แกนนำแรงงานยื่นข้อเรียกร้องปรับค่าแรง 233 บาทต่อวัน จี้รัฐฯควบคุมสินค้าขึ้นราคามหาโหด ซัด “หมัก” ปล่อยคนจนตายหยังเขียด สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจฯ ขยับล่าหมื่นชื่อผลักดันแก้กม.คุ้มครองแรงงานและยกเลิกร่างพ.ร.บ.ทุนรัฐวิสาหกิจฯ ตั้งวงรื้อระบบประกันสังคมดันให้เป็นองค์กรอิสระ จี้บริหารกองทุนให้โปร่งใสขยายการคุ้มครองแรงงานคลุมทุกภาคส่วน
นางวิไลวรรณ แซ่เตีย ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (ครสท.) กล่าวถึงการเคลื่อนไหวของเครือข่ายแรงงานในวันกรรมกรสากลว่า คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทยและสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) จะยื่นข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลโดยมีข้อเรียกร้องเร่งด่วน 2 ประการ คือ 1) เรื่องค่าจ้างขั้นต่ำที่ควรปรับให้สูงขึ้นเพื่อสอดคล้องกับค่าครองชีพที่สูงขึ้นในขณะนี้ ซึ่งที่ผ่านมาทางเครือข่ายเรียกร้อง 233 บาทต่อวัน ซึ่งคิดจากฐานที่พ.ต.อ.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เคยอ้างว่าข้าราชการควรมีค่าจ้างขั้นต่ำเดือนละ 7,000 บาท
2) การควบคุมราคาสินค้าที่จะต้องอาศัยความร่วมมือของกระทรวงต่างๆ โดยกระทรวงพลังงานที่จะต้องแก้ปัญหาราคาน้ำมัน ขณะที่กระทรวงพาณิชย์ ต้องมีมาตรการเด็ดขาดในการควบคุมราคาอุปโภคบริโภครวมทั้งจัดโครงการขายสินค้าในราคาถูกแก่คนยากจน ส่วนกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ก็ต้องบริการสินค้าเกษตร เช่น ข้าวสารในราคาที่ไม่แพง
"จริงๆ แล้วมาตรการเหล่านี้ รัฐบาลสามารถดำเนินการได้ในทันทีแต่รัฐบาลก็ดูเหมือนว่าจะไม่สนใจ ปล่อยให้ชาวบ้านเป็นไปตามยถากรรม"
นางวิไลวรรณ กล่าวต่อว่า ส่วนประเด็นที่จะต้องติดตามและผลักดันต่อไป คือการปรับปรุงกฏหมายแรงงานสัมพันธ์ให้สอดคล้องกับสภาพการจ้างงานที่เป็นจริงและไม่ขัดกับรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ผลักดันกฎหมายสถาบันความปลอดภัย ขยายสิทธิการเข้าถึงระบบประกันสังคมให้กับแรงงานนอกระบบและแรงงานข้ามชาติ
นายสมศักดิ์ โกศัยสุข ที่ปรึกษาสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) เปิดเผยว่า ในวันนี้ (1 พ.ค.) ซึ่งเป็นวันแรงงานเครือข่ายแรงงานจะเปิดโครงการรณรงค์เข้าชื่อ 1 หมื่นรายชื่อเพื่อแก้กฎหมายหลายฉบับที่เกี่ยวข้องกับแรงงานและผลประโยชน์ของชาติ 3 ฉบับ ได้แก่ ผลักดันร่าง พ.ร.บ.ยกเลิกร่าง พ.ร.บ.ทุนวิสาหกิจ พ.ศ.2542,
แก้ไข พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. ........ และ ผลักดันร่าง พ.ร.บ.สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. ... (ฉบับของแรงงาน) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ล้าหลังไม่สอดคล้องกับเงื่อนไขการจ้างงานในยุคปัจจุบัน
