สธ.ชี้ผลการให้ยาต้านไวรัสเอดส์ พบว่าผู้ป่วยเอดส์ในจังหวัดพะเยาที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลมีจำนวนลดลงมาก จากที่เคยติดอันดับ 1 เมื่อช่วง 10-15 ปีก่อน ขณะนี้ไม่ติด 10 อันดับแรก โดยเฉพาะเด็กที่ติดเชื้อเอดส์จากแม่ พบว่าการแสดงอาการป่วยและเสียชีวิตช้าลงกว่าเดิมกว่าเท่าตัว ขณะนี้ทั่วประเทศมีเด็กติดเชื้อเอดส์จากแม่ อายุ 0-14 ปี ยังมีชีวิตกว่า 8,000 คน เด็กไปโรงเรียนได้ ไม่ต้องขาดเรียนบ่อย เศรษฐกิจครอบครัวดีขึ้น
นพ.มรกต กรเกษม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงสถานการณ์โรคเอดส์ว่า จากการตรวจเยี่ยมโรงพยาบาลในจังหวัดพะเยา เพื่อให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานทุกระดับ และติดตามสถานการณ์โรคเอดส์ในกลุ่มเด็กที่ติดเชื้อจากแม่ และมาตรการดูแลผู้ป่วยด้วยการให้ยาต้านไวรัสเอดส์ พบว่าหลังจากที่รัฐบาลมีโครงการจัดยาต้านไวรัสเอดส์ให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวี พบว่าช่วยให้สุขภาพของผู้ที่ติดเชื้อดีขึ้นมาก โดยจำนวนผู้ป่วยที่จังหวัดพะเยา ตั้งแต่ พ.ศ.2527 ถึง พ.ศ.2550 มีผู้ป่วยเอดส์รวมจำนวน 12,169 ราย มากเป็นอันดับ 4 ของประเทศ เมื่อช่วง 10-15 ปีก่อน ผู้ป่วยโรคเอดส์มีอัตราการครองเตียงตามโรงพยาบาลต่างๆ ทั้งโรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลทั่วไปสูงอันดับหนึ่ง และอัตราการเสียชีวิตก็เป็นอันดับ 1 แต่หลังจากที่ได้รับยาต้านไวรัสตั้งแต่ พ.ศ.2545 ทำให้อัตราการนอนโรงพยาบาลต่ำมาก ไม่ติด 10 อันดับผู้ป่วยใน การเสียชีวิตลดลงจาก 585 รายในปี 2544 เหลือ 114 รายในปี 2550 เนื่องจากคุณภาพชีวิตดีขึ้น โดยจำนวนผู้ป่วยจะเพิ่มที่แผนกผู้ป่วยนอก เนื่องจากผู้ป่วยจะต้องมาเจาะเลือด รับยา รับคำปรึกษาแนะนำการดูแลสุขภาพ ในปี 2550 มีผู้ติดเชื้อเอชไอวี ต้องรับยาที่โรงพยาบาลพะเยาทั้งหมด 11,865 ราย มากเป็นอันดับ 3 รองจากโรคความดันโลหิตสูง และ โรคเบาหวาน
นพ.มรกต กล่าวต่อว่า โดยเฉพาะเด็กที่ติดเชื้อเอชไอวีจากแม่ สถานการณ์การป่วยจากโรคเอดส์ก็ดีขึ้นเช่นกัน จากก่อนที่ยังไม่ได้รับยาต้านไวรัส เด็กหลังคลอดจะมีอาการป่วยด้วยโรคเอดส์และเสียชีวิต เมื่ออายุ 3-5 ปี แต่หลังจากได้รับยาต้านไวรัสตั้งแต่ก่อนคลอดและหลังคลอดแล้ว ทำให้เด็กที่ติดเชื้อมีชีวิตเพิ่มขึ้นเป็นสิบๆ ปี หรือกว่า 1 เท่าตัว เด็กมีสุขภาพแข็งแรง ผิวหนังไม่มีผื่นแพ้เหมือนแต่ก่อน สามารถไปโรงเรียนได้ตามปกติ ไม่ขาดเรียนบ่อย เศรษฐกิจในครอบครัวดีขึ้น เนื่องจากไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล บางรายโตเป็นหนุ่มสาว
ขณะนี้ที่จังหวัดพะเยามีเด็กติดเชื้อเอชไอวีจากแม่ กินยาต้านไวรัสทั้งหมด 186 ราย ขณะที่ในภาพรวมทั้งประเทศ สำนักระบาดวิทยา รายงานว่าหลังพบเด็กติดเชื้อเอดส์จากแม่อายุ 1 ขวบ ป่วยรายแรกในปี 2531 จนถึงเดือนตุลาคม 2550 มีสะสมทั้งหมด 12,213 ราย เป็นเพศชาย 6,361 ราย หญิง 5,852 ราย เสียชีวิตไปแล้ว 3,375 ราย ยังมีชีวิตอยู่ 8,838 ราย ขณะที่ผลสำรวจล่าสุดในปี 2549 พบหญิงตั้งครรภ์มีอัตราติดเชื้อเอชไอวีลดลงเหลือเพียงร้อยละ 0.87 หรือมีปีละไม่ถึง 7,000 คน จากที่มีหญิงตั้งครรภ์ปีละประมาณ 800,000 คน
