xs
xsm
sm
md
lg

เดือด! “ดร.อานนท์” โต้ “รังสิมันต์ โรม” สืบสันดานกะปิบูด ยก เผาพระบรมฉายาลักษณ์-ปราศรัยหมิ่นฯ ยังไม่ผิดหรือ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


ภาพ ผศ.ดร. อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ จากแฟ้ม
“ดร.อานนท์” โต้เดือด “รังสิมันต์ โรม” บิดเบือนสืบสันดานกะปิบูด กรณีอ้างข้อสันนิษฐานทางกฎหมาย แกนนำ 3 นิ้ว ยังบริสุทธิ์ ยกตัวอย่าง เผาพระบรมฉายาลักษณ์ ปราศรัยหมิ่นฯ พยานหลักฐานเพียบ ตบปาก!

น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง วันนี้ (12 มี.ค. 64) เฟซบุ๊ก อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ อยู่กับ Arnond Sakworawich ของ ผศ.ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ อาจารย์คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) โพสต์หัวข้อ “ความบิดเบือนกฎหมายสืบสายสันดานกะปิบูด ที่เลวบริสุทธิ์”
เนื้อหาระบุว่า “presumption of innocence ช่างน่าหัวร่อมาก ไม่ใช่คดีเชอรี่แอนดันแคน ที่ตำรวจจับแพะนะครับ
พวกเลวเผาพระบรมฉายาลักษณ์ มีกล้องถ่ายรูปไว้เต็มไปหมด กล้องเฟซบุ๊กไลฟ์ของแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุมก็ถ่ายไว้เอง

ปราศรัยหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ มีตำรวจ มีสายข่าว มีกล้องพวกตัวเองออก Facebook live คำพูดก็หมิ่นพระบรมเดชานุภาพชัดเจน

จะให้บอกว่า ไม่มีหลักฐานพยานในการกระทำผิด แล้วให้สงสัยว่า บริสุทธิ์ไว้ก่อน แล้วให้ประกันตัว เพราะมีเหตุอันต้องสงสัยในความบริสุทธิ์ของผู้ต้องหา แล้วก็บิดเบือน บอกว่า เป็นเรื่องสิทธิมนุษยชน
หลักฐานทุกอย่างเต็มไปหมด ไม่มีเหตุอันใดต้องสงสัยในเรื่องของความบริสุทธิ์ นอกจากจะกล่าวได้ว่า กร่างบริสุทธิ์ โง่บริสุทธิ์ ถึงขนาดถ่าย Facebook live ให้เป็นหลักฐานแสดงความเลวบริสุทธิ์ ไร้สิ้นซึ่งความดีใดๆ เลย

แล้วมาอ้างสิทธิมนุษยชนในการกระทำเรื่องเลวๆ ที่มีหลักฐานวิทยาศาสตร์ หลักฐานดิจิทัลเต็มไปหมด
นี่มันคือหลักสุจริต หลักให้สงสัยไว้ก่อนในความบริสุทธิ์ของผู้ต้องหา ที่กระทำผิดซ้ำแล้วซ้ำอีก มีหลักฐานดิจิทัลจากความโง่บริสุทธิ์ของตนเองอย่างงั้นหละหรือ

ผมไม่เข้าใจว่า คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เรียนสอนหนังสือกันเยี่ยงไร ทำไมถึงได้มีศิษย์สืบสายสันดานเลวบริสุทธิ์ได้ขนาดนี้

อ้างความบริสุทธิ์ ผุดผ่อง เพื่อกระทำเรื่องเลวๆ อีกรอบ เพราะต้องการได้รับการประกันตัว ด่าศาลหมิ่นศาล อ้างสิทธิมนุษยชน อย่างเลวบริสุทธิ์

แต่หาได้มีหลักสุจริตและหลักวิญญูชนใดๆ เลยในมโนสำนึกและจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพกฎหมาย

ผมเคยเรียนกฎหมายมาบ้าง ครูบาอาจารย์สอนกฎหมายผม ท่านสอนว่า กฎหมายไม่มีอะไรยาก ให้ยึดหลักสุจริตและหลักวิญญูชนไว้เป็นธงในใจ แค่นั้น อย่าไปอ้างอะไรต่างๆ มาแถตอแหลสืบสายสันดานกะปิบูดอะไรใดๆ ที่แสนจะเลวบริสุทธิ์ เลย มันไม่มีประโยชน์อะไรหรอก

ยิ่งสมัยนี้ Digital disruption หลักฐานการทำเลวบริสุทธิ์ กระทำผิดซ้ำๆ อย่างเลวบริสุทธิ์ กร่างถ่ายวิดีโอและไลฟ์สด สร้าง digital footprint ให้เป็นหลักฐานมัดตัวเองในภายหลังด้วยความโง่บริสุทธิ์

แล้วยังออกมาแถว่า นี่คือ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าบริสุทธิ์

ศาลท่านไม่ต้องรับผิดชอบต่อสังคมหรือ จะให้ศาลท่านปล่อยให้คนตอแหลแถบริสุทธิ์ บิดเบือนกฎหมายอย่างร้ายกาจบริสุทธิ์ ออกมากระทำผิดซ้ำๆ อย่างเลวบริสุทธิ์ และโง่ถ่ายหลักฐาน digital footprint อย่างโง่ๆ บริสุทธิ์ อย่างนั้นหรอกหรือ

ผมว่านักเรียนกฎหมาย ที่มันเลวบริสุทธิ์ เช่นนี้ เพราะมันสืบสายสันดานแถตอแหลบริสุทธิ์ของครูชั่วเลวบริสุทธิ์กะปิบูด ที่ขาดหลักนิติธรรม หลักสุจริต และหลักวิญญูชน จนกลายเป็นลิเบอร่านล้มเจ้าสุดจิตสุดใจ คิดว่าตนจะกร่างทำเลวอะไรก็ได้อย่างเสรีนิยมบริสุทธิ์ จนไม่ต้องมีขอบเขตอย่างนั้นหรือ

ทำไมถึงได้สอนให้ศิษย์ดูหมิ่นวิจารณญาณของศาล ทั้งๆ ที่สมัยนี้ มีหลักฐานมากมายว่าไอ้ที่กระทำผิด มาตรา 112 มันมี digital footprint มากมายเหลือเกิน เจ้าหน้าที่ของรัฐ ตำรวจ ทหาร สายข่าว เก็บข้อมูลมาครบหมด

ผมไม่เห็นเหตุที่จะต้องสงสัยในความบริสุทธิ์ ของ ไผ่ ดาวดิน ไมค์ ระยอง รุ้ง เพนกวิน อานนท์ นำภา หมอลำแบงค์ สมยศ พฤกษานานนท์ แอมมี่ บลูส์ โตโต้ แม้แต่สักคนเดียว หลักฐานเต็มตาท่านผู้พิพากษา ทั้งยังมีพฤติกรรมหลบหนี มูลฐานความผิดสูง ทำผิดซ้ำแล้วซ้ำอีก
ไอ้พวกโกหกตอแหล แถว่า บริสุทธิ์ บิดเบือนกฎหมาย สืบสายสันดานกะปิบูด หยาบโลน ข่ม xx เพื่อนนักกิจกรรม มันก็เป็นเช่นนี้

ไม่ควรเรียนกฎหมาย ไม่ควรเป็นนักกฎหมายเลย เพราะเลวบริสุทธิ์ เสียจริง

ถ้ายังจะแถเรื่องสิทธิ เสรีภาพอีก ก็แหกตา พิจารณาพฤติกรรมของพวกตนและหลักฐานดิจิทัลต่างๆ ที่โง่บริสุทธิ์ กร่างบริสุทธิ์ ถ่ายกันไว้เองด้วย

