xs
xsm
sm
md
lg

“จรัล” ปลื้ม “ปิยบุตร” มอบหนังสือว่าด้วยสถาบันกษัตริย์ให้กับมือ เดือด! แค่เตือน “อบจ.จุฬาฯ” แฉแผนบ่อนทำลาย

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


ภาพ “ประธานผู้ลี้ภัย” ดีใจ “ปิยบุตร” มอบหนังสือ “ว่าด้วยสถาบันกษัตริย์” ให้กับมือ  จากเฟซบุ๊ก Jaran Ditapichai
“ประธานผู้ลี้ภัย” ดีใจ “ปิยบุตร” มอบหนังสือ “ว่าด้วยสถาบันกษัตริย์” ให้กับมือ เผยเบื้องลึก เสนอ “ปฏิรูปสถาบันฯ” ศิษย์เก่าเดือด! ลบหลู่ในหลวง ร.๙ แค่ตักเตือน “อบจ.จุฬาฯ” แฉแผนบ่อนทำลายจากข้างใน “เป้าใหญ่สุด”

น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง วันนี้ (8 พ.ย. 65) นายจรัล ดิษฐาภิชัย อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประธานสมาคมนักประชาธิปไตยชาวไทยไร้พรมแดน ลี้ภัยในประเทศฝรั่งเศส โพสต์เฟซบุ๊กว่า

“ปิยบุตร ให้หนังสือ Elephant in the room ว่าด้วยสถาบันกษัตริย์

ก่อนหน้านี้ นายปิยบุตร พูดถึงหนังสือเล่มนี้ในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติครั้งที่ผ่านมาตอนหนึ่ง ว่า ตอนแรกก็ไม่ตั้งคำถามกับสถาบันกษัตริย์ แต่พอไปเรียนอยู่ต่างประเทศมาหลายปี เจอเพื่อนหลากหลายเชื้อชาติ ถกเถียงกันหลากหลายประเด็นอย่างเสรี พอกลับมาประเทศไทยก็เลยเห็นความไม่ชอบมาพากลบางอย่าง

ในคำนำหนังสือ นายปิยบุตร ได้ระบุว่า การเดินหน้าไปเป็นสาธารณรัฐในขณะที่ความคิดจิตใจของคนไทยจำนวนมากยังต้องการมีสถาบันกษัตริย์อยู่ อาจทำให้เกิดความรุนแรงและความแตกแยกของคนในชาติอย่างร้าวลึก และทำให้รัฐบาลของระบอบใหม่จำเป็นต้องปราบปรามคนที่คิดแบบเก่าด้วยความรุนแรงจนกลายเป็นรัฐบาลอำนาจนิยม การเดินหน้าไปเป็นสาธารณรัฐโดยที่ไม่ได้ตกลงพูดคุยกันเลยว่าสาธารณรัฐใหม่นั้น หน้าตาจะเป็นอย่างไร ไม่ได้ตกลงพูดคุยกันเลยว่าสาธารณรัฐใหม่นั้น มีหลักการพื้นฐานอะไรที่หลอมรวมให้คนทั้งประเทศพอจะยึดถือร่วมกันได้ อาจเปิดทางให้เกิดผู้ปกครองใหม่ที่กลายเป็นเผด็จการ เช่นเดียวกัน การไม่ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์เลย การแก้ไขเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ กฎหมาย ธรรมเนียมปฏิบัติ ให้เพิ่มพูนพระราชอำนาจมากขึ้น จนหนีห่างจากประชาธิปไตย โน้มเอียงเข้าหาสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ก็ไม่ได้ช่วยทำให้สถาบันกษัตริย์มีเสถียรภาพเข้มแข็งมากขึ้น หรืออยู่รอดปลอดภัยได้ในยุคสมัยนี้ และเห็นว่า หนทางออกที่ดีที่สุด คือ การปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ เพราะเป็นหนทางที่ทำให้ทุกฝักฝ่ายทุกความคิดอยู่ร่วมกันอย่างสันติ ไม่หักหาญน้ำจิตน้ำใจความเชื่อของแต่ละฝ่ายมากจนเกินไป ทำให้แต่ละฝักฝ่ายพอจะยอมรับร่วมกันได้ภายใต้หลักประชาธิปไตย ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

ภาพ อบจ.จุฬาฯ อวยพรวันเกิด โจชัวหว่อง ที่กลายเป็นประเด็นขัดแย้งอยู่ในขณะนี้ ขอบคุณภาพจากองค์การบริหารสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ขณะเดียวกัน เพจเฟซบุ๊ก ผศ.ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ แชร์ข้อความระบุว่า

“เมื่ออ่านหนังสือแจ้งตอบของสภาจุฬาฯ ลงวันที่ 4 พ.ย. 2565 ถึง นายนพดล พรหมภาสิต จบ ความรู้สึกปราดแรกที่พุ่งขึ้นมาไม่รู้ว่าจะร้องไห้ หรือหัวเราะดี ด้วยความสมเพชและสังเวช พร้อมทั้งนึกในใจว่า “อาสามาเป็นฝ่ายบริหารจุฬาฯ แต่กลับทำได้แค่นี้เองหรือ?”