เขากล่าวต่อว่า สรส.ยังคงเคลื่อนไหวต่อต้านการแปรรูปรัฐวิสาหกิจซึ่งเป็นผลประโยชน์ของประเทศอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งเรียกร้องให้กระบวนการยุติธรรมดำเนินการอย่างถึงที่สุดเพื่อพิสูจน์ว่าหากมีการทุจริตในกระบวนการแปรรูปก็ควรจะต้องยึดเอารัฐวิสาหกิจที่ถูกแปรรูปเพื่อผลประโยชน์ของบางกลุ่มกลับมา การเรียกร้องให้ยกเลิก พ.ร.บ.ทุนรัฐวิสาหกิจ ซึ่งถือเป็นเครื่องมือสำคัญในการแปรรูปรัฐวิสาหกิจยังดำเนินต่อไป เพราะขณะนี้ได้พิสูจน์แล้วว่า แม้จะแปรรูป ปตท.ไปแล้ว แต่ราคาน้ำมันก็ยังแพงสูงขึ้น ประชาชนเดือดร้อนไปทุกหย่อมหญ้า ขณะที่ ปตท.ได้กำไรไปถึง 1.3 แสนล้านบาท
นายสมศักดิ์ กล่าวต่อว่า ส่วนเรื่องค่าแรงขั้นต่ำเป็นประเด็นที่ทางเครือข่ายแรงงานเรียกร้องมาโดยตลอด แต่ภายใต้รัฐบาลชุดนี้ซึ่งเกิดภาวะข้าวยากหมากแพง น้ำมันขึ้นราคา ล่าสุดน้ำตาลก็ขึ้นอีก 5 บาท การพยายามปรับค่าแรงก็ล้มเหลว ขณะที่รัฐบาลก็มุ่งที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับตัวเองโดยไม่สนใจปัญหาที่ประชาชนกำลังเดือดร้อน นอกจากนี้ยังมีความเคลื่อนไหวเพื่อที่ส่งคนในเครือข่ายของตน รวมทั้งผีหัวขาด 111ไปยังนั่งในตำแหน่งรัฐวิสาหกิจหลายแห่ง
โดยเฉพาะการผลักดัน พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์ ให้เข้าไปนั่งเป็นบอร์ดในการประปาส่วนภูมิภาค ผลักดันให้นายทุนค้ายาข้ามชาติที่เป็นคู่แข่งกับองค์กรเภสัชกรรมเข้าไปนั่งเป็นบอร์ดองค์การเภสัชกรรมเพื่อยกเลิกซีแอล หรือแม้แต่ความเคลื่อนไหวของรัฐมนตรีที่คุมกิจการด้านโทรคมนาคมที่กำลังส่งคนเข้ามาคุมในรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้องเพื่อผลักดันให้เกิดการแปรรูป เพื่อหาประโยชน์ไปใช้ในการหาเสียงและนำไปสนับสนุนโครงการประชานิยม ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าฝ่ายรัฐบาลกำลังจนมุม
"ขณะนี้พนักงานรัฐวิสาหกิจกำลังจับตามองความเคลื่อนไหวเหล่านี้อยู่"เขากล่าวและยืนยันว่า ที่ผ่านมาสรส.มีบทบาทเข้าร่วมการชุมนุมกับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยโดยตลอด และในขณะนี้ก็มีจุดยืนร่วมเคลื่อนไหวด้วยเพราะต่างเห็นว่าสุดท้ายแล้วการแก้ไขรัฐธรรมนูญจะส่งผลให้การตรวจสอบและกระบวนการยุติธรรมเพื่อเอาผิดกับการคอรับชั่นในกรณีการแปรรูปต้องหยุดชะงักไป
ตั้งวงรื้อระบบประกันสังคม
วานนี้ (30 เม.ย.) ที่ห้องประชุมสโมสรตำรวจ ถ.วิภาวดีรังสิต กรุงเทพฯคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (ครสท.) ร่วมกับมูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย มูลนิธิเพื่อนหญิง และมูลนิธิอารมณ์ พงศ์พงัน จัดเวทีสมัชชาแรงงานปฏิรูปประกันสังคม โดยมีผู้ใช้แรงงานกว่า 300 คน เข้าร่วมฟัง
น.ส.วิไลวรรณ แซ่เตีย ประธาน ครสท.เป็นผู้นำในการประกาศเจตนารมณ์ "ถึงเวลาปฎิรูประบบประกันสังคม"ว่า 18 ปี นับตั้งแต่มี พ.ร.บ.ประกันสังคม ได้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ระบบประกันสังคมอย่างกว้างขวาง ตั้งแต่ความโปร่งใสในการบริหาร การใช้งบประมาณจนถึงประสิทธิประโยชน์ที่ไม่ครอบคลุมผู้ประกันตนถ้วนหน้า รวมถึงประ-โยชน์ทดแทนที่ไม่เพียงพอต่อผู้ประกันตน จึงเกิดกระแสเรียกร้องให้มีการปฏิรูประบบประกันสังคม
