วันศุกร์ที่ 18 ม.ค.2551 ข่าวที่ทำให้คนในแวดวงสาธารณสุขเสียใจ คือ การเสียชีวิตของนพ.สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) ด้วยวัยเพียง 55 ปี 10 เดือน เท่านั้น
ก่อนหน้านี้ เป็นที่รับรู้กันอย่างเงียบๆ ว่า นพ.สงวน เข้ารักษาตัวด้วยอาการระยะสุดท้ายของโรคมะเร็งเยื่อหุ้มปอด ที่ รพ.รามาธิบดี และใช้กำลังใจและกำลังกายอย่างหนักหน่วงที่จะต่อสู้เพื่อให้ผ่านพ้นจุดนี้ไปให้ได้ ท่ามกลางกำลังใจของคนรอบข้างที่ส่งไปให้ แต่หลังจากต่อสู้กับโรคนี้มา 5 ปี มะเร็งก็คร่าชีวิตนักบุกเบิกงานปฏิรูปสุขภาพของเมืองไทยไปอย่างไม่มีวันกลับ ท่ามกลางความอาลัยรักของทุกคน
**พลิกประวัติศาสตร์ระบบสุขภาพ
“เฉลี่ยทุกข์ เฉลี่ยสุข”
เป็นคำพูดที่ได้ยินเสมอจาก นพ.สงวน หัวขบวนการปฏิรูประบบสุขภาพไทยครั้งยิ่งใหญ่ ที่คนไทยรู้จักกันดีในชื่อโครงการ “30 บาทรักษาทุกโรค” ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานแนวคิดในการสร้างความเป็นธรรมทางด้านสุขภาพให้แก่ประชาชน บนความต้องการที่อยากเห็นคนไทยไม่ว่ายากดีมีจน มีสุขภาพดีไม่ต้องล้มละลายกับค่าใช้จ่ายจากการรักษาโรค ไม่ว่าจะเป็นโรคมะเร็ง โรคหัวใจ โรคไต โรคทาลัสซีเมีย โรคฮีโมฟีเลีย หรือแม้กระทั่งโรคลมชัก และอีกหลายๆ โรค
โดยงานสำคัญ ที่ นพ.สงวน ตั้งใจมุ่งมั่นเป็นงานชิ้นเอกในชีวิตนี้ คือ การปฏิรูประบบบริการสุขภาพ และเป็นที่น่ายินดีที่ นพ.สงวน ทำงานนี้จนสำเร็จเป็นรูปธรรมชัดเจน ก่อนที่จะละสังขารจากโลกนี้ไป
เมื่อเริ่มแรกโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า มีแรงเสียดทานจากวงการสาธารณสุขจำนวนมาก บ้างก็เห็นด้วย และไม่เห็นด้วยกับโครงการดังกล่าว เนื่องจากเป็นโครงการใหญ่ และยาก หากทำได้สำเร็จ จะถือว่าเป็นการพลิกประวัติศาสตร์ของระบบสาธารณสุขไทย
ว่ากันว่า เมื่อเริ่มโครงการนั้น บรรดาหมอในกระทรวงสาธารณสุขบางกลุ่มต่อต้าน จนก่อให้เกิดแรงเสียดทานอย่างมาก แต่ด้วยความอดทนที่เคยผ่านงานในชุมชน ทำให้ นพ.สงวน ไม่ย่อท้อและผ่านอุปสรรคไปได้ในที่สุด
**จากหมอชนบทสู่หมอนักบุกเบิก
นพ.สงวน เกิดเมื่อวันที่ 18 ม.ค.2495 ที่กรุงเทพมหานคร จบการศึกษาแพทยศาสตร์บัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ในปี 2520 ระหว่างศึกษาเป็นนักกิจกรรมเพื่อสังคม ท่ามกลางบรรยากาศของนักศึกษาที่อยู่ในยุคของการต่อสู้เพื่อพี่น้องประชาชนที่ทุกข์ยาก ถูกกดขี่ ได้เป็นนายกสหพันธ์นักศึกษา ม.มหิดล ในปี 2519 เมื่อสำเร็จการศึกษา เริ่มรับราชการครั้งแรกที่ รพ.ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ ในปี 2521 จนกระทั่งปี 2526 เป็นผู้อำนวยการ รพ.ราษีไศล และย้ายมาเป็นผู้อำนวยการ รพ.บัวใหญ่ จ.นครราชสีมา ซึ่งการทำงานทั้งสองแห่งได้บุกเบิกการสร้างสุขภาพชุมชน จนเป็นที่รักของชาวบ้านอย่างมาก และที่ รพ.บัวใหญ่ นพ.สงวน ได้รับคัดเลือกเป็นแพทย์ดีเด่นประจำปี 2528 ด้วยผลงานการวางแผนงานใช้สาธารณสุขมูลฐานเป็นกลยุทธ์แก้ปัญหา ตั้งกองทุนยา กองทุนโภชนาการหมู่บ้านและชุมชน ฯลฯ
ในปี 2538 เป็นผู้ช่วยปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นรองปลัดกระทรวงสาธารณสุขในปี 2544-2546 ก่อนที่จะมาเป็นเลขาธิการคนแรกของ สปสช.ในเดือน พ.ค.2546 และได้รับคัดเลือกให้เป็นเลขาธิการสปสช.ต่อเป็นสมัยที่ 2 เมื่อปี 2550
**กองทุนเพื่อมิตรภาพบำบัด ภารกิจสุดท้ายเพื่อสังคม
การดำรงตำแหน่งเลขาธิการ สปสช.วาระที่ 2 ก่อนจะเสียชีวิต เรื่องสำคัญที่ นพ.สงวน ผลักดัน คือ การขยายสิทธิประโยชน์ให้ครอบคลุมโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ซึ่งก็ทำได้สำเร็จ
“น้องพลอย” ลูกสาว นพ.สงวน เล่าว่า วันที่ 31 ต.ค.2550 วันที่ ครม.พิจารณาเรื่องการขยายสิทธิประโยชน์เรื่องโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า นพ.สงวน ตั้งใจมาก แม้ป่วยก็ยังไปนอนที่ทำเนียบรัฐบาล เพื่อที่ว่าจะได้เตรียมตัวได้ทัน
เมื่อถูกเรียกไปสอบถาม นอกจากนั้น ก่อนเสียชีวิต ปณิธานของ นพ.สงวน คือ การทำโครงการเพื่อนช่วยเพื่อน หรือ “จิตอาสา” เพื่อให้คนไข้ที่ป่วยและหายแล้วให้กำลังใจที่มีจิตใจความเป็นมนุษย์ช่วยเหลือเพื่อนที่ยังเจ็บป่วยให้หายจากโรคต่างๆ ได้ ที่ผ่านมา มีเพื่อนช่วยเพื่อนแล้ว เช่น เครือข่ายโรคมะเร็ง ตรงนี้จึงได้กลายเป็นที่มาของการตั้งกองทุน นพ.สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ เพื่องานมิตรภาพบำบัด เพื่อนช่วยเพื่อน
ในเรื่องนี้ ร.อ.ทพญ.อพภิวันท์ นิตยารัมภ์พงศ์ ภริยา นพ.สงวน เล่าว่า กองทุนนี้เป็นสิ่งที่หมอสงวนตั้งใจในขณะที่ยังป่วยอยู่ คือ อยากทำให้ประชาชนและคนที่เจ็บป่วยมีโอกาสในการรักษา ยิ่งตัวเองป่วยก็ยิ่งเข้าใจและเห็นใจคนไม่มีโอกาส ขณะที่ครอบครัวของเราถือว่าพร้อม แต่ก็ยังรู้สึกทุกข์มากมายถึงเพียงนี้ จึงเข้าใจว่า คนไข้ที่ไร้โอกาสก็จะยิ่งต้องทุกข์มากกว่าหลายเท่า กองทุนนี้จึงเป็นงานสุดท้ายที่ นพ.สงวน ตั้งใจอยากทำให้ผู้ป่วยได้มีโอกาสเข้าถึงการรักษา และยังดูแลไปถึงเรื่องของจิตใจด้วย กองทุนดังกล่าวมีผู้ใหญ่หลายท่านเห็นความสำคัญและพร้อมสนับสนุน เช่น นพ.เสม พริ้งพวงแก้ว นพ.มงคล ณ สงขลา ฯลฯ
