ผลวิจัยใหม่แสดงหลักฐานยืนยันชัดเจนว่า งานที่เต็มไปด้วยความเครียดสะสมเพิ่มความเสี่ยงโรคหัวใจจากการขัดขวางการทำงานของระบบอวัยวะภายในร่างกาย
การศึกษาข้าราชการอังกฤษกว่า 10,000 คน ซึ่งมีการติดตามผลระยะยาว ยังพบว่าความเครียดที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางชีววิทยาอาจมีบทบาทสำคัญโดยตรงมากกว่าที่เคยคิดกัน
ทารานี แชนโดลา นักระบาดวิทยาจากยูนิเวอร์ซิตี้ คอลเลจ ลอนดอน ซึ่งเป็นผู้นำการวิจัย กล่าวว่านี่เป็นการศึกษากลุ่มประชากรขนาดใหญ่ครั้งแรกที่มุ่งเน้นผลจากความเครียดในการทำงานประจำวันที่มีต่อโรคหัวใจ โดยเฉพาะในด้านชีววิทยา
โรคหัวใจเป็นหนึ่งในโรคที่เป็นต้นเหตุของอัตราการเสียชีวิตสูงที่สุดของโลก ต้นตอของโรคคือไขมันที่ไปอุดตันหลอดเลือดหัวใจ ความดันโลหิตสูงที่สามารถทำลายหลอดเลือด และอีกหลายปัจจัย
นักวิจัยได้ทำการตรวจวัดระดับความเครียดของข้าราชการโดยการตั้งคำถามเกี่ยวกับภาระรับผิดชอบ เช่น อำนาจในการควบคุม การได้หยุดพักระหว่างทำงาน และการทำงานแข่งกับเวลาในแต่ละวัน
การสำรวจความคิดเห็นนี้จัดทำขึ้น 7 ครั้งในรอบระยะเวลา 12 ปี และพบว่าข้าราชการที่มีความเครียดเรื้อรัง คือกลุ่มที่บอกว่าตัวเองอยู่ภายใต้ความกดดันรุนแรงในการสำรวจสองครั้งแรกนั้น มีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจเพิ่มขึ้น 68% โดยเฉพาะในกลุ่มคนอายุต่ำกว่า 50 ปี
แชนโดลารายงานไว้ในวารสารยูโรเปียน ฮาร์ทว่า การเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมและชีววิทยา อาจอธิบายได้ว่าเหตุใดความเครียดในการทำงานจึงนำไปสู่โรคหัวใจ ยกตัวอย่างเช่น พนักงานที่เครียดอาจกินอาหารที่ไม่เป็นประโยชน์ สูบบุหรี่ ดื่มเหล้า และงดเว้นการออกกำลังกาย ซึ่งล้วนเป็นพฤติกรรมที่เกี่ยวพันกับโรคหัวใจ
นอกจากนั้น ในการศึกษายังพบว่า พนักงานที่เครียดมีอัตราแปรผันของการเต้นของหัวใจต่ำ ซึ่งเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจลดลง ขณะที่มีระดับฮอร์โมนคอร์ติซอล หรือฮอร์โมนความเครียด ในกระแสเลือดสูงผิดปกติ ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อหลอดเลือดและหัวใจ
การศึกษาข้าราชการอังกฤษกว่า 10,000 คน ซึ่งมีการติดตามผลระยะยาว ยังพบว่าความเครียดที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางชีววิทยาอาจมีบทบาทสำคัญโดยตรงมากกว่าที่เคยคิดกัน
ทารานี แชนโดลา นักระบาดวิทยาจากยูนิเวอร์ซิตี้ คอลเลจ ลอนดอน ซึ่งเป็นผู้นำการวิจัย กล่าวว่านี่เป็นการศึกษากลุ่มประชากรขนาดใหญ่ครั้งแรกที่มุ่งเน้นผลจากความเครียดในการทำงานประจำวันที่มีต่อโรคหัวใจ โดยเฉพาะในด้านชีววิทยา
โรคหัวใจเป็นหนึ่งในโรคที่เป็นต้นเหตุของอัตราการเสียชีวิตสูงที่สุดของโลก ต้นตอของโรคคือไขมันที่ไปอุดตันหลอดเลือดหัวใจ ความดันโลหิตสูงที่สามารถทำลายหลอดเลือด และอีกหลายปัจจัย
นักวิจัยได้ทำการตรวจวัดระดับความเครียดของข้าราชการโดยการตั้งคำถามเกี่ยวกับภาระรับผิดชอบ เช่น อำนาจในการควบคุม การได้หยุดพักระหว่างทำงาน และการทำงานแข่งกับเวลาในแต่ละวัน
การสำรวจความคิดเห็นนี้จัดทำขึ้น 7 ครั้งในรอบระยะเวลา 12 ปี และพบว่าข้าราชการที่มีความเครียดเรื้อรัง คือกลุ่มที่บอกว่าตัวเองอยู่ภายใต้ความกดดันรุนแรงในการสำรวจสองครั้งแรกนั้น มีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจเพิ่มขึ้น 68% โดยเฉพาะในกลุ่มคนอายุต่ำกว่า 50 ปี
แชนโดลารายงานไว้ในวารสารยูโรเปียน ฮาร์ทว่า การเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมและชีววิทยา อาจอธิบายได้ว่าเหตุใดความเครียดในการทำงานจึงนำไปสู่โรคหัวใจ ยกตัวอย่างเช่น พนักงานที่เครียดอาจกินอาหารที่ไม่เป็นประโยชน์ สูบบุหรี่ ดื่มเหล้า และงดเว้นการออกกำลังกาย ซึ่งล้วนเป็นพฤติกรรมที่เกี่ยวพันกับโรคหัวใจ
นอกจากนั้น ในการศึกษายังพบว่า พนักงานที่เครียดมีอัตราแปรผันของการเต้นของหัวใจต่ำ ซึ่งเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจลดลง ขณะที่มีระดับฮอร์โมนคอร์ติซอล หรือฮอร์โมนความเครียด ในกระแสเลือดสูงผิดปกติ ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อหลอดเลือดและหัวใจ