1. สภาจุฬาฯ มีการประชุมหลายครั้งในเรื่องนี้และมอบหมายให้ฝ่ายบริหารจุฬาฯ ดำเนินการและนำมารายงานให้ทราบ สิ่งที่ประชุมกันไปหลายครั้งสภาจุฬาฯ ยอมรับใช่หรือไม่ ว่า “มาตรการตักเตือนนิสิตและปรามนิสิตให้ระมัดระวังไม่ให้กระทำการเช่นนี้อีก ซึ่งนิสิตก็ยอมรับคำตักเตือนดังกล่าว” เป็นสิ่งที่เพียงพอแล้ว คำถามตามมาคือหากนิสิตยอมรับฟังคำตักเตือนและสำนึกผิดจริง ทำไมในวันนี้ (7 พ.ย. 2565) ยังทิ้งโพสต์นั้นไว้ในเพจ อบจ. หรือแม้กระทั่งฝ่ายบริหารจุฬาฯ ทำไมไม่สั่งให้ลบโพสต์นั้นทิ้งไปทันที การกระทำเช่นนี้ส่อให้คิดถึงสำนวนสุภาษิตไทยที่กล่าวว่า “ปากว่าตาขยิบ” และ “สมรู้ร่วมคิด” อย่างแท้จริง

2. กรณีการออกหนังสือปิยมหาประชานุสรณ์ในปี 2564 ที่มีภาพลบหลู่พระปิยมหาราช พร้อมข้อความยกเลิก ม.112 ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ ฝ่ายบริหารจุฬาฯ ได้สอบสวนและดำเนินการทางวินัยแก่ผู้เกี่ยวข้องเรียบร้อยแล้ว (แต่เงียบกริบไม่เป็นข่าว ไม่มีใครรู้ว่าลงโทษอย่างไร) ในขณะที่การ HBD โจชัวหว่อง ในวันสวรรคตขององค์ในหลวง ร.๙ กลับดำเนินการเพียงแค่ตักเตือนและปรามให้ระมัดระวัง ไม่เข้าใจจริงๆ ว่า ฝ่ายบริหารจุฬาฯ จะไร้เดียงสาไปถึงไหน ยังคงใสซื่อแยกแยะไม่ออกถึงระดับความร้ายแรงต่อเนื่องของทั้งสองเหตุการณ์ที่ดำเนินการโดยบุคคลในขบวนการเดียวกันเลยหรือ?

3. นับตั้งแต่ปี 2559 ที่นายเนติวิทย์สร้างเรื่องป่วนในพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตนเข้าเป็นนิสิตจุฬาฯ เหตุการณ์เลวร้ายก็ยังคงเกิดขึ้นกับจุฬาฯ อย่างต่อเนื่อง เช่น ความพยายามชักธงดำขึ้นเสาธงหน้าหอประชุมจุฬาฯ แทนธงชาติไทยของ น.ส.สิรินทร์ มุ่งเจริญ รองประธานสภานิสิตในปี 2563 มาถึงเหตุการณ์ล่าสุดจนมีนิสิตเก่าหลายคนตั้งคำถามว่า ทำไมฝ่ายบริหารจุฬาฯ ดูจะมีความเกรงใจและเกรงกลัวต่อนิสิตกลุ่มนี้ที่ทำตัวกร่างและถ่อยได้ทุกเรื่องที่พาดพิงถึงสถาบันกษัตริย์ ขนบธรรมเนียมประเพณีและค่านิยมอันดีงามของสังคมไทย แม้กระทั่งกรณีวิทยานิพนธ์ของ นายณัฐพล ใจจริง ที่ถูกเปิดโปงว่าใช้ข้อมูลเท็จจนมีคดีความในศาล ก็ยังไม่กล้าเปิดเผยผลการสอบสวนของคณะกรรมการที่ตั้งโดยสภาจุฬาฯ และจัดการให้เหมาะสม ซึ่งน่าจะถึงขั้นถอดถอนวิทยานิพนธ์ด้วย