“การทำงานคือชีวิตและความสุขของคุณหมอเมื่อใดที่ลงมือทำงาน คุณหมอจะไม่รู้สึกว่าป่วยและเจ็บใดๆ เลย และครอบครัวก็พร้อมจะสนับสนุนอุดมการณ์ และสานต่องานของคุณหมอให้สำเร็จ คุณหมอได้สั่งเสียลูกชายและลูกสาวไว้เป็นครั้งสุดท้าย ว่า ให้เป็นคนดีและรักษาความดีไว้ เพราะเป็นสิ่งที่คนรอบข้างจะยอมรับและนับถือ เหมือนกับที่คุณหมอทำให้ลูกเห็นเสมอว่า คนรอบข้างรักคุณหมอจากการที่คุณหมอทำงานเพื่อคนอื่น” ทพญ.อพภิวันท์ กล่าวทิ้งท้าย
สำหรับชาว สปสช.ซึ่ง นพ.สงวน พูดเสมอว่า เป็นบ้านหลังที่สอง ก่อนเสียชีวิต นพ.สงวน ได้ฝากคำพูดถึงทุกคนว่า
“...วันที่ผมรู้สึกตัววันแรก พวกเขาเฮกันใหญ่ เพราะตอนแรกคิดว่าคงจะหมดสติแล้ว อาจจะไม่มีสติอีก ชีวิตก็เป็นอย่างนี้แหละนะ มันมีขึ้นมีลง ถ้าเราสามารถที่จะทำให้ชีวิตมีคุณค่า แล้วก็ทำให้ช่วงชีวิตที่จะลงมีคุณค่าด้วย เราก็คงภาคภูมิใจ ...ขอให้ยืนหยัดต่อสู้ แม้จะหนักจะเหนื่อยก็ตาม ให้ตั้งใจว่า เมื่อเรายังหนุ่มยังแน่นยังสาว ยังทำประโยชน์ให้กับประเทศได้อีกมาก เพราะฉะนั้นก็อย่าท้อถอย..”
ที่สำคัญคือ ก่อนเสียชีวิต นพ.สงวน ได้เขียนด้วยลายมือตัวเองว่าให้มอบร่างกายของท่านให้คณะแพทยศาสตร์ รามาธิบดี เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา ซึ่งเป็นการทำประโยชน์ครั้งสุดท้ายในชีวิตที่ทิ้งไว้ให้แก่ประเทศชาติ
ก่อนหน้านี้ เป็นที่รับรู้กันอย่างเงียบๆ ว่า นพ.สงวน เข้ารักษาตัวด้วยอาการระยะสุดท้ายของโรคมะเร็งเยื่อหุ้มปอด ที่ รพ.รามาธิบดี และใช้กำลังใจและกำลังกายอย่างหนักหน่วงที่จะต่อสู้เพื่อให้ผ่านพ้นจุดนี้ไปให้ได้ ท่ามกลางกำลังใจของคนรอบข้างที่ส่งไปให้ แต่หลังจากต่อสู้กับโรคนี้มา 5 ปี มะเร็งก็คร่าชีวิตนักบุกเบิกงานปฏิรูปสุขภาพของเมืองไทยไปอย่างไม่มีวันกลับ ท่ามกลางความอาลัยรักของทุกคน
**พลิกประวัติศาสตร์ระบบสุขภาพ
“เฉลี่ยทุกข์ เฉลี่ยสุข”
เป็นคำพูดที่ได้ยินเสมอจาก นพ.สงวน หัวขบวนการปฏิรูประบบสุขภาพไทยครั้งยิ่งใหญ่ ที่คนไทยรู้จักกันดีในชื่อโครงการ “30 บาทรักษาทุกโรค” ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานแนวคิดในการสร้างความเป็นธรรมทางด้านสุขภาพให้แก่ประชาชน บนความต้องการที่อยากเห็นคนไทยไม่ว่ายากดีมีจน มีสุขภาพดีไม่ต้องล้มละลายกับค่าใช้จ่ายจากการรักษาโรค ไม่ว่าจะเป็นโรคมะเร็ง โรคหัวใจ โรคไต โรคทาลัสซีเมีย โรคฮีโมฟีเลีย หรือแม้กระทั่งโรคลมชัก และอีกหลายๆ โรค