ด้านนพ.ธวัช สุนทราจารย์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ในกลุ่มของเด็กที่ติดเชื้อเอดส์จากแม่ เมื่อจำแนกเป็นรายจังหวัด พบจำนวนผู้ป่วยสูงสุด 5 อันดับแรกของแต่ละภาคดังนี้ ภาคเหนือ ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา ลำปางและน่าน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จังหวัดขอนแก่น อุดรธานี สุรินทร์ บุรีรัมย์ และร้อยเอ็ด ภาคกลางได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ ระยอง ปทุมธานี และกาญจนบุรี ภาคใต้มากที่สุดที่จังหวัดสงขลา ตรัง นครศรีธรรมราช ระนอง และปัตตานี
เมื่อวิเคราะห์สถานการณ์เจ็บป่วยของเด็กกลุ่มดังกล่าวในภาพรวมทั่วประเทศ พบว่า ผู้ป่วยเพิ่มขึ้นสูงที่สุดในปี 2540 มีรายงานผู้ป่วย 1,208 ราย ภาคเหนือมีจำนวนผู้ป่วยสูงกว่าภาคอื่นๆ มาโดยตลอด พบผู้ป่วยสูงที่สุดในปี 2540 จำนวน 405 ราย หลังจากนั้นมีแนวโน้มลดลง ในปี 2550 นี้ มีเด็กติดเชื้อเอชไอวีจากแม่ที่ป่วยเป็นเอดส์แล้ว จำนวน 95 ราย ต่ำกว่าปี 2542 ประมาณ 10 เท่าตัว
ทั้งนี้ กลุ่มอาการที่บ่งชี้ว่าเด็กมีภาวะภูมิคุ้มกันเสื่อมที่พบมาก ได้แก่ ร่างกายผอมแห้ง ร้อยละ 14 รองลงมาได้แก่ การเจริญเติบโตช้ามาก ร้อยละ 12 ติดเชื้อทางเดินหายใจเป็นๆหายๆ ร้อยละ 11 ท้องเสียเป็นๆ หายๆ นานกว่า 1 เดือน ร้อยละ 9 ส่วนโรคติดเชื้อฉวยโอกาสที่พบมากที่สุดได้แก่ โรคปอดบวมร้อยละ 11 วัณโรคร้อยละ 3 ติดเชื้อราที่หลอดอาหาร หลอดลม ร้อยละ 2
นพ.มรกต กรเกษม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงสถานการณ์โรคเอดส์ว่า จากการตรวจเยี่ยมโรงพยาบาลในจังหวัดพะเยา เพื่อให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานทุกระดับ และติดตามสถานการณ์โรคเอดส์ในกลุ่มเด็กที่ติดเชื้อจากแม่ และมาตรการดูแลผู้ป่วยด้วยการให้ยาต้านไวรัสเอดส์ พบว่าหลังจากที่รัฐบาลมีโครงการจัดยาต้านไวรัสเอดส์ให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวี พบว่าช่วยให้สุขภาพของผู้ที่ติดเชื้อดีขึ้นมาก โดยจำนวนผู้ป่วยที่จังหวัดพะเยา ตั้งแต่ พ.ศ.2527 ถึง พ.ศ.2550 มีผู้ป่วยเอดส์รวมจำนวน 12,169 ราย มากเป็นอันดับ 4 ของประเทศ เมื่อช่วง 10-15 ปีก่อน ผู้ป่วยโรคเอดส์มีอัตราการครองเตียงตามโรงพยาบาลต่างๆ ทั้งโรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลทั่วไปสูงอันดับหนึ่ง และอัตราการเสียชีวิตก็เป็นอันดับ 1 แต่หลังจากที่ได้รับยาต้านไวรัสตั้งแต่ พ.ศ.2545 ทำให้อัตราการนอนโรงพยาบาลต่ำมาก ไม่ติด 10 อันดับผู้ป่วยใน การเสียชีวิตลดลงจาก 585 รายในปี 2544 เหลือ 114 รายในปี 2550 เนื่องจากคุณภาพชีวิตดีขึ้น โดยจำนวนผู้ป่วยจะเพิ่มที่แผนกผู้ป่วยนอก เนื่องจากผู้ป่วยจะต้องมาเจาะเลือด รับยา รับคำปรึกษาแนะนำการดูแลสุขภาพ ในปี 2550 มีผู้ติดเชื้อเอชไอวี ต้องรับยาที่โรงพยาบาลพะเยาทั้งหมด 11,865 ราย มากเป็นอันดับ 3 รองจากโรคความดันโลหิตสูง และ โรคเบาหวาน
