“ไชยา” สั่งการสสจ.ดูแลจังหวัดติดชายแดนพม่าเฝ้าระวังป้องกันโรคระบาดลุกลามเข้าไทย พร้อมเตรียมทีมแพทย์ 2 ทีม อาสาสมัคร รวมกว่า 100 คน ขึ้นบัญชีลงพื้นที่ให้การช่วยเหลือพม่า
นายไชยา สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ได้สั่งการสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ให้หาข้อมูลและเฝ้าระวังอย่างเต็มที่ เพราะพม่ามีผู้เสียชีวิตล้มตายนับแสนคนมีโรคที่มากับอุทกภัย ซึ่งเป็นโรคที่มองไม่เห็น อีกทั้งได้รับรายงานว่ามีชาวพม่าอพยพข้ามมาทางฝั่งไทยเนื่องจากนี้ความทุรกันดาร อดอยากปากแห้ง จึงต้องป้องกันไม่ให้โรคลุกลามเข้าประเทศ โดยจะขอความเห็นใจเสนอของบประมาณจากสำนักงานคณะหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เพื่อช่วยเหลือประชาชนบริเวณจังหวัดที่ติดชายแดนพม่าเพื่อให้ดูแลความเป็นอยู่ได้ทั่วถึงมากขึ้น ส่วนการให้ความช่วยเหลือพม่าในขณะนี้ยังคงเป็นการร้องขอความช่วยเหลือด้านยา เวชภัณฑ์และเครื่องมือแพทย์เท่านั้น แต่ยังไม่มีการติดต่อขอความช่วยเหลือในการส่งทีมแพทย์ลงพื้นที่แต่อย่างใด อย่างไรก็ดี สธ.เตรียมความพร้อมด้านทีมแพทย์เรียบร้อยแล้ว
นพ.ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า สธ.ได้ให้ความช่วยเหลือด้านเวชภัณฑ์ ยารักษาโรค และเครื่องมือแพทย์ กับพม่าแล้วรวมจำนวน 45 ตัน โดยได้เตรียมความพร้อมทีมแพทย์และพยาบาลจำนวน 20 ทีม ทีมละ 5-6 คน ในการรักษาพยาบาล และหน่วยเคลื่อนที่เร็ว 20 ทีม เพื่อควบคุมโรคระบาด โดยมีการขึ้นบัญชีรายชื่อทั้งหมด รอเพียงการอนุญาตเข้าประเทศเท่านั้น นอกจากนี้ยังมีอาสาสมัครแพทย์พยาบาลจากโรงเรียนแพทย์ เช่น โรงพยาบาลรามาธิบดี แจ้งความจำนงว่าจะเข้าร่วมให้การช่วยเหลือทันทีที่ทางการพม่าอนุญาต
“มีความกังวลในส่วนจังหวัดที่ติดชายแดนพม่า กว่า 10 จังหวัด เช่น ราชบุรี ระนอง ประจวบคีรีขันธ์ กาญจนบุรี อุทัยธานี กำแพงเพชร ตาก แม่ฮ่องสอน เชียงราย จะเกิดโรคอหิวาตกโรค โรคไข้เลือดออก ในช่วงนี้ จึงเตรียมความพร้อมในการดูแลให้ความช่วยเหลือเต็มที่ โดยให้ความรู้อนามัยพื้นฐาน การดื่มน้ำสะอาด รับประทานอาหารสุกใหม่ ล้างมือบ่อยๆ เพื่อป้องกันตนเอง รวมถึงด่านกักกันโรคที่จะต้องทำงานเข้มงวดมากขึ้น ทั้งนี้รวมถึง 14 จังหวัดภาคใต้ที่เริ่มมีมรสุมปกคลุม ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ หากเกิดเหตุฉุกเฉินก็สามารถบรรเทาทุกข์ได้รวดเร็วทันท่วงที”นพ.ปราชญ์กล่าว
นพ.คำนวณ อึ้งชูศักดิ์ ผู้อำนวยการสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กล่าวว่า ในส่วนของทีมควบคุมโรคที่เตรียมความพร้อมซึ่งคงต้องหารือกับองค์การอนามัยโลกและทางรัฐบาลพม่า เนื่องจากหากลงพื้นที่จำเป็นต้องมีเจ้าหน้าที่ชาวพม่าเป็นหัวหน้าทีมดำเนินงาน ขณะเดียวกันที่ยังไม่มีการร้องขอทีมควบคุมโรคของไทย ได้ความพร้อมด้านเวชภัณฑ์ในการรับมือโรคระบาด 4หมวดได้แก่ 1 โรคทางเดินอาหารที่มาจากน้ำ ทั้งโรคท้องร่วง อหิวาตกโรค 2 โรคที่นำโดยแมลง ได้แก่โรคมาลาเรีย ไข้เลือดออก 3 โรคทางเดินหายใจ อาทิ หวัด ไข้หวัดใหญ่ และ 4 โรคทางการสัมผัสอาทิ หัด บาดทะยัก ฯลฯ
