ทีมจิตแพทย์ไทยดูแลเยียวยาจิตใจ พม่าประสบภัยพิบัตินาร์กีส พบเด็กสูญเสียพ่อแม่เฉพาะ 2 เมือง กว่า 10 ราย ขณะที่ยังไม่พบโรคระบาดรุนแรง เผยเตรียมหารือทำความสะอาดบ่อน้ำในหมู่บ้าน
วันนี้ (22 พ.ค.) นพ.คำนวณ อึ้งชูศักดิ์ ผู้อำนวยการสำนักระบาดวิทยา หนึ่งในทีมแพทย์พระราชทานในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร กล่าวถึงการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยภัยพิบัติจากพายุไซโคลนนาร์กีสในประเทศพม่าของหน่วยแพทย์พระราชทาน ว่า หน่วยแพทย์พระราชทานให้การตรวจรักษาพยาบาลชาวพม่าที่เมืองเมียเมียะ (Myaungmya) และ เมืองลาบุตตา (Labutta) ที่หน่วยแพทย์เคลื่อนที่ได้เดินทางไปยังพื้นที่ระยะทาง 46 ไมล์ ใช้เวลาเดินทาง 4-5 ชั่วโมง และต้องออกจากเมืองเมียเมียะตั้งแต่เช้าตรู่ เพื่อให้การรักษาผู้ป่วย ซึ่งขณะนี้ได้ให้การรักษาพยาบาลไปแล้ว 1,341 คน และพบว่า 15% ของคนไข้ที่มาตรวจรักษาเป็นแผลติดเชื้อ แต่ไม่มีรายใดที่มีอาการรุนแรง และพบว่ามีผู้ป่วยด้วยโรคท้องร่วงร้อยละ 30 สำหรับสถานการณ์ที่ลาบุตตา ถือว่ารุนแรงกว่าเมืองเมียเมียะ มีผู้เข้ารับการตรวจรักษา 300-400 คน ขณะนี้ยังไม่ได้รับแจ้งว่า มีผู้ป่วยติดเชื้อรุนแรงเช่นกัน มีเพียงล้างแผลทำความสะอาด และผ่าตัดเล็ก ทั้งนี้ พม่าให้หน่วยแพทย์ไทยดูแลพื้นที่เมืองเมียเมี๊ยและลาบุตตาเป็นหลัก ยังไม่มีการมอบหมายให้ดูแลพื้นที่อื่นๆ อีก
“โรคท้องร่วง เป็นหวัด หรือแผลเน่าจากการติดเชื้อเป็นเรื่องปกติ ของพื้นที่ที่ประสบภัยพิบัติน้ำท่วม ในผู้ป่วยที่แผลติดเชื้อ ได้ตัดผิวหนังบางส่วนออกไป แต่ไม่มีรายที่รุนแรงลุกลามถึงขั้นต้องตัดอวัยวะทิ้ง แต่ก็ไม่ทราบตัวเลขผู้ประสบภัยทั้งหมดในพม่า คาดว่า คงต้องมีอยู่บ้าง ซึ่งในกลุ่มที่ได้รับบาดเจ็บรุนแรงและแผลติดเชื้อ จะเกิดภายใน 2-3 วันแรก หรือในสัปดาห์แรก เช่นเดียวกับผู้ประสบภัยสึนามิในประเทศไทย ที่มีหลายรายเกิดแผลติดเชื้อ และเสียชีวิตในที่สุด ส่วนการเยียวยาด้านจิตใจ โดยเฉพาะมีเด็กจำนวนหนึ่งได้รับผลกระทบทางจิตใจ เกิดความหวาดกลัว ซึ่งมีเด็กประมาณ กว่า 10 คนที่อยู่ในความดูแลสูญเสียพ่อ แม่ ทีมแพทย์สุขภาพจิต จึงให้เด็กทำกิจกรรมต่างๆ เช่น วาดภาพระบายสี” นพ.คำนวณ กล่าว
นพ.คำนวณ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ชาวพม่ายังต้องการความช่วยเหลือในเรื่องการทำความสะอาดบ่อน้ำต่างๆ ในหมู่บ้าน เนื่องจากชาวบ้านส่วนใหญ่อยากกลับไปใช้ชีวิตหมู่บ้านของตนเอง สำหรับเมืองลาบุตตา มีหมู่บ้านกว่า 500 หมู่บ้าน ดังนั้น จึงต้องการทำความสะอาดบ่อน้ำ ซึ่งประเทศไทยพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือเรื่องดังกล่าว อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้จะเป็นประเด็นสำคัญในประชุมการหารือของกลุ่มสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ในวันที่ 27 พฤษภาคมนี้ ส่วนความช่วยเหลืออื่นๆ เช่น ข้าว หรือ อาหาร เครื่องสูบน้ำ โดยขอรับบริจาคนำจากภายนอกได้ นอกจากนั้น เป็นเครื่องไม้เครื่องมืออุปกรณ์ในการประกอบอาชีพ เช่น แห อวน ซึ่งจะช่วยให้ชีวิตของชาวบ้านเข้าสู่ภาวะปกติเร็วขึ้น ทั้งนี้ ในช่วยระยะ 6 สัปดาห์แรก ถือเป็นช่วงที่ชาวบ้านต้องการความช่วยเหลือจากหน่วยงานต่างๆ อย่างมาก ซึ่งทีมแพทย์ไทย ได้เตรียมการวางแผนไว้ทั้งหมดแล้ว
นพ.คำนวณ กล่าวด้วยว่า สำหรับการสื่อสารก็เริ่มดีขึ้น เนื่องจากมีล่ามคอยช่วยแปลภาษา โดยทูตพม่าให้คนพม่าที่ทำงานกับธุรกิจไทยซึ่งสามารถพูดได้ทั้งภาษาพม่าและภาษาไทย จำนวน 7 คน รวมกับล่ามเดิมที่มีอยู่ 3 คน รวมเป็น 10 คน
นพ.คำนวณ กล่าวต่อว่า ในวันนี้ (22 พ.ค.) ตามเวลาในประเทศไทย ประมาณ 15.00 น.นายบรรสาน บุนนาค เอกอัครราชทูตไทยประจำสหภาพพม่า จะนำคณะ พญ.ศิริพร กัญชนะ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นพ.ศุภชัย คุณารัตนพฤกษ์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ และ นพ.สุรเชษฐ์ สถิตนิรามัย ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ เดินทางไปเยี่ยมหน่วยแพทย์พระราชทานที่ปฏิบัติงานอยู่ในเมืองเมียเมียะ โดยนำของเยี่ยมพระราชทานมาให้เป็นกำลังใจ
วันนี้ (22 พ.ค.) นพ.คำนวณ อึ้งชูศักดิ์ ผู้อำนวยการสำนักระบาดวิทยา หนึ่งในทีมแพทย์พระราชทานในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร กล่าวถึงการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยภัยพิบัติจากพายุไซโคลนนาร์กีสในประเทศพม่าของหน่วยแพทย์พระราชทาน ว่า หน่วยแพทย์พระราชทานให้การตรวจรักษาพยาบาลชาวพม่าที่เมืองเมียเมียะ (Myaungmya) และ เมืองลาบุตตา (Labutta) ที่หน่วยแพทย์เคลื่อนที่ได้เดินทางไปยังพื้นที่ระยะทาง 46 ไมล์ ใช้เวลาเดินทาง 4-5 ชั่วโมง และต้องออกจากเมืองเมียเมียะตั้งแต่เช้าตรู่ เพื่อให้การรักษาผู้ป่วย ซึ่งขณะนี้ได้ให้การรักษาพยาบาลไปแล้ว 1,341 คน และพบว่า 15% ของคนไข้ที่มาตรวจรักษาเป็นแผลติดเชื้อ แต่ไม่มีรายใดที่มีอาการรุนแรง และพบว่ามีผู้ป่วยด้วยโรคท้องร่วงร้อยละ 30 สำหรับสถานการณ์ที่ลาบุตตา ถือว่ารุนแรงกว่าเมืองเมียเมียะ มีผู้เข้ารับการตรวจรักษา 300-400 คน ขณะนี้ยังไม่ได้รับแจ้งว่า มีผู้ป่วยติดเชื้อรุนแรงเช่นกัน มีเพียงล้างแผลทำความสะอาด และผ่าตัดเล็ก ทั้งนี้ พม่าให้หน่วยแพทย์ไทยดูแลพื้นที่เมืองเมียเมี๊ยและลาบุตตาเป็นหลัก ยังไม่มีการมอบหมายให้ดูแลพื้นที่อื่นๆ อีก
