เอ็นจีโอจี้ “ไชยา” เคลียร์คุณสมบัติบอร์ดใหม่องค์การเภสัชฯ เหมาะสมตรงไหน สงสัยหรือเพราะ “ถิรชัย วุฒิธรรม” ร่วมซื้อหุ้นสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ ซิตี ด้าน "หมอวิชัย" ลั่นขอฟังเหตุผลรมว. ถ้าไม่เคลียร์มีฟ้อง
จากกรณี นพ.วิชัย โชควิวัฒน ประธานกรรมการบริหารองค์การเภสัชกรรม (อภ.) และกรรมการอีก 8 คน ถูกปลดพ้นจากตำแหน่ง โดยนายไชยา สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเสนอคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งคณะกรรมการบริหาร อภ.ชุดใหม่ ในการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวานนี้นั้น
นายนิมิตร์ เทียนอุดม ผู้อำนวยการมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ กล่าวว่า บทบาทขององค์การเภสัชกรรม (อภ.) มีส่วนสำคัญอย่างมากต่อการเข้าถึงยาของคนไทย ซึ่งขณะนี้มีหลายเรื่องที่อยู่ในการพิจารณาผลักดันของบอร์ด อภ. ทั้งการประมูลก่อสร้างโรงงานวัคซีนที่ จ.สระบุรี มูลค่า 1,500 ล้านบาท และการจัดซื้อยาโดยเฉพาะยาต้านมะเร็งที่กระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศบังคับใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตร (ซีแอล) แล้ว ซึ่งหากบอร์ดชุดใหม่มีความตระหนักถึงผลประโยชน์ของประชาชนคนไทยอย่างแท้จริงก็จะเป็นเรื่องที่ดีมาก แต่หากบอร์ดชุดใหม่มีความประสงค์ตรงกันข้ามก็เป็นเรื่องที่น่าวิตกกังวลอย่างยิ่ง ซึ่งภาคประชาสังคมที่ร่วมกันผลักดันการเข้าถึงยาจะติดตามอย่างใกล้ชิดเพราะเมื่อพิจารณาจากคุณสมบัติของบอร์ดใหม่แล้วยังเป็นที่สงสัยอยู่มากอยากได้คำอธิบายจาก รมว.สธ.
“เราอยากได้คำอธิบายจากรัฐมนตรีไชยาว่า เหตุใดจึงเลือกคุณถิรชัย วุฒิธรรม มาดำรงตำแหน่งประธานบอร์ด อภ. เพราะเท่าที่เราทราบมาคุณถิรชัยไม่เคยมีความรู้เรื่องยามาก่อน ทราบแต่เพียงว่าเป็นผู้อยู่ในแวดวงกีฬาเป็นผู้ร่วมซื้อหุ้นสโมสรฟุตบอลแมนเชตเตอร์ ซิตี กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และเป็นกรรมการบริษัท ทราฟฟิกคอนเนอร์โฮลดิงส์ จำกัด (มหาชน) เรายังต้องการคำอธิบายคุณสมบัติของนายประเสริฐ เกษมโกเมศ นักธุรกิจด้านอสังหาริมทรัพย์ ว่าเหมาะสมกับการทำงานในฐานะของบอร์ด อภ.อย่างไร เพราะประวัติเท่าที่ทราบมาน่าจะถนัดเรื่องการรับเหมาก่อสร้างมากกว่า เพราะเคยคว้าสัมปทานโครงการใหญ่คือทำรถรางไฟฟ้า 20 ปีในสวนสัตว์เชียงใหม่ ดังนั้น รัฐมนตรีไชยาต้องอธิบายต่อสาธารณะ และบอร์ดใหม่ก็คงต้องพิสูจน์ตัวเองว่านี่ไม่ใช่ผลประโยชน์ต่างตอบแทน” นายนิมิตร์กล่าว