นพ.มรกต กล่าวต่อว่า โดยเฉพาะเด็กที่ติดเชื้อเอชไอวีจากแม่ สถานการณ์การป่วยจากโรคเอดส์ก็ดีขึ้นเช่นกัน จากก่อนที่ยังไม่ได้รับยาต้านไวรัส เด็กหลังคลอดจะมีอาการป่วยด้วยโรคเอดส์และเสียชีวิต เมื่ออายุ 3-5 ปี แต่หลังจากได้รับยาต้านไวรัสตั้งแต่ก่อนคลอดและหลังคลอดแล้ว ทำให้เด็กที่ติดเชื้อมีชีวิตเพิ่มขึ้นเป็นสิบๆ ปี หรือกว่า 1 เท่าตัว เด็กมีสุขภาพแข็งแรง ผิวหนังไม่มีผื่นแพ้เหมือนแต่ก่อน สามารถไปโรงเรียนได้ตามปกติ ไม่ขาดเรียนบ่อย เศรษฐกิจในครอบครัวดีขึ้น เนื่องจากไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล บางรายโตเป็นหนุ่มสาว
ขณะนี้ที่จังหวัดพะเยามีเด็กติดเชื้อเอชไอวีจากแม่ กินยาต้านไวรัสทั้งหมด 186 ราย ขณะที่ในภาพรวมทั้งประเทศ สำนักระบาดวิทยา รายงานว่าหลังพบเด็กติดเชื้อเอดส์จากแม่อายุ 1 ขวบ ป่วยรายแรกในปี 2531 จนถึงเดือนตุลาคม 2550 มีสะสมทั้งหมด 12,213 ราย เป็นเพศชาย 6,361 ราย หญิง 5,852 ราย เสียชีวิตไปแล้ว 3,375 ราย ยังมีชีวิตอยู่ 8,838 ราย ขณะที่ผลสำรวจล่าสุดในปี 2549 พบหญิงตั้งครรภ์มีอัตราติดเชื้อเอชไอวีลดลงเหลือเพียงร้อยละ 0.87 หรือมีปีละไม่ถึง 7,000 คน จากที่มีหญิงตั้งครรภ์ปีละประมาณ 800,000 คน
ด้านนพ.ธวัช สุนทราจารย์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ในกลุ่มของเด็กที่ติดเชื้อเอดส์จากแม่ เมื่อจำแนกเป็นรายจังหวัด พบจำนวนผู้ป่วยสูงสุด 5 อันดับแรกของแต่ละภาคดังนี้ ภาคเหนือ ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา ลำปางและน่าน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จังหวัดขอนแก่น อุดรธานี สุรินทร์ บุรีรัมย์ และร้อยเอ็ด ภาคกลางได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ ระยอง ปทุมธานี และกาญจนบุรี ภาคใต้มากที่สุดที่จังหวัดสงขลา ตรัง นครศรีธรรมราช ระนอง และปัตตานี
เมื่อวิเคราะห์สถานการณ์เจ็บป่วยของเด็กกลุ่มดังกล่าวในภาพรวมทั่วประเทศ พบว่า ผู้ป่วยเพิ่มขึ้นสูงที่สุดในปี 2540 มีรายงานผู้ป่วย 1,208 ราย ภาคเหนือมีจำนวนผู้ป่วยสูงกว่าภาคอื่นๆ มาโดยตลอด พบผู้ป่วยสูงที่สุดในปี 2540 จำนวน 405 ราย หลังจากนั้นมีแนวโน้มลดลง ในปี 2550 นี้ มีเด็กติดเชื้อเอชไอวีจากแม่ที่ป่วยเป็นเอดส์แล้ว จำนวน 95 ราย ต่ำกว่าปี 2542 ประมาณ 10 เท่าตัว
ทั้งนี้ กลุ่มอาการที่บ่งชี้ว่าเด็กมีภาวะภูมิคุ้มกันเสื่อมที่พบมาก ได้แก่ ร่างกายผอมแห้ง ร้อยละ 14 รองลงมาได้แก่ การเจริญเติบโตช้ามาก ร้อยละ 12 ติดเชื้อทางเดินหายใจเป็นๆหายๆ ร้อยละ 11 ท้องเสียเป็นๆ หายๆ นานกว่า 1 เดือน ร้อยละ 9 ส่วนโรคติดเชื้อฉวยโอกาสที่พบมากที่สุดได้แก่ โรคปอดบวมร้อยละ 11 วัณโรคร้อยละ 3 ติดเชื้อราที่หลอดอาหาร หลอดลม ร้อยละ 2