“หมอประเวศ” ชี้ปัญหาบ้านเมืองไม่มีทางออก ต้องวิกฤตถึงที่สุดจึงเรียนรู้และเกิดปัญญา ลั่นต้องปฏิวัติปัญญา จิตใจ ประชาธิปไตยจึงเกิด ไม่หลงมายาคติแค่ไปเลือกตั้งแต่ยังติดอยู่ในวังวนเผด็จการ แนะต้องไม่เลือกข้าง หรือใช้แต่อารมณ์ และอย่าหวังพึ่งใคร “แม้ว-ทหาร-เทวดา” ก็ช่วยไม่ได้ ควรหาทางไปสู่ภพภูมิใหม่ เปรียบลูกไก่จิกเปลือกไข่หาทางออก ออกไม่ได้ก็ตาย ส่วนพันธมิตรฯ ชุมนุมทำได้ แต่ 2 ฝ่าย ไม่ควรเผชิญหน้า หยาบคาย กักขฬะ ขว้างปาสิ่งของเป็นผู้ไม่เจริญ ยกเทียบขนาดพระพุทธเจ้า ยังห้ามพระโกสัมพีให้เลิกทะเลาะกันไม่ได้
วันนี้ (23 พ.ค.) นพ.ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส กล่าวถึงสถานการณ์ทางการเมืองในขณะนี้ว่า ปัญหาของบ้านเมืองขณะนี้ไม่มีทางออก ยังคงวนเวียนเป็นวัฏจักร เกิดปัญหาเดิมๆ เลือกตั้งแล้วได้รัฐบาลไม่ดี ก็แก้ปัญหาประเทศด้วยการรัฐประหาร ซึ่งรัฐประหาร ก็ช่วยแก้ปัญหาไม่ได้ ต้องเลือกตั้งใหม่ แล้วรัฐประหารอีก วนเวียนอยู่อย่างนี้ เนื่องจากไม่ได้แก้ที่ต้นเหตุ คือ โครงสร้างดั่งเดิมของสังคมไทยที่เป็นเผด็จการ ตั้งแต่ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เผด็จการทหาร คอมมิวนิสต์ เผด็จการทุนนิยม และเผด็จการรัฐสภา ส่วนประชาธิปไตยเป็นเพียงรูปแบบ ของการไปเลือกตั้งที่ยึดติดอยู่กับมายาคติเท่านั้น ขณะที่โครงสร้างอำนาจก็ยังเป็นเผด็จการเหมือนเดิม เปลี่ยนเพียงคนที่มากุมอำนาจสูงสุดเท่านั้น พอใครชนะก็เอาอำนาจไป
“ปัญหาขณะนี้ต้องแก้โดยปฏิวัติ 3 ด้าน คือ 1.ปัญญา คือ การรู้เท่าทันตัณหา คือ ความอยากได้ มานะ คือ การชอบใช้อำนาจเหนือผู้อื่น ทิฐิ คือ ถือความคิดเห็นตัวเองเป็นใหญ่ ซึ่งเหล่านี้เป็นรากฐานของเผด็จการ จิตใจ คือ การที่เรามาจากสังคมชนชั้น ถูกการใช้อำนาจนิยม เข้ามาครอบงำ วิธีคิด 2.จิตใจ ให้แคบ ทำให้คนเห็นแก่ตัว เมื่อพัฒนาทั้ง 2 ด้านแล้ว ก็ต้องปฏิวัติข้อที่ 3 ประชาธิปไตย โดยการกระจายอำนาจ ให้คนได้มีส่วนร่วม สร้างความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นในสังคม ทั้งทางเศรษฐกิจ กฎหมาย การศึกษา ซึ่งสามารถทำได้ในยุคปัจจุบันที่มีเครื่องมือสื่อสารจำนวนมาก สร้างความเข้าใจนี้ ดังนั้น ประชาธิปไตยต้องแก้ไขปัญหาเหล่านี้ให้ได้ ไม่เช่นนั้นจะมีประชาธิปไตยไปทำไม”นพ.ประเวศ กล่าว
