ร้านเกมผุดโปรโมชันทั้งลดและแถม รับปิดเทอมล่อใจเด็กเข้าร้าน และให้นั่งเล่นนานๆ ผอ.สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่น จี้ชุมชนให้ช่วยกันประณามผู้ประกอบการเห็นแก่ตัว เสนอกระทรวงไอซีทีควบคุมความหนาแน่นของร้านเกม ขณะที่หน่วยงานด้านสังคมต้องสร้างกิจกรรมสร้างสรรค์รองรับ ด้านโฆษกกระทรวงศึกษาฯ เตรียมประสานตำรวจออกตรวจตราร้านเกมโดยไม่แจ้งให้ทราบล่วงหน้า
รายงานแจ้งว่า เนื่องจากขณะนี้อยู่ในช่วงปิดภาคเรียน ร้านอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ และร้านเกมออนไลน์จำนวนมาก ต่างออกโปรโมชันล่อใจเพื่อให้เด็กๆ เข้าไปใช้บริการในร้านตนเอง ซึ่งบางร้านถึงกับออกโปรโมชันลดอัตราค่าเช่าเล่นเกมเหลือเพียง 10 บาทตลอดวัน ขณะที่บางร้านมีโปรโมชันหลังเวลา 19.00 น.คิดแค่ 10 บาท หรือเล่นครบ 6 ชั่วโมงคิดค่าบริการเพียง 5 ชั่วโมง หรือเล่นครบ 6 ชั่วโมง ชั่วโมงต่อไปคิดค่าชั่วโมงในอัตราลดลง เป็นต้น ซึ่งโปรโมชันที่ร้านเกมออกมาดึงดูดเด็กเหล่านี้จะเน้นให้เด็กเข้ามาเล่นเกมที่ร้านด้วยระยะเวลานานๆ ทำให้เด็กซึ่งอยู่ช่วงปิดเทอมจำนวนมากใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่ในร้านเกม
นายแพทย์บัณฑิต ศรไพศาล ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต กล่าวว่า การออกโปรโมชั่นของร้านเกมเพื่อดึงดูลูกค้าในช่วงปิดเทอมนั้น ถือเป็นเรื่องอันตรายอย่างมาก เพราะผู้ประกอบการร้านเกมต้องการกระตุ้นให้เด็กเข้าไปเล่นเกมในร้านตัวเองจำนวนมาก และเล่นนานๆ เพื่อเพิ่มรายได้ แต่ไม่ได้คำนึงถึงผลเสียที่จะเกิดขึ้นกับเด็ก ซึ่งการดูแลปัญหาดังกล่าวต้องแบ่งเป็น 2 ระดับ ระดับแรกคือเจ้าหน้าที่ตำรวจต้องบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับการให้บริการร้านอินเทอร์เน็ตอย่างจริงจัง ขณะที่หน่วยงานด้านสังคม เช่น กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) หรือกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ต้องมีกิจกรรมรองรับในช่วงปิดภาคเรียน เนื่องจากเด็กจำนวนมากรู้สึกภาคภูมิใจเมื่อไปเล่นเกม เพราะได้รับคำชื่นชมจากเพื่อน ดังนั้น จึงควรมีกิจกรรมสร้างสรรค์ที่เด็กทำแล้วได้รับคำชม เช่น การเล่นกีฬา เพื่อสร้างความภาคภูมิใจให้ตัวเองกับเด็ก ซึ่งจะทำให้เด็กออกห่างจากร้านเกมได้ดีขึ้น
“นอกจากนี้ กลไกสำคัญ คือ ชุมชน หากเห็นว่าผู้ประกอบการร้านเกมทำธุรกิจเห็นแก่ตัว โดยไม่คำนึงถึงผลเสียที่จะเกิดขึ้นกับเด็กและเยาวชนก็ต้องช่วยกันประณาม ซึ่งกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารควรจะออกกฎเพิ่มเติม เพื่อสร้างกลไกควบคุมร้านเกมเหล่านี้ เช่น ใช้มาตรการทางภาษี โดยจัดเก็บภาษีแพงขึ้น การกำหนดว่าในแต่ละชุมชนควรจะมีร้านเกมไม่เกินกี่แห่ง หรือการขออนุญาตประกอบการร้านเกมต้องหารือร่วมกับผู้นำชุมชน เพื่อช่วยกันรับผิดชอบและควบคุมความหนาแน่นของร้านเกม เพราะยิ่งมีร้านเกมจำนวนมากเท่าไหร่ เด็กก็จะเข้าถึงได้ง่ายขึ้น รวมทั้งการจัดเรตติ้งเกม และการตรวจจับเกมที่ไม่เหมาะสมผ่านระบบออนไลน์ ก็ควรจะดำเนินการให้เห็นผลโดยเร็วด้วย”
ผอ.สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นฯ กล่าวอีกว่า สำหรับระยะเวลาที่เด็กเล่นเกมนั้น เด็กโตไม่ควรเล่นเกมนานเกิน 1 ชั่วโมง ส่วนเด็กเล็กไม่ควรเกิน 30 นาที เนื่องจากมีงานวิจัยที่ระบุว่า เด็กที่ติดเกมจนเสียการเรียน หรือเล่นแบบเอาเป็นเอาตายไม่ยอมเลิก คือ เด็กที่เล่นเกมโดยเฉลี่ย 5 ชั่วโมงติดกัน ส่วนเด็กที่เล่นเกมโดยเฉลี่ย 3 ชั่วโมงติดกัน จัดอยู่ในกลุ่มคลั่งไคล้เกม ส่วนกลุ่มที่เล่นเกมติดกัน 2 ชั่วโมง เป็นกลุ่มที่ชอบเล่นเกม ดังนั้น ระยะเวลา 1 ชั่วโมงจึงเป็นเวลาที่เหมาะสมที่จะปล่อยให้เด็กเล่นเกมอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์
นพ.บัณฑิต กล่าวอีกว่า การปล่อยให้เด็กเล่นเกมนานๆ มีผลเสียทั้งด้านร่างกาย และจิตใจ โดยด้านร่างกายนั้น เด็กจะมีอาการปวดข้อมือ แสบตา ซึ่งเป็นอาการพื้นฐาน แต่เด็กบางคนเล่นเกมจนไม่ยอมรับประทานอาการทำให้ร่างกายผอม ขาดพัฒนาการทางร่างกาย ส่วนเด็กบางคนก็จะเล่นไปรับประทานอาหารไปตลอดเวลา ก็จะกลายเป็นโรคอ้วน ขณะที่ผลทางด้านจิตใจนั้น เด็กจะมีอารมณ์ฉุนเฉียวเพราะในเกมเด็กสามารถควบคุมได้ทุกอย่าง และเห็นผลทันที เมื่ออยู่ในโลกความจริงเมื่อไม่ได้ดังใจเขาจะหงุดหงิด ฉุนเฉียวและก้าวร้าว ที่สำคัญเด็กที่เล่มเกมเป็นเวลานานจะขาดการมีปฏิสัมพันธ์กับคนในครอบครัว และจะสื่อสารกับผู้อื่นไม่เป็น เด็กจะขาดความเข้าใจคนอื่น ซึ่งจะเป็นผลเสียระยะยาวเมื่อเด็กโตขึ้นและต้องใช้ชีวิตในสังคม
ด้านนายวัฒนา เซ่งไพเราะ โฆษกกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า ในช่วงปิดภาคเรียนกองงานโฆษก ศธ.จะประสานไปยังเจ้าหน้าที่ตำรวจ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อออกตรวจตราร้านเกมโดยไม่แจ้งให้ทราบล่วงหน้า เพื่อกวดขันให้ผู้ประกอบการปฏิบัติตามกฎหมาย เช่น หลัง 4 ทุ่มต้องไม่มีเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปีอยู่ที่ร้าน และฝากผู้ประกอบการร้านเกมอย่าเห็นแก่ตัวในการทำธุรกิจเกินไป ให้เห็นเด็กๆ เป็นลูกหลาน ไม่ควรให้เด็กเล่นเกมเป็นระยะเวลานานหลายชั่วโมงติดกัน หรือเด็กบางคนที่ติดเกมจนไม่ยอมกินข้าวก็ต้องห้าม หรือให้เด็กกลับไปอยู่กับครอบครัวบ้าง
รายงานแจ้งว่า เนื่องจากขณะนี้อยู่ในช่วงปิดภาคเรียน ร้านอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ และร้านเกมออนไลน์จำนวนมาก ต่างออกโปรโมชันล่อใจเพื่อให้เด็กๆ เข้าไปใช้บริการในร้านตนเอง ซึ่งบางร้านถึงกับออกโปรโมชันลดอัตราค่าเช่าเล่นเกมเหลือเพียง 10 บาทตลอดวัน ขณะที่บางร้านมีโปรโมชันหลังเวลา 19.00 น.คิดแค่ 10 บาท หรือเล่นครบ 6 ชั่วโมงคิดค่าบริการเพียง 5 ชั่วโมง หรือเล่นครบ 6 ชั่วโมง ชั่วโมงต่อไปคิดค่าชั่วโมงในอัตราลดลง เป็นต้น ซึ่งโปรโมชันที่ร้านเกมออกมาดึงดูดเด็กเหล่านี้จะเน้นให้เด็กเข้ามาเล่นเกมที่ร้านด้วยระยะเวลานานๆ ทำให้เด็กซึ่งอยู่ช่วงปิดเทอมจำนวนมากใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่ในร้านเกม
นายแพทย์บัณฑิต ศรไพศาล ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต กล่าวว่า การออกโปรโมชั่นของร้านเกมเพื่อดึงดูลูกค้าในช่วงปิดเทอมนั้น ถือเป็นเรื่องอันตรายอย่างมาก เพราะผู้ประกอบการร้านเกมต้องการกระตุ้นให้เด็กเข้าไปเล่นเกมในร้านตัวเองจำนวนมาก และเล่นนานๆ เพื่อเพิ่มรายได้ แต่ไม่ได้คำนึงถึงผลเสียที่จะเกิดขึ้นกับเด็ก ซึ่งการดูแลปัญหาดังกล่าวต้องแบ่งเป็น 2 ระดับ ระดับแรกคือเจ้าหน้าที่ตำรวจต้องบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับการให้บริการร้านอินเทอร์เน็ตอย่างจริงจัง ขณะที่หน่วยงานด้านสังคม เช่น กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) หรือกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ต้องมีกิจกรรมรองรับในช่วงปิดภาคเรียน เนื่องจากเด็กจำนวนมากรู้สึกภาคภูมิใจเมื่อไปเล่นเกม เพราะได้รับคำชื่นชมจากเพื่อน ดังนั้น จึงควรมีกิจกรรมสร้างสรรค์ที่เด็กทำแล้วได้รับคำชม เช่น การเล่นกีฬา เพื่อสร้างความภาคภูมิใจให้ตัวเองกับเด็ก ซึ่งจะทำให้เด็กออกห่างจากร้านเกมได้ดีขึ้น
“นอกจากนี้ กลไกสำคัญ คือ ชุมชน หากเห็นว่าผู้ประกอบการร้านเกมทำธุรกิจเห็นแก่ตัว โดยไม่คำนึงถึงผลเสียที่จะเกิดขึ้นกับเด็กและเยาวชนก็ต้องช่วยกันประณาม ซึ่งกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารควรจะออกกฎเพิ่มเติม เพื่อสร้างกลไกควบคุมร้านเกมเหล่านี้ เช่น ใช้มาตรการทางภาษี โดยจัดเก็บภาษีแพงขึ้น การกำหนดว่าในแต่ละชุมชนควรจะมีร้านเกมไม่เกินกี่แห่ง หรือการขออนุญาตประกอบการร้านเกมต้องหารือร่วมกับผู้นำชุมชน เพื่อช่วยกันรับผิดชอบและควบคุมความหนาแน่นของร้านเกม เพราะยิ่งมีร้านเกมจำนวนมากเท่าไหร่ เด็กก็จะเข้าถึงได้ง่ายขึ้น รวมทั้งการจัดเรตติ้งเกม และการตรวจจับเกมที่ไม่เหมาะสมผ่านระบบออนไลน์ ก็ควรจะดำเนินการให้เห็นผลโดยเร็วด้วย”
ผอ.สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นฯ กล่าวอีกว่า สำหรับระยะเวลาที่เด็กเล่นเกมนั้น เด็กโตไม่ควรเล่นเกมนานเกิน 1 ชั่วโมง ส่วนเด็กเล็กไม่ควรเกิน 30 นาที เนื่องจากมีงานวิจัยที่ระบุว่า เด็กที่ติดเกมจนเสียการเรียน หรือเล่นแบบเอาเป็นเอาตายไม่ยอมเลิก คือ เด็กที่เล่นเกมโดยเฉลี่ย 5 ชั่วโมงติดกัน ส่วนเด็กที่เล่นเกมโดยเฉลี่ย 3 ชั่วโมงติดกัน จัดอยู่ในกลุ่มคลั่งไคล้เกม ส่วนกลุ่มที่เล่นเกมติดกัน 2 ชั่วโมง เป็นกลุ่มที่ชอบเล่นเกม ดังนั้น ระยะเวลา 1 ชั่วโมงจึงเป็นเวลาที่เหมาะสมที่จะปล่อยให้เด็กเล่นเกมอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์
นพ.บัณฑิต กล่าวอีกว่า การปล่อยให้เด็กเล่นเกมนานๆ มีผลเสียทั้งด้านร่างกาย และจิตใจ โดยด้านร่างกายนั้น เด็กจะมีอาการปวดข้อมือ แสบตา ซึ่งเป็นอาการพื้นฐาน แต่เด็กบางคนเล่นเกมจนไม่ยอมรับประทานอาการทำให้ร่างกายผอม ขาดพัฒนาการทางร่างกาย ส่วนเด็กบางคนก็จะเล่นไปรับประทานอาหารไปตลอดเวลา ก็จะกลายเป็นโรคอ้วน ขณะที่ผลทางด้านจิตใจนั้น เด็กจะมีอารมณ์ฉุนเฉียวเพราะในเกมเด็กสามารถควบคุมได้ทุกอย่าง และเห็นผลทันที เมื่ออยู่ในโลกความจริงเมื่อไม่ได้ดังใจเขาจะหงุดหงิด ฉุนเฉียวและก้าวร้าว ที่สำคัญเด็กที่เล่มเกมเป็นเวลานานจะขาดการมีปฏิสัมพันธ์กับคนในครอบครัว และจะสื่อสารกับผู้อื่นไม่เป็น เด็กจะขาดความเข้าใจคนอื่น ซึ่งจะเป็นผลเสียระยะยาวเมื่อเด็กโตขึ้นและต้องใช้ชีวิตในสังคม
ด้านนายวัฒนา เซ่งไพเราะ โฆษกกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า ในช่วงปิดภาคเรียนกองงานโฆษก ศธ.จะประสานไปยังเจ้าหน้าที่ตำรวจ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อออกตรวจตราร้านเกมโดยไม่แจ้งให้ทราบล่วงหน้า เพื่อกวดขันให้ผู้ประกอบการปฏิบัติตามกฎหมาย เช่น หลัง 4 ทุ่มต้องไม่มีเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปีอยู่ที่ร้าน และฝากผู้ประกอบการร้านเกมอย่าเห็นแก่ตัวในการทำธุรกิจเกินไป ให้เห็นเด็กๆ เป็นลูกหลาน ไม่ควรให้เด็กเล่นเกมเป็นระยะเวลานานหลายชั่วโมงติดกัน หรือเด็กบางคนที่ติดเกมจนไม่ยอมกินข้าวก็ต้องห้าม หรือให้เด็กกลับไปอยู่กับครอบครัวบ้าง