4. เป็นไปได้หรือไม่ที่ฝ่ายบริหารจุฬาฯ มีชนักติดหลังจนขาดความกล้าหาญและความเป็นมืออาชีพในการสะสางปัญหาของขบวนการเหล่านี้ เพราะกลัวโดนเปิดโปงหรือกลัวเรื่องการเมืองในจุฬาฯ จึงเลือกที่จะเสวยสุขกับการบริหารจัดการไปวันๆ ไม่สร้างศัตรูแต่เก่งในการสร้างเครือข่าย แต่งตั้งพวกพ้อง รับจ๊อบเป็นกรรมการองค์กรเอกชนรวมทั้งบริหารเงินวิจัยในโครงการของรัฐอย่างสบายใจ โดยปราศจากความรับผิดชอบในตำแหน่งต่อความเป็นไปของชาติบ้านเมืองที่มีกลุ่มบุคคลที่เป็นภัยต่อความมั่นคงใช้เด็กจุฬาฯ เป็นเครื่องมือในการทำลายประเทศชาติ

5. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ สภามหาวิทยาลัยทำงานเชิงนโยบายและต้องกำกับผลงานของอธิการบดี ซึ่งต้องเป็นบุคคลที่รับผิดชอบทางกฎหมายในการบริหารจัดการองค์กรนี้ให้โปร่งใส สุจริต และเที่ยงธรรมตามภาระหน้าที่ ความรับผิดชอบและขอบเขตงานในสัญญาจ้างงาน (ไม่ทราบว่ามีทำไว้หรือไม่) หากกรรมการสภาจุฬาฯ เห็นชอบกับมาตรการเบาหวิวเป็นใจดูเสมือนให้ท้าย อบจ. พวกท่านที่มีสถานะและเกียรติทางสังคมไม่รู้สึกละอายใจบ้างเลยหรือในการสนับสนุนคนที่บกพร่องต่อหน้าที่? พวกท่านไม่รู้สึกผิดต่อองค์ในหลวง ร.๙ รวมทั้งสถานศึกษาแห่งนี้ที่ปลูกฝังความรู้คู่คุณธรรมแก่นิสิตนับหมื่นนับแสนรวมทั้งตัวท่านเองเพื่อเป็นเสาหลักของประเทศในแต่ละส่วนเลยหรือ?

6. ในห้วงขณะที่เราเอื้อมมือรับปริญญาบัตรจากพระหัตถ์ขององค์ในหลวง ร.๙ ในเสี้ยววินาทีนั้น ท่านได้ส่งผ่านจิตวิญญาณอันสูงส่งแห่งความเป็นบัณฑิตมาสู่พวกเราทุกคน ท่านเหน็ดเหนื่อยหลายวันในขณะที่พวกเราใช้เวลาเพียง 1-2 นาทีแล้วกลับมานั่งชมท่าน “ทำงาน” เพื่อหวังให้พวกเราบัณฑิตจุฬาฯ ออกจากรั้วจามจุรีไปประกอบอาชีพสุจริตและสร้างประโยชน์แก่สังคมพร้อมดำรงตนด้วยคุณธรรม คำกล่าวปฏิญาณต่อหน้าพระพักตร์และสัมผัสบนปริญญาบัตรของพระมหากษัตริย์ มหาราชผู้ได้รับการยกย่องทั่วโลกเป็นสิ่งที่ต้องระลึกถึงทุกครั้งและเตือนตนเองหากคิดชั่วอกุศลโดยเฉพาะอย่างยิ่งการแสวงหาประโยชน์ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยไม่ว่าจะอยู่ในตำแหน่งไหนก็ตาม

7. หากนายกสภาจุฬาฯ ยังคงปกป้องและเห็นดีเห็นงามทุกสิ่ง รวมทั้งพร้อมเป็นองครักษ์พิทักษ์อธิการบดีคนนี้ในทุกเรื่องหรือไม่กล้าแม้กระทั่งว่ากล่าวแตะต้องให้ระคายเคือง กรรมการสภาจุฬาฯ ที่ยังมีสำนึกในพระคุณของแหล่งเรียนมาต้องกล้าหาญที่จะแสดงสปิริตลาออกหรือลุกขึ้นสู้เพื่อปกป้องรักษาพระเกียรติยศมิให้ อบจ.หรือนิสิตเลวคนใดเหิมเกริมทำชั่วได้อย่างต่อเนื่องโดยมีขบวนการหนุนหลัง มิเช่นนั้น ขออย่าได้ร้องเพลงมหาจุฬาลงกรณ์อีกเลย เพราะพวกท่านไม่คู่ควรอย่างยิ่ง

8. คนที่มีสามัญสำนึกในระดับผู้บริหารสูงสุดย่อมรู้ดีว่าควรทำอะไรในสถานการณ์แบบนี้เพื่อป้องกันและป้องปรามมิให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้อีกด้วยบทลงโทษที่เหมาะสม แต่เมื่อไม่ทำอะไรเลยหรือทำอย่างขอไปทีไม่เอาจริงเอาจังมาตลอด 5 ปี เมื่อเกิดเหตุการณ์เลวร้ายซ้ำซากทุกปี ภายใต้เสียงก่นด่าประณามของประชาชนทุกสารทิศน่าจะมียางอายสำนึกบ้าง หากนึกทบทวนดีๆ ข้อเสนอของพวกเราเป็นสิ่งที่ไม่เหลือบ่ากว่าแรงเพราะเพียงต้องการให้ อบจ. ออกแถลงการณ์ยอมรับผิดและลบโพสต์ พร้อมทั้งขอขมาต่อหน้าพระบรมฉายาลักษณ์และสาบานว่าจะปฏิบัติตามระเบียบวินัยนิสิตโดยเคร่งครัดเท่านั้น

9. อธิการบดีจุฬาฯ ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ กล้าหรือไม่ที่จะเปิดเวทีสาธารณะที่ศาลาพระเกี้ยว หรือหอประชุมใหญ่จุฬาฯ มาอภิปรายถกเถียงกับนิสิตเก่าและปัจจุบันในเรื่องนี้ หากยังคงนิ่งเงียบเพิกเฉยต่อข้อเรียกร้องนี้และคิดว่าใหญ่คับฟ้าในจุฬาฯ ไม่มีใครทำอะไรได้ ก็คงต้องขอเตือนด้วยความหวังดีว่ากฎแห่งกรรมมีจริง และการผิดคำปฏิญาณที่ได้กล่าวต่อหน้าพระพักตร์ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรปี 2530 จะต้องรับวิบากกรรมไม่ชาตินี้ก็ชาติหน้า
ธัชพงศ์ ธรรมพุฒิพงศ์
นายก อบจ. ปี 2529
7 พ.ย. 2565”

ภาพ นายนริศโรจน์ เฟื่องระบิล
ที่น่าสนใจไม่แพ้กัน นายนริศโรจน์ เฟื่องระบิล อดีตเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงบัวโนสไอเรส ประเทศอาร์เจนตินา โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Fuangrabil Narisroj ว่า

“นั่นคือ แผนการใหญ่สุดของเขาครับ บ่อนทำลายจากข้างใน จุฬาฯคือเป้าใหญ่สุด ถ้าสำเร็จสถาบันฯที่เกี่ยวกับเจ้า หรือใช้พระนามของเจ้า รายอื่นๆ ก็จะโดนแบบนี้หมด !

ก็มัวแต่โฟกัสด่าแต่ มธ. ไม่กล้าแตะสถาบันฯที่เจ้าตั้ง ตอนนี้จุฬาฯไปเกือบหมดยวงแล้วมั้ง !!???

ก็ขนาดบูชาอวยพรนักโทษฮ่องกง โจชัว หว่อง ว่า ทรงพระเจริญได้ในวันที่ 13 ต.ค. ก็ไม่รู้จะพูดอะไรอีกแล้ว เตรียมใจกันได้เลย !!!!

ทั้งนี้ นายนริศโรจน์ ได้แชร์โพสต์ที่ระบุข้อความว่า กรุงศรีฯ แตก เพราะคนข้างใน จุฬาฯจะถูกสลาย ก็เพราะคนจุฬาฯ เอง” (จากไทยโพสต์)

ภาพ นายอัษฎางค์ ยมนาค ขอบคุณข้อมูล-ภาพจากเฟซบุ๊ก เอ็ดดี้ อัษฎางค์ ยมนาค
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ (14 ต.ค. 65) นายอัษฎางค์ ยมนาค นักวิชาการอิสระ เคยโพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก เอ็ดดี้ อัษฎางค์ ยมนาค เช่นกันว่า

1. อบจ. สนับสนุน ฮ่องกง เป็นประเทศ เท่ากับ เป็นความพยายามแทรกแซงกิจการภายในของจีน ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องและที่ไม่ควร อาจส่งผลถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

2. วันที่ 13 เป็นวันสำคัญของชาติไทยและประชาชนคนไทย ในการรำลึกถึงและเป็นการสดุดีคุณงามความดีของพระมหากษัตริย์ผู้ที่ทรงงานตลอดพระชนม์ชีพเพื่อความผาสุกของคนไทย

