อธิบดีกรมศิลป์เผยการก่อสร้างพระเมรุและอาคารต่างๆ ภายในมณฑลพิธีท้องสนามหลวง จะแล้วเสร็จในกันยายนนี้ ขณะที่ความคืบหน้าการก่อสร้างพระโกศทางกรมอุทยานแห่งชาติฯจะแปรรูปไม้จันทน์หอมให้เป็นแผ่นมีหน้ากว้าง 6 นิ้ว ก่อนส่งต่อให้กรมศิลป์ฯนำไปดำเนินการต่อ
นายเกรียงไกร สัมปัชชลิต อธิปดีกรมศิลปากร กล่าวถึงความคืบหน้าการจัดสร้างพระเมรุพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ว่า จากที่พระครูวามเทพมุนี หัวหน้าพราหมณ์ สำนักพระราชวัง ได้ฤกษ์บวงสรวงการซ่อมราชรถ ราชยาน และพระยานมาศ 3 ลำคาน ในวันอังคารที่ 5 กุมภาพันธ์นี้ เวลา 12.15 น.แล้วนั้น เนื่องจากวันดังกล่าวเป็นฤกษ์มงคลการบูชาอาจารย์เทพเทวา จะทำให้งานพิธีลุล่วง ส่วนเวลา 12.15 น. เป็นช่วงที่พระอาทิตย์อยู่กึ่งกลางพอดีของท้องฟ้า ตามความเชื่อถือว่าเทพเทวามีความแข็งแรงมาก หากประกอบพิธีจะดี โดยการซ่อมพระยานมาศ 3 ลำคาน มีความสำคัญยิ่ง ทั้งนี้เพื่ออัญเชิญพระศพ จากพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง จากนั้นจะมีการอัญเชิญพระโกศไว้ที่บุษบกบนราชรถ และหลังพระราชทานเพลิงพระศพแล้ว จะใช้ยานมาศพระเทศพระที่นั่งราเชนทะยาน เพื่ออัญเชิญพระอัฐิ พระอังคาร ซึ่งเป็นการถวายพระเกียรติยศพระองค์ ทั้งนี้แผนงานซ่อม คาดว่าจะแล้วเสร็จประมาณเดือนมิถุนายนนี้ เพื่อเผื่อเวลาในการซ้อมขบวนแห่ ก่อนที่จะมีพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ ซึ่งตามกำหนดการกำหนดไว้ประมาณเดือนตุลาคม
ส่วนการสร้างพระเมรุและอาคารภายในมณฑลพิธีท้องสนามหลวง จะประกอบด้วย พระเมรุเป็นกุฎาคารเรือนยอดประธานมณฑลสร้างหันหน้าทางทิศตะวันตก จากฐานถึงยอดฉัตรสูง 37.85 เมตร กว้าง 31.80 เมตร ยาว 39.80 เมตร ภายในเป็นเหล็กประดับด้วยกระดาษทองย่น และพระที่นั่งทรงธรรมใช้สำหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวประทับทรงธรรม และประกอบพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศล ในการออกพระเมรุพระศพ และที่สำหรับพระบรมวงศานุวงศ์ คณะบุคคล ที่มาร่วมพิธี หอเปลื้องอาคารทรงไทยสำหรับเก็บพระโกศ สำส้างอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า สำหรับพระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรมในช่วงงานพระเมรุ และทับเกษตร ที่สำหรับข้าราชการฟังสวด และการสร้างซุ้มรับดอกไม้จันทน์ สำหรับประชาชนที่เดินทางมาถวายราชสักการะ ซึ่งจะจัดตามจุดรอบสนามหลวง คาดว่าจะแล้วเสร็จทั้งหมดภายในเดือนกันยายนนี้
อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวด้วยว่า ได้ประสานเป็นการภายในกับทางกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธ์พืช ซึ่งได้รับรายงานว่า ทางกรมอุทยานแห่งชาติฯจะดำเนินการแปรรูปไม้จันทน์หอมให้เป็นแผ่นมีหน้ากว้าง 6 นิ้ว คาดว่าภายในวันที่ 2-3 กุมภาพันธ์ นี้ กรมศิลปากรจะได้รับไม้จันทน์หอมจากกรมอุทยานแห่งชาติฯ ซึ่งต้องนำมาเก็บไว้ที่สำนักช่างสิบหมู่ก่อน เนื่องจากต้องรอสร้างโรงขยายแบบให้เสร็จภายในเดือนกุมภาพันธ์
ส่วนความคืบหน้าเกี่ยวกับการสร้างพระโกศจันทน์นั้น นาวาอากาศเอกอาวุธ เงินชูกลิ่น ประธานคณะทำงานออกแบบและจัดสร้างพระเมรุ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ ได้ทำการออกแบบลวดลายแล้ว และจะให้นายนิยม กลิ่นบุบผา ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ดำเนินการขยายแบบเท่าจริงที่โรงขยายแบบ เพื่อให้นาวาอากาศเอกอาวุธ ดูความสวยงามของลวดลายอีกครั้ง
สำหรับสำนักสถาปัตยกรรมที่ดูแลการจัดสร้างพระเมรุทั้งหมด ได้เตรียมพร้อมบุคลากร ตลอดจนได้ทำการศึกษาแผนปฏิบัติงานแล้ว โดยภายหลังจากการออกแบบพระเมรุแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็จะเป็นช่วงของงานเขียนลวดลาย ซึ่งตอนนี้ได้เริ่มต้นงานก่อนแผนที่กำหนดไว้ ทั้งนี้ ตั้งแต่ต้นเดือนกุมภาพันธ์ เป็นต้นไป กรมศิลปากรดำเนินการซ่อมราชรถ ราชยานต่างๆ สร้างโรงขยายแบบ เพื่อดำเนินการจัดสร้างพระเมรุ พระโกศจันทร์ต่อไป