นพ.ประเวศ กล่าวต่อว่า ขณะนี้คงไม่มีใครบอกได้ว่าต้องแก้ปัญหาอย่างไร สังคมจะเกิดการเรียนรู้ขึ้นเอง หากเกิดวิกฤตถึงที่สุดแล้ว และใครก็พึ่งไม่ได้ทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นทหาร ทักษิณ เทวดา ฉะนั้นต้องพึ่งตนเอง หากมีปัญญาก็จะมีทางออก ขณะนี้สังคมเข้าขั้นรุนแรง มีการแบ่งขั้วอย่างชัดเจน ไม่ใช่แค่คนสองคน แต่เป็นการแบ่งข้างของคนจำนวนมาก หากไม่รู้เท่าทันก็จะนำไปสู่กลไกของความขัดแย้งเพิ่มมากขึ้น ซึ่งต้องเรียนรู้การแก้ปัญหาด้วยสันติวิธี แต่คนไทยไม่เคยมีทักษะนี้เลย และสังคมที่เจริญมากขึ้น มักมีความขัดแย้งเพิ่มขึ้น
“เราต้องไม่เอาตัวไปเข้าข้างฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด ต้องช่วยกันมองหาทางออกไปสู่โลกใหม่ไปจากภพภูมิเดิมๆ หลุดจากวังวนเดิมๆ ไปสู่กายใหม่ จิตใหม่ เหมือนไข่ไก่ ที่ลูกไก่ต้องจิกออกจากเปลือกไข่ไม่ได้ ถ้าออกไม่ได้ก็ตายอยู่ในนั้น หรือเหมือนเด็ก ถึงเวลาก็ต้องคลอดออกจากท้องแม่ หากคลอดไม่ได้ ก็ตายไปพร้อมกัน แต่จะได้หรือไม่ ก็คงต้องขึ้นอยู่กับภูมิปัญญาของสังคมไทย หากขาดการเรียนรู้ใช้แต่อารมณ์ก็จะเข้าขั้นวิกฤตแต่เมื่อวิกฤต แล้วก็จะเกิดปัญญา เมื่อผ่านความทุกข์ ก็จะเกิดปัญญา” นพ.ประเวศ กล่าว
ต่อข้อถามเกี่ยวกับการชุมนุมใหญ่ของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่มีการนัดชุมนุมใหญ่ วันที่ 25 พ.ค. นพ.ประเวศ กล่าวว่า ตนไม่อยากให้คำแนะนำหรือพูดอะไรมาก เพราะจะถูกโยงว่าเข้าข้างหรือเป็นอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาอะไรได้ ไม่อยากให้ความคิดเห็น ถ้าตอบก็เท่ากับแยก แต่การชุมนุมในระบอบประชาธิปไตยนั้น ไม่มีปัญหาอะไร ถ้าทำอยู่ภายใต้กรอบของกฎหมายและสันติวิธี ส่วนคนที่ไม่เห็นด้วย ก็ไปชุมนุมที่อื่น เวลาอื่น คนที่เห็นต่างกันก็ไม่จำเป็นต้องปะทะกัน วิธีการปะทะกันนั้น ไม่เจริญ ต้องใช้เหตุผล ใช้ความรู้ อย่าใช้ความกักขฬะ หยาบคาย ขว้างปาสิ่งของใส่กัน เพราะคนที่เจริญแล้วสามารถเห็นต่างกันได้ ในต่างประเทศก็มีการเดินขบวนเป็นล้านคนก็ไม่เห็นเกิดความรุนแรงขึ้น
“เวลาทะเลาะกัน สังคมจะต้องเป็นผู้กำกับไม่ให้เกิดความรุนแรง เหมือนสมัยพุทธกาล พระสงฆ์เมืองโกสัมพีทะเลาะกันแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย พระพุทธเจ้าเสด็จมาห้ามก็ยังห้ามไม่ได้ จนพระพุทธเจ้าต้องหนีเข้าป่าเรไร แต่พระสงฆ์ก็ยังไม่เลิกทะเลาะกัน จนประชาชนใช้วิธีไม่ใส่บาตรพระทั้ง 2 ฝ่าย ก็หมดแรงทะเลาะไปเอง ดังนั้น อย่าไปหวังว่าในหลวงท่านจะทรงช่วยได้ เพราะพระพุทธเจ้ายังห้ามให้พระสงฆ์เลิกทะเลาะกันไม่ได้เลย ฉะนั้น ประชาธิปไตยเหมือนกับสนามฟุตบอล มีกรอบสนาม มีกติกา มีกรรมการ และคนดู แม้จะมีกรอบ แต่กรรมการก็สามารถเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้ แต่คนดูหรือประชาชน จะเป็นคนกำกับไม่ให้กรรมการทำผิดเอง ซึ่งคนเล่นก็จะเล่นดีขึ้นด้วย” นพ.ประเวศ กล่าว
