“สมชาย“ ชงเรื่องเข้ากรรมการกลั่นกรองขอใช้งบฉุกเฉิน 1,700 ล้านบาท จ่ายวิทยฐานะให้ครู สพฐ.กว่า 3 แสนคน พร้อมของบ 70 ล้าน ตั้งศูนย์สอนเด็กป่วยเรื้อรัง-พิการ ในโรงพยาบาล และของบกว่า 800 ล้านซึ่งเป็นแผน 4 ปี เร่งแก้ปัญหาเด็กอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้
วันนี้ (7 พ.ค.) นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวภายหลังการเป็นประธานประชุมคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ชุดที่ 1 ว่า วันนี้มีการพิจารณา 3 เรื่อง เรื่องแรกในที่ประชุมให้ความเห็นชอบในหลักการตามที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เสนอขอใช้งบกลางรายการเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 1,747 ล้านบาท เพื่อนำมาจ่ายเป็นค่าวิทยฐานะและค่าตอบแทนรายเดือนให้แก่ข้าราชการครูในสังกัด เพราะงบประมาณ 2551 ที่ได้รับมานั้น ไม่เพียงพอสำหรับจ่ายเป็นค่าวิทยฐานะให้ครูได้ครบทุกเดือน
“ผมขอยืนยันว่า ครูจะได้รับเงินค่าวิทยฐานะครบทุกคนอย่างแน่นอน โดยเฉพาะครูที่ได้รับวิทยฐานะก่อนวันที่ 1 ต.ค.2550 จะได้รับตรงตามเวลาทุกเดือน ส่วนกลุ่มที่รับวิทยฐานะหลังวันที่ 1 ต.ค.2550 หากใช้งบฉุกเฉินได้ ก็จะได้เงินตรงตามเวลาทุกเดือนเช่นเดียวกัน ถ้าไม่ได้งบฉุกเฉินคงต้องรอตกเบิกแทน“
ส่วนเรื่องที่ 2 ที่ประชุมยังให้ความเห็นชอบตามที่ สพฐ.เสนอของบ 70 ล้านบาท เปิดศูนย์สอนเด็กป่วยเรื้อรัง และเด็กพิการที่อยู่ในโรงพยาบาลเพิ่มอีก 68 ศูนย์ จากเดิมที่มีอยู่แล้ว 12 ศูนย์ รวมเป็น 75 ศูนย์ เหตุผลที่ต้องการเปิดศูนย์ เพราะมีเด็กป่วยเรื้อรังที่อยู่ในโรงพยาบาลจำนวนหนึ่งไม่มีโอกาสได้เรียนหนังสือเหมือนเด็กปกติทั่วไป จึงเสนอเปิดศูนย์เพิ่ม เพื่อให้เด็กกลุ่มนี้มีโอกาสเรียนมากขึ้น อย่างไรก็ตาม จะให้แต่ละจังหวัดประสานโรงพยาบาลที่มีความพร้อมดำเนินการเปิดศูนย์
นายสมชาย กล่าวต่อว่า การเปิดศูนย์จะต้องคัดเลือกครูผู้สอน เพราะครูจะต้องมีความเมตตา อดทน ใจเย็น และพร้อมที่จะเสียสละช่วยเหลือเด็ก ซึ่งคุณสมบัตินี้ยอมรับว่าค่อนข้างหายาก
สำหรับเรื่องสุดท้าย ที่ประชุมยังได้ให้ความเห็นชอบ ร่างยุทธศาสตร์การเรียนภาษาไทยในโรงเรียนของ สพฐ. เป็นยุทธศาสตร์แก้ปัญหาเด็กอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ โดย สพฐ.สำรวจนักเรียน ป.2 กว่า 6 แสนคนทั่วประเทศ พบว่า ยังมีเด็กจำนวน 79,358 ราย หรือ ร้อยละ 12.45 ที่ยังอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ ขณะที่ภาพรวมพบเด็กที่จบ ป.6 จำนวนหนึ่งยังอ่านเขียนไม่คล่อง ดังนั้น สพฐ.จึงทำแผน 4 ปี (2552-2555 ) ขอใช้งบประมาณ 862.58 ล้านบาท ส่งเสริมและพัฒนาการเรียนการสอนภาษาไทย ขณะเดียวกัน พัฒนาคุณภาพครูภาษาไทย พัฒนาสื่อการเรียนการสอนวิชานี้ด้วย เพื่อให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยของเด็กดีขึ้น
นายสมเกียรติ ชอบผล รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กล่าวเสริมเรื่องเงินวิทยฐานะว่า งบปี 2551 ไม่เพียงพอสำหรับจ่ายค่าวิทยฐานะให้ครูได้ครบทุกเดือน จำเป็นต้องของบเพิ่มอีก จำนวน 3,718 ล้านบาท ส่วนครูที่ผ่านการประเมินได้วิทยฐานะก่อนวันที่ 1 ต.ค.2550 จำนวน 359,371 ราย นั้น ต้องใช้งบประมาณ 2551 รองรับทั้งหมด 22,658 ล้านบาท แต่สพฐ.ได้งบแค่ 20,171 ล้านบาท ขาดอีกประมาณ 2,000 ล้านบาท ส่วนครูที่ผ่านการประเมินได้วิทยฐานะหลังวันที่ 1 ต.ค.2550 จำนวน 14,396 ราย นั้น ต้องใช้งบ 1,700 ล้านบาท
ซึ่ง สพฐ.ได้เจียดจ่ายงบประมาณส่วนอื่นมาได้ 500 ล้านบาท และกรมบัญชีกลาง จะให้งบกลางมาอีกประมาณ 1,500 ล้านบาท รวมเป็นประมาณ 2,000 ล้านบาท ยังเหลืออีก 1,700 ล้านบาท ศธ.จึงนำเรื่องเสนอครม.ขอใช้งบกลางฉุกเฉิน แต่งบฉุกเฉินต้องจัดลำดับการใช้งานตามความจำเป็น อาจจะไม่ได้ ก็ต้องขอไปตั้งงบ 2552 มาให้แทน
อย่างไรก็ตาม 3 เรื่องผ่านความเห็นชอบจากกรรมการกลั่นกรองแล้ว จะเข้าสู่การพิจารณาของ ครม.ในสัปดาห์หน้า
วันนี้ (7 พ.ค.) นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวภายหลังการเป็นประธานประชุมคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ชุดที่ 1 ว่า วันนี้มีการพิจารณา 3 เรื่อง เรื่องแรกในที่ประชุมให้ความเห็นชอบในหลักการตามที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เสนอขอใช้งบกลางรายการเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 1,747 ล้านบาท เพื่อนำมาจ่ายเป็นค่าวิทยฐานะและค่าตอบแทนรายเดือนให้แก่ข้าราชการครูในสังกัด เพราะงบประมาณ 2551 ที่ได้รับมานั้น ไม่เพียงพอสำหรับจ่ายเป็นค่าวิทยฐานะให้ครูได้ครบทุกเดือน
“ผมขอยืนยันว่า ครูจะได้รับเงินค่าวิทยฐานะครบทุกคนอย่างแน่นอน โดยเฉพาะครูที่ได้รับวิทยฐานะก่อนวันที่ 1 ต.ค.2550 จะได้รับตรงตามเวลาทุกเดือน ส่วนกลุ่มที่รับวิทยฐานะหลังวันที่ 1 ต.ค.2550 หากใช้งบฉุกเฉินได้ ก็จะได้เงินตรงตามเวลาทุกเดือนเช่นเดียวกัน ถ้าไม่ได้งบฉุกเฉินคงต้องรอตกเบิกแทน“