พวกคุณมันเลวบริสุทธิ์

ถึงผมจะไม่ได้เรียนกฎหมายสืบสายสันดานบิดเบือนตอแหลแถกะปิบูดมา แต่ผมมั่นใจมากว่า ผมยืนอยู่บนหลักสุจริตและหลักวิญญูชน มีความเป็นนักกฎหมายมากกว่าพวกคุณหลายล้านเท่า”

ภาพ นายรังสิมันต์ โรม จากแฟ้ม
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 9 มีนาคม เวลา 23:12 น. เฟซบุ๊ก Rangsiman Rome - รังสิมันต์ โรม โพสต์ข้อความระบุว่า

“อันที่จริงผมก็ไม่อยากจะต้องมาเสียเวลาโต้ตอบกับบุคคลแบบนี้ แต่ก็เห็นมาหลายครั้งแล้วว่า สิ่งที่เขาพูดออกมาแบบผิดๆ แม้กระทั่งในแง่ของข้อเท็จจริง กลับถูกเชื่อถือและเชิดชูราวกับเป็นศาสดาของคนกลุ่มหนึ่ง ยิ่งในครั้งนี้เป็นเรื่องของหลักประกันสิทธิที่สำคัญที่สุดประการหนึ่งของมนุษยชาติ เพื่อไม่ให้ความเชื่อผิดๆ แบบนี้แพร่กระจายไปจนกลายเป็นภัยคุกคามต่อสิทธิมนุษยชนในภายหลัง ผมคงต้องขออธิบายให้เกิดความกระจ่างต่อสังคมโดยรวม

Presumption of Innocence เป็นหลักการที่เล็งเห็นว่า ผู้ที่ถูกกล่าวหาหรือถูกฟ้องร้องนั้น ยังอยู่ในกระบวนการของการพิสูจน์ว่า เป็นผู้ที่มีความผิดจริงตามที่ถูกกล่าวหา/ฟ้องร้องหรือไม่ ผ่านการพิจารณาของฝ่ายตุลาการ ซึ่งสุดท้ายอาจปรากฏว่าเขาเหล่านั้นไม่ได้มีความผิดก็ได้ ดังนั้น เราจึงต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าบุคคลเหล่านั้นคือผู้บริสุทธิ์ และเมื่อสันนิษฐานว่าเป็นผู้บริสุทธิ์แล้ว ก็ย่อมไม่สามารถปฏิบัติต่อพวกเขาเยี่ยงผู้มีความผิดโดยการจองจำได้

แน่นอนว่า หลักการนี้มีการเขียนข้อยกเว้นไว้ ดังในรัฐธรรมนูญ มาตรา 29 วรรคสาม และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 108/1 ข้อกฎหมายเหล่านี้ ผมอ่านมันมาตั้งแต่สมัยยังเป็นนักกิจกรรม เพราะความอยุติธรรมในกระบวนการยุติธรรมเป็นสิ่งที่ผมและเพื่อนๆ เจอมาโดยตลอด

แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือ มีคำสั่งให้ฝากขังและไม่ให้ประกันตัวออกมา โดยไม่ได้สนใจถึงข้อเท็จจริงเลยว่าเข้าข้อยกเว้นตามกฎหมายหรือไม่ โดยเฉพาะผู้ที่ถูกตั้งข้อหาตามมาตรา 112

ภาพ การประกาศตัวต่อสู้ปฏิรูปสถาบันของ แกนนำ 3 นิ้ว จากแฟ้ม
อย่างเรื่องว่า ผู้ต้องหา/จำเลยจะหลบหนี ตาม ป.วิฯ อาญา มาตรา 108/1(1) จะเห็นเลยว่า ในแต่ละคดีการชุมนุมที่ถูกฝากขังนั้น เวลามีหมายเรียก เวลามีนัดรายงานตัวเมื่อใด พวกเขาก็มาตามเรียกตามนัดตลอด อย่างกรณีล่าสุดของไผ่, ไมค์ และ รุ้ง ยิ่งเห็นชัดว่าแสดงความจำนงอย่างแน่วแน่ที่จะเดินทางมารายงานตัว คนเหล่านี้ไม่มีพฤติการณ์ว่าจะหลบหนีแต่อย่างใดเลย

