ทปอ.ยอมถอย อาจมีการเพิ่ม PAT ที่ 7 ภาษาต่างประเทศที่ 2 หลังถูกกดดันอย่างหนัก “อุทุมพร” เผย ผลทำประชาพิจารณ์ของ สมศ.มีผู้ไม่เห็นด้วยกับองค์ประกอบแอดมิชชันถึงร้อยละ 66.85 โดยเฉพาะเรื่องการไม่จัดวัดผลภาษาต่างประเทศที่ 2 คาดได้ข้อสรุปในการประชุม ทปอ.4 เม.ย.นี้
นางอุทุมพร จามรมาน ผู้อำนวยการสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) กล่าวว่า ตนได้หารือร่วมกับ นายมณฑล สงวนเสริมศรี อธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร (มน.) ในฐานะประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ถึงผลสรุปการรับฟังความคิดเห็นของนักเรียน นิสิตนักศึกษา และประชาชนทั่วไป เกี่ยวกับองค์ประกอบและค่าน้ำหนักที่จะใช้ในการคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษา ด้วยระบบกลางการรับนิสิตนักศึกษา (แอดมิชชัน) ปี 2553 ผ่านทางเว็บไซต์ www.niets.or.th ของ สทศ.ซึ่งพบว่า มีผู้ไม่เห็นด้วยกับองค์ประกอบดังกล่าวถึง ร้อยละ 66.85 โดยเหตุผลที่ไม่เห็นด้วยมากที่สุด คือ การที่ ทปอ.ไม่กำหนดให้มีการสอบภาษาต่างประเทศที่ 2 ดังนั้น จากที่ได้หารือเบื้องต้นกับนายมณฑล ก็รับว่าจะนำผลรับฟังความคิดเห็นครั้งนี้เข้าหารือในที่ประชุม ทปอ.ต่อไป
“จากการหารือมีแนวโน้มค่อนข้างชัดเจนแล้วว่า ทปอ.จะเพิ่ม Professional Aptitude Test (PAT) ที่ 7 การวัดความถนัดทางวิชาชีพ/วิชาการ ด้านภาษาต่างประเทศที่ 2 เพราะต้องยอมรับว่ากระแสเรียกร้องจากนักเรียน ผู้ปกครอง และผู้เกี่ยวข้องแรงมาก เนื่องจากเห็นว่าภาษาต่างประเทศที่ 2 มีความสำคัญและหากกำหนดให้วิชาอื่นๆ อาทิ คณิตศาสตร์ จะต้องวัดศักยภาพ ความถนัดในวิชาชีพนั้นๆ ภาษาต่างประเทศที่ 2 ก็ถือเป็นหนึ่งในวิชาชีพที่ควรกำหนดไว้เช่นเดียวกัน ส่วนองค์ประกอบอื่นๆ คงไม่มีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งในการประชุมคณะทำงานแอดมิชั่น ของ ทปอ.ในวันที่ 4 เม.ย.น่าจะได้ข้อสรุป” นางอุทุมพร กล่าว
ผอ.สทศ.กล่าวอีกว่า สำหรับการจัดสอบ PAT หาก ทปอ.กำหนดให้มีการสอบ PAT ที่ 7 สทศ.ก็จะจัดสอบให้เพียง 4 วิชาเท่านั้น ได้แก่ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาเยอรมัน ภาษาจีน และภาษาญี่ปุ่น เพราะเป็นภาษาที่โรงเรียนชั้น ม.ปลายเปิดสอน และมีนักเรียนเลือกเรียนจำนวนมาก ส่วนวิชาต่างประเทศอื่นๆ อาทิ ภาษาอาหรับ ภาษาบาลี ซึ่งมีจำนวนผู้เรียนไม่มาก สทศ.คงไม่จัดสอบให้
ด้าน นายมณฑล กล่าวว่า เมื่อพิจารณาผลการประชาพิจารณ์ ซึ่งมีจำนวนผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับองค์ประกอบแอดมิชชัน 53 ร้อยละ 66.85 โดยเหตุผลสำคัญที่ไม่เห็นด้วยมาจากภาษาต่างประเทศที่ 2 ถึงร้อยละ 48 คณะทำงานแอดมิชชันจะได้นำผลประชาพิจารณ์มาประกอบการพิจารณา แต่ส่วนตัวแล้วไม่ขัดข้องหากจะมีการเพิ่ม PAT ที่ 7 แต่ที่ประชุม ทปอ.จะมีความเห็นอย่างไรนั้น ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งหลังจากที่คณะทำงานแอดมิชชัน สรุปผลวันที่ 4 เม.ย.จะได้นำเข้าที่ประชุม ทปอ.วันที่ 3 พ.ค.พิจารณาชี้ขาดอีกครั้ง
นางอุทุมพร จามรมาน ผู้อำนวยการสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) กล่าวว่า ตนได้หารือร่วมกับ นายมณฑล สงวนเสริมศรี อธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร (มน.) ในฐานะประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ถึงผลสรุปการรับฟังความคิดเห็นของนักเรียน นิสิตนักศึกษา และประชาชนทั่วไป เกี่ยวกับองค์ประกอบและค่าน้ำหนักที่จะใช้ในการคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษา ด้วยระบบกลางการรับนิสิตนักศึกษา (แอดมิชชัน) ปี 2553 ผ่านทางเว็บไซต์ www.niets.or.th ของ สทศ.ซึ่งพบว่า มีผู้ไม่เห็นด้วยกับองค์ประกอบดังกล่าวถึง ร้อยละ 66.85 โดยเหตุผลที่ไม่เห็นด้วยมากที่สุด คือ การที่ ทปอ.ไม่กำหนดให้มีการสอบภาษาต่างประเทศที่ 2 ดังนั้น จากที่ได้หารือเบื้องต้นกับนายมณฑล ก็รับว่าจะนำผลรับฟังความคิดเห็นครั้งนี้เข้าหารือในที่ประชุม ทปอ.ต่อไป
“จากการหารือมีแนวโน้มค่อนข้างชัดเจนแล้วว่า ทปอ.จะเพิ่ม Professional Aptitude Test (PAT) ที่ 7 การวัดความถนัดทางวิชาชีพ/วิชาการ ด้านภาษาต่างประเทศที่ 2 เพราะต้องยอมรับว่ากระแสเรียกร้องจากนักเรียน ผู้ปกครอง และผู้เกี่ยวข้องแรงมาก เนื่องจากเห็นว่าภาษาต่างประเทศที่ 2 มีความสำคัญและหากกำหนดให้วิชาอื่นๆ อาทิ คณิตศาสตร์ จะต้องวัดศักยภาพ ความถนัดในวิชาชีพนั้นๆ ภาษาต่างประเทศที่ 2 ก็ถือเป็นหนึ่งในวิชาชีพที่ควรกำหนดไว้เช่นเดียวกัน ส่วนองค์ประกอบอื่นๆ คงไม่มีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งในการประชุมคณะทำงานแอดมิชั่น ของ ทปอ.ในวันที่ 4 เม.ย.น่าจะได้ข้อสรุป” นางอุทุมพร กล่าว
ผอ.สทศ.กล่าวอีกว่า สำหรับการจัดสอบ PAT หาก ทปอ.กำหนดให้มีการสอบ PAT ที่ 7 สทศ.ก็จะจัดสอบให้เพียง 4 วิชาเท่านั้น ได้แก่ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาเยอรมัน ภาษาจีน และภาษาญี่ปุ่น เพราะเป็นภาษาที่โรงเรียนชั้น ม.ปลายเปิดสอน และมีนักเรียนเลือกเรียนจำนวนมาก ส่วนวิชาต่างประเทศอื่นๆ อาทิ ภาษาอาหรับ ภาษาบาลี ซึ่งมีจำนวนผู้เรียนไม่มาก สทศ.คงไม่จัดสอบให้
ด้าน นายมณฑล กล่าวว่า เมื่อพิจารณาผลการประชาพิจารณ์ ซึ่งมีจำนวนผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับองค์ประกอบแอดมิชชัน 53 ร้อยละ 66.85 โดยเหตุผลสำคัญที่ไม่เห็นด้วยมาจากภาษาต่างประเทศที่ 2 ถึงร้อยละ 48 คณะทำงานแอดมิชชันจะได้นำผลประชาพิจารณ์มาประกอบการพิจารณา แต่ส่วนตัวแล้วไม่ขัดข้องหากจะมีการเพิ่ม PAT ที่ 7 แต่ที่ประชุม ทปอ.จะมีความเห็นอย่างไรนั้น ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งหลังจากที่คณะทำงานแอดมิชชัน สรุปผลวันที่ 4 เม.ย.จะได้นำเข้าที่ประชุม ทปอ.วันที่ 3 พ.ค.พิจารณาชี้ขาดอีกครั้ง