ทั้งนี้ จากการระดมความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน พบว่า 1.ต้องการให้สำนักงานประกันสังคม (สปส.) เป็นองค์กรอิสระ 2.ให้มีสิทธิเลือกตั้งคณะกรรมการไตรภาคีที่เกี่ยวข้อง 3.ปรับแก้มาตรา 39 ให้ผู้ประกันตนตามสมัครใจจ่ายเงินสมทบหนึ่งเท่าตัว 4.การบริหารกองทุนต้องโปร่งใส ตรวจสอบได้และคำนึงถึงผลประโยชน์ของผู้ประกันตน
5.ให้ผู้ประกันตนที่เกษียณอายุใช้สิทธิรักษาพยาบาลในโครงการประกันสังคมต่อเนื่องจนเสียชีวิต และ 6.ขยายการคุ้มรองของกฎหมายประกันสังคมไปยังแรงงานทุกภาคส่วน
นายณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า นายจ้างมักไม่ยอมรับว่าเป็นนายจ้างของผู้ใช้แรงงานในภาคเกษตรและภาคครัวเรือน เช่น คนใช้ในบ้าน คนสวน เป็นต้น รัฐเองก็ไม่ถือว่าว่าคนกลุ่มนี้เป็นลูกจ้าง ทำให้คนเหล่านี้ไม่ได้รับการคุ้มครองจากระบบประกันสังคมจึงเป็นหน้าที่ที่รัฐต้องเข้ามาดูแลให้พวกเขาได้มีหลักประกันถ้วนหน้า
นายณรงค์ กล่าวต่อว่า การจะสร้างหลักประกันของชีวิตนั้นคงไม่สามารถสร้างขึ้นได้จากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชนต้องเข้ามามีส่วนร่วม แต่คนเหล่านี้ได้เข้ามามีส่วนร่วมกับการบริหารจัดการกองทุนประกันสังคมแค่ไหน อีกทั้งภายใน 5-10 ปี กองทุนประกันสังคมจะเติบโตเป็น 1 ล้านล้านบาท ถามว่าเราได้ใช้เงินก้อนนี้ให้เป็นประโยชน์สูงสุดหรือยัง เงินก้อนนี้จึงเป็นที่หมายปองของคนบางกลุ่ม โดยที่ผู้ประกันตนไม่รู้เรื่อง ซึ่งสิบกว่าปีที่ผ่านมา มีความไม่โปร่งใสในการใช้เงินก้อนนี้เป็นอย่างมาก
“เวลานี้ขบวนการแรงงานอ่อนแอลงไปเรื่อยๆ คนงานไร้การศึกษา ไร้การจัดตั้ง ซึ่งเป็นความปรารถนาของฝ่ายรัฐและนายทุน คนงานมีแต่จำนวนแต่ไร้พลัง กว่า10 ปีที่ผ่านมา รัฐฯพยายามทำให้วันแรงงานเกิดความแตกแยก เอาเงินไปให้ตรงนั้นก้อนหนึ่ง ตรงนี้ก้อนหนึ่ง และทำให้วันแรงงานเป็นวันที่สนุกสนาน ขาดการตระหนักรู้จิตวิญญาณของวันแรงงาน ตราบใดก็ตามหากจิตวิญญาณการต่อสู้ขาดหายไป คำว่าการมีส่วนร่วมและการร่วมจัดการจะไม่เป็นจริง โจทย์ที่ใหญ่ที่สุดคือพวกเราได้มีความพยายามแค่ไหนที่ทำให้เกิดความเข้มแข็งในการจัดการกับตัวเองกับนโยบายและกองทุนอันใหญ่โตนี้" นายณรงค์ กล่าว
ด้าน ดร.นภาพร อติวานิชยพงศ์ อาจารย์คณะสังคมสงเคราะห์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวถึงงานวิจัยข้อเสนอเพื่อการปฏิรูปประกันสังคม ว่า ข้อเสนอมีทั้งหมด 4 ด้านคือ 1.การเปลี่ยนแปลงสถานภาพของ สปส.ให้เป็นองค์กรอิสระและไม่อยู่ภายใต้รัฐบาล ซึ่งรัฐบาลเองเป็นผู้ริเริ่มตั้งแต่ปี 2538 แต่เรื่องก็เงียบหายไปจนกระทั่งปลายรัฐบาลทักษิณฝ่ายลูกจ้างได้เริ่มปลุกกระแสนี้อีกครั้ง เพราะภายใน สปส.มีปัญหามากเรื่องความโปร่งใสในการบริหาร
ทั้งนี้ ผลการศึกษาที่นายสมคิด เลิศไพฑูรย์ หัวหน้าคณะการวิจัย เห็นว่า ควรเปลี่ยนแปลง สปส.เป็นองค์การมหาชน โดยให้มีการตราเป็นพระราชบัญญัติเฉพาะขึ้นมา และควรใช้หลักธรรมาภิบาลเข้ามาบริหาร โดยเน้นการมีส่วนร่วมของผู้ประกันตนและต้องมีระบบการตรวจสอบจากองค์กรภายนอก
2. ควรเปลี่ยนแปลงวิธีการเลือกตั้งของคณะกรรมการประกันสังคม (บอร์ด สปส.) เพราะที่ผ่านมามีเสียงวิจารณ์ถึงคุณสมบัติและบทบาทของบอร์ดที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญของ สปส.ว่ามีความเชี่ยวชาญจริงหรือไม่ และยังมีเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
