“ธาดา” ฟุ้งนำระบบออนไลน์มาให้นักศึกษากรอกข้อมูล ทำให้รับเงินกู้ภายใน 30 วัน แต่ก่อนรับเงินตรวจยิบกับทะเบียนราษฎรว่าเป็นนักศึกษาจริงหรือปลอม พร้อมปรับจ่ายเงินให้สถานศึกษาโดยจ่ายตามจริงไม่ใช่จ่ายตามประเมิน
นายธาดา มาร์ติน ผู้จัดการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) กล่าวว่า ขณะนี้กองทุนฯได้ทำการศึกษาและพัฒนาระบบงาน e-Studentloan ขึ้น เพื่อใช้ทดแทนระบบการกู้ยืมแบบเดิม ซึ่งจะเริ่มเปิดใช้ตั้งแต่ปีการศึกษา 2551 เป็นต้นไป โดยคาดว่าจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดทำฐานข้อมูลผู้กู้ยืม
ส่วนการจัดสรรเงิน การยื่นคำขอกู้ การพิจารณาอนุมัติเงินกู้ยืม การทำสัญญา รวมไปถึงการชำระเงินคืนและการติดตามหนี้ผ่านช่องทางเว็บไซต์ทาง กยศ. (www.studentlon.or.th) ซึ่งจะทำให้นักเรียน นักศึกษา ผู้กู้ยืมได้รับเงินรวดเร็วยิ่งขึ้น ด้วยเหตุนี้ทางกองทุนฯ จึงได้จัดการประชุมอบรมเชิงปฏิบัติการแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องของสถานศึกษาที่เข้าร่วมโครงการกว่า 4,200 แห่งทั่วประเทศในเดือนมกราคมนี้ เพื่อเตรียมความพร้อมของสถานศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจและสามารถใช้ระบบงาน e-Studentloan ได้อย่างถูกต้อง
รวมถึงเป็นเครือข่ายบริการให้แก่นักเรียน นักศึกษาที่ต้องการกู้ยืมได้อย่างทั่วถึง กองทุนฯได้กำหนดจัดสัมมนาในแต่ละภูมิภาค ภาคกลาง จัดที่ โรงแรมรามาการ์เดนท์ ระหว่างวันที่ 7-11 มกราคม ภาคเหนือ จัดที่โรงแรมโลตัสปางสวนแก้ว จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 18-19 มกราคม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จัดที่ โรงแรมโฆษะ จังหวัดขอนแก่น ระหว่างวันที่ 22-25 มกราคม และภาคใต้ จัดที่โรงแรมลีการ์เดน จังหวัดสงลา ระหว่างวันที่ 30-31มกราคม นายธาดา กล่าวด้วยว่า สถานศึกษาจะใช้ระบบ e-Studentloan เพื่อตรวจสอบรายชื่อนักเรียน นักศึกษาที่สมัครขอกู้ยืมกับสถานศึกษาของตน บันทึกผลการคัดเลือกนักเรียน นักศึกษา และบันทึกวงเงินกู้ยืมของผู้กู้แต่ละรายให้ กยศ.ทราบผ่านอินเทอร์เน็ต ขณะเดียวกัน ธนาคารกรุงไทยจะได้รับข้อมูลผู้กู้ผ่านระบบ e-Studentloan โดยไม่ต้องรอเอกสารสัญญาเพื่อนำไปคีย์ข้อมูลเหมือนที่ผ่านมา
