พบอาการซึมเศร้าระบาดในกลุ่มประชากรวัยกลางคนมากกว่าช่วงอายุอื่นใด สาเหตุอาจมาจากการตระหนักว่าไม่สามารถทำตามความฝันหลายอย่างได้เมื่อล่วงเลยถึงวัยนี้ หรือใจหายและหมกมุ่นกับชีวิตมากขึ้นเมื่อเห็นเพื่อนฝูงรุ่นราวคราวเดียวกันค่อยๆ ล้มหายตายจาก
นักวิจัยอังกฤษและสหรัฐฯ พบว่ากราฟความสุขสำหรับประชากรตั้งแต่ในอัลบาเนียจนถึงซิมบับเวย์เป็นรูปทรงตัว U กล่าวคือชีวิตเริ่มต้นวัยเด็กอย่างสนุกสนานร่าเริง และเริ่มมืดมนลงเมื่อถึงวัยกลางคน ก่อนจะคืนสู่ความหรรษาในช่วงบั้นปลาย
การศึกษาก่อนหน้านี้แสดงให้เห็นว่า ภาวะที่เป็นสุขทางจิตวิทยาอยู่ในสภาพที่ราบเรียบคงที่ตลอดชีวิต แต่ผลการศึกษาใหม่ที่ตีพิมพ์ในวารสารโซเชียล ไซนส์ แอนด์ เมดิซินบ่งชี้ถึงสภาพอารมณ์ที่ขึ้นๆ ลงๆ ไม่ได้หยุดนิ่งอยู่กับที่
แอนดริว ออสวอลด์ จากมหาวิทยาลัยวอร์วิกของอังกฤษ หนึ่งในผู้นำการศึกษา กล่าวว่าโดยพื้นฐานของคนทั่วโลกแล้ว ความสุขและสุขภาพจิตของคนเราแสดงออกมาเป็นกราฟรูปตัว U ตลอดชีวิต
ทั้งนี้ นักวิจัยวิเคราะห์ข้อมูลของระดับความซึมเศร้าและวิตกกังวล รวมถึงสุขภาพจิต และภาวะที่เป็นสุขของประชากร 2 ล้านคนใน 80 ประเทศ
ออสวอลด์ และเดวิด บลานช์ฟลาวเวอร์ จากวิทยาลัยดาร์ตมัท สหรัฐฯ ระบุไว้ในรายงานว่า เป็นไปได้ว่าอาการซึมเศร้าค่อยๆ ก่อตัวขึ้นช้าๆ ก่อนที่จะขึ้นถึงระดับสูงสุดเมื่อคนเราอายุเข้าวัยเลข 4 นำหน้า โดยรูปแบบนี้พบใน 72 ประเทศจากอัลบาเนียถึงซิมบับเวย์ ส่วนอีก 8 ประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศพัฒนาแล้วนั้น กราฟความสุขไม่ได้ขึ้น-ลงเป็นรูปตัว U
สหรัฐฯ เป็นประเทศเดียวที่มีความแตกต่างระหว่างเพศอย่างชัดเจน โดยภาวะไร้สุขจะพุ่งถึงระดับสูงสุดเมื่ออายุ 40 ปีสำหรับผู้หญิง และ 50 ปีสำหรับผู้ชาย
“สิ่งนี้เกิดขึ้นกับทั้งชายและหญิง คนโสด คนมีครอบครัว คนรวย คนจน คนที่มีลูกหรือไม่มีลูก ไม่มีใครรู้ว่าเหตุใดปรากฏการณ์นี้จึงเกิดขึ้นเหมือนกันทั่วโลก”
หนึ่งในความเป็นไปได้คือ คนเราเริ่มตระหนักว่า ไม่สามารถทำในหลายสิ่งที่ใฝ่ฝันได้เมื่อถึงวัยกลางคน หรืออาจเป็นเพราะหลังจากเห็นเพื่อนฝูงรุ่นเดียวกันค่อยๆ ล้มหายตายจาก คนวัยกลางคนก็เริ่มประเมินค่าของเวลาที่เหลืออยู่ และหมกมุ่นกับชีวิตมากขึ้น
แต่ข่าวดีก็คือ หากอายุยืนยาวถึงวัย 70 ปี และยังมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง คนๆ นั้นจะมีความสุขและมีสภาพจิตดีพอๆ กับหนุ่มสาววัย 20 ปี