นายนิมิตร์ กล่าวด้วยว่า เมื่อปลายเดือนเมษายนที่ผ่านมา มีรายงานข่าวจากสื่อมวลชนอ้างถึงแหล่งข่าวระดับสูงในกระทรวงสาธารณสุขมีความพยายามกดดันให้บอร์ด อภ.ในชุดของ นพ.วิชัย ลาออกเพิ่มเติม เนื่องจากต้องการควบคุม อภ.เพราะบอร์ดยุค นพ.วิชัย เข้มแข็งและกำลังอยู่ระหว่างผลิตยารายการหนึ่งออกมาแข่งกับยาต่างประเทศที่มีมูลค่าการตลาดกว่า 2,000 ล้านบาท
นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ อดีตประธานชมรมแพทย์ชนบท กล่าวว่า อยากให้หลายฝ่ายดูข้อมูลของแต่ละบุคคลให้ดี สามารถหาได้จากทางอินเทอร์เน็ต พบว่าบางคนมีส่วนเกี่ยวข้องกับการซื้อหุ้นสโมสรฟุตบอลแมนซิตี้ด้วย ซึ่งจะเกี่ยวข้องอย่างไรนั้นไม่อาจกล่าวได้ใน ณ ที่นี้ แต่คงทราบดีว่าเชื่อมโยงกันอย่างไร ทั้งนี้ นายไชยาอยู่ระหว่างการที่ศาลรัฐธรรมนูญจะพิจารณว่าขัดคุณสมบัติการเป็น รมต.หรือไม่ ตามหลักฐานก็ไม่ควรเสนอให้โยกย้ายหรือปลดแต่อย่างใด
“คำถามอยู่ที่ว่า นายไชยามีนโยบายในเรื่องซีแอลอย่างไรบ้าง ไม่แน่ใจว่าจะดำเนินการต่อไปหรือไม่อย่างไร และนายถิรชัย ประธานบอร์ด อภ.คนใหม่มีแนวคิดอย่างไรกับเรื่องซีแอล ซึ่งชมรมฯ จะติดตามเรื่องนี้ต่อไป ทั้งการสร้างโรงงานผลิตยาต้านไวรัสเอดส์ และโรงงานผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่ และไข้หวัดนก ว่าบอร์ดชุดที่ผ่านมาได้ทำให้ราคาการสร้างลดลง 200-300 ล้านบาทแล้ว บอร์ดชุดนี้จะมีการเพิ่มหรือไม่”นพ.พงศ์เทพ กล่าว
นพ.พงศ์เทพ กล่าวว่า อภ.เป็นสมบัติของชาติ ไม่ใช่ของนักการเมือง การเปลี่ยนบอร์ดที่เกิดขึ้นนั้นหากเพื่อผลประโยชน์ของชาติก็ดีไป แต่ถ้าเป็นเรื่องเพื่อนพ้องก็ไม่เหมาะสม เพราะในอดีตมีการให้เพื่อนพ้องของนักการเมืองเข้ามาเพื่อนำยาไปใช้ในการหาเสียง
ด้านนพ.วิชัย โชควิวัฒน อดีตประธานบอร์ด อภ. กล่าวว่า จะไม่ขอวิพากษ์วิจารณ์ประธานบอร์ดคนใหม่ว่า มีคุณสมบัติเหมาะสมหรือไม่ แต่ตนอยากฟังความเห็นของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขในการปรับเปลี่ยนบอร์ด อภ.ทั้งคณะ ซึ่งตนและกรรมการชุดเก่าทั้งคณะก็ไม่ทราบ และงงกับเรื่องที่เกิดขึ้น ก่อนหน้านี้ นายไชยาก็ไม่บอกหรือให้สัญญาณใด และในที่ประชุมร่วมกับบอร์ด อภ.ก็พูดทุกครั้งว่า บอร์ด อภ. ซึ่งตนเป็นประธานทำงานดี