ทั้งนี้ ถือว่าเป็นการลดขั้นตอนทำให้การโอนเงินไปถึงมือสถานศึกษาและผู้กู้ยืมได้ทันที นอกจากนี้จะให้ผู้กู้รายเก่าที่ไม่ย้ายสถานศึกษาได้ลงทะเบียนกรอกแบบฟอร์มคำขอกู้ยืมตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์เป็นต้นไป ส่วนผู้กู้รายใหม่จะให้เริ่มลงทะเบียนวันที่ 16 มีนาคม ซึ่งคาดว่าระบบ e-Studentloan สามารถรองรับการเข้าสมัครขอกู้ยืมของนักเรียน นักศึกษาที่มีมากกว่า 8 หมื่นรายนั้น ได้รับความสะดวกรวดเร็วกว่าทุกครั้งที่ผ่านมา ซึ่งคาดว่าเงินจะถึงมือเด็ก และสถานศึกษาไม่เกิน 30 วัน “เหตุผลหนึ่งที่กองทุนนำระบบออนไลน์มาใช้นั้น เพราะต้องการให้เงินถึงมือนักเรียน นักศึกษา และสถานศึกษาโดยเร็ว เพราะที่ผ่านมาเด็กกว่าจะได้เงินเปิดเทอมไปแล้ว 3-4 เดือน
“หากนำระบบออนไลน์มาใช้มั่นใจว่าเงินถึงมือเด็กไม่เกิน 1 เดือนหลังจากที่สถานศึกษาส่งรายชื่อมาให้กองทุน จากนั้นกองทุนจะส่งเงินให้เด็กเป็นค่าครองชีพ สำหรับค่าเล่าเรียนต้องให้ผู้กู้ทำสัญญากู้กับกองทุนจากนั้นจะจ่ายค่าเล่าเรียนให้ตามจริง โดยผู้กู้จะต้องระบุว่าเทอมนี้ลงเรียนกี่หน่วยกิต ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการศึกษา รวมเป็นเงินทั้งสิ้นเท่าไหร่ก็จ่ายตามนั้น จะไม่จ่ายแบบประเมินว่าคณะนี้ สาขานี้อยู่ที่เท่าไหร่ เพราะพบว่าเด็กบางคนไม่ได้ลงทะเบียนเรียนแต่กองทุนโอนเงินไปให้ สิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดปัญหาช่วงชำระหนี้คืน เด็กจะอ้างว่าเทอมนี้ไม่ได้เรียนแต่กองทุนจ่ายให้สถานศึกษา ต้องเสียเวลาตามทวงคืน”
นายธาดา กล่าวต่อว่า ถ้าใช้ระบบออนไลน์จะเป็นฐานข้อมูลที่ถูกต้อง มีตัวตนจริง เพราะกองทุนฯ ให้ใช้รหัสประชาชน 13 หลัก วัน เดือน ปี รวมทั้งรหัสสถานศึกษา และก่อนจ่ายเงินกองทุนฯ จะประสานกับสำนักทะเบียนราษฎรว่าชื่อนี้มีจริงรึเปล่า
อย่างไรก็ดี คาดว่าปีนี้จะมีนักเรียน นักศึกษา มาขอกู้สูงถึง 8 แสนราย แยกเป็นผู้กู้รายใหม่ 3.5 แสนราย ผู้กู้รายเก่า 4.5 แสนราย และรัฐบาลได้จัดสรรเงินมากว่า 3 หมื่นล้านบาท
นายธาดา กล่าวต่อว่า พรุ่งนี้(8 ม.ค.) กองทุนฯเรียกนักเรียน นักศึกษา ประมาณ 9 หมื่นราย มาไกล่เกลี่ยหนี้สิน โดยใช้สถานที่ศาลอาญา ซึ่งเป็นการให้โอกาสคนกลุ่มนี้มาติดต่อประนอมหนี้ตั้งแต่พรุ่งนี้จนถึงเดือนมีนาคม หากไม่มาจะยื่นฟ้องศาล ทั้งนี้ ที่จะต้องแจ้งให้ผู้ที่ครบชำระหนี้มาไกล่เกลี่ยเพื่อป้องกันไม่ให้คดีหมดอายุความ ใจจริงไม่ต้องการฟ้องร้อง แต่ต้องทำตามขั้นตอน เดี๋ยวจะหมดอายุความ และการฟ้องร้องต้องใช้เงินประมาณ 400 ล้านบาท ดังนั้น จึงอยากเตือนให้นักเรียน นักศึกษาที่เรียนจบแล้ว ว่าเงินที่เขาให้เรียนนั้นเป็นเงินภาษีของประชาชน ไม่ใช่ให้ฟรี ถ้าหากเขามาชำระหนี้คืน จะได้มีเงินหมุนเวียนให้รุ่นน้องได้มายืมกู้เพื่อศึกษาต่อ
