กรมสุขภาพจิต ส่งนักจิตวิทยาประจำ สกอ.ให้คำปรึกษานักเรียนและผู้ปกครองที่มาร้องเรียนเรื่องแอดมิชชัน ชี้ ส่วนใหญ่มีที่เรียนแต่ยังไม่พอใจ ขณะที่นักเรียนที่สอบไม่ได้รู้จักพอเพียงจัดการปัญหาของตนเองได้ ประสานเตรียมความพร้อมรับมือในปีหน้า
นางอุษา พึ่งธรรม นักวิชาการสาธารณสุข 8 สำนักพัฒนาสุขภาพจิต และ น.ส.ศศกร วิชัย นักจิตวิทยา สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ นักจิตวิทยา 2 คน ซึ่งกรมสุขภาพจิตส่งมาให้คำปรึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ในช่วงที่มีการร้องเรียนเกี่ยวกับผลการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษา (แอดมิชชัน) เปิดเผยว่า มาให้คำปรึกษาทั้งแก่เจ้าหน้าที่ สกอ.นักเรียน และผู้ปกครอง ตั้งแต่วานนี้ (6 พ.ค.) พบว่า ผู้ที่มาร้องเรียนส่วนใหญ่เป็นผู้มีที่เรียนแล้วแต่ยังไม่เป็นที่พอใจของตนเอง หรือครอบครัว เช่น นักเรียนที่สอบตรงเข้ามหาวิทยาลัยได้แล้ว ถูกตัดสิทธิ์จากแอดมิชชัน เมื่อมีช่องทางเลือกจึงต้องการได้ในสิ่งที่ดีกว่า ในขณะที่นักเรียนซึ่งรู้ตัวเองว่าไม่ติดแน่นอนแล้วสามารถจัดการปัญหาให้ตัวเองได้ และรู้จักเพียงพอในผลที่ออกมา
“ในปีหน้า กรมสุขภาพจิตอาจร่วมมือกับ สกอ.ในการเตรียมความพร้อมด้านการดูแแลสุขภาพจิตแก่นักเรียน และผู้ปกครอง ในการจัดแอดมิชชัน และส่งนักจิตวิทยามาร่วมให้คำปรึกษา เช่นเดียวกับปีนี้” น.ส.ศศกร กล่าว
นางอุษา กล่าวว่า อยากฝากถึงพ่อแม่ให้คำนึงถึงความต้องการและความสุขของลูก และยอมรับว่า ทุกคนมีโอกาสทำผิดพลาดได้ บางครั้งพ่อแม่ยุคใหม่ที่มีลูกน้อย อาจลงทุนสูงทั้งความหวังและทุนทรัพย์กับลูก และกดดันหวังผลตอบแทนจากที่ลงทุนไป หวังให้ลูกสะท้อนหน้าตาของพ่อแม่ เท่ากับว่าพ่อแม่รักตัวเองมากกว่าลูก พ่อแม่ควรระวังท่าที ระวังถาโถมความทุกข์ให้ลูก พากันท้อแท้
ส่วนนักเรียนที่พลาดหวัง ไม่ว่าจะไม่ติดสถาบันใดเลย หรือต้องเรียนในคณะที่ไม่ชอบ ให้มองว่าชีวิตไม่ได้มีเพียงแค่การสอบเข้าสถาบันอุดมศึกษา ไม่ใช่หมดอนาคตเพราะเรื่องนี้ หากทำผิดพลาดให้เก็บเป็นบทเรียนในอนาคต และมองค้นหาสิ่งดีในตัวเอง และสิ่งที่ต้องเผชิญ คนรอบข้าง นักเรียน ควรสังเกตความเปลี่ยนแปลงจากวิถีชีวิตปกติของนักเรียน เช่น การกิน การนอน ท่าที อารมณ์ที่เปลี่ยนไป ซึ่งจะสะท้อนถึงสภาพจิตใจเด็กว่ายังอยู่ในภาพปกติหรือไม่ ควรมีคนที่เด็กไว้ใจสนิทคอยรับฟังความรู้สึกที่มีอยู่ ให้กำลังใจ และแสดงถึงการเห็นคุณค่าในตัวเด็ก
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บรรยากาศที่ สกอ.วันนี้ ยังมีนักเรียนและผู้ปกครอง เดินทางมายื่นเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับแอดมิชชั่น แต่ค่อนข้างบางตา สอบถามเจ้าหน้าที่ทราบว่า มีจำนวนประมาณ 15 ราย ส่วนใหญ่ยังคงเป็นเรื่องการถูกส่งชื่อมาตัดสิทธิแอดมิชชัน เนื่องจากมีชื่อในการสอบตรงเข้ามหาวิทยาลัยอื่นได้แล้ว