หรือเรื่องว่าผู้ต้องหา/จำเลยจะไปก่อเหตุอันตรายประการอื่น ตาม ป.วิฯ อาญา มาตรา 108/1(3) ก็จะเห็นได้ว่า ผู้ชุมนุมที่ถูกฝากขังนั้นต่างพยายามเน้นย้ำในแนวทางสันติวิธี แต่ละคนที่ไปร่วมชุมนุมไม่ได้มีเป้าประสงค์หรือพฤติกรรมในการสร้างความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินกันจนเป็นอาจินต์ การชุมนุมหลายครั้งก็แสดงให้เห็นว่า หากไม่มีการใช้มาตรการอย่างเกินส่วนจากเจ้าหน้าที่หรือการยั่วยุจากบุคคลที่สาม ก็สามารถดำเนินไปได้อย่างราบรื่น ดังนั้นหากผู้ต้องหา/จำเลยจะไปร่วมการชุมนุมอีก ก็ไม่อาจนับว่าเป็นการจะไปก่อเหตุอันตรายได้

หรือหากจะอ้างว่าการจัดการชุมนุมหรือปราศรัยในประเด็นสถาบันพระมหากษัตริย์นั้นคือ การ “กระทำผิดซ้ำๆ” นั่นก็เท่ากับเป็นการสรุปไปแล้วว่า ผู้ต้องหา/จำเลยมีความผิดโดยไม่รอกระบวนการพิจารณาคดีเสร็จสิ้น ทั้งที่การจัดการชุมนุมหรือปราศรัยนั้นอาจเป็นการแสดงออกโดยสุจริต ไม่เข้าข่ายมาตรา 112 ย่อมสามารถกระทำซ้ำๆ ได้

ยิ่งถ้าเราย้อนไปดูคดีในอดีต ไม่ต้องไกลมากนัก อย่างคดี “หมิ่นสุนัขทรงเลี้ยง” ผู้ต้องหาเป็นเพียงชาวบ้านธรรมดาๆ ที่ไม่เห็นแนวโน้มของการจะหลบหนีหรือก่ออันตรายอะไรเลย แต่ก็ถูกคุมขังนานถึง 85 วัน (ไม่นับการควบคุมตัวในค่ายทหารอีก 7 วัน) ซึ่งปรากฏว่าสุดท้ายศาลยกฟ้อง 85 วันที่เสียอิสรภาพไปเรียกคืนกลับมาไม่ได้

หรืออย่างคดีมาตรา 112 ของไผ่ จากการแชร์บทความพระราชประวัติรัชกาลที่ 10 แรกเริ่มศาลให้ประกันตัวด้วยซ้ำ เพราะเห็นว่าไม่มีพฤติการณ์จะหลบหนีหรือก่อเหตุอันตรายใดๆ ตรงตาม ป.วิฯ อาญา มาตรา 108/1 ทุกประการ แต่ภายหลังก็เกิดการสร้างข้ออ้างอย่าง “เย้ยหยันอำนาจรัฐ” ที่ไม่ได้มีอยู่ในกฎหมายเลย มาเป็นเหตุให้คุมขังต่อเนื่องมาเป็นเวลาหลายเดือน จนต้องยอมรับสารภาพ ไม่ใช่เพราะจำนนต่อพยานหลักฐาน แต่เพราะไม่รู้ว่าถ้าฝืนสู้คดีต่อแล้วจะต้องถูกขังอีกนานเท่าไร

ตัวอย่างที่ว่ามานี้ น่าจะทำให้เห็นแล้วว่าการไม่ให้ประกันตัวนั้น น่าจะทำให้เห็นแล้วว่า การไม่ให้ประกันตัวที่ผ่านมา ไม่ได้ยึดหลักการและข้อยกเว้นตามกฎหมาย จนส่งผลร้ายต่อผู้ต้องหา/จำเลยมากเพียงใด

ผมเองก็ไม่ทราบว่า ความไม่หยั่งรู้ของบุคคลนี้เป็นสิ่งที่เกิดโดยตัวเองหรือสืบสายสันดานมาจากใคร แต่ผมอดกังวลแทนผู้คนที่กำลังรับสารจากบุคคลนี้ไม่ได้ แม้คุณจะมีแนวคิดทางการเมืองแตกต่างจากผมก็ตาม แต่หากคุณคอยแต่จะเชื่อถือคำของจอมมั่วที่แฝงตัวเป็นนักวิชาการ โดยมิได้ตรวจสอบความถูกต้องแล้ว ผมเกรงว่าองค์ความรู้ด้านประชาธิปไตยและสิทธิเสรีภาพของสังคมไทยจะเสื่อมทรามลงได้”

ภาพ รศ.หริรักษ์ สูตะบุตร จากแฟ้ม
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ (10 มี.ค. 64) เฟซบุ๊ก Harirak Sutabutr ของ รศ.หริรักษ์ สูตะบุตร อดีตรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เคยออกมาโพสต์ชี้แจงตอบโต้ อ.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล ที่อ้างข้อกฎหมาย ว่า แกนนำ 3 นี้ยังบริสุทธิ์ เช่นกัน

โดยยกมาตรา 108 มาประกอบการชี้แจง กล่าวคือ

“...มาตรา 108 ในการวินิจฉัยคำร้องขอให้ปล่อยชั่วคราว ต้องพิจารณาข้อเหล่านี้ประกอบด้วย (1) ความหนักเบาแห่งข้อหา (2) พยานหลักฐานที่ปรากฏแล้วมีเพียงใด (3) พฤติการณ์ต่างๆ แห่งคดีเป็นอย่างไร (4) เชื่อถือผู้ร้องขอประกันหรือหลักประกันได้เพียงใด (5) ผู้ต้องหาหรือจำเลยน่าจะหลบหนีหรือไม่ (6) ภัยอันตรายหรือความเสียหายที่จะเกิดจากการปล่อยชั่วคราวมีเพียงใดหรือไม่ (7) ในกรณีที่ผู้ต้องหาหรือจำเลยต้องขังตามหมายศาล ถ้ามีคำคัดค้านของพนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ โจทก์ หรือผู้เสียหาย แล้วแต่กรณี ศาลพึงรับประกอบการวินิจฉัยได้

มาตรา 108/1 การสั่งไม่ให้ปล่อยชั่วคราว จะกระทำได้ต่อเมื่อมีเหตุอันควรเชื่อเหตุใดเหตุหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) ผู้ต้องหาหรือจำเลยจะหลบหนี (2) ผู้ต้องหาหรือจำเลยจะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน (3) ผู้ต้องหาหรือจำเลยจะไปก่อเหตุอันตรายประการอื่น (4) ผู้ร้องขอประกันหรือหลักประกันไม่น่าเชื่อถือ (5) การปล่อยชั่วคราวจะเป็นอุปสรรคหรือก่อให้เกิดความเสียหายต่อการสอบสวนของเจ้าพนักงานหรือการดำเนินคดีในศาล คำสั่งไม่ให้ปล่อยชั่วคราวต้องแสดงเหตุผล และต้องแจ้งเหตุดังกล่าวให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยและผู้ยื่นคำร้องขอให้ปล่อยชั่วคราวทราบเป็นหนังสือโดยเร็ว...”

พร้อมกันนั้น รศ.หริรักษ์ สูตะบุตร ได้เน้นย้ำว่า จะเห็นว่า ข้อความที่ว่า “ผู้ต้องหาหรือจำเลยทุกคนพึงได้รับอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว” จึงไม่ใช่เป็นการอนุญาตให้ปล่อยตัวโดยอัตโนมัติ แต่ศาลจะต้องวินิจฉัยคำร้องขอให้ปล่อยตัวโดยพิจารณาเงื่อนไขตามมาตรา 108 การไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว จะทำได้หากมีเหตุอันควรเชื่อ 5 