ต่อข้อถามถึงเรื่องที่ นายจักรภพ เพ็ญแข รมว.ประจำสำนักนายกฯ ถูกกล่าวหาว่ากล่าวถึงสถาบันเชิงหมิ่นประมาทและกรณีแนวคิดในการทำประชามติเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ นั้น นพ.ประเวศ กล่าวว่า ไม่ขอตอบ เพราะจะถูกหาว่าเลือกข้าง และหมายถึงวนเวียนอยู่ในวังวนเดิม หาทางออกไม่ได้
ส่วนกรณีมีการปรับคณะรัฐมนตรี (ครม.) โดยให้นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) และให้นายวิชาญ มีนชัยนันท์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) นพ.ประเวศ กล่าวว่า ตนไม่สามารถพูดอะไรได้ เพราะไม่ได้รู้จักเป็นการส่วนตัว แต่ในฐานะที่เป็นผู้ใหญ่ของบ้านเมือง อยากเห็นรัฐมนตรีทุกคนประสบความสำเร็จในการทำให้บ้านเมืองดีขึ้น อยากเอาใจช่วย เนื่องจากทุกเรื่องล้วนเป็นเรื่องยาก ซับซ้อน จึงอยากเห็นรัฐมนตรีทุกคนทำงานร่วมกับฝ่ายต่างๆทั้งภาควิชาการ สังคม และสื่อ
“การใช้อำนาจหรือความดีเพียงอย่างเดียวในการแก้ไขปัญหาบ้านเมืองหรือการบริหารงานในกระทรวงต่างๆ ไม่สามารถประสบความสำเร็จได้ ต้องอาศัยความร่วมมือของทุกคน ต้องร่วมมือร่วมใจกัน ใครจะเป็นรัฐมนตรีก็ได้ แต่ต้องมีความหวังดี อยากให้สังคมได้ประโยชน์ ซึ่งงานของ พม.ถือเป็นเรื่องสำคัญ ต้องพยายามปัญหาให้ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความยากจน ความอยุติธรรมในสังคม ที่ไม่มีอำนาจใดแก้ได้ เว้นแต่ความร่วมมือของทุกฝ่าย”นพ.ประเวศกล่าว
วันนี้ (23 พ.ค.) นพ.ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส กล่าวถึงสถานการณ์ทางการเมืองในขณะนี้ว่า ปัญหาของบ้านเมืองขณะนี้ไม่มีทางออก ยังคงวนเวียนเป็นวัฏจักร เกิดปัญหาเดิมๆ เลือกตั้งแล้วได้รัฐบาลไม่ดี ก็แก้ปัญหาประเทศด้วยการรัฐประหาร ซึ่งรัฐประหาร ก็ช่วยแก้ปัญหาไม่ได้ ต้องเลือกตั้งใหม่ แล้วรัฐประหารอีก วนเวียนอยู่อย่างนี้ เนื่องจากไม่ได้แก้ที่ต้นเหตุ คือ โครงสร้างดั่งเดิมของสังคมไทยที่เป็นเผด็จการ ตั้งแต่ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เผด็จการทหาร คอมมิวนิสต์ เผด็จการทุนนิยม และเผด็จการรัฐสภา ส่วนประชาธิปไตยเป็นเพียงรูปแบบ ของการไปเลือกตั้งที่ยึดติดอยู่กับมายาคติเท่านั้น ขณะที่โครงสร้างอำนาจก็ยังเป็นเผด็จการเหมือนเดิม เปลี่ยนเพียงคนที่มากุมอำนาจสูงสุดเท่านั้น พอใครชนะก็เอาอำนาจไป
