แรงงานนอกระบบ โวย สปส.ขยายสิทธิคุ้มครองแรงงานนอกระบบ 23 ล้านคน แต่ได้รับสิทธิประโยชน์น้อยนิด คลอดบุตรเหมาจ่ายให้ 3,000 บาทต่อครั้ง ทุพพลภาพ ค่าทำศพไม่เท่าเทียมกับแรงงานในระบบ “ป้าอุ” ชี้ ประกันสังคมต้องลงทุน เปรียบเทียบก็เหมือนประกันชีวิต จ่ายน้อยสิทธิประโยชน์ก็น้อย หากผู้ประกันตน ม.40 เพิ่มขึ้นก่อนถึงปรับเงื่อนไขบริการสุขภาพ ระบุ 3,360 บาทต่อปี ไม่มาก บอกหยอดกระปุกวันละ 10 บาท ก็มีเงินจ่าย ทางออกต้องแก้กฎหมายจึงจะเพิ่มสิทธิประโยชน์ได้มากขึ้น
วันนี้ (7 พ.ค.) ที่สำนักงานประกันสังคม (สปส.) นางอุไรวรรณ เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานเปิดงาน “ก้าวใหม่ประกันสังคมไทย” (Modern Social Security) โดยมีกลุ่มผู้ใช้แรงงานทุกสาขาอาชีพ เช่น กลุ่มผู้รับงานไปทำที่บ้าน เกษตรกรพันธสัญญา กลุ่มผู้ขับรถรับจ้าง แท็กซี่ ตุ๊กตุ๊ก มอเตอร์ไซค์รับจ้าง หาบเร่-แผงลอย คนซื้อขายของเก่า คนคุ้ยขยะ คนทำงานบ้านและรับจ้างทั่วไป เข้าร่วมรับฟังข้อมูล ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับประกันสังคม และการขยายการคุ้มครองประกันสังคมสู่สาขาอาชีพต่างๆ ตามมาตรา 40 ของกฎหมายประกันสังคม โดย นางอุไรวรรณ เป็นผู้นำกล่าวปฏิญาณร่วมกับผู้บริหาร สปส.ว่าจะร่วมพัฒนาระบบประกันสังคม เพื่อสิทธิประโยชน์กับประชาชนทุกสาขาอาชีพ
นางอุไรวรรณ กล่าวว่า ปัจจุบันมีแรงงานไทยนอกระบบจำนวน 23 ล้านคน ที่ไม่ได้รับการคุ้มครองสิทธิประกันสังคม ซึ่ง สปส.พร้อมที่จะขยายการคุ้มครอง สู่ทุกสาขาอาชีพ โดยใช้กฎหมาย มาตรา 40 ใน พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 โดยให้ความคุ้มครองแก่ลูกจ้างที่ไม่ใช่ลูกจ้างในสถานประกอบการโดยสมัครใจ โดยเก็บเงินสมทบจากสมาชิกเป็นรายปีๆ ละ 3,360 บาท มีสิทธิประโยชน์ 3 ข้อ คือ 1.กรณีคลอดบุตร ได้รับสิทธิประโยชน์ค่าคลอดบุตรเหมาจ่าย 3,000 บาทต่อครั้ง คนละไม่เกิน 2 ครั้ง โดยต้องเป็นสมาชิกไม่น้อยกว่า 9 เดือนติดต่อกัน 2.กรณีทุพพลภาพ ได้รับค่ารักษาพยาบาลตามอาการทุพพลภาพ เท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินเดือนละ 1,000 บาท ได้เงินชดเชยรายเดือนอัตรา ร้อยละ 50 ของค่าจ้างขั้นต่ำรายวันอัตราสูงสุด โดยต้องเป็นสมาชิกไม่น้อยกว่า 36 เดือนติดต่อกัน 3.เสียชีวิต จะได้รับเงินค่าทำศพ 100 เท่าของค่าจ้างขั้นต่ำรายวันอัตราสูงสุด และจะต้องมีคุณสมบัติอายุระหว่าง 15-60 ปีบริบูรณ์ ไม่เป็นผู้ทุพพลภาพ ไม่เป็นโรคต้องห้าม เช่น วัณโรคในระยะอันตราย โรคพิษสุราเรื้องรัง หรือโรคที่อยู่ในระหว่างการรักษา และอยู่ในสถาพการใช้เครื่องช่วยชีวิต