นายธาดา มาร์ติน ผู้จัดการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) กล่าวว่า ขณะนี้กองทุนฯได้ทำการศึกษาและพัฒนาระบบงาน e-Studentloan ขึ้น เพื่อใช้ทดแทนระบบการกู้ยืมแบบเดิม ซึ่งจะเริ่มเปิดใช้ตั้งแต่ปีการศึกษา 2551 เป็นต้นไป โดยคาดว่าจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดทำฐานข้อมูลผู้กู้ยืม
ส่วนการจัดสรรเงิน การยื่นคำขอกู้ การพิจารณาอนุมัติเงินกู้ยืม การทำสัญญา รวมไปถึงการชำระเงินคืนและการติดตามหนี้ผ่านช่องทางเว็บไซต์ทาง กยศ. (www.studentlon.or.th) ซึ่งจะทำให้นักเรียน นักศึกษา ผู้กู้ยืมได้รับเงินรวดเร็วยิ่งขึ้น ด้วยเหตุนี้ทางกองทุนฯ จึงได้จัดการประชุมอบรมเชิงปฏิบัติการแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องของสถานศึกษาที่เข้าร่วมโครงการกว่า 4,200 แห่งทั่วประเทศในเดือนมกราคมนี้ เพื่อเตรียมความพร้อมของสถานศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจและสามารถใช้ระบบงาน e-Studentloan ได้อย่างถูกต้อง
รวมถึงเป็นเครือข่ายบริการให้แก่นักเรียน นักศึกษาที่ต้องการกู้ยืมได้อย่างทั่วถึง กองทุนฯได้กำหนดจัดสัมมนาในแต่ละภูมิภาค ภาคกลาง จัดที่ โรงแรมรามาการ์เดนท์ ระหว่างวันที่ 7-11 มกราคม ภาคเหนือ จัดที่โรงแรมโลตัสปางสวนแก้ว จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 18-19 มกราคม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จัดที่ โรงแรมโฆษะ จังหวัดขอนแก่น ระหว่างวันที่ 22-25 มกราคม และภาคใต้ จัดที่โรงแรมลีการ์เดน จังหวัดสงลา ระหว่างวันที่ 30-31มกราคม นายธาดา กล่าวด้วยว่า สถานศึกษาจะใช้ระบบ e-Studentloan เพื่อตรวจสอบรายชื่อนักเรียน นักศึกษาที่สมัครขอกู้ยืมกับสถานศึกษาของตน บันทึกผลการคัดเลือกนักเรียน นักศึกษา และบันทึกวงเงินกู้ยืมของผู้กู้แต่ละรายให้ กยศ.ทราบผ่านอินเทอร์เน็ต ขณะเดียวกัน ธนาคารกรุงไทยจะได้รับข้อมูลผู้กู้ผ่านระบบ e-Studentloan โดยไม่ต้องรอเอกสารสัญญาเพื่อนำไปคีย์ข้อมูลเหมือนที่ผ่านมา