โดยงานสำคัญ ที่ นพ.สงวน ตั้งใจมุ่งมั่นเป็นงานชิ้นเอกในชีวิตนี้ คือ การปฏิรูประบบบริการสุขภาพ และเป็นที่น่ายินดีที่ นพ.สงวน ทำงานนี้จนสำเร็จเป็นรูปธรรมชัดเจน ก่อนที่จะละสังขารจากโลกนี้ไป
เมื่อเริ่มแรกโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า มีแรงเสียดทานจากวงการสาธารณสุขจำนวนมาก บ้างก็เห็นด้วย และไม่เห็นด้วยกับโครงการดังกล่าว เนื่องจากเป็นโครงการใหญ่ และยาก หากทำได้สำเร็จ จะถือว่าเป็นการพลิกประวัติศาสตร์ของระบบสาธารณสุขไทย
ว่ากันว่า เมื่อเริ่มโครงการนั้น บรรดาหมอในกระทรวงสาธารณสุขบางกลุ่มต่อต้าน จนก่อให้เกิดแรงเสียดทานอย่างมาก แต่ด้วยความอดทนที่เคยผ่านงานในชุมชน ทำให้ นพ.สงวน ไม่ย่อท้อและผ่านอุปสรรคไปได้ในที่สุด
**จากหมอชนบทสู่หมอนักบุกเบิก
นพ.สงวน เกิดเมื่อวันที่ 18 ม.ค.2495 ที่กรุงเทพมหานคร จบการศึกษาแพทยศาสตร์บัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ในปี 2520 ระหว่างศึกษาเป็นนักกิจกรรมเพื่อสังคม ท่ามกลางบรรยากาศของนักศึกษาที่อยู่ในยุคของการต่อสู้เพื่อพี่น้องประชาชนที่ทุกข์ยาก ถูกกดขี่ ได้เป็นนายกสหพันธ์นักศึกษา ม.มหิดล ในปี 2519 เมื่อสำเร็จการศึกษา เริ่มรับราชการครั้งแรกที่ รพ.ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ ในปี 2521 จนกระทั่งปี 2526 เป็นผู้อำนวยการ รพ.ราษีไศล และย้ายมาเป็นผู้อำนวยการ รพ.บัวใหญ่ จ.นครราชสีมา ซึ่งการทำงานทั้งสองแห่งได้บุกเบิกการสร้างสุขภาพชุมชน จนเป็นที่รักของชาวบ้านอย่างมาก และที่ รพ.บัวใหญ่ นพ.สงวน ได้รับคัดเลือกเป็นแพทย์ดีเด่นประจำปี 2528 ด้วยผลงานการวางแผนงานใช้สาธารณสุขมูลฐานเป็นกลยุทธ์แก้ปัญหา ตั้งกองทุนยา กองทุนโภชนาการหมู่บ้านและชุมชน ฯลฯ
ในปี 2538 เป็นผู้ช่วยปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นรองปลัดกระทรวงสาธารณสุขในปี 2544-2546 ก่อนที่จะมาเป็นเลขาธิการคนแรกของ สปสช.ในเดือน พ.ค.2546 และได้รับคัดเลือกให้เป็นเลขาธิการสปสช.ต่อเป็นสมัยที่ 2 เมื่อปี 2550
**กองทุนเพื่อมิตรภาพบำบัด ภารกิจสุดท้ายเพื่อสังคม
การดำรงตำแหน่งเลขาธิการ สปสช.วาระที่ 2 ก่อนจะเสียชีวิต เรื่องสำคัญที่ นพ.สงวน ผลักดัน คือ การขยายสิทธิประโยชน์ให้ครอบคลุมโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ซึ่งก็ทำได้สำเร็จ
“น้องพลอย” ลูกสาว นพ.สงวน เล่าว่า วันที่ 31 ต.ค.2550 วันที่ ครม.พิจารณาเรื่องการขยายสิทธิประโยชน์เรื่องโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า นพ.สงวน ตั้งใจมาก แม้ป่วยก็ยังไปนอนที่ทำเนียบรัฐบาล เพื่อที่ว่าจะได้เตรียมตัวได้ทัน
