กระทรวงสาธารณสุข ส่งเจ้าหน้าที่ออกตรวจร้านอาหาร ผับ บาร์ ตลาด ให้เป็นพื้นที่ปลอดควันบุหรี่ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 18 ที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 11 ก.พ. หากสถานที่ใดยังไม่ปฏิบัติตามจะตักเตือนก่อนให้ปรับปรุง จะจับปรับในวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ.2551 ส่วนนักสูบจะไม่ยกเว้น ปรับสถานเดียว 2,000 บาท
นายไชยา สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับกฎหมายบังคับพื้นที่ปลอดบุหรี่ฉบับที่ 18 ซึ่งกำหนดให้ร้านอาหาร ผับ บาร์ ตลาดทุกประเภท ทั้งที่ติดแอร์ และไม่ติดแอร์ เป็นพื้นที่ปลอดบุหรี่ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2551 เป็นต้นไปว่า กระทรวงสาธารณสุขได้ส่งเจ้าหน้าที่จากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ตรวจสอบร้านอาหาร ผับ บาร์ ตลาดทุกประเภท ที่มีทั่วประเทศรวมกว่า 40,000 แห่ง ให้เป็นเขตปลอดบุหรี่ตามกฎหมาย โดยในผับ บาร์ ร้านอาหารที่ติดแอร์ จะต้องเป็นเขตปลอดควันบุหรี่ 100 เปอร์เซ็นต์ แต่สามารถจัดสถานที่สูบภายนอกที่มีอากาศถ่ายเทสะดวกได้
ส่วนตลาด ร้านอาหารที่ไม่ติดแอร์ ให้จัดมุมให้สูบบุหรี่ไว้ต่างหาก แต่ต้องให้ห่างไกลผู้คน ไม่ส่งกลิ่นรบกวน หากพบสถานประกอบการไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ในขั้นแรกจะให้ตักเตือนแนะนำก่อน และตรวจซ้ำให้เป็นไปตามข้อกำหนด โดยจะดำเนินการตามกฎหมายพร้อมกันทั่วประเทศ ในวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ.2551 มีโทษปรับ 20,000 บาท แต่ในส่วนของนักสูบ ซึ่งขณะนี้ทั่วประเทศมีประมาณ 11 ล้านคน จะไม่มีการยกเว้น หากพบการฝ่าฝืนสูบในที่ห้ามสูบจะดำเนินการตามกฎหมายทันที มีโทษปรับ 2,000 บาท
นายไชยา กล่าวว่า การเพิ่มพื้นที่ปลอดบุหรี่นี้ จะเป็นผลดีต่อประชาชนที่ไม่ได้สูบบุหรี่ซึ่งมีประมาณ 52 ล้านคน ไม่ต้องสูดควันบุหรี่มือสองซึ่งมีพิษภัย เนื่องจากในควันบุหรี่มีสารพิษกว่า 4,000 ชนิด และมีสารก่อมะเร็งอย่างน้อย 42 ชนิด มั่นใจว่าจะลดความเสี่ยงการเป็นโรคมะเร็งที่เป็นสาเหตุคนไทยเสียชีวิตสูงเป็นอันดับ 1 ปีละเกือบ 60,000 ราย ในจำนวนนี้เป็นมะเร็งปอดมากที่สุด โดยนักวิทยาศาสตร์และแพทย์ทั่วโลก ยืนยันตรงกันว่า บุหรี่เป็นสาเหตุ 1 ใน 3 ของโรคมะเร็งปอด เป็นทั้งผู้สูบและผู้ที่ไม่ได้สูบแต่ได้รับควันบุหรี่มือสอง เนื่องจากในควันบุหรี่จะมีสารก่อมะเร็ง ได้แก่ น้ำมันดิน หรือสารทาร์ สารกัมมันตภาพรังสีและยาฆ่าแมลงที่ตกค้างจากใบยาสูบ นอกจากนี้ เชื่อว่า จำนวนผู้เสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดของคนไทย ที่มีปีละกว่า 20,000 ราย จะลดลงในอนาคตด้วย
ทางด้านนายแพทย์สมชัย ภิญโญพรพาณิชย์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า กรมควบคุมโรคได้เปิดศูนย์ร้องเรียนการฝ่าฝืนกฎหมายคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ ประชาชนสามารถแจ้งได้ที่หมายเลข 0-2590-3342 ตลอด 24 ชั่วโมง หรือทางเว็บไซต์ www.thaiantitobacco.com โดยในเย็นวันนี้กรมควบคุมโรคจะออกตรวจตลาดและร้านอาหารที่ย่านจังหวัดนนทบุรี เพื่อประชาสัมพันธ์แนะนำให้ปฏิบัติตามกฎหมาย
ทั้งนี้ มีข้อมูลว่า ผู้สูบบุหรี่ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงและมีไขมันในเลือดสูงร่วมด้วย ยิ่งมีโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจถึง 8 เท่าตัว เสี่ยงเกิดกล้ามเนื้อหัวใจวายเฉียบพลันมากกว่าคนที่ไม่สูบถึง 10 เท่าตัว เนื่องจากในควันของบุหรี่จะมีสารนิโคติน ทำให้เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจและสมองตีบได้ และมีก๊าซพิษที่มีชื่อว่าไฮโดรเจนไซยาไนด์ ทำให้เกิดหลอดเลือดแข็งตัว โดยในผู้ที่มีอาการป่วยเป็นโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ การหยุดสูบบุหรี่ จะลดโอกาสเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายและเสียชีวิตกะทันหันลงได้ถึง 50 เปอร์เซ็นต์