ปัจจุบันบอร์ด สปส.นั้นเลือกโดยผ่านสภาองค์การลูกจ้าง ซึ่งการเลือกด้วยวิธีนี้ทำให้ไม่ได้ตัวแทนที่แท้จริง อย่างไรก็ตาม ฝ่ายนายจ้างเสนอให้มีการเลือกโดยขยายขอบเขตออกไปนอกสมาคมนายจ้างเพราะองค์กรที่มีบทบาทจริง คือ สภาหอการค้า ส่วนฝ่ายลูกจ้าง เสนอให้เลือกจากระบบสัดส่วนหรือการเลือกตั้งทางตรงโดยผู้ประกันตน
3. การบูรณาการระบบประกันสังคมในกรณีสิทธิประโยชน์จากการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยและระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ซึ่งแต่เดิมลูกจ้างระแวงว่าเป็นแนวความคิดที่รัฐบาลต้องการโยกงบประมาณไปใช้และลูกจ้างเสียเปรียบเพราะจ่ายเงินซ้ำซ้อน ดังนั้น ควรมีหลักประกันสุขภาพกองทุนเดียวการบูรณาการต้องไม่ลดระดับคุณภาพการรักษาที่ดีอยู่แล้วและต้องยกระดับกลุ่มที่แย่กว่าให้สูงขึ้นที่สำคัญประชาชนไม่ควรจ่ายภาษีซ้ำซ้อน
4.การขยายขอบเขตความคุ้มครองสู่แรงงานนอกระบบ ให้ได้สิทธิประโยชน์ใน 5 กรณี คือ เจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตาย คลอดบุตรและสงเคราะห์บุตร ส่วนเรื่องการจ่ายเงินสมทบขอให้เก็บร้อยละ 5 ตามฐานรายได้
นายจอน อึ้งภากรณ์ อดีตประธานคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน กล่าวว่า สปส.มีจุดด้อย คือ ครอบคลุมแรงงานเพียงส่วนน้อย ดังนั้นจำเป็นต้องขยายไปสู่แรงงานทุกส่วนเพื่อความอยู่รอดของคนทั้งประเทศ คนที่เสียเปรียบที่สุด คือ ผู้สูงอายุในชนบท เพราะไม่ได้อยู่ในระบบและได้แค่เบี้ยสงเคราะห์เดือนละ 500 บาท และรายได้ส่วนใหญ่มาจากเงินที่ลูกหลานส่งไปให้
"โครงสร้างระบบ สปส.ต้องปฏิรูปอย่างมากโดยต้องมีผู้เชี่ยวชาญเข้าไปดูแล ที่ชัดเจน คือกองทุนประกันสังคมต้องไม่ใช่ของกระทรวงแรงงาน แต่เป็นของนายจ้าง ลูกจ้าง ส่วนรัฐเมื่อจ่ายเงินน้อยก็ควรมีตัวแทนน้อย ส่วนตัวแทนลูกจ้างนั้นตนไม่เห็นด้วยกับการเปิดเลือกตั้งทั่วไป เพราะไม่รู้เลือกกันอย่างไร และรู้ได้อย่างไรว่าใครไว้ใจได้ตนจึงสนับสนุนให้สหภาพแรงงานเลือก"นายจอน กล่าว
ทางด้านนางสุจิน รุ่งสว่าง ผู้ประสานงานเครือข่ายแรงงานนอกระบบ กล่าวว่า อยากเห็นประกันสังคมที่ยืดหยุ่นและหลากหลายรัฐควรมีมาตรการทางภาษีกับผู้ประกอบการในการนำเงินมาสมทบในส่วนที่รัฐต้องรับผิดชอบ
ส่วนเรื่องอัตราเงินสมทบของมาตรา 40 ที่ต้องจ่ายกว่า 3 พันบาทต่อปี ควรมีการปรับให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง
นางสุจิน กล่าวว่า เครือข่ายฯ ได้ข้อสรุปว่าการขยายประกันสังคมสู่แรงงานนอกระบบให้ใช้หลักการร่วมจ่ายระหว่างรัฐและแรงงานอกระบบโดยกำหนดเงินสมทบที่ร่วมจ่ายในอัตรา 200 บาทต่อเดือนและรัฐร่วมจ่ายในอัตราเดียวกัน และครอบคลุมสิทธิประโยชน์พื้นฐาน 4 กรณี 1.จ่ายค่าชดเชยกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย เฉพาะผู้ป่วยใน จ่ายวันละ 200 บาท ครั้งละไม่เกิน 10 วัน ปีละไม่เกิน 30 วัน 2. กรณีทุพพลภาพจ่ายเดือนละ 2,000 บาท ตลอดชีวิตโดยผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบแล้วไม่น้อยกว่าง 3 เดือน 3.กรณีตาย จ่ายค่าทำศพ 30,000 บาท เมื่อเข้าสู่ระบบแล้วไม่น้อยกว่า 1 เดือน และ4.กรณีชราภาพ การเกิดสิทธิประโยชน์เป็นไปตามเงื่อนไขเวลาการจ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป
นางวิไลวรรณ แซ่เตีย ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (ครสท.) กล่าวถึงการเคลื่อนไหวของเครือข่ายแรงงานในวันกรรมกรสากลว่า คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทยและสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) จะยื่นข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลโดยมีข้อเรียกร้องเร่งด่วน 2 ประการ คือ 1) เรื่องค่าจ้างขั้นต่ำที่ควรปรับให้สูงขึ้นเพื่อสอดคล้องกับค่าครองชีพที่สูงขึ้นในขณะนี้ ซึ่งที่ผ่านมาทางเครือข่ายเรียกร้อง 233 บาทต่อวัน ซึ่งคิดจากฐานที่พ.ต.อ.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เคยอ้างว่าข้าราชการควรมีค่าจ้างขั้นต่ำเดือนละ 7,000 บาท
2) การควบคุมราคาสินค้าที่จะต้องอาศัยความร่วมมือของกระทรวงต่างๆ โดยกระทรวงพลังงานที่จะต้องแก้ปัญหาราคาน้ำมัน ขณะที่กระทรวงพาณิชย์ ต้องมีมาตรการเด็ดขาดในการควบคุมราคาอุปโภคบริโภครวมทั้งจัดโครงการขายสินค้าในราคาถูกแก่คนยากจน ส่วนกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ก็ต้องบริการสินค้าเกษตร เช่น ข้าวสารในราคาที่ไม่แพง
"จริงๆ แล้วมาตรการเหล่านี้ รัฐบาลสามารถดำเนินการได้ในทันทีแต่รัฐบาลก็ดูเหมือนว่าจะไม่สนใจ ปล่อยให้ชาวบ้านเป็นไปตามยถากรรม"
นางวิไลวรรณ กล่าวต่อว่า ส่วนประเด็นที่จะต้องติดตามและผลักดันต่อไป คือการปรับปรุงกฏหมายแรงงานสัมพันธ์ให้สอดคล้องกับสภาพการจ้างงานที่เป็นจริงและไม่ขัดกับรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ผลักดันกฎหมายสถาบันความปลอดภัย ขยายสิทธิการเข้าถึงระบบประกันสังคมให้กับแรงงานนอกระบบและแรงงานข้ามชาติ
นายสมศักดิ์ โกศัยสุข ที่ปรึกษาสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) เปิดเผยว่า ในวันนี้ (1 พ.ค.) ซึ่งเป็นวันแรงงานเครือข่ายแรงงานจะเปิดโครงการรณรงค์เข้าชื่อ 1 หมื่นรายชื่อเพื่อแก้กฎหมายหลายฉบับที่เกี่ยวข้องกับแรงงานและผลประโยชน์ของชาติ 3 ฉบับ ได้แก่ ผลักดันร่าง พ.ร.บ.ยกเลิกร่าง พ.ร.บ.ทุนวิสาหกิจ พ.ศ.2542,
แก้ไข พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. ........ และ ผลักดันร่าง พ.ร.บ.สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. ... (ฉบับของแรงงาน) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ล้าหลังไม่สอดคล้องกับเงื่อนไขการจ้างงานในยุคปัจจุบัน
เขากล่าวต่อว่า สรส.ยังคงเคลื่อนไหวต่อต้านการแปรรูปรัฐวิสาหกิจซึ่งเป็นผลประโยชน์ของประเทศอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งเรียกร้องให้กระบวนการยุติธรรมดำเนินการอย่างถึงที่สุดเพื่อพิสูจน์ว่าหากมีการทุจริตในกระบวนการแปรรูปก็ควรจะต้องยึดเอารัฐวิสาหกิจที่ถูกแปรรูปเพื่อผลประโยชน์ของบางกลุ่มกลับมา การเรียกร้องให้ยกเลิก พ.ร.บ.ทุนรัฐวิสาหกิจ ซึ่งถือเป็นเครื่องมือสำคัญในการแปรรูปรัฐวิสาหกิจยังดำเนินต่อไป เพราะขณะนี้ได้พิสูจน์แล้วว่า แม้จะแปรรูป ปตท.ไปแล้ว แต่ราคาน้ำมันก็ยังแพงสูงขึ้น ประชาชนเดือดร้อนไปทุกหย่อมหญ้า ขณะที่ ปตท.ได้กำไรไปถึง 1.3 แสนล้านบาท
นายสมศักดิ์ กล่าวต่อว่า ส่วนเรื่องค่าแรงขั้นต่ำเป็นประเด็นที่ทางเครือข่ายแรงงานเรียกร้องมาโดยตลอด แต่ภายใต้รัฐบาลชุดนี้ซึ่งเกิดภาวะข้าวยากหมากแพง น้ำมันขึ้นราคา ล่าสุดน้ำตาลก็ขึ้นอีก 5 บาท การพยายามปรับค่าแรงก็ล้มเหลว ขณะที่รัฐบาลก็มุ่งที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับตัวเองโดยไม่สนใจปัญหาที่ประชาชนกำลังเดือดร้อน นอกจากนี้ยังมีความเคลื่อนไหวเพื่อที่ส่งคนในเครือข่ายของตน รวมทั้งผีหัวขาด 111ไปยังนั่งในตำแหน่งรัฐวิสาหกิจหลายแห่ง
โดยเฉพาะการผลักดัน พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์ ให้เข้าไปนั่งเป็นบอร์ดในการประปาส่วนภูมิภาค ผลักดันให้นายทุนค้ายาข้ามชาติที่เป็นคู่แข่งกับองค์กรเภสัชกรรมเข้าไปนั่งเป็นบอร์ดองค์การเภสัชกรรมเพื่อยกเลิกซีแอล หรือแม้แต่ความเคลื่อนไหวของรัฐมนตรีที่คุมกิจการด้านโทรคมนาคมที่กำลังส่งคนเข้ามาคุมในรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้องเพื่อผลักดันให้เกิดการแปรรูป เพื่อหาประโยชน์ไปใช้ในการหาเสียงและนำไปสนับสนุนโครงการประชานิยม ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าฝ่ายรัฐบาลกำลังจนมุม
"ขณะนี้พนักงานรัฐวิสาหกิจกำลังจับตามองความเคลื่อนไหวเหล่านี้อยู่"เขากล่าวและยืนยันว่า ที่ผ่านมาสรส.มีบทบาทเข้าร่วมการชุมนุมกับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยโดยตลอด และในขณะนี้ก็มีจุดยืนร่วมเคลื่อนไหวด้วยเพราะต่างเห็นว่าสุดท้ายแล้วการแก้ไขรัฐธรรมนูญจะส่งผลให้การตรวจสอบและกระบวนการยุติธรรมเพื่อเอาผิดกับการคอรับชั่นในกรณีการแปรรูปต้องหยุดชะงักไป
ตั้งวงรื้อระบบประกันสังคม
วานนี้ (30 เม.ย.) ที่ห้องประชุมสโมสรตำรวจ ถ.วิภาวดีรังสิต กรุงเทพฯคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (ครสท.) ร่วมกับมูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย มูลนิธิเพื่อนหญิง และมูลนิธิอารมณ์ พงศ์พงัน จัดเวทีสมัชชาแรงงานปฏิรูปประกันสังคม โดยมีผู้ใช้แรงงานกว่า 300 คน เข้าร่วมฟัง
น.ส.วิไลวรรณ แซ่เตีย ประธาน ครสท.เป็นผู้นำในการประกาศเจตนารมณ์ "ถึงเวลาปฎิรูประบบประกันสังคม"ว่า 18 ปี นับตั้งแต่มี พ.ร.บ.ประกันสังคม ได้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ระบบประกันสังคมอย่างกว้างขวาง ตั้งแต่ความโปร่งใสในการบริหาร การใช้งบประมาณจนถึงประสิทธิประโยชน์ที่ไม่ครอบคลุมผู้ประกันตนถ้วนหน้า รวมถึงประ-โยชน์ทดแทนที่ไม่เพียงพอต่อผู้ประกันตน จึงเกิดกระแสเรียกร้องให้มีการปฏิรูประบบประกันสังคม
ทั้งนี้ จากการระดมความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน พบว่า 1.ต้องการให้สำนักงานประกันสังคม (สปส.) เป็นองค์กรอิสระ 2.ให้มีสิทธิเลือกตั้งคณะกรรมการไตรภาคีที่เกี่ยวข้อง 3.ปรับแก้มาตรา 39 ให้ผู้ประกันตนตามสมัครใจจ่ายเงินสมทบหนึ่งเท่าตัว 4.การบริหารกองทุนต้องโปร่งใส ตรวจสอบได้และคำนึงถึงผลประโยชน์ของผู้ประกันตน
5.ให้ผู้ประกันตนที่เกษียณอายุใช้สิทธิรักษาพยาบาลในโครงการประกันสังคมต่อเนื่องจนเสียชีวิต และ 6.ขยายการคุ้มรองของกฎหมายประกันสังคมไปยังแรงงานทุกภาคส่วน
นายณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า นายจ้างมักไม่ยอมรับว่าเป็นนายจ้างของผู้ใช้แรงงานในภาคเกษตรและภาคครัวเรือน เช่น คนใช้ในบ้าน คนสวน เป็นต้น รัฐเองก็ไม่ถือว่าว่าคนกลุ่มนี้เป็นลูกจ้าง ทำให้คนเหล่านี้ไม่ได้รับการคุ้มครองจากระบบประกันสังคมจึงเป็นหน้าที่ที่รัฐต้องเข้ามาดูแลให้พวกเขาได้มีหลักประกันถ้วนหน้า
นายณรงค์ กล่าวต่อว่า การจะสร้างหลักประกันของชีวิตนั้นคงไม่สามารถสร้างขึ้นได้จากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชนต้องเข้ามามีส่วนร่วม แต่คนเหล่านี้ได้เข้ามามีส่วนร่วมกับการบริหารจัดการกองทุนประกันสังคมแค่ไหน อีกทั้งภายใน 5-10 ปี กองทุนประกันสังคมจะเติบโตเป็น 1 ล้านล้านบาท ถามว่าเราได้ใช้เงินก้อนนี้ให้เป็นประโยชน์สูงสุดหรือยัง เงินก้อนนี้จึงเป็นที่หมายปองของคนบางกลุ่ม โดยที่ผู้ประกันตนไม่รู้เรื่อง ซึ่งสิบกว่าปีที่ผ่านมา มีความไม่โปร่งใสในการใช้เงินก้อนนี้เป็นอย่างมาก
“เวลานี้ขบวนการแรงงานอ่อนแอลงไปเรื่อยๆ คนงานไร้การศึกษา ไร้การจัดตั้ง ซึ่งเป็นความปรารถนาของฝ่ายรัฐและนายทุน คนงานมีแต่จำนวนแต่ไร้พลัง กว่า10 ปีที่ผ่านมา รัฐฯพยายามทำให้วันแรงงานเกิดความแตกแยก เอาเงินไปให้ตรงนั้นก้อนหนึ่ง ตรงนี้ก้อนหนึ่ง และทำให้วันแรงงานเป็นวันที่สนุกสนาน ขาดการตระหนักรู้จิตวิญญาณของวันแรงงาน ตราบใดก็ตามหากจิตวิญญาณการต่อสู้ขาดหายไป คำว่าการมีส่วนร่วมและการร่วมจัดการจะไม่เป็นจริง โจทย์ที่ใหญ่ที่สุดคือพวกเราได้มีความพยายามแค่ไหนที่ทำให้เกิดความเข้มแข็งในการจัดการกับตัวเองกับนโยบายและกองทุนอันใหญ่โตนี้" นายณรงค์ กล่าว
ด้าน ดร.นภาพร อติวานิชยพงศ์ อาจารย์คณะสังคมสงเคราะห์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวถึงงานวิจัยข้อเสนอเพื่อการปฏิรูปประกันสังคม ว่า ข้อเสนอมีทั้งหมด 4 ด้านคือ 1.การเปลี่ยนแปลงสถานภาพของ สปส.ให้เป็นองค์กรอิสระและไม่อยู่ภายใต้รัฐบาล ซึ่งรัฐบาลเองเป็นผู้ริเริ่มตั้งแต่ปี 2538 แต่เรื่องก็เงียบหายไปจนกระทั่งปลายรัฐบาลทักษิณฝ่ายลูกจ้างได้เริ่มปลุกกระแสนี้อีกครั้ง เพราะภายใน สปส.มีปัญหามากเรื่องความโปร่งใสในการบริหาร
ทั้งนี้ ผลการศึกษาที่นายสมคิด เลิศไพฑูรย์ หัวหน้าคณะการวิจัย เห็นว่า ควรเปลี่ยนแปลง สปส.เป็นองค์การมหาชน โดยให้มีการตราเป็นพระราชบัญญัติเฉพาะขึ้นมา และควรใช้หลักธรรมาภิบาลเข้ามาบริหาร โดยเน้นการมีส่วนร่วมของผู้ประกันตนและต้องมีระบบการตรวจสอบจากองค์กรภายนอก
2. ควรเปลี่ยนแปลงวิธีการเลือกตั้งของคณะกรรมการประกันสังคม (บอร์ด สปส.) เพราะที่ผ่านมามีเสียงวิจารณ์ถึงคุณสมบัติและบทบาทของบอร์ดที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญของ สปส.ว่ามีความเชี่ยวชาญจริงหรือไม่ และยังมีเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
ปัจจุบันบอร์ด สปส.นั้นเลือกโดยผ่านสภาองค์การลูกจ้าง ซึ่งการเลือกด้วยวิธีนี้ทำให้ไม่ได้ตัวแทนที่แท้จริง อย่างไรก็ตาม ฝ่ายนายจ้างเสนอให้มีการเลือกโดยขยายขอบเขตออกไปนอกสมาคมนายจ้างเพราะองค์กรที่มีบทบาทจริง คือ สภาหอการค้า ส่วนฝ่ายลูกจ้าง เสนอให้เลือกจากระบบสัดส่วนหรือการเลือกตั้งทางตรงโดยผู้ประกันตน
3. การบูรณาการระบบประกันสังคมในกรณีสิทธิประโยชน์จากการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยและระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ซึ่งแต่เดิมลูกจ้างระแวงว่าเป็นแนวความคิดที่รัฐบาลต้องการโยกงบประมาณไปใช้และลูกจ้างเสียเปรียบเพราะจ่ายเงินซ้ำซ้อน ดังนั้น ควรมีหลักประกันสุขภาพกองทุนเดียวการบูรณาการต้องไม่ลดระดับคุณภาพการรักษาที่ดีอยู่แล้วและต้องยกระดับกลุ่มที่แย่กว่าให้สูงขึ้นที่สำคัญประชาชนไม่ควรจ่ายภาษีซ้ำซ้อน
4.การขยายขอบเขตความคุ้มครองสู่แรงงานนอกระบบ ให้ได้สิทธิประโยชน์ใน 5 กรณี คือ เจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตาย คลอดบุตรและสงเคราะห์บุตร ส่วนเรื่องการจ่ายเงินสมทบขอให้เก็บร้อยละ 5 ตามฐานรายได้
นายจอน อึ้งภากรณ์ อดีตประธานคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน กล่าวว่า สปส.มีจุดด้อย คือ ครอบคลุมแรงงานเพียงส่วนน้อย ดังนั้นจำเป็นต้องขยายไปสู่แรงงานทุกส่วนเพื่อความอยู่รอดของคนทั้งประเทศ คนที่เสียเปรียบที่สุด คือ ผู้สูงอายุในชนบท เพราะไม่ได้อยู่ในระบบและได้แค่เบี้ยสงเคราะห์เดือนละ 500 บาท และรายได้ส่วนใหญ่มาจากเงินที่ลูกหลานส่งไปให้
"โครงสร้างระบบ สปส.ต้องปฏิรูปอย่างมากโดยต้องมีผู้เชี่ยวชาญเข้าไปดูแล ที่ชัดเจน คือกองทุนประกันสังคมต้องไม่ใช่ของกระทรวงแรงงาน แต่เป็นของนายจ้าง ลูกจ้าง ส่วนรัฐเมื่อจ่ายเงินน้อยก็ควรมีตัวแทนน้อย ส่วนตัวแทนลูกจ้างนั้นตนไม่เห็นด้วยกับการเปิดเลือกตั้งทั่วไป เพราะไม่รู้เลือกกันอย่างไร และรู้ได้อย่างไรว่าใครไว้ใจได้ตนจึงสนับสนุนให้สหภาพแรงงานเลือก"นายจอน กล่าว
ทางด้านนางสุจิน รุ่งสว่าง ผู้ประสานงานเครือข่ายแรงงานนอกระบบ กล่าวว่า อยากเห็นประกันสังคมที่ยืดหยุ่นและหลากหลายรัฐควรมีมาตรการทางภาษีกับผู้ประกอบการในการนำเงินมาสมทบในส่วนที่รัฐต้องรับผิดชอบ
ส่วนเรื่องอัตราเงินสมทบของมาตรา 40 ที่ต้องจ่ายกว่า 3 พันบาทต่อปี ควรมีการปรับให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง
นางสุจิน กล่าวว่า เครือข่ายฯ ได้ข้อสรุปว่าการขยายประกันสังคมสู่แรงงานนอกระบบให้ใช้หลักการร่วมจ่ายระหว่างรัฐและแรงงานอกระบบโดยกำหนดเงินสมทบที่ร่วมจ่ายในอัตรา 200 บาทต่อเดือนและรัฐร่วมจ่ายในอัตราเดียวกัน และครอบคลุมสิทธิประโยชน์พื้นฐาน 4 กรณี 1.จ่ายค่าชดเชยกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย เฉพาะผู้ป่วยใน จ่ายวันละ 200 บาท ครั้งละไม่เกิน 10 วัน ปีละไม่เกิน 30 วัน 2. กรณีทุพพลภาพจ่ายเดือนละ 2,000 บาท ตลอดชีวิตโดยผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบแล้วไม่น้อยกว่าง 3 เดือน 3.กรณีตาย จ่ายค่าทำศพ 30,000 บาท เมื่อเข้าสู่ระบบแล้วไม่น้อยกว่า 1 เดือน และ4.กรณีชราภาพ การเกิดสิทธิประโยชน์เป็นไปตามเงื่อนไขเวลาการจ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป