สพฐ.นำร่อง “สอนแบบคละชั้น” โรงเรียนขนาดเล็ก 14 แห่ง เพื่อแก้ปัญหาขาดครู แย้มได้ไอเดียจากนิวซีแลนด์ ระบุเตรียมขยายการสอนแบบคละชั้นไปยังโรงเรียนขนาดเล็ก 800 แห่งทั่วประเทศ
ดร.เบญจลักษณ์ น้ำฟ้า ผู้อำนวยการสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา กล่าวว่า ในขณะนี้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กำลังดำเนินการโครงการสอนแบบคละชั้นและทดลองมา 1 เทอมแล้ว ซึ่งนำต้นแบบการเรียนการสอนดังกล่าวมาจากประเทศนิวซีแลนด์
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาโรงเรียนขนาดเล็ก ซึ่งมักจะพบปัญหาขาดแคลนครู ช่วงแรกจะมีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการสอนแบบคละชั้น 14 โรง ได้แก่ 1.ร.ร.บ้านช่องไม้ดำ จ.กระบี่ 2.ร.ร.บ้านโคกเจริญ จ.พังงา 3.ร.ร.บ้านแหลมทราย จ.ภูเก็ต 4.ร.ร.บ้านทอนเสียดวิทยาคาร จ.ระนอง 5.ร.ร.บ้านโพรงจระเข้ จ.ตรัง เขต1 6.ร.ร.บ้านบางเตา จ.ตรังเขต 2 7.ร.ร.เขาถ้ำพระ จ.นครสวรรค์ 8.ร.ร.บ้านเนินเวียง จ.นครสวรรค์ 9.ร.ร.บ้านสายลำโพงกลาง จ.นครสวรรค 10.ร.ร.บ้านโคกสว่าง จ.นครสวรรค์ 11.ร.ร.บ้านหนองฮีหนองแคน จ.อุบลราชธานี 12.ร.ร.บ้านโนนบุรุษ จ.ขอนแก่น 13.ร.ร.วัดนาเม็ง จ.เชียงใหม่ 14.ร.ร.บ้านสันคะยอม จ.เชียงใหม่ และเมื่อดำเนินการไปได้ระยะหนึ่งจะดูผลว่ามีปัญหาอุปสรรคอะไรบ้าง จากนั้นจึงแก้ไขแล้วค่อยขยายผลไปยังโรงเรียนขนาดเล็กอีกจำนวน 800 โรง
อย่างไรก็ตาม การสอนแบบคละชั้นนั้นในเบื้องต้นใช้งบประมาณโรงละ 50,000 บาท และโรงเรียนต้นแบบส่วนมากจะอยู่ในพื้นที่ภาคใต้ และเป็นพื้นที่ที่เคยประสบภัยพิบัติสึนามิ ที่เหลือจะคัดเลือกโรงเรียนที่มีความเข้มแข็ง และครูค่อนข้างมีความพร้อม
ดร.เบญจลักษณ์ กล่าวต่อว่า เหตุผลที่เลือกการสอนแบบคละชั้นของนิวซีแลนด์มาเป็นต้นแบบนั้น มาจากการศึกษาดูงานแล้วพบว่า ที่นั่นมีโรงเรียนขนาดเล็กเหมือนในประเทศไทย แต่เขาใช้วิธีการกำหนดจำนวนเด็กต่อครู เช่น ครู 1 คนสอนเด็กได้ 25 คน โดยไม่มีปัญหาเรื่องการคละชั้น เพราะใช้สื่อการสอนที่สามารถจัดรูปแบบการเรียนรู้ที่ผสมผสานกันได้
ทาง สพฐ.ได้นำแนวคิดนี้มาแก้ปัญหาเรื่องโรงเรียนขนาดเล็ก เปลี่ยนจากการคิดเรื่องขาดครู แต่มาดูเรื่องรูปแบบการเรียนการสอน โดยมองว่า ในทางปฏิบัติสามารถทำได้มากน้อยเพียงใด ขณะเดียวกัน สพฐ.จะหาเครื่องมือช่วยครูสอน เช่นเรื่องกำหนดหน่วยการเรียนรู้ อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะให้สอนแบบคละชั้นจะต้องอบรมครูผู้สอนเกี่ยวกับแนวทางการสอนรูปแบบดังกล่าวเพื่อให้ครูสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกวิธีด้วย เกรงว่า ครูจะเคยชินกับการสอนเด็กวัยเดียวกัน แต่การสอนแบบคละชั้นจะมีความแตกต่างเรื่องวัยของเด็ก ดังนั้นครูผู้สอนต้องคิดสื่อเพื่อให้เด็กต่างวัยเรียนรู้ไปพร้อมกัน และวิธีการเรียนการสอนสไตล์นี้จะกระชับความสัมพันธ์โดยพี่ช่วยเหลือน้องอีกด้วย
“ห่วงผู้ปกครองไม่เข้าใจการนำแบบเรียนคละชั้น ว่า การเรียนการสอนลักษณะนี้ ครูต้องทำความเข้าใจแก่ผู้ปกครองว่า ไม่มีปัญหาเรื่องเนื้อหา เพราะผู้สอนยังยึดเนื้อหาเหมือนเดิม เพียงแต่นำสื่อและอื่นๆ เข้ามาช่วยสอน เพื่อให้เด็กต่างวัยเข้าใจเรื่องนั้น ที่สำคัญรุ่นพี่ที่อายุมากกว่ายังช่วยดูแลน้องเล็กได้ และตลอด 1 เทอมที่ดำเนินการนั้นช่วยแก้ปัญหาขาดครูและสอนได้ครบตามเนื้อหาที่กระทรวงกำหนด” ดร.เบญจลักษณ์ กล่าวทิ้งท้าย