นายไชยา สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับกฎหมายบังคับพื้นที่ปลอดบุหรี่ฉบับที่ 18 ซึ่งกำหนดให้ร้านอาหาร ผับ บาร์ ตลาดทุกประเภท ทั้งที่ติดแอร์ และไม่ติดแอร์ เป็นพื้นที่ปลอดบุหรี่ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2551 เป็นต้นไปว่า กระทรวงสาธารณสุขได้ส่งเจ้าหน้าที่จากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ตรวจสอบร้านอาหาร ผับ บาร์ ตลาดทุกประเภท ที่มีทั่วประเทศรวมกว่า 40,000 แห่ง ให้เป็นเขตปลอดบุหรี่ตามกฎหมาย โดยในผับ บาร์ ร้านอาหารที่ติดแอร์ จะต้องเป็นเขตปลอดควันบุหรี่ 100 เปอร์เซ็นต์ แต่สามารถจัดสถานที่สูบภายนอกที่มีอากาศถ่ายเทสะดวกได้
ส่วนตลาด ร้านอาหารที่ไม่ติดแอร์ ให้จัดมุมให้สูบบุหรี่ไว้ต่างหาก แต่ต้องให้ห่างไกลผู้คน ไม่ส่งกลิ่นรบกวน หากพบสถานประกอบการไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ในขั้นแรกจะให้ตักเตือนแนะนำก่อน และตรวจซ้ำให้เป็นไปตามข้อกำหนด โดยจะดำเนินการตามกฎหมายพร้อมกันทั่วประเทศ ในวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ.2551 มีโทษปรับ 20,000 บาท แต่ในส่วนของนักสูบ ซึ่งขณะนี้ทั่วประเทศมีประมาณ 11 ล้านคน จะไม่มีการยกเว้น หากพบการฝ่าฝืนสูบในที่ห้ามสูบจะดำเนินการตามกฎหมายทันที มีโทษปรับ 2,000 บาท
นายไชยา กล่าวว่า การเพิ่มพื้นที่ปลอดบุหรี่นี้ จะเป็นผลดีต่อประชาชนที่ไม่ได้สูบบุหรี่ซึ่งมีประมาณ 52 ล้านคน ไม่ต้องสูดควันบุหรี่มือสองซึ่งมีพิษภัย เนื่องจากในควันบุหรี่มีสารพิษกว่า 4,000 ชนิด และมีสารก่อมะเร็งอย่างน้อย 42 ชนิด มั่นใจว่าจะลดความเสี่ยงการเป็นโรคมะเร็งที่เป็นสาเหตุคนไทยเสียชีวิตสูงเป็นอันดับ 1 ปีละเกือบ 60,000 ราย ในจำนวนนี้เป็นมะเร็งปอดมากที่สุด โดยนักวิทยาศาสตร์และแพทย์ทั่วโลก ยืนยันตรงกันว่า บุหรี่เป็นสาเหตุ 1 ใน 3 ของโรคมะเร็งปอด เป็นทั้งผู้สูบและผู้ที่ไม่ได้สูบแต่ได้รับควันบุหรี่มือสอง เนื่องจากในควันบุหรี่จะมีสารก่อมะเร็ง ได้แก่ น้ำมันดิน หรือสารทาร์ สารกัมมันตภาพรังสีและยาฆ่าแมลงที่ตกค้างจากใบยาสูบ นอกจากนี้ เชื่อว่า จำนวนผู้เสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดของคนไทย ที่มีปีละกว่า 20,000 ราย จะลดลงในอนาคตด้วย
ทางด้านนายแพทย์สมชัย ภิญโญพรพาณิชย์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า กรมควบคุมโรคได้เปิดศูนย์ร้องเรียนการฝ่าฝืนกฎหมายคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ ประชาชนสามารถแจ้งได้ที่หมายเลข 0-2590-3342 ตลอด 24 ชั่วโมง หรือทางเว็บไซต์ www.thaiantitobacco.com โดยในเย็นวันนี้กรมควบคุมโรคจะออกตรวจตลาดและร้านอาหารที่ย่านจังหวัดนนทบุรี เพื่อประชาสัมพันธ์แนะนำให้ปฏิบัติตามกฎหมาย
ทั้งนี้ มีข้อมูลว่า ผู้สูบบุหรี่ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงและมีไขมันในเลือดสูงร่วมด้วย ยิ่งมีโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจถึง 8 เท่าตัว เสี่ยงเกิดกล้ามเนื้อหัวใจวายเฉียบพลันมากกว่าคนที่ไม่สูบถึง 10 เท่าตัว เนื่องจากในควันของบุหรี่จะมีสารนิโคติน ทำให้เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจและสมองตีบได้ และมีก๊าซพิษที่มีชื่อว่าไฮโดรเจนไซยาไนด์ ทำให้เกิดหลอดเลือดแข็งตัว โดยในผู้ที่มีอาการป่วยเป็นโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ การหยุดสูบบุหรี่ จะลดโอกาสเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายและเสียชีวิตกะทันหันลงได้ถึง 50 เปอร์เซ็นต์