กระทรวงแรงงานนำคณะแพทย์ลุยให้บริการตรวจสุขภาพแรงงานไทยในประเทศบรูไนพบส่วนใหญ่เป็นโรคปวดเมื่อยเนื่องจากทำงานหนักและความตึงเครียดจากการทำงาน รวมถึงบางส่วนเป็นโรคผิวหนังและโรคประจำตัว ในขณะที่แรงงานประสบอุปสรรคด้านภาษาเป็นปัญหาการพบแพทย์และการหายารับประทาน
นายทรงศักดิ์ ตันตะโยธิน ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน นำคณะแพทย์ จิตแพทย์และพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 5 คน เดินทางไปยังประเทศบรูไน เพื่อให้บริการตรวจสุขภาพและให้คำแนะนำแก่แรงงานไทยที่เดินทางมาทำงานที่ประเทศบรูไนระหว่างวันที่ 21-25 มีนาคม ทั้งที่ศูนย์ตรวจสุขภาพเฉพาะกิจในสถานเอกอัครราชทูตไทย เมืองบันดาร์ เสรี เบกาวัน และสถานที่ทำงานหรือที่พักอาศัยของแรงงานไทย เช่น ที่โรงงานตัดเย็บเสื้อผ้า บริษัท จาติฟรีดอมเท็กซ์ไทล์ เขตมัวรา ซึ่งมีคนไทยทั้งชายหญิงทำงานอยู่ 109 คน คนไทยที่โรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าแห่งนี้ กระจายทำงานหลายตำแหน่งต้องทำงานวันละ 12 ชั่วโมง แบ่งเป็นกะกลางวันกับกะกลางคืน พักอาศัยและรับประทานอาหารที่ทางโรงงานจัดสรรให้ มีรายได้ประมาณเดือนละ 10,000-17,000 บาทขึ้นไป ตามแต่จำนวนผลงาน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บรรยากาศเมื่อคณะแพทย์จากไทยเดินทางมาตรวจสุขภาพ ทุกคนต่างดีใจและมาต่อแถวรอตรวจและสนทนาหยอกล้อกันด้วยความสนุกสนานกระทั่งบางคนรอส่งแพทย์ขึ้นรถออกจากโรงงาน นอกจากนั้น การเดินทางมาของคณะจากประเทศไทยครั้งนี้ ทำให้แรงงานชาติอื่นๆ เช่น ฟิลิปปินส์ ที่ทำงานในโรงงานนี้รู้สึกชื่นชมเพราะแม้กลุ่มของพวกเขามีจำนวนมากกว่า แต่กลับไม่มีแพทย์จากบ้านเกิดมาดูแล
นพ.พีระพงษ์ ภาวสุทธิไพศิฐ นายแพทย์ 8 โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์ จ.นราธิวาส หนึ่งในแพทย์ประจำคณะ เปิดเผยว่า แรงงานส่วนใหญ่เป็นโรคจากการทำงานหนักต่อเนื่อง เช่น อาการปวดเมื่อยล้า ปวดหัวเนื่องจากพักผ่อนไม่เพียงพอ และมีความตึงเครียด บางกลุ่มเป็นโรคผิวหนังเนื่องจากต้องทำงานอยู่กับปูนซีเมนต์ และบางคนก็มีโรคประจำตัว อนึ่ง แรงงานบางส่วนต้องการขอรับยาทั่วไป ไปเก็บไว้ใช้ยามจำเป็นเพราะการพบแพทย์ที่บรูไนมีค่าใช้จ่ายสูงและมีอุปสรรคด้านภาษา ขณะที่การซื้อยารับประทานเองไม่สามารถทำได้
ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า โครงการตรวจสุขภาพแรงงานไทยในบรูไนครั้งนี้ ตั้งเป้าหมายตรวจสุขภาพแรงงานไทยกว่า 1,000 คนขึ้นไป นอกจากเพื่อเป็นการดูแลทางกายภาพให้แรงงานแล้ว ยังเป็นการให้กำลังใจคนที่จากบ้านมาทำงาน รวมถึงให้ความรู้การรักษาสุขภาพเพื่อป้องกันตนเองจากโรคภัยต่างๆ ด้วย
นายคมธัช ลิขนสุทธิ์ อัครราชทูตที่ปรึกษา (ฝ่ายแรงงาน) ระบุว่า แรงงานไทยในประเทศบรูไนมีจำนวนไม่น้อยกว่า 9,500 คน ทำงานเป็นกรรมกรอยู่ในภาคก่อสร้างประมาณร้อยละ 60 รองลงไปคืออุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้า ภาคการขายปลีกขายส่ง และภาคการบริการ เช่น ร้านอาหาร พนักงานนวดแผนไทย เป็นต้น ปัญหาสำคัญของแรงงานไทยที่นี่ คือสุขภาพกายและใจ เนื่องจากสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง ทำงานหนัก และอยู่ห่างจากครอบครัว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับคณะแพทย์ที่เดินทางมาครั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุขคัดเลือกแพทย์จากจังหวัดปัตตานี 1 คน นราธิวาส 1 คน พยาบาลจาก จ.ยะลา 2 คน และจิตแพทย์จาก จ.สระแก้ว ทั้งนี้ เพื่อเป็นการให้กำลังใจบุคลากรที่ทำงานอยู่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย และการเดินทางมาครั้งนี้แพทย์พยาบาลต้องทำงานหนักให้บริการร่วม 12 ชั่วโมงต่อวัน เนื่องจากแรงงานให้ความสนใจมารับบริการตรวจจำนวนมาก
นายทรงศักดิ์ ตันตะโยธิน ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน นำคณะแพทย์ จิตแพทย์และพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 5 คน เดินทางไปยังประเทศบรูไน เพื่อให้บริการตรวจสุขภาพและให้คำแนะนำแก่แรงงานไทยที่เดินทางมาทำงานที่ประเทศบรูไนระหว่างวันที่ 21-25 มีนาคม ทั้งที่ศูนย์ตรวจสุขภาพเฉพาะกิจในสถานเอกอัครราชทูตไทย เมืองบันดาร์ เสรี เบกาวัน และสถานที่ทำงานหรือที่พักอาศัยของแรงงานไทย เช่น ที่โรงงานตัดเย็บเสื้อผ้า บริษัท จาติฟรีดอมเท็กซ์ไทล์ เขตมัวรา ซึ่งมีคนไทยทั้งชายหญิงทำงานอยู่ 109 คน คนไทยที่โรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าแห่งนี้ กระจายทำงานหลายตำแหน่งต้องทำงานวันละ 12 ชั่วโมง แบ่งเป็นกะกลางวันกับกะกลางคืน พักอาศัยและรับประทานอาหารที่ทางโรงงานจัดสรรให้ มีรายได้ประมาณเดือนละ 10,000-17,000 บาทขึ้นไป ตามแต่จำนวนผลงาน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บรรยากาศเมื่อคณะแพทย์จากไทยเดินทางมาตรวจสุขภาพ ทุกคนต่างดีใจและมาต่อแถวรอตรวจและสนทนาหยอกล้อกันด้วยความสนุกสนานกระทั่งบางคนรอส่งแพทย์ขึ้นรถออกจากโรงงาน นอกจากนั้น การเดินทางมาของคณะจากประเทศไทยครั้งนี้ ทำให้แรงงานชาติอื่นๆ เช่น ฟิลิปปินส์ ที่ทำงานในโรงงานนี้รู้สึกชื่นชมเพราะแม้กลุ่มของพวกเขามีจำนวนมากกว่า แต่กลับไม่มีแพทย์จากบ้านเกิดมาดูแล
นพ.พีระพงษ์ ภาวสุทธิไพศิฐ นายแพทย์ 8 โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์ จ.นราธิวาส หนึ่งในแพทย์ประจำคณะ เปิดเผยว่า แรงงานส่วนใหญ่เป็นโรคจากการทำงานหนักต่อเนื่อง เช่น อาการปวดเมื่อยล้า ปวดหัวเนื่องจากพักผ่อนไม่เพียงพอ และมีความตึงเครียด บางกลุ่มเป็นโรคผิวหนังเนื่องจากต้องทำงานอยู่กับปูนซีเมนต์ และบางคนก็มีโรคประจำตัว อนึ่ง แรงงานบางส่วนต้องการขอรับยาทั่วไป ไปเก็บไว้ใช้ยามจำเป็นเพราะการพบแพทย์ที่บรูไนมีค่าใช้จ่ายสูงและมีอุปสรรคด้านภาษา ขณะที่การซื้อยารับประทานเองไม่สามารถทำได้
ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า โครงการตรวจสุขภาพแรงงานไทยในบรูไนครั้งนี้ ตั้งเป้าหมายตรวจสุขภาพแรงงานไทยกว่า 1,000 คนขึ้นไป นอกจากเพื่อเป็นการดูแลทางกายภาพให้แรงงานแล้ว ยังเป็นการให้กำลังใจคนที่จากบ้านมาทำงาน รวมถึงให้ความรู้การรักษาสุขภาพเพื่อป้องกันตนเองจากโรคภัยต่างๆ ด้วย
นายคมธัช ลิขนสุทธิ์ อัครราชทูตที่ปรึกษา (ฝ่ายแรงงาน) ระบุว่า แรงงานไทยในประเทศบรูไนมีจำนวนไม่น้อยกว่า 9,500 คน ทำงานเป็นกรรมกรอยู่ในภาคก่อสร้างประมาณร้อยละ 60 รองลงไปคืออุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้า ภาคการขายปลีกขายส่ง และภาคการบริการ เช่น ร้านอาหาร พนักงานนวดแผนไทย เป็นต้น ปัญหาสำคัญของแรงงานไทยที่นี่ คือสุขภาพกายและใจ เนื่องจากสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง ทำงานหนัก และอยู่ห่างจากครอบครัว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับคณะแพทย์ที่เดินทางมาครั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุขคัดเลือกแพทย์จากจังหวัดปัตตานี 1 คน นราธิวาส 1 คน พยาบาลจาก จ.ยะลา 2 คน และจิตแพทย์จาก จ.สระแก้ว ทั้งนี้ เพื่อเป็นการให้กำลังใจบุคลากรที่ทำงานอยู่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย และการเดินทางมาครั้งนี้แพทย์พยาบาลต้องทำงานหนักให้บริการร่วม 12 ชั่วโมงต่อวัน เนื่องจากแรงงานให้ความสนใจมารับบริการตรวจจำนวนมาก