ทั้งนี้ อาจจะยื่นฟ้องร้องต่อศาลปกครอง เพราะเห็นว่า คำสั่งการเปลี่ยนบอร์ด อภ.ครั้งนี้เป็นคำสั่งที่ไม่ถูกต้อง ไม่มีเหตุผลและยังไม่เป็นธรรม
จากกรณี นพ.วิชัย โชควิวัฒน ประธานกรรมการบริหารองค์การเภสัชกรรม (อภ.) และกรรมการอีก 8 คน ถูกปลดพ้นจากตำแหน่ง โดยนายไชยา สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเสนอคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งคณะกรรมการบริหาร อภ.ชุดใหม่ ในการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวานนี้นั้น
นายนิมิตร์ เทียนอุดม ผู้อำนวยการมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ กล่าวว่า บทบาทขององค์การเภสัชกรรม (อภ.) มีส่วนสำคัญอย่างมากต่อการเข้าถึงยาของคนไทย ซึ่งขณะนี้มีหลายเรื่องที่อยู่ในการพิจารณาผลักดันของบอร์ด อภ. ทั้งการประมูลก่อสร้างโรงงานวัคซีนที่ จ.สระบุรี มูลค่า 1,500 ล้านบาท และการจัดซื้อยาโดยเฉพาะยาต้านมะเร็งที่กระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศบังคับใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตร (ซีแอล) แล้ว ซึ่งหากบอร์ดชุดใหม่มีความตระหนักถึงผลประโยชน์ของประชาชนคนไทยอย่างแท้จริงก็จะเป็นเรื่องที่ดีมาก แต่หากบอร์ดชุดใหม่มีความประสงค์ตรงกันข้ามก็เป็นเรื่องที่น่าวิตกกังวลอย่างยิ่ง ซึ่งภาคประชาสังคมที่ร่วมกันผลักดันการเข้าถึงยาจะติดตามอย่างใกล้ชิดเพราะเมื่อพิจารณาจากคุณสมบัติของบอร์ดใหม่แล้วยังเป็นที่สงสัยอยู่มากอยากได้คำอธิบายจาก รมว.สธ.
“เราอยากได้คำอธิบายจากรัฐมนตรีไชยาว่า เหตุใดจึงเลือกคุณถิรชัย วุฒิธรรม มาดำรงตำแหน่งประธานบอร์ด อภ. เพราะเท่าที่เราทราบมาคุณถิรชัยไม่เคยมีความรู้เรื่องยามาก่อน ทราบแต่เพียงว่าเป็นผู้อยู่ในแวดวงกีฬาเป็นผู้ร่วมซื้อหุ้นสโมสรฟุตบอลแมนเชตเตอร์ ซิตี กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และเป็นกรรมการบริษัท ทราฟฟิกคอนเนอร์โฮลดิงส์ จำกัด (มหาชน) เรายังต้องการคำอธิบายคุณสมบัติของนายประเสริฐ เกษมโกเมศ นักธุรกิจด้านอสังหาริมทรัพย์ ว่าเหมาะสมกับการทำงานในฐานะของบอร์ด อภ.อย่างไร เพราะประวัติเท่าที่ทราบมาน่าจะถนัดเรื่องการรับเหมาก่อสร้างมากกว่า เพราะเคยคว้าสัมปทานโครงการใหญ่คือทำรถรางไฟฟ้า 20 ปีในสวนสัตว์เชียงใหม่ ดังนั้น รัฐมนตรีไชยาต้องอธิบายต่อสาธารณะ และบอร์ดใหม่ก็คงต้องพิสูจน์ตัวเองว่านี่ไม่ใช่ผลประโยชน์ต่างตอบแทน” นายนิมิตร์กล่าว