นางอุไรวรรณ กล่าวต่อว่า แม้ว่าสิทธิประโยชน์ตามมาตรา 40 จะไม่เท่ากับมาตรา 33 และ 39 ของลูกจ้างในสถานประกอบการ แต่ก็ถือเป็นการเริ่มต้นพัฒนาระบบประกันสังคมให้กับผู้ที่ไม่ได้อยู่ในสถานประกอบการ และสิทธิประโยชน์ต่างๆ จะเพิ่มมากขึ้น เพื่อเพิ่มแรงจูงใจให้ลูกจ้างนอกระบบเข้ามาอยู่ในระบบประกันสังคม ซึ่งหากสมัครในวันนี้จะจ่ายเงินสมทบ 1,960 บาท เนื่องจากเป็นช่วงกลางปี จากนั้นจะต้องจ่ายเงินสมบท 3,360 บาทต่อปี
“เข้าใจว่า ทุกคนก็อยากได้รับสิทธิประโยชน์มากขึ้น แต่เมื่อจ่ายเงินสมทบ 3,360 บาท/เดือน ซึ่งถือเป็นเงินไม่มาก หยอดกระปุกเพียงวันละ 10 บาท มาจ่ายก็ได้แล้ว และหากต้องการให้เก็บเงินสมทบน้อยกว่านี้ ก็จะทำให้สิทธิประโยชน์ลดลงไปด้วย ก็เหมือนกับการทำประกันชีวิต อีกทั้งขณะนี้ผู้ประกันตน ในมาตรา 40 ยังมีผู้สมัครจำนวนไม่มาก การทำประกันสังคมจะต้องมีการลงทุน เบื้องต้นอยากให้มีสมาชิกตามมาตรา 40 จำนวนหนึ่งก่อน จึงจะมีการปรับเงื่อนไขด้านประกันสุขภาพ” นางอุไรวรรณ กล่าวว่า
นายรักษ์ศักดิ์ โชติชัยสถิตย์ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านประกันสังคม สปส.ในฐานะผู้อำนวยการโครงการขยายความคุ้มครองประกันสังคมสู่แรงงานนอกระบบ กล่าวว่า ขณะนี้ได้มีการเสนอแก้ไข พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 ตั้งแต่รัฐบาลที่ผ่านมา ซึ่งอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งแก้ไขปรับปรุงให้ผู้ที่เป็นลูกจ้างชั่วคราว แม่บ้าน สามารถเข้าสู่ระบบประกันสังคมตามมาตร 33 ได้ทันที และเสนอให้รัฐบาลสนับสนุนเงินเข้ากองทุนก้องหนึ่ง ตามมาตรา 40 ซึ่งเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2551 นางอุไรวรรณ ได้ทำหนังสือไปยังสำนักงานกฤษฎีกาของให้เร่งพิจารณากฎหมายเพื่อดำเนินการต่อไป ดังนั้น เมื่อกฎหมายผ่านความเห็นชอบประกาศใช้ ก็จะต้องมีการตั้งคณะทำงานขึ้นเพื่อพิจารณาปรับสิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตน ตามมาตรา 40 เพิ่มเติม รวมถึงคำนวณอัตราการจ่างเงินสมทบใหม่โดยจะประมวลความคิดเห็นที่ได้รับในวันนี้ มาวิเคราะห์ด้วย