นายเกรียงไกร สัมปัชชลิต อธิปดีกรมศิลปากร กล่าวถึงความคืบหน้าการจัดสร้างพระเมรุพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ว่า จากที่พระครูวามเทพมุนี หัวหน้าพราหมณ์ สำนักพระราชวัง ได้ฤกษ์บวงสรวงการซ่อมราชรถ ราชยาน และพระยานมาศ 3 ลำคาน ในวันอังคารที่ 5 กุมภาพันธ์นี้ เวลา 12.15 น.แล้วนั้น เนื่องจากวันดังกล่าวเป็นฤกษ์มงคลการบูชาอาจารย์เทพเทวา จะทำให้งานพิธีลุล่วง ส่วนเวลา 12.15 น. เป็นช่วงที่พระอาทิตย์อยู่กึ่งกลางพอดีของท้องฟ้า ตามความเชื่อถือว่าเทพเทวามีความแข็งแรงมาก หากประกอบพิธีจะดี โดยการซ่อมพระยานมาศ 3 ลำคาน มีความสำคัญยิ่ง ทั้งนี้เพื่ออัญเชิญพระศพ จากพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง จากนั้นจะมีการอัญเชิญพระโกศไว้ที่บุษบกบนราชรถ และหลังพระราชทานเพลิงพระศพแล้ว จะใช้ยานมาศพระเทศพระที่นั่งราเชนทะยาน เพื่ออัญเชิญพระอัฐิ พระอังคาร ซึ่งเป็นการถวายพระเกียรติยศพระองค์ ทั้งนี้แผนงานซ่อม คาดว่าจะแล้วเสร็จประมาณเดือนมิถุนายนนี้ เพื่อเผื่อเวลาในการซ้อมขบวนแห่ ก่อนที่จะมีพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ ซึ่งตามกำหนดการกำหนดไว้ประมาณเดือนตุลาคม
ส่วนการสร้างพระเมรุและอาคารภายในมณฑลพิธีท้องสนามหลวง จะประกอบด้วย พระเมรุเป็นกุฎาคารเรือนยอดประธานมณฑลสร้างหันหน้าทางทิศตะวันตก จากฐานถึงยอดฉัตรสูง 37.85 เมตร กว้าง 31.80 เมตร ยาว 39.80 เมตร ภายในเป็นเหล็กประดับด้วยกระดาษทองย่น และพระที่นั่งทรงธรรมใช้สำหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวประทับทรงธรรม และประกอบพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศล ในการออกพระเมรุพระศพ และที่สำหรับพระบรมวงศานุวงศ์ คณะบุคคล ที่มาร่วมพิธี หอเปลื้องอาคารทรงไทยสำหรับเก็บพระโกศ สำส้างอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า สำหรับพระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรมในช่วงงานพระเมรุ และทับเกษตร ที่สำหรับข้าราชการฟังสวด และการสร้างซุ้มรับดอกไม้จันทน์ สำหรับประชาชนที่เดินทางมาถวายราชสักการะ ซึ่งจะจัดตามจุดรอบสนามหลวง คาดว่าจะแล้วเสร็จทั้งหมดภายในเดือนกันยายนนี้
อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวด้วยว่า ได้ประสานเป็นการภายในกับทางกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธ์พืช ซึ่งได้รับรายงานว่า ทางกรมอุทยานแห่งชาติฯจะดำเนินการแปรรูปไม้จันทน์หอมให้เป็นแผ่นมีหน้ากว้าง 6 นิ้ว คาดว่าภายในวันที่ 2-3 กุมภาพันธ์ นี้ กรมศิลปากรจะได้รับไม้จันทน์หอมจากกรมอุทยานแห่งชาติฯ ซึ่งต้องนำมาเก็บไว้ที่สำนักช่างสิบหมู่ก่อน เนื่องจากต้องรอสร้างโรงขยายแบบให้เสร็จภายในเดือนกุมภาพันธ์
ส่วนความคืบหน้าเกี่ยวกับการสร้างพระโกศจันทน์นั้น นาวาอากาศเอกอาวุธ เงินชูกลิ่น ประธานคณะทำงานออกแบบและจัดสร้างพระเมรุ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ ได้ทำการออกแบบลวดลายแล้ว และจะให้นายนิยม กลิ่นบุบผา ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ดำเนินการขยายแบบเท่าจริงที่โรงขยายแบบ เพื่อให้นาวาอากาศเอกอาวุธ ดูความสวยงามของลวดลายอีกครั้ง
สำหรับสำนักสถาปัตยกรรมที่ดูแลการจัดสร้างพระเมรุทั้งหมด ได้เตรียมพร้อมบุคลากร ตลอดจนได้ทำการศึกษาแผนปฏิบัติงานแล้ว โดยภายหลังจากการออกแบบพระเมรุแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็จะเป็นช่วงของงานเขียนลวดลาย ซึ่งตอนนี้ได้เริ่มต้นงานก่อนแผนที่กำหนดไว้ ทั้งนี้ ตั้งแต่ต้นเดือนกุมภาพันธ์ เป็นต้นไป กรมศิลปากรดำเนินการซ่อมราชรถ ราชยานต่างๆ สร้างโรงขยายแบบ เพื่อดำเนินการจัดสร้างพระเมรุ พระโกศจันทร์ต่อไป