นายไชยา สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ได้สั่งการสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ให้หาข้อมูลและเฝ้าระวังอย่างเต็มที่ เพราะพม่ามีผู้เสียชีวิตล้มตายนับแสนคนมีโรคที่มากับอุทกภัย ซึ่งเป็นโรคที่มองไม่เห็น อีกทั้งได้รับรายงานว่ามีชาวพม่าอพยพข้ามมาทางฝั่งไทยเนื่องจากนี้ความทุรกันดาร อดอยากปากแห้ง จึงต้องป้องกันไม่ให้โรคลุกลามเข้าประเทศ โดยจะขอความเห็นใจเสนอของบประมาณจากสำนักงานคณะหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เพื่อช่วยเหลือประชาชนบริเวณจังหวัดที่ติดชายแดนพม่าเพื่อให้ดูแลความเป็นอยู่ได้ทั่วถึงมากขึ้น ส่วนการให้ความช่วยเหลือพม่าในขณะนี้ยังคงเป็นการร้องขอความช่วยเหลือด้านยา เวชภัณฑ์และเครื่องมือแพทย์เท่านั้น แต่ยังไม่มีการติดต่อขอความช่วยเหลือในการส่งทีมแพทย์ลงพื้นที่แต่อย่างใด อย่างไรก็ดี สธ.เตรียมความพร้อมด้านทีมแพทย์เรียบร้อยแล้ว
นพ.ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า สธ.ได้ให้ความช่วยเหลือด้านเวชภัณฑ์ ยารักษาโรค และเครื่องมือแพทย์ กับพม่าแล้วรวมจำนวน 45 ตัน โดยได้เตรียมความพร้อมทีมแพทย์และพยาบาลจำนวน 20 ทีม ทีมละ 5-6 คน ในการรักษาพยาบาล และหน่วยเคลื่อนที่เร็ว 20 ทีม เพื่อควบคุมโรคระบาด โดยมีการขึ้นบัญชีรายชื่อทั้งหมด รอเพียงการอนุญาตเข้าประเทศเท่านั้น นอกจากนี้ยังมีอาสาสมัครแพทย์พยาบาลจากโรงเรียนแพทย์ เช่น โรงพยาบาลรามาธิบดี แจ้งความจำนงว่าจะเข้าร่วมให้การช่วยเหลือทันทีที่ทางการพม่าอนุญาต
“มีความกังวลในส่วนจังหวัดที่ติดชายแดนพม่า กว่า 10 จังหวัด เช่น ราชบุรี ระนอง ประจวบคีรีขันธ์ กาญจนบุรี อุทัยธานี กำแพงเพชร ตาก แม่ฮ่องสอน เชียงราย จะเกิดโรคอหิวาตกโรค โรคไข้เลือดออก ในช่วงนี้ จึงเตรียมความพร้อมในการดูแลให้ความช่วยเหลือเต็มที่ โดยให้ความรู้อนามัยพื้นฐาน การดื่มน้ำสะอาด รับประทานอาหารสุกใหม่ ล้างมือบ่อยๆ เพื่อป้องกันตนเอง รวมถึงด่านกักกันโรคที่จะต้องทำงานเข้มงวดมากขึ้น ทั้งนี้รวมถึง 14 จังหวัดภาคใต้ที่เริ่มมีมรสุมปกคลุม ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ หากเกิดเหตุฉุกเฉินก็สามารถบรรเทาทุกข์ได้รวดเร็วทันท่วงที”นพ.ปราชญ์กล่าว
นพ.คำนวณ อึ้งชูศักดิ์ ผู้อำนวยการสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กล่าวว่า ในส่วนของทีมควบคุมโรคที่เตรียมความพร้อมซึ่งคงต้องหารือกับองค์การอนามัยโลกและทางรัฐบาลพม่า เนื่องจากหากลงพื้นที่จำเป็นต้องมีเจ้าหน้าที่ชาวพม่าเป็นหัวหน้าทีมดำเนินงาน ขณะเดียวกันที่ยังไม่มีการร้องขอทีมควบคุมโรคของไทย ได้ความพร้อมด้านเวชภัณฑ์ในการรับมือโรคระบาด 4หมวดได้แก่ 1 โรคทางเดินอาหารที่มาจากน้ำ ทั้งโรคท้องร่วง อหิวาตกโรค 2 โรคที่นำโดยแมลง ได้แก่โรคมาลาเรีย ไข้เลือดออก 3 โรคทางเดินหายใจ อาทิ หวัด ไข้หวัดใหญ่ และ 4 โรคทางการสัมผัสอาทิ หัด บาดทะยัก ฯลฯ