นายนิมิตร์ กล่าวด้วยว่า เมื่อปลายเดือนเมษายนที่ผ่านมา มีรายงานข่าวจากสื่อมวลชนอ้างถึงแหล่งข่าวระดับสูงในกระทรวงสาธารณสุขมีความพยายามกดดันให้บอร์ด อภ.ในชุดของ นพ.วิชัย ลาออกเพิ่มเติม เนื่องจากต้องการควบคุม อภ.เพราะบอร์ดยุค นพ.วิชัย เข้มแข็งและกำลังอยู่ระหว่างผลิตยารายการหนึ่งออกมาแข่งกับยาต่างประเทศที่มีมูลค่าการตลาดกว่า 2,000 ล้านบาท
นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ อดีตประธานชมรมแพทย์ชนบท กล่าวว่า อยากให้หลายฝ่ายดูข้อมูลของแต่ละบุคคลให้ดี สามารถหาได้จากทางอินเทอร์เน็ต พบว่าบางคนมีส่วนเกี่ยวข้องกับการซื้อหุ้นสโมสรฟุตบอลแมนซิตี้ด้วย ซึ่งจะเกี่ยวข้องอย่างไรนั้นไม่อาจกล่าวได้ใน ณ ที่นี้ แต่คงทราบดีว่าเชื่อมโยงกันอย่างไร ทั้งนี้ นายไชยาอยู่ระหว่างการที่ศาลรัฐธรรมนูญจะพิจารณว่าขัดคุณสมบัติการเป็น รมต.หรือไม่ ตามหลักฐานก็ไม่ควรเสนอให้โยกย้ายหรือปลดแต่อย่างใด
“คำถามอยู่ที่ว่า นายไชยามีนโยบายในเรื่องซีแอลอย่างไรบ้าง ไม่แน่ใจว่าจะดำเนินการต่อไปหรือไม่อย่างไร และนายถิรชัย ประธานบอร์ด อภ.คนใหม่มีแนวคิดอย่างไรกับเรื่องซีแอล ซึ่งชมรมฯ จะติดตามเรื่องนี้ต่อไป ทั้งการสร้างโรงงานผลิตยาต้านไวรัสเอดส์ และโรงงานผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่ และไข้หวัดนก ว่าบอร์ดชุดที่ผ่านมาได้ทำให้ราคาการสร้างลดลง 200-300 ล้านบาทแล้ว บอร์ดชุดนี้จะมีการเพิ่มหรือไม่”นพ.พงศ์เทพ กล่าว
นพ.พงศ์เทพ กล่าวว่า อภ.เป็นสมบัติของชาติ ไม่ใช่ของนักการเมือง การเปลี่ยนบอร์ดที่เกิดขึ้นนั้นหากเพื่อผลประโยชน์ของชาติก็ดีไป แต่ถ้าเป็นเรื่องเพื่อนพ้องก็ไม่เหมาะสม เพราะในอดีตมีการให้เพื่อนพ้องของนักการเมืองเข้ามาเพื่อนำยาไปใช้ในการหาเสียง
ด้านนพ.วิชัย โชควิวัฒน อดีตประธานบอร์ด อภ. กล่าวว่า จะไม่ขอวิพากษ์วิจารณ์ประธานบอร์ดคนใหม่ว่า มีคุณสมบัติเหมาะสมหรือไม่ แต่ตนอยากฟังความเห็นของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขในการปรับเปลี่ยนบอร์ด อภ.ทั้งคณะ ซึ่งตนและกรรมการชุดเก่าทั้งคณะก็ไม่ทราบ และงงกับเรื่องที่เกิดขึ้น ก่อนหน้านี้ นายไชยาก็ไม่บอกหรือให้สัญญาณใด และในที่ประชุมร่วมกับบอร์ด อภ.ก็พูดทุกครั้งว่า บอร์ด อภ. ซึ่งตนเป็นประธานทำงานดี
ทั้งนี้ อาจจะยื่นฟ้องร้องต่อศาลปกครอง เพราะเห็นว่า คำสั่งการเปลี่ยนบอร์ด อภ.ครั้งนี้เป็นคำสั่งที่ไม่ถูกต้อง ไม่มีเหตุผลและยังไม่เป็นธรรม