ดร.เบญจลักษณ์ น้ำฟ้า ผู้อำนวยการสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา กล่าวว่า ในขณะนี้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กำลังดำเนินการโครงการสอนแบบคละชั้นและทดลองมา 1 เทอมแล้ว ซึ่งนำต้นแบบการเรียนการสอนดังกล่าวมาจากประเทศนิวซีแลนด์
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาโรงเรียนขนาดเล็ก ซึ่งมักจะพบปัญหาขาดแคลนครู ช่วงแรกจะมีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการสอนแบบคละชั้น 14 โรง ได้แก่ 1.ร.ร.บ้านช่องไม้ดำ จ.กระบี่ 2.ร.ร.บ้านโคกเจริญ จ.พังงา 3.ร.ร.บ้านแหลมทราย จ.ภูเก็ต 4.ร.ร.บ้านทอนเสียดวิทยาคาร จ.ระนอง 5.ร.ร.บ้านโพรงจระเข้ จ.ตรัง เขต1 6.ร.ร.บ้านบางเตา จ.ตรังเขต 2 7.ร.ร.เขาถ้ำพระ จ.นครสวรรค์ 8.ร.ร.บ้านเนินเวียง จ.นครสวรรค์ 9.ร.ร.บ้านสายลำโพงกลาง จ.นครสวรรค 10.ร.ร.บ้านโคกสว่าง จ.นครสวรรค์ 11.ร.ร.บ้านหนองฮีหนองแคน จ.อุบลราชธานี 12.ร.ร.บ้านโนนบุรุษ จ.ขอนแก่น 13.ร.ร.วัดนาเม็ง จ.เชียงใหม่ 14.ร.ร.บ้านสันคะยอม จ.เชียงใหม่ และเมื่อดำเนินการไปได้ระยะหนึ่งจะดูผลว่ามีปัญหาอุปสรรคอะไรบ้าง จากนั้นจึงแก้ไขแล้วค่อยขยายผลไปยังโรงเรียนขนาดเล็กอีกจำนวน 800 โรง
อย่างไรก็ตาม การสอนแบบคละชั้นนั้นในเบื้องต้นใช้งบประมาณโรงละ 50,000 บาท และโรงเรียนต้นแบบส่วนมากจะอยู่ในพื้นที่ภาคใต้ และเป็นพื้นที่ที่เคยประสบภัยพิบัติสึนามิ ที่เหลือจะคัดเลือกโรงเรียนที่มีความเข้มแข็ง และครูค่อนข้างมีความพร้อม
ดร.เบญจลักษณ์ กล่าวต่อว่า เหตุผลที่เลือกการสอนแบบคละชั้นของนิวซีแลนด์มาเป็นต้นแบบนั้น มาจากการศึกษาดูงานแล้วพบว่า ที่นั่นมีโรงเรียนขนาดเล็กเหมือนในประเทศไทย แต่เขาใช้วิธีการกำหนดจำนวนเด็กต่อครู เช่น ครู 1 คนสอนเด็กได้ 25 คน โดยไม่มีปัญหาเรื่องการคละชั้น เพราะใช้สื่อการสอนที่สามารถจัดรูปแบบการเรียนรู้ที่ผสมผสานกันได้
ทาง สพฐ.ได้นำแนวคิดนี้มาแก้ปัญหาเรื่องโรงเรียนขนาดเล็ก เปลี่ยนจากการคิดเรื่องขาดครู แต่มาดูเรื่องรูปแบบการเรียนการสอน โดยมองว่า ในทางปฏิบัติสามารถทำได้มากน้อยเพียงใด ขณะเดียวกัน สพฐ.จะหาเครื่องมือช่วยครูสอน เช่นเรื่องกำหนดหน่วยการเรียนรู้ อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะให้สอนแบบคละชั้นจะต้องอบรมครูผู้สอนเกี่ยวกับแนวทางการสอนรูปแบบดังกล่าวเพื่อให้ครูสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกวิธีด้วย เกรงว่า ครูจะเคยชินกับการสอนเด็กวัยเดียวกัน แต่การสอนแบบคละชั้นจะมีความแตกต่างเรื่องวัยของเด็ก ดังนั้นครูผู้สอนต้องคิดสื่อเพื่อให้เด็กต่างวัยเรียนรู้ไปพร้อมกัน และวิธีการเรียนการสอนสไตล์นี้จะกระชับความสัมพันธ์โดยพี่ช่วยเหลือน้องอีกด้วย
“ห่วงผู้ปกครองไม่เข้าใจการนำแบบเรียนคละชั้น ว่า การเรียนการสอนลักษณะนี้ ครูต้องทำความเข้าใจแก่ผู้ปกครองว่า ไม่มีปัญหาเรื่องเนื้อหา เพราะผู้สอนยังยึดเนื้อหาเหมือนเดิม เพียงแต่นำสื่อและอื่นๆ เข้ามาช่วยสอน เพื่อให้เด็กต่างวัยเข้าใจเรื่องนั้น ที่สำคัญรุ่นพี่ที่อายุมากกว่ายังช่วยดูแลน้องเล็กได้ และตลอด 1 เทอมที่ดำเนินการนั้นช่วยแก้ปัญหาขาดครูและสอนได้ครบตามเนื้อหาที่กระทรวงกำหนด” ดร.เบญจลักษณ์ กล่าวทิ้งท้าย