ทั้งนี้ ถือว่าเป็นการลดขั้นตอนทำให้การโอนเงินไปถึงมือสถานศึกษาและผู้กู้ยืมได้ทันที นอกจากนี้จะให้ผู้กู้รายเก่าที่ไม่ย้ายสถานศึกษาได้ลงทะเบียนกรอกแบบฟอร์มคำขอกู้ยืมตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์เป็นต้นไป ส่วนผู้กู้รายใหม่จะให้เริ่มลงทะเบียนวันที่ 16 มีนาคม ซึ่งคาดว่าระบบ e-Studentloan สามารถรองรับการเข้าสมัครขอกู้ยืมของนักเรียน นักศึกษาที่มีมากกว่า 8 หมื่นรายนั้น ได้รับความสะดวกรวดเร็วกว่าทุกครั้งที่ผ่านมา ซึ่งคาดว่าเงินจะถึงมือเด็ก และสถานศึกษาไม่เกิน 30 วัน “เหตุผลหนึ่งที่กองทุนนำระบบออนไลน์มาใช้นั้น เพราะต้องการให้เงินถึงมือนักเรียน นักศึกษา และสถานศึกษาโดยเร็ว เพราะที่ผ่านมาเด็กกว่าจะได้เงินเปิดเทอมไปแล้ว 3-4 เดือน
“หากนำระบบออนไลน์มาใช้มั่นใจว่าเงินถึงมือเด็กไม่เกิน 1 เดือนหลังจากที่สถานศึกษาส่งรายชื่อมาให้กองทุน จากนั้นกองทุนจะส่งเงินให้เด็กเป็นค่าครองชีพ สำหรับค่าเล่าเรียนต้องให้ผู้กู้ทำสัญญากู้กับกองทุนจากนั้นจะจ่ายค่าเล่าเรียนให้ตามจริง โดยผู้กู้จะต้องระบุว่าเทอมนี้ลงเรียนกี่หน่วยกิต ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการศึกษา รวมเป็นเงินทั้งสิ้นเท่าไหร่ก็จ่ายตามนั้น จะไม่จ่ายแบบประเมินว่าคณะนี้ สาขานี้อยู่ที่เท่าไหร่ เพราะพบว่าเด็กบางคนไม่ได้ลงทะเบียนเรียนแต่กองทุนโอนเงินไปให้ สิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดปัญหาช่วงชำระหนี้คืน เด็กจะอ้างว่าเทอมนี้ไม่ได้เรียนแต่กองทุนจ่ายให้สถานศึกษา ต้องเสียเวลาตามทวงคืน”
นายธาดา กล่าวต่อว่า ถ้าใช้ระบบออนไลน์จะเป็นฐานข้อมูลที่ถูกต้อง มีตัวตนจริง เพราะกองทุนฯ ให้ใช้รหัสประชาชน 13 หลัก วัน เดือน ปี รวมทั้งรหัสสถานศึกษา และก่อนจ่ายเงินกองทุนฯ จะประสานกับสำนักทะเบียนราษฎรว่าชื่อนี้มีจริงรึเปล่า
อย่างไรก็ดี คาดว่าปีนี้จะมีนักเรียน นักศึกษา มาขอกู้สูงถึง 8 แสนราย แยกเป็นผู้กู้รายใหม่ 3.5 แสนราย ผู้กู้รายเก่า 4.5 แสนราย และรัฐบาลได้จัดสรรเงินมากว่า 3 หมื่นล้านบาท
นายธาดา กล่าวต่อว่า พรุ่งนี้(8 ม.ค.) กองทุนฯเรียกนักเรียน นักศึกษา ประมาณ 9 หมื่นราย มาไกล่เกลี่ยหนี้สิน โดยใช้สถานที่ศาลอาญา ซึ่งเป็นการให้โอกาสคนกลุ่มนี้มาติดต่อประนอมหนี้ตั้งแต่พรุ่งนี้จนถึงเดือนมีนาคม หากไม่มาจะยื่นฟ้องศาล ทั้งนี้ ที่จะต้องแจ้งให้ผู้ที่ครบชำระหนี้มาไกล่เกลี่ยเพื่อป้องกันไม่ให้คดีหมดอายุความ ใจจริงไม่ต้องการฟ้องร้อง แต่ต้องทำตามขั้นตอน เดี๋ยวจะหมดอายุความ และการฟ้องร้องต้องใช้เงินประมาณ 400 ล้านบาท ดังนั้น จึงอยากเตือนให้นักเรียน นักศึกษาที่เรียนจบแล้ว ว่าเงินที่เขาให้เรียนนั้นเป็นเงินภาษีของประชาชน ไม่ใช่ให้ฟรี ถ้าหากเขามาชำระหนี้คืน จะได้มีเงินหมุนเวียนให้รุ่นน้องได้มายืมกู้เพื่อศึกษาต่อ