โดยเฉลี่ยแล้วสุขภาพจิตและความสุขของผู้คนในโลกสมัยใหม่จะค่อยๆ ดิ่งลงอย่างช้าๆ ไม่ใช่ภายในปีเดียว และจะเริ่มฟื้นคืนกลับขึ้นมาเมื่อเข้าสู่วัย 50 ปี
นักวิจัยอังกฤษและสหรัฐฯ พบว่ากราฟความสุขสำหรับประชากรตั้งแต่ในอัลบาเนียจนถึงซิมบับเวย์เป็นรูปทรงตัว U กล่าวคือชีวิตเริ่มต้นวัยเด็กอย่างสนุกสนานร่าเริง และเริ่มมืดมนลงเมื่อถึงวัยกลางคน ก่อนจะคืนสู่ความหรรษาในช่วงบั้นปลาย
การศึกษาก่อนหน้านี้แสดงให้เห็นว่า ภาวะที่เป็นสุขทางจิตวิทยาอยู่ในสภาพที่ราบเรียบคงที่ตลอดชีวิต แต่ผลการศึกษาใหม่ที่ตีพิมพ์ในวารสารโซเชียล ไซนส์ แอนด์ เมดิซินบ่งชี้ถึงสภาพอารมณ์ที่ขึ้นๆ ลงๆ ไม่ได้หยุดนิ่งอยู่กับที่
แอนดริว ออสวอลด์ จากมหาวิทยาลัยวอร์วิกของอังกฤษ หนึ่งในผู้นำการศึกษา กล่าวว่าโดยพื้นฐานของคนทั่วโลกแล้ว ความสุขและสุขภาพจิตของคนเราแสดงออกมาเป็นกราฟรูปตัว U ตลอดชีวิต
ทั้งนี้ นักวิจัยวิเคราะห์ข้อมูลของระดับความซึมเศร้าและวิตกกังวล รวมถึงสุขภาพจิต และภาวะที่เป็นสุขของประชากร 2 ล้านคนใน 80 ประเทศ
ออสวอลด์ และเดวิด บลานช์ฟลาวเวอร์ จากวิทยาลัยดาร์ตมัท สหรัฐฯ ระบุไว้ในรายงานว่า เป็นไปได้ว่าอาการซึมเศร้าค่อยๆ ก่อตัวขึ้นช้าๆ ก่อนที่จะขึ้นถึงระดับสูงสุดเมื่อคนเราอายุเข้าวัยเลข 4 นำหน้า โดยรูปแบบนี้พบใน 72 ประเทศจากอัลบาเนียถึงซิมบับเวย์ ส่วนอีก 8 ประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศพัฒนาแล้วนั้น กราฟความสุขไม่ได้ขึ้น-ลงเป็นรูปตัว U
สหรัฐฯ เป็นประเทศเดียวที่มีความแตกต่างระหว่างเพศอย่างชัดเจน โดยภาวะไร้สุขจะพุ่งถึงระดับสูงสุดเมื่ออายุ 40 ปีสำหรับผู้หญิง และ 50 ปีสำหรับผู้ชาย
“สิ่งนี้เกิดขึ้นกับทั้งชายและหญิง คนโสด คนมีครอบครัว คนรวย คนจน คนที่มีลูกหรือไม่มีลูก ไม่มีใครรู้ว่าเหตุใดปรากฏการณ์นี้จึงเกิดขึ้นเหมือนกันทั่วโลก”
หนึ่งในความเป็นไปได้คือ คนเราเริ่มตระหนักว่า ไม่สามารถทำในหลายสิ่งที่ใฝ่ฝันได้เมื่อถึงวัยกลางคน หรืออาจเป็นเพราะหลังจากเห็นเพื่อนฝูงรุ่นเดียวกันค่อยๆ ล้มหายตายจาก คนวัยกลางคนก็เริ่มประเมินค่าของเวลาที่เหลืออยู่ และหมกมุ่นกับชีวิตมากขึ้น
แต่ข่าวดีก็คือ หากอายุยืนยาวถึงวัย 70 ปี และยังมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง คนๆ นั้นจะมีความสุขและมีสภาพจิตดีพอๆ กับหนุ่มสาววัย 20 ปี
โดยเฉลี่ยแล้วสุขภาพจิตและความสุขของผู้คนในโลกสมัยใหม่จะค่อยๆ ดิ่งลงอย่างช้าๆ ไม่ใช่ภายในปีเดียว และจะเริ่มฟื้นคืนกลับขึ้นมาเมื่อเข้าสู่วัย 50 ปี