นักวิจัยศึกษารายงานว่าด้วยความสุขและผลลัพธ์ในชีวิต 6 ฉบับ เพื่อค้นหาภาวะที่ดีที่สุดของความสุข โดยในรายงานฉบับหนึ่งว่าด้วยการสำรวจค่านิยมทั่วโลก ซึ่งครอบคลุมกลุ่มตัวอย่างเกือบ 120,000 คนจาก 96 ประเทศนั้น พบว่าคนที่มีความสุขพอประมาณที่ให้คะแนนความพึงพอใจ 8 หรือ 9 จากคะแนนเต็ม 10 นั้น ทำเงินได้มากกว่าคนที่ให้คะแนนความพึงพอใจเต็มสิบ อย่างไรก็ตาม คนทั้งสองกลุ่มมีแนวโน้มมีความสัมพันธ์มั่นคงพอๆ กัน
รายงานอีกฉบับพบว่า นักศึกษาที่มีความสุขมากที่สุดและเป็นพวกที่เข้าสังคมมากที่สุดนั้น มีคะแนนสอบเฉลี่ยต่ำกว่าเพื่อนที่มีความสุขน้อยกว่าเล็กน้อย
ในการศึกษาอีกสี่ฉบับที่มุ่งเน้นภาวะที่เป็นสุขของแต่ละบุคคลโดยติดตามผลนานหลายปีหลังการประเมินผลความสุขครั้งแรกนั้น พบว่าคนที่มีความสุขที่สุดมีระดับการศึกษาและรายได้ต่ำกว่าคนที่มีความสุขปานกลาง
แม้รายงานฉบับปัจจุบันไม่ได้เน้นประเด็นความสุขและสุขภาพ แต่ไดเนอร์ตั้งข้อสังเกตว่า งานวิจัยชิ้นอื่นๆ แสดงให้เห็นว่าคนที่มีความสุขที่สุดอาจชีวิตไม่ยืนยาวเท่าคนที่มีความสุขพอดีๆ
ไดเนอร์เชื่อว่า คนที่สุขสุดขีดอาจดูแลสุขภาพน้อยลง ขณะเดียวกัน คนที่ตั้งเป้าหมายในชีวิตว่าต้องการมีความสุขสุดๆ อาจเป็นคนที่ชอบท้าทายความเสี่ยง ซึ่งเป็นอันตรายต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด
ในส่วนของความสำเร็จ คนที่มีความสุขมากที่สุดอาจพอใจในสิ่งที่มี จึงอุตสาหะน้อยลงที่จะเปลี่ยนแปลงชีวิต เช่น เรียนต่อหรือหางานใหม่
“คนเราอาจไม่ได้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้มีอารมณ์ปลาบปลื้มปิติอยู่ตลอดเวลา บางทีอาจมีบางเวลาที่เราต้องรู้สึกไม่ดีกับอะไรๆ บ้าง แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า เราควรพยายามทำให้ตัวเองไม่มีความสุข” ไดเนอร์ทิ้งท้าย