“ปัญหาขณะนี้ต้องแก้โดยปฏิวัติ 3 ด้าน คือ 1.ปัญญา คือ การรู้เท่าทันตัณหา คือ ความอยากได้ มานะ คือ การชอบใช้อำนาจเหนือผู้อื่น ทิฐิ คือ ถือความคิดเห็นตัวเองเป็นใหญ่ ซึ่งเหล่านี้เป็นรากฐานของเผด็จการ จิตใจ คือ การที่เรามาจากสังคมชนชั้น ถูกการใช้อำนาจนิยม เข้ามาครอบงำ วิธีคิด 2.จิตใจ ให้แคบ ทำให้คนเห็นแก่ตัว เมื่อพัฒนาทั้ง 2 ด้านแล้ว ก็ต้องปฏิวัติข้อที่ 3 ประชาธิปไตย โดยการกระจายอำนาจ ให้คนได้มีส่วนร่วม สร้างความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นในสังคม ทั้งทางเศรษฐกิจ กฎหมาย การศึกษา ซึ่งสามารถทำได้ในยุคปัจจุบันที่มีเครื่องมือสื่อสารจำนวนมาก สร้างความเข้าใจนี้ ดังนั้น ประชาธิปไตยต้องแก้ไขปัญหาเหล่านี้ให้ได้ ไม่เช่นนั้นจะมีประชาธิปไตยไปทำไม”นพ.ประเวศ กล่าว
นพ.ประเวศ กล่าวต่อว่า ขณะนี้คงไม่มีใครบอกได้ว่าต้องแก้ปัญหาอย่างไร สังคมจะเกิดการเรียนรู้ขึ้นเอง หากเกิดวิกฤตถึงที่สุดแล้ว และใครก็พึ่งไม่ได้ทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นทหาร ทักษิณ เทวดา ฉะนั้นต้องพึ่งตนเอง หากมีปัญญาก็จะมีทางออก ขณะนี้สังคมเข้าขั้นรุนแรง มีการแบ่งขั้วอย่างชัดเจน ไม่ใช่แค่คนสองคน แต่เป็นการแบ่งข้างของคนจำนวนมาก หากไม่รู้เท่าทันก็จะนำไปสู่กลไกของความขัดแย้งเพิ่มมากขึ้น ซึ่งต้องเรียนรู้การแก้ปัญหาด้วยสันติวิธี แต่คนไทยไม่เคยมีทักษะนี้เลย และสังคมที่เจริญมากขึ้น มักมีความขัดแย้งเพิ่มขึ้น
“เราต้องไม่เอาตัวไปเข้าข้างฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด ต้องช่วยกันมองหาทางออกไปสู่โลกใหม่ไปจากภพภูมิเดิมๆ หลุดจากวังวนเดิมๆ ไปสู่กายใหม่ จิตใหม่ เหมือนไข่ไก่ ที่ลูกไก่ต้องจิกออกจากเปลือกไข่ไม่ได้ ถ้าออกไม่ได้ก็ตายอยู่ในนั้น หรือเหมือนเด็ก ถึงเวลาก็ต้องคลอดออกจากท้องแม่ หากคลอดไม่ได้ ก็ตายไปพร้อมกัน แต่จะได้หรือไม่ ก็คงต้องขึ้นอยู่กับภูมิปัญญาของสังคมไทย หากขาดการเรียนรู้ใช้แต่อารมณ์ก็จะเข้าขั้นวิกฤตแต่เมื่อวิกฤต แล้วก็จะเกิดปัญญา เมื่อผ่านความทุกข์ ก็จะเกิดปัญญา” นพ.ประเวศ กล่าว
ต่อข้อถามเกี่ยวกับการชุมนุมใหญ่ของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่มีการนัดชุมนุมใหญ่ วันที่ 25 พ.ค. นพ.ประเวศ กล่าวว่า ตนไม่อยากให้คำแนะนำหรือพูดอะไรมาก เพราะจะถูกโยงว่าเข้าข้างหรือเป็นอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาอะไรได้ ไม่อยากให้ความคิดเห็น ถ้าตอบก็เท่ากับแยก แต่การชุมนุมในระบอบประชาธิปไตยนั้น ไม่มีปัญหาอะไร ถ้าทำอยู่ภายใต้กรอบของกฎหมายและสันติวิธี ส่วนคนที่ไม่เห็นด้วย ก็ไปชุมนุมที่อื่น เวลาอื่น คนที่เห็นต่างกันก็ไม่จำเป็นต้องปะทะกัน วิธีการปะทะกันนั้น ไม่เจริญ ต้องใช้เหตุผล ใช้ความรู้ อย่าใช้ความกักขฬะ หยาบคาย ขว้างปาสิ่งของใส่กัน เพราะคนที่เจริญแล้วสามารถเห็นต่างกันได้ ในต่างประเทศก็มีการเดินขบวนเป็นล้านคนก็ไม่เห็นเกิดความรุนแรงขึ้น