“โรคท้องร่วง เป็นหวัด หรือแผลเน่าจากการติดเชื้อเป็นเรื่องปกติ ของพื้นที่ที่ประสบภัยพิบัติน้ำท่วม ในผู้ป่วยที่แผลติดเชื้อ ได้ตัดผิวหนังบางส่วนออกไป แต่ไม่มีรายที่รุนแรงลุกลามถึงขั้นต้องตัดอวัยวะทิ้ง แต่ก็ไม่ทราบตัวเลขผู้ประสบภัยทั้งหมดในพม่า คาดว่า คงต้องมีอยู่บ้าง ซึ่งในกลุ่มที่ได้รับบาดเจ็บรุนแรงและแผลติดเชื้อ จะเกิดภายใน 2-3 วันแรก หรือในสัปดาห์แรก เช่นเดียวกับผู้ประสบภัยสึนามิในประเทศไทย ที่มีหลายรายเกิดแผลติดเชื้อ และเสียชีวิตในที่สุด ส่วนการเยียวยาด้านจิตใจ โดยเฉพาะมีเด็กจำนวนหนึ่งได้รับผลกระทบทางจิตใจ เกิดความหวาดกลัว ซึ่งมีเด็กประมาณ กว่า 10 คนที่อยู่ในความดูแลสูญเสียพ่อ แม่ ทีมแพทย์สุขภาพจิต จึงให้เด็กทำกิจกรรมต่างๆ เช่น วาดภาพระบายสี” นพ.คำนวณ กล่าว
นพ.คำนวณ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ชาวพม่ายังต้องการความช่วยเหลือในเรื่องการทำความสะอาดบ่อน้ำต่างๆ ในหมู่บ้าน เนื่องจากชาวบ้านส่วนใหญ่อยากกลับไปใช้ชีวิตหมู่บ้านของตนเอง สำหรับเมืองลาบุตตา มีหมู่บ้านกว่า 500 หมู่บ้าน ดังนั้น จึงต้องการทำความสะอาดบ่อน้ำ ซึ่งประเทศไทยพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือเรื่องดังกล่าว อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้จะเป็นประเด็นสำคัญในประชุมการหารือของกลุ่มสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ในวันที่ 27 พฤษภาคมนี้ ส่วนความช่วยเหลืออื่นๆ เช่น ข้าว หรือ อาหาร เครื่องสูบน้ำ โดยขอรับบริจาคนำจากภายนอกได้ นอกจากนั้น เป็นเครื่องไม้เครื่องมืออุปกรณ์ในการประกอบอาชีพ เช่น แห อวน ซึ่งจะช่วยให้ชีวิตของชาวบ้านเข้าสู่ภาวะปกติเร็วขึ้น ทั้งนี้ ในช่วยระยะ 6 สัปดาห์แรก ถือเป็นช่วงที่ชาวบ้านต้องการความช่วยเหลือจากหน่วยงานต่างๆ อย่างมาก ซึ่งทีมแพทย์ไทย ได้เตรียมการวางแผนไว้ทั้งหมดแล้ว
นพ.คำนวณ กล่าวด้วยว่า สำหรับการสื่อสารก็เริ่มดีขึ้น เนื่องจากมีล่ามคอยช่วยแปลภาษา โดยทูตพม่าให้คนพม่าที่ทำงานกับธุรกิจไทยซึ่งสามารถพูดได้ทั้งภาษาพม่าและภาษาไทย จำนวน 7 คน รวมกับล่ามเดิมที่มีอยู่ 3 คน รวมเป็น 10 คน
นพ.คำนวณ กล่าวต่อว่า ในวันนี้ (22 พ.ค.) ตามเวลาในประเทศไทย ประมาณ 15.00 น.นายบรรสาน บุนนาค เอกอัครราชทูตไทยประจำสหภาพพม่า จะนำคณะ พญ.ศิริพร กัญชนะ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นพ.ศุภชัย คุณารัตนพฤกษ์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ และ นพ.สุรเชษฐ์ สถิตนิรามัย ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ เดินทางไปเยี่ยมหน่วยแพทย์พระราชทานที่ปฏิบัติงานอยู่ในเมืองเมียเมียะ โดยนำของเยี่ยมพระราชทานมาให้เป็นกำลังใจ