นางอุษา พึ่งธรรม นักวิชาการสาธารณสุข 8 สำนักพัฒนาสุขภาพจิต และ น.ส.ศศกร วิชัย นักจิตวิทยา สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ นักจิตวิทยา 2 คน ซึ่งกรมสุขภาพจิตส่งมาให้คำปรึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ในช่วงที่มีการร้องเรียนเกี่ยวกับผลการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษา (แอดมิชชัน) เปิดเผยว่า มาให้คำปรึกษาทั้งแก่เจ้าหน้าที่ สกอ.นักเรียน และผู้ปกครอง ตั้งแต่วานนี้ (6 พ.ค.) พบว่า ผู้ที่มาร้องเรียนส่วนใหญ่เป็นผู้มีที่เรียนแล้วแต่ยังไม่เป็นที่พอใจของตนเอง หรือครอบครัว เช่น นักเรียนที่สอบตรงเข้ามหาวิทยาลัยได้แล้ว ถูกตัดสิทธิ์จากแอดมิชชัน เมื่อมีช่องทางเลือกจึงต้องการได้ในสิ่งที่ดีกว่า ในขณะที่นักเรียนซึ่งรู้ตัวเองว่าไม่ติดแน่นอนแล้วสามารถจัดการปัญหาให้ตัวเองได้ และรู้จักเพียงพอในผลที่ออกมา
“ในปีหน้า กรมสุขภาพจิตอาจร่วมมือกับ สกอ.ในการเตรียมความพร้อมด้านการดูแแลสุขภาพจิตแก่นักเรียน และผู้ปกครอง ในการจัดแอดมิชชัน และส่งนักจิตวิทยามาร่วมให้คำปรึกษา เช่นเดียวกับปีนี้” น.ส.ศศกร กล่าว
นางอุษา กล่าวว่า อยากฝากถึงพ่อแม่ให้คำนึงถึงความต้องการและความสุขของลูก และยอมรับว่า ทุกคนมีโอกาสทำผิดพลาดได้ บางครั้งพ่อแม่ยุคใหม่ที่มีลูกน้อย อาจลงทุนสูงทั้งความหวังและทุนทรัพย์กับลูก และกดดันหวังผลตอบแทนจากที่ลงทุนไป หวังให้ลูกสะท้อนหน้าตาของพ่อแม่ เท่ากับว่าพ่อแม่รักตัวเองมากกว่าลูก พ่อแม่ควรระวังท่าที ระวังถาโถมความทุกข์ให้ลูก พากันท้อแท้
ส่วนนักเรียนที่พลาดหวัง ไม่ว่าจะไม่ติดสถาบันใดเลย หรือต้องเรียนในคณะที่ไม่ชอบ ให้มองว่าชีวิตไม่ได้มีเพียงแค่การสอบเข้าสถาบันอุดมศึกษา ไม่ใช่หมดอนาคตเพราะเรื่องนี้ หากทำผิดพลาดให้เก็บเป็นบทเรียนในอนาคต และมองค้นหาสิ่งดีในตัวเอง และสิ่งที่ต้องเผชิญ คนรอบข้าง นักเรียน ควรสังเกตความเปลี่ยนแปลงจากวิถีชีวิตปกติของนักเรียน เช่น การกิน การนอน ท่าที อารมณ์ที่เปลี่ยนไป ซึ่งจะสะท้อนถึงสภาพจิตใจเด็กว่ายังอยู่ในภาพปกติหรือไม่ ควรมีคนที่เด็กไว้ใจสนิทคอยรับฟังความรู้สึกที่มีอยู่ ให้กำลังใจ และแสดงถึงการเห็นคุณค่าในตัวเด็ก
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บรรยากาศที่ สกอ.วันนี้ ยังมีนักเรียนและผู้ปกครอง เดินทางมายื่นเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับแอดมิชชั่น แต่ค่อนข้างบางตา สอบถามเจ้าหน้าที่ทราบว่า มีจำนวนประมาณ 15 ราย ส่วนใหญ่ยังคงเป็นเรื่องการถูกส่งชื่อมาตัดสิทธิแอดมิชชัน เนื่องจากมีชื่อในการสอบตรงเข้ามหาวิทยาลัยอื่นได้แล้ว