“เวลาทะเลาะกัน สังคมจะต้องเป็นผู้กำกับไม่ให้เกิดความรุนแรง เหมือนสมัยพุทธกาล พระสงฆ์เมืองโกสัมพีทะเลาะกันแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย พระพุทธเจ้าเสด็จมาห้ามก็ยังห้ามไม่ได้ จนพระพุทธเจ้าต้องหนีเข้าป่าเรไร แต่พระสงฆ์ก็ยังไม่เลิกทะเลาะกัน จนประชาชนใช้วิธีไม่ใส่บาตรพระทั้ง 2 ฝ่าย ก็หมดแรงทะเลาะไปเอง ดังนั้น อย่าไปหวังว่าในหลวงท่านจะทรงช่วยได้ เพราะพระพุทธเจ้ายังห้ามให้พระสงฆ์เลิกทะเลาะกันไม่ได้เลย ฉะนั้น ประชาธิปไตยเหมือนกับสนามฟุตบอล มีกรอบสนาม มีกติกา มีกรรมการ และคนดู แม้จะมีกรอบ แต่กรรมการก็สามารถเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้ แต่คนดูหรือประชาชน จะเป็นคนกำกับไม่ให้กรรมการทำผิดเอง ซึ่งคนเล่นก็จะเล่นดีขึ้นด้วย” นพ.ประเวศ กล่าว
ต่อข้อถามถึงเรื่องที่ นายจักรภพ เพ็ญแข รมว.ประจำสำนักนายกฯ ถูกกล่าวหาว่ากล่าวถึงสถาบันเชิงหมิ่นประมาทและกรณีแนวคิดในการทำประชามติเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ นั้น นพ.ประเวศ กล่าวว่า ไม่ขอตอบ เพราะจะถูกหาว่าเลือกข้าง และหมายถึงวนเวียนอยู่ในวังวนเดิม หาทางออกไม่ได้
ส่วนกรณีมีการปรับคณะรัฐมนตรี (ครม.) โดยให้นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) และให้นายวิชาญ มีนชัยนันท์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) นพ.ประเวศ กล่าวว่า ตนไม่สามารถพูดอะไรได้ เพราะไม่ได้รู้จักเป็นการส่วนตัว แต่ในฐานะที่เป็นผู้ใหญ่ของบ้านเมือง อยากเห็นรัฐมนตรีทุกคนประสบความสำเร็จในการทำให้บ้านเมืองดีขึ้น อยากเอาใจช่วย เนื่องจากทุกเรื่องล้วนเป็นเรื่องยาก ซับซ้อน จึงอยากเห็นรัฐมนตรีทุกคนทำงานร่วมกับฝ่ายต่างๆทั้งภาควิชาการ สังคม และสื่อ
“การใช้อำนาจหรือความดีเพียงอย่างเดียวในการแก้ไขปัญหาบ้านเมืองหรือการบริหารงานในกระทรวงต่างๆ ไม่สามารถประสบความสำเร็จได้ ต้องอาศัยความร่วมมือของทุกคน ต้องร่วมมือร่วมใจกัน ใครจะเป็นรัฐมนตรีก็ได้ แต่ต้องมีความหวังดี อยากให้สังคมได้ประโยชน์ ซึ่งงานของ พม.ถือเป็นเรื่องสำคัญ ต้องพยายามปัญหาให้ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความยากจน ความอยุติธรรมในสังคม ที่ไม่มีอำนาจใดแก้ได้ เว้นแต่ความร่วมมือของทุกฝ่าย”นพ.ประเวศกล่าว