เมื่อถูกเรียกไปสอบถาม นอกจากนั้น ก่อนเสียชีวิต ปณิธานของ นพ.สงวน คือ การทำโครงการเพื่อนช่วยเพื่อน หรือ “จิตอาสา” เพื่อให้คนไข้ที่ป่วยและหายแล้วให้กำลังใจที่มีจิตใจความเป็นมนุษย์ช่วยเหลือเพื่อนที่ยังเจ็บป่วยให้หายจากโรคต่างๆ ได้ ที่ผ่านมา มีเพื่อนช่วยเพื่อนแล้ว เช่น เครือข่ายโรคมะเร็ง ตรงนี้จึงได้กลายเป็นที่มาของการตั้งกองทุน นพ.สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ เพื่องานมิตรภาพบำบัด เพื่อนช่วยเพื่อน
ในเรื่องนี้ ร.อ.ทพญ.อพภิวันท์ นิตยารัมภ์พงศ์ ภริยา นพ.สงวน เล่าว่า กองทุนนี้เป็นสิ่งที่หมอสงวนตั้งใจในขณะที่ยังป่วยอยู่ คือ อยากทำให้ประชาชนและคนที่เจ็บป่วยมีโอกาสในการรักษา ยิ่งตัวเองป่วยก็ยิ่งเข้าใจและเห็นใจคนไม่มีโอกาส ขณะที่ครอบครัวของเราถือว่าพร้อม แต่ก็ยังรู้สึกทุกข์มากมายถึงเพียงนี้ จึงเข้าใจว่า คนไข้ที่ไร้โอกาสก็จะยิ่งต้องทุกข์มากกว่าหลายเท่า กองทุนนี้จึงเป็นงานสุดท้ายที่ นพ.สงวน ตั้งใจอยากทำให้ผู้ป่วยได้มีโอกาสเข้าถึงการรักษา และยังดูแลไปถึงเรื่องของจิตใจด้วย กองทุนดังกล่าวมีผู้ใหญ่หลายท่านเห็นความสำคัญและพร้อมสนับสนุน เช่น นพ.เสม พริ้งพวงแก้ว นพ.มงคล ณ สงขลา ฯลฯ
“การทำงานคือชีวิตและความสุขของคุณหมอเมื่อใดที่ลงมือทำงาน คุณหมอจะไม่รู้สึกว่าป่วยและเจ็บใดๆ เลย และครอบครัวก็พร้อมจะสนับสนุนอุดมการณ์ และสานต่องานของคุณหมอให้สำเร็จ คุณหมอได้สั่งเสียลูกชายและลูกสาวไว้เป็นครั้งสุดท้าย ว่า ให้เป็นคนดีและรักษาความดีไว้ เพราะเป็นสิ่งที่คนรอบข้างจะยอมรับและนับถือ เหมือนกับที่คุณหมอทำให้ลูกเห็นเสมอว่า คนรอบข้างรักคุณหมอจากการที่คุณหมอทำงานเพื่อคนอื่น” ทพญ.อพภิวันท์ กล่าวทิ้งท้าย
สำหรับชาว สปสช.ซึ่ง นพ.สงวน พูดเสมอว่า เป็นบ้านหลังที่สอง ก่อนเสียชีวิต นพ.สงวน ได้ฝากคำพูดถึงทุกคนว่า
“...วันที่ผมรู้สึกตัววันแรก พวกเขาเฮกันใหญ่ เพราะตอนแรกคิดว่าคงจะหมดสติแล้ว อาจจะไม่มีสติอีก ชีวิตก็เป็นอย่างนี้แหละนะ มันมีขึ้นมีลง ถ้าเราสามารถที่จะทำให้ชีวิตมีคุณค่า แล้วก็ทำให้ช่วงชีวิตที่จะลงมีคุณค่าด้วย เราก็คงภาคภูมิใจ ...ขอให้ยืนหยัดต่อสู้ แม้จะหนักจะเหนื่อยก็ตาม ให้ตั้งใจว่า เมื่อเรายังหนุ่มยังแน่นยังสาว ยังทำประโยชน์ให้กับประเทศได้อีกมาก เพราะฉะนั้นก็อย่าท้อถอย..”
ที่สำคัญคือ ก่อนเสียชีวิต นพ.สงวน ได้เขียนด้วยลายมือตัวเองว่าให้มอบร่างกายของท่านให้คณะแพทยศาสตร์ รามาธิบดี เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา ซึ่งเป็นการทำประโยชน์ครั้งสุดท้ายในชีวิตที่ทิ้งไว้ให้แก่ประเทศชาติ