แต่ อบจ.กลับเลือกสดุดีนักเคลื่อนไหวทางการเมืองฮ่องกง ซึ่งทางรัฐบาลจีนถือว่าเป็นบุคคลอันตรายที่มีจุดมุ่งหมายในการแบ่งแยกดินแดน

อย่างนี้จะถือว่า อบจ.มีความมุ่งหมายเชิดชู ผู้ที่เป็นแกนนำแบ่งแยกดินแดน เพื่อเป็นต้นแบบให้กับนิสิต นักศึกษาในไทยหรือไม่ ?

3. เป็นความตั้งใจของ อบจ.ที่แสดงสัญลักษณ์ว่ามีเป้าหมายในทางการเมือง ด้วยการแสดงออกว่า อบจ.เป็นปฏิปักษ์ต่อสถาบันพระมหากษัตริย์และการปกครองของไทย

รวมทั้งสนับสนุนกลุ่มแบ่งแยกดินแดน อันเป็นการแสดงถึงการแทรกแซงกิจการภายในของมิตรประเทศ อันเป็นการส่งสัญญาณมาถึงไทยในเรื่องการแบ่งแยกดินแดน ใช่หรือไม่

ทั้งนี้ เพจ องค์การบริหารสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (อบจ.) โพสต์ภาพ โจชัว หว่อง พร้อมข้อความว่า

วันสิบสามตุลาฯ มาบรรจบ
ฤกษ์สมภพโจชัว หว่องผู้ผ่องแผ้ว
ชูประชาธิปไตยไว้เป็นแนว
ดังดวงแก้วส่องประเทศเขตฮ่องกง
ปวงเสรีชนไทยเอาใจช่วย
ให้หมีพูห์มอดม้วยเป็นผุยผง
ขอโจชัวจงสดชื่นชีพยืนยง
สุขสมปองพ้นห้องกรง…ทรงพระเจริญ
黃之鋒,祝你生日快樂!
สุขสันต์วันเกิดโจชัวหว่อง
香港是一個國家!
ฮ่องกงเป็นประเทศ
ในวาระดิถี 13 ตุลาคม วันคล้ายวันเกิดของโจชัว หว่อง นักเคลื่อนไหวชาวฮ่องกงผู้จุดประกายการต่อสู้เผด็จการยุคใหม่ของคนหนุ่มสาวทั่วโลก
.
แม้เขาจะยังคงถูกจองจำอยู่ในวันนี้ แต่พวกเราก็จะไม่ลืมเขา

ขอเชิญชวนร่วมอวยพรวันเกิด และภาวนาให้เขาและเพื่อนๆ ปลอดภัยและได้กลับมาอยู่กับครอบครัวอย่างพร้อมหน้าพร้อมตา....”

แน่นอน, นี่คือ ภาพสะท้อนอีกอย่าง ถึงการแทรกซึมเข้าไปในรั้วมหาวิทยาลัยชื่อดังระดับประเทศ ของขบวนการ “ล้มเจ้า” หรือ ที่อ้างว่า “ปฏิรูปสถาบันฯ”

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อองค์กรนักศึกษาแสดงออกเช่นนี้ ก็ยิ่งชัดเจนว่า นักศึกษาส่วนใหญ่ที่เลือกตัวแทนนักศึกษาเข้ามาบริหารองค์กรนักศึกษา คิดอย่างไรเกี่ยวกับขบวน “ล้มเจ้า” ด้วย

ที่น่าสนใจไปกว่านั้น นักวิชาการในมหาวิทยาลัยจำนวนมาก ก็เคยแสดงท่าทีสนับสนุนการเคลื่อนไหวของ “ม็อบ 3 นิ้ว” ด้วยเช่นกัน เพียงแต่ไม่รู้ว่าส่วนน้อยหรือส่วนใหญ่ในมหาวิทยาลัยเท่านั้น

อะไรไม่สำคัญเท่ากับ “คนระดับนำ” ของขบวนการ กล้าพูดถึงขั้นการปฏิรูปสถาบันฯเท่านั้น ที่จะทำให้สถาบันฯอยู่ร่วมกับประชาธิปไตยได้ และลดความขัดแย้งรุนแรงได้ เขามีความมั่นใจขนาดนั้น เพราะเหตุใด เพราะเชื่อว่า กุมบังเหียน “คนรุ่นใหม่” เอาไว้ได้หมดแล้ว ใช่หรือไม่?


กำลังโหลดความคิดเห็น