ส่วนเรื่องที่ 2 ที่ประชุมยังให้ความเห็นชอบตามที่ สพฐ.เสนอของบ 70 ล้านบาท เปิดศูนย์สอนเด็กป่วยเรื้อรัง และเด็กพิการที่อยู่ในโรงพยาบาลเพิ่มอีก 68 ศูนย์ จากเดิมที่มีอยู่แล้ว 12 ศูนย์ รวมเป็น 75 ศูนย์ เหตุผลที่ต้องการเปิดศูนย์ เพราะมีเด็กป่วยเรื้อรังที่อยู่ในโรงพยาบาลจำนวนหนึ่งไม่มีโอกาสได้เรียนหนังสือเหมือนเด็กปกติทั่วไป จึงเสนอเปิดศูนย์เพิ่ม เพื่อให้เด็กกลุ่มนี้มีโอกาสเรียนมากขึ้น อย่างไรก็ตาม จะให้แต่ละจังหวัดประสานโรงพยาบาลที่มีความพร้อมดำเนินการเปิดศูนย์
นายสมชาย กล่าวต่อว่า การเปิดศูนย์จะต้องคัดเลือกครูผู้สอน เพราะครูจะต้องมีความเมตตา อดทน ใจเย็น และพร้อมที่จะเสียสละช่วยเหลือเด็ก ซึ่งคุณสมบัตินี้ยอมรับว่าค่อนข้างหายาก
สำหรับเรื่องสุดท้าย ที่ประชุมยังได้ให้ความเห็นชอบ ร่างยุทธศาสตร์การเรียนภาษาไทยในโรงเรียนของ สพฐ. เป็นยุทธศาสตร์แก้ปัญหาเด็กอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ โดย สพฐ.สำรวจนักเรียน ป.2 กว่า 6 แสนคนทั่วประเทศ พบว่า ยังมีเด็กจำนวน 79,358 ราย หรือ ร้อยละ 12.45 ที่ยังอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ ขณะที่ภาพรวมพบเด็กที่จบ ป.6 จำนวนหนึ่งยังอ่านเขียนไม่คล่อง ดังนั้น สพฐ.จึงทำแผน 4 ปี (2552-2555 ) ขอใช้งบประมาณ 862.58 ล้านบาท ส่งเสริมและพัฒนาการเรียนการสอนภาษาไทย ขณะเดียวกัน พัฒนาคุณภาพครูภาษาไทย พัฒนาสื่อการเรียนการสอนวิชานี้ด้วย เพื่อให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยของเด็กดีขึ้น
นายสมเกียรติ ชอบผล รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กล่าวเสริมเรื่องเงินวิทยฐานะว่า งบปี 2551 ไม่เพียงพอสำหรับจ่ายค่าวิทยฐานะให้ครูได้ครบทุกเดือน จำเป็นต้องของบเพิ่มอีก จำนวน 3,718 ล้านบาท ส่วนครูที่ผ่านการประเมินได้วิทยฐานะก่อนวันที่ 1 ต.ค.2550 จำนวน 359,371 ราย นั้น ต้องใช้งบประมาณ 2551 รองรับทั้งหมด 22,658 ล้านบาท แต่สพฐ.ได้งบแค่ 20,171 ล้านบาท ขาดอีกประมาณ 2,000 ล้านบาท ส่วนครูที่ผ่านการประเมินได้วิทยฐานะหลังวันที่ 1 ต.ค.2550 จำนวน 14,396 ราย นั้น ต้องใช้งบ 1,700 ล้านบาท
ซึ่ง สพฐ.ได้เจียดจ่ายงบประมาณส่วนอื่นมาได้ 500 ล้านบาท และกรมบัญชีกลาง จะให้งบกลางมาอีกประมาณ 1,500 ล้านบาท รวมเป็นประมาณ 2,000 ล้านบาท ยังเหลืออีก 1,700 ล้านบาท ศธ.จึงนำเรื่องเสนอครม.ขอใช้งบกลางฉุกเฉิน แต่งบฉุกเฉินต้องจัดลำดับการใช้งานตามความจำเป็น อาจจะไม่ได้ ก็ต้องขอไปตั้งงบ 2552 มาให้แทน
อย่างไรก็ตาม 3 เรื่องผ่านความเห็นชอบจากกรรมการกลั่นกรองแล้ว จะเข้าสู่การพิจารณาของ ครม.ในสัปดาห์หน้า