“การเปิดให้ลงทะเบียนวันนี้ไม่ได้ตั้งเป้าว่าจะต้องมีผู้มาลงทะเบียนจำนวนมาก แต่ต้องการให้เข้าใจรายละเอียดสิทธิประโยชน์ที่ได้รับ พิจารณาให้ดีก่อน หากเห็นแล้วไม่คุ้มก็ยังไม่ต้องสมัคร แต่ถ้าเห็นว่ารับได้ก็สมัครได้ เพราะหากศึกษารายละเอียดจะเป็นอันตราย” นางรักษ์ศักดิ์ กล่าว
นายสมคิด ด้วงเงิน แรงงานนอกระบบ ประกอบอาชีพสิ่งทอ อายุ 67 ปี กล่าวว่า แรงงานนอกระบบไม่เคยได้รับสิทธิในการดูแลด้านสุขภาพจากประกันสังคม แม้ว่าจะทำงานหนักไม่ต่างจากแรงงานในระบบ อีกทั้งมาตรา 40 สปส.เปิดช่องให้ก็ยังไม่ได้รับสิทธิเท่าเทียมกัน ตนเห็นว่า แรงงานทั้งในระบบและนอกระบบควรที่จะได้รับสิทธิใกล้เคียงหรือเท่าเทียมกัน ซึ่งในการประชุมหลายๆ ครั้งที่ผ่านมา เราก็เรียกร้องมาตลอดในเรื่องของค่าสงเคราะห์บุตร และเงินสงเคราะห์ผู้ชราภาพแต่ก็ได้รับสิทธิเพียง 3 ข้อเท่านั้น ดังนั้น จึงเห็นว่า ควรจะแก้ไข้มาตรา 40 ให้ได้รับสิทธิประโยชน์ครอบคลุมยิ่งขึ้น
ด้านนางสุจินต์ รุ่งสว่าง ตัวแทนผู้ใช้แรงงาน กล่าวว่า มาตรา 40 ในกฎหมายประกันสังคมไม่ใช่มิติใหม่ แต่เป็นกฎหมายที่มีอยู่แล้ว แต่ขาดการประชาสัมพันธ์ ทำให้ประชาชนไม่ได้รับทราบข้อมูล อีกทั้งสิทธิประโยชน์ยังไม่สอดคล้องกับแรงงานนอกระบบ โดยผู้ใช้แรงงาน 5 ภาค ได้มีการหารือร่วมกันแล้วเห็นว่ามาตรา 40 ควรมีการปรับแก้ไข โดยขอให้จ่ายเงินชราภาพ เป็นหัวใจหลักของแรงงานนอกระบบ ทดแทนการขาดรายได้จากการเจ็บป่วย ทุพพลภาพ และเสียชีวิต ซึ่งพวกเราไม่ได้ขอฟรีๆ แต่เราเสียภาษีทั้งทางตรงและทางอ้อม นอกจากนี้ ขอให้รัฐบาลร่วมจ่ายเงินสมทบร่วมกับผู้ประกันตนกลุ่มนี้ด้วย
วันนี้ (7 พ.ค.) ที่สำนักงานประกันสังคม (สปส.) นางอุไรวรรณ เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานเปิดงาน “ก้าวใหม่ประกันสังคมไทย” (Modern Social Security) โดยมีกลุ่มผู้ใช้แรงงานทุกสาขาอาชีพ เช่น กลุ่มผู้รับงานไปทำที่บ้าน เกษตรกรพันธสัญญา กลุ่มผู้ขับรถรับจ้าง แท็กซี่ ตุ๊กตุ๊ก มอเตอร์ไซค์รับจ้าง หาบเร่-แผงลอย คนซื้อขายของเก่า คนคุ้ยขยะ คนทำงานบ้านและรับจ้างทั่วไป เข้าร่วมรับฟังข้อมูล ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับประกันสังคม และการขยายการคุ้มครองประกันสังคมสู่สาขาอาชีพต่างๆ ตามมาตรา 40 ของกฎหมายประกันสังคม โดย นางอุไรวรรณ เป็นผู้นำกล่าวปฏิญาณร่วมกับผู้บริหาร สปส.ว่าจะร่วมพัฒนาระบบประกันสังคม เพื่อสิทธิประโยชน์กับประชาชนทุกสาขาอาชีพ
นางอุไรวรรณ กล่าวว่า ปัจจุบันมีแรงงานไทยนอกระบบจำนวน 23 ล้านคน ที่ไม่ได้รับการคุ้มครองสิทธิประกันสังคม ซึ่ง สปส.พร้อมที่จะขยายการคุ้มครอง สู่ทุกสาขาอาชีพ โดยใช้กฎหมาย มาตรา 40 ใน พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 โดยให้ความคุ้มครองแก่ลูกจ้างที่ไม่ใช่ลูกจ้างในสถานประกอบการโดยสมัครใจ โดยเก็บเงินสมทบจากสมาชิกเป็นรายปีๆ ละ 3,360 บาท มีสิทธิประโยชน์ 3 ข้อ คือ 1.กรณีคลอดบุตร ได้รับสิทธิประโยชน์ค่าคลอดบุตรเหมาจ่าย 3,000 บาทต่อครั้ง คนละไม่เกิน 2 ครั้ง โดยต้องเป็นสมาชิกไม่น้อยกว่า 9 เดือนติดต่อกัน 2.กรณีทุพพลภาพ ได้รับค่ารักษาพยาบาลตามอาการทุพพลภาพ เท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินเดือนละ 1,000 บาท ได้เงินชดเชยรายเดือนอัตรา ร้อยละ 50 ของค่าจ้างขั้นต่ำรายวันอัตราสูงสุด โดยต้องเป็นสมาชิกไม่น้อยกว่า 36 เดือนติดต่อกัน 3.เสียชีวิต จะได้รับเงินค่าทำศพ 100 เท่าของค่าจ้างขั้นต่ำรายวันอัตราสูงสุด และจะต้องมีคุณสมบัติอายุระหว่าง 15-60 ปีบริบูรณ์ ไม่เป็นผู้ทุพพลภาพ ไม่เป็นโรคต้องห้าม เช่น วัณโรคในระยะอันตราย โรคพิษสุราเรื้องรัง หรือโรคที่อยู่ในระหว่างการรักษา และอยู่ในสถาพการใช้เครื่องช่วยชีวิต
นางอุไรวรรณ กล่าวต่อว่า แม้ว่าสิทธิประโยชน์ตามมาตรา 40 จะไม่เท่ากับมาตรา 33 และ 39 ของลูกจ้างในสถานประกอบการ แต่ก็ถือเป็นการเริ่มต้นพัฒนาระบบประกันสังคมให้กับผู้ที่ไม่ได้อยู่ในสถานประกอบการ และสิทธิประโยชน์ต่างๆ จะเพิ่มมากขึ้น เพื่อเพิ่มแรงจูงใจให้ลูกจ้างนอกระบบเข้ามาอยู่ในระบบประกันสังคม ซึ่งหากสมัครในวันนี้จะจ่ายเงินสมทบ 1,960 บาท เนื่องจากเป็นช่วงกลางปี จากนั้นจะต้องจ่ายเงินสมบท 3,360 บาทต่อปี
“เข้าใจว่า ทุกคนก็อยากได้รับสิทธิประโยชน์มากขึ้น แต่เมื่อจ่ายเงินสมทบ 3,360 บาท/เดือน ซึ่งถือเป็นเงินไม่มาก หยอดกระปุกเพียงวันละ 10 บาท มาจ่ายก็ได้แล้ว และหากต้องการให้เก็บเงินสมทบน้อยกว่านี้ ก็จะทำให้สิทธิประโยชน์ลดลงไปด้วย ก็เหมือนกับการทำประกันชีวิต อีกทั้งขณะนี้ผู้ประกันตน ในมาตรา 40 ยังมีผู้สมัครจำนวนไม่มาก การทำประกันสังคมจะต้องมีการลงทุน เบื้องต้นอยากให้มีสมาชิกตามมาตรา 40 จำนวนหนึ่งก่อน จึงจะมีการปรับเงื่อนไขด้านประกันสุขภาพ” นางอุไรวรรณ กล่าวว่า
นายรักษ์ศักดิ์ โชติชัยสถิตย์ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านประกันสังคม สปส.ในฐานะผู้อำนวยการโครงการขยายความคุ้มครองประกันสังคมสู่แรงงานนอกระบบ กล่าวว่า ขณะนี้ได้มีการเสนอแก้ไข พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 ตั้งแต่รัฐบาลที่ผ่านมา ซึ่งอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งแก้ไขปรับปรุงให้ผู้ที่เป็นลูกจ้างชั่วคราว แม่บ้าน สามารถเข้าสู่ระบบประกันสังคมตามมาตร 33 ได้ทันที และเสนอให้รัฐบาลสนับสนุนเงินเข้ากองทุนก้องหนึ่ง ตามมาตรา 40 ซึ่งเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2551 นางอุไรวรรณ ได้ทำหนังสือไปยังสำนักงานกฤษฎีกาของให้เร่งพิจารณากฎหมายเพื่อดำเนินการต่อไป ดังนั้น เมื่อกฎหมายผ่านความเห็นชอบประกาศใช้ ก็จะต้องมีการตั้งคณะทำงานขึ้นเพื่อพิจารณาปรับสิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตน ตามมาตรา 40 เพิ่มเติม รวมถึงคำนวณอัตราการจ่างเงินสมทบใหม่โดยจะประมวลความคิดเห็นที่ได้รับในวันนี้ มาวิเคราะห์ด้วย
“การเปิดให้ลงทะเบียนวันนี้ไม่ได้ตั้งเป้าว่าจะต้องมีผู้มาลงทะเบียนจำนวนมาก แต่ต้องการให้เข้าใจรายละเอียดสิทธิประโยชน์ที่ได้รับ พิจารณาให้ดีก่อน หากเห็นแล้วไม่คุ้มก็ยังไม่ต้องสมัคร แต่ถ้าเห็นว่ารับได้ก็สมัครได้ เพราะหากศึกษารายละเอียดจะเป็นอันตราย” นางรักษ์ศักดิ์ กล่าว
นายสมคิด ด้วงเงิน แรงงานนอกระบบ ประกอบอาชีพสิ่งทอ อายุ 67 ปี กล่าวว่า แรงงานนอกระบบไม่เคยได้รับสิทธิในการดูแลด้านสุขภาพจากประกันสังคม แม้ว่าจะทำงานหนักไม่ต่างจากแรงงานในระบบ อีกทั้งมาตรา 40 สปส.เปิดช่องให้ก็ยังไม่ได้รับสิทธิเท่าเทียมกัน ตนเห็นว่า แรงงานทั้งในระบบและนอกระบบควรที่จะได้รับสิทธิใกล้เคียงหรือเท่าเทียมกัน ซึ่งในการประชุมหลายๆ ครั้งที่ผ่านมา เราก็เรียกร้องมาตลอดในเรื่องของค่าสงเคราะห์บุตร และเงินสงเคราะห์ผู้ชราภาพแต่ก็ได้รับสิทธิเพียง 3 ข้อเท่านั้น ดังนั้น จึงเห็นว่า ควรจะแก้ไข้มาตรา 40 ให้ได้รับสิทธิประโยชน์ครอบคลุมยิ่งขึ้น
ด้านนางสุจินต์ รุ่งสว่าง ตัวแทนผู้ใช้แรงงาน กล่าวว่า มาตรา 40 ในกฎหมายประกันสังคมไม่ใช่มิติใหม่ แต่เป็นกฎหมายที่มีอยู่แล้ว แต่ขาดการประชาสัมพันธ์ ทำให้ประชาชนไม่ได้รับทราบข้อมูล อีกทั้งสิทธิประโยชน์ยังไม่สอดคล้องกับแรงงานนอกระบบ โดยผู้ใช้แรงงาน 5 ภาค ได้มีการหารือร่วมกันแล้วเห็นว่ามาตรา 40 ควรมีการปรับแก้ไข โดยขอให้จ่ายเงินชราภาพ เป็นหัวใจหลักของแรงงานนอกระบบ ทดแทนการขาดรายได้จากการเจ็บป่วย ทุพพลภาพ และเสียชีวิต ซึ่งพวกเราไม่ได้ขอฟรีๆ แต่เราเสียภาษีทั้งทางตรงและทางอ้อม นอกจากนี้ ขอให้รัฐบาลร่วมจ่ายเงินสมทบร่วมกับผู้ประกันตนกลุ่มนี้ด้วย