ประธาน ทปอ.แนะนักเรียนตั้งใจเรียนในชั้นเรียน ผลการเรียนพุ่งปรู๊ด ไม่ต้องติวเช้าจรดเย็น ส่วน นักเรียน ผู้ปกครอง ยังติดใจเรื่องการให้เกรดของโรงเรียน
จากการเดินสายประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ และรับฟังความคิดเห็นองค์ประกอบและค่าน้ำหนักในการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในระบบแอดมิชชัน ปี 2553 ครั้งที่ 1 ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งมีนักเรียน ครู ผู้ปกครอง เข้าฟังกว่า 1,000 คน ทั้งนี้ รศ.ดร.มณฑล สงวนเสริมศรี อธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร ในฐานะประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) กล่าวว่า ตนอยากให้นักเรียนตั้งใจเรียนในห้องเรียนให้มากที่สุด โดยไม่อยากให้มุ่งเน้นการติวหรือกวดวิชาตั้งแต่เช้าจนเย็น และขอให้ทำข้อสอบให้ดีที่สุด เพื่อให้ได้ผลการเรียนที่ดี เพื่อนำคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย อย่างไรก็ตาม การเลือกเรียนคณะวิชาต่างๆ นั้น ไม่ว่าจะเลือกเรียนคณะใด ก็สามารถจบมาประกอบอาชีพโดยมีองค์กรวิชาชีพให้การรับรองเหมือนกันหมด ทั้งนี้ จากสถิติของนักวิทยาศาสตร์ หรือนักวิจัย ชื่อดังของประเทศ เมื่อดูประวัติการศึกษาแล้วจะพบว่า ส่วนใหญ่จบการศึกษาจากคณะต่างๆ ของมหาวิทยาลัยต่างจังหวัด เช่น ม.ขอนแก่น ม.เชียงใหม่ ม.นเรศวร ม.สงขลาฯ เป็นต้น ดังนั้น การเรียนในมหาวิทยาลัยก็จะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของนักเรียน ซึ่งมีคุณภาพไม่แตกต่างจากมหาวิทยาลัยชื่อดังในกรุงเทพฯ
ด้าน นางจิตตรียา ไชยศรีพรรณ ผอ.สำนักทดสอบทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กล่าวว่า ศูนย์จีพีเอ ของ สพฐ. ดำเนินการตรวจสอบจีพีเอของนักเรียนม.ปลายมานานกว่า 10 ปีแล้ว มีความมั่นใจว่า จีพีเอมีความเที่ยงตรง ถูกต้อง ตรวจสอบได้ อย่างไรก็ตามก็ยอมรับว่า นักเรียน และผู้ปกครองยังมีความเป็นห่วงเรื่องคุณภาพของจีพีเอ โดยเฉพาะงานวิจัยที่พบว่า โรงเรียนมีทั้งกดเกรด และ ปล่อยเกรด ซึ่ง สพฐ.ก็กำลังตรวจสอบหาปัจจัยที่มีผลต่อความเปลี่ยนแปลงเกรดของสถานศึกษา ซึ่งในเบื้องต้นพบว่า จำนวนนักเรียนมีผลต่อการกระเพื่อมของเกรด โดยเฉพาะ ร.ร.ขนาดเล็ก เช่น จาก 10 คน ลดลงเหลือ 2 คน ก็จะทำให้เกรดมีความเปลี่ยนแปลงสูง เป็นต้น
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังการชี้แจงแล้ว ได้เปิดโอกาสให้นักเรียนถามข้อข้องใจ ส่วนใหญ่คำถามของนักเรียนและผู้ปกครอง จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการให้เกรดของโรงเรียน ซึ่งแสดงความห่วงใย ว่า ยังไม่ได้มาตรฐาน โดยเฉพาะแสดงความห่วงใยเรื่องการปล่อยเกรด ซึ่งบางคำถามมีการตั้งข้อสังเกตว่า ครูอาจจะขายเกรดด้วย นอกจากนี้ นักเรียนบางคนยังแสดงความห่วงใยกรณีการจัดสอบแบบทดสอบศักยภาพทั่วไป (GAT) และแบบทดสอบศักยภาพทางวิชาการและวิชาชีพ (PAT) ปีละ 3 ครั้ง ซึ่งจะทำให้เด็กมุ่งสอบ GAT และ PAT เพียงอย่างเดียว ไม่มีเวลาตั้งใจเรียนในห้องเรียน ทั้งนี้ ทปอ.จะประมวลคำถามทั้งหมด และตอบทางเว็บไซด์ของ สกอ. และ สทศ. ต่อไป สำหรับการเดินสายประชาสัมพันธ์แอดมิชชันครั้งที่ 2 จะมีขึ้นวันที่ 15 ส.ค.นี้ ที่ ม.ขอนแก่น
จากการเดินสายประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ และรับฟังความคิดเห็นองค์ประกอบและค่าน้ำหนักในการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในระบบแอดมิชชัน ปี 2553 ครั้งที่ 1 ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งมีนักเรียน ครู ผู้ปกครอง เข้าฟังกว่า 1,000 คน ทั้งนี้ รศ.ดร.มณฑล สงวนเสริมศรี อธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร ในฐานะประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) กล่าวว่า ตนอยากให้นักเรียนตั้งใจเรียนในห้องเรียนให้มากที่สุด โดยไม่อยากให้มุ่งเน้นการติวหรือกวดวิชาตั้งแต่เช้าจนเย็น และขอให้ทำข้อสอบให้ดีที่สุด เพื่อให้ได้ผลการเรียนที่ดี เพื่อนำคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย อย่างไรก็ตาม การเลือกเรียนคณะวิชาต่างๆ นั้น ไม่ว่าจะเลือกเรียนคณะใด ก็สามารถจบมาประกอบอาชีพโดยมีองค์กรวิชาชีพให้การรับรองเหมือนกันหมด ทั้งนี้ จากสถิติของนักวิทยาศาสตร์ หรือนักวิจัย ชื่อดังของประเทศ เมื่อดูประวัติการศึกษาแล้วจะพบว่า ส่วนใหญ่จบการศึกษาจากคณะต่างๆ ของมหาวิทยาลัยต่างจังหวัด เช่น ม.ขอนแก่น ม.เชียงใหม่ ม.นเรศวร ม.สงขลาฯ เป็นต้น ดังนั้น การเรียนในมหาวิทยาลัยก็จะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของนักเรียน ซึ่งมีคุณภาพไม่แตกต่างจากมหาวิทยาลัยชื่อดังในกรุงเทพฯ
ด้าน นางจิตตรียา ไชยศรีพรรณ ผอ.สำนักทดสอบทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กล่าวว่า ศูนย์จีพีเอ ของ สพฐ. ดำเนินการตรวจสอบจีพีเอของนักเรียนม.ปลายมานานกว่า 10 ปีแล้ว มีความมั่นใจว่า จีพีเอมีความเที่ยงตรง ถูกต้อง ตรวจสอบได้ อย่างไรก็ตามก็ยอมรับว่า นักเรียน และผู้ปกครองยังมีความเป็นห่วงเรื่องคุณภาพของจีพีเอ โดยเฉพาะงานวิจัยที่พบว่า โรงเรียนมีทั้งกดเกรด และ ปล่อยเกรด ซึ่ง สพฐ.ก็กำลังตรวจสอบหาปัจจัยที่มีผลต่อความเปลี่ยนแปลงเกรดของสถานศึกษา ซึ่งในเบื้องต้นพบว่า จำนวนนักเรียนมีผลต่อการกระเพื่อมของเกรด โดยเฉพาะ ร.ร.ขนาดเล็ก เช่น จาก 10 คน ลดลงเหลือ 2 คน ก็จะทำให้เกรดมีความเปลี่ยนแปลงสูง เป็นต้น
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังการชี้แจงแล้ว ได้เปิดโอกาสให้นักเรียนถามข้อข้องใจ ส่วนใหญ่คำถามของนักเรียนและผู้ปกครอง จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการให้เกรดของโรงเรียน ซึ่งแสดงความห่วงใย ว่า ยังไม่ได้มาตรฐาน โดยเฉพาะแสดงความห่วงใยเรื่องการปล่อยเกรด ซึ่งบางคำถามมีการตั้งข้อสังเกตว่า ครูอาจจะขายเกรดด้วย นอกจากนี้ นักเรียนบางคนยังแสดงความห่วงใยกรณีการจัดสอบแบบทดสอบศักยภาพทั่วไป (GAT) และแบบทดสอบศักยภาพทางวิชาการและวิชาชีพ (PAT) ปีละ 3 ครั้ง ซึ่งจะทำให้เด็กมุ่งสอบ GAT และ PAT เพียงอย่างเดียว ไม่มีเวลาตั้งใจเรียนในห้องเรียน ทั้งนี้ ทปอ.จะประมวลคำถามทั้งหมด และตอบทางเว็บไซด์ของ สกอ. และ สทศ. ต่อไป สำหรับการเดินสายประชาสัมพันธ์แอดมิชชันครั้งที่ 2 จะมีขึ้นวันที่ 15 ส.ค.นี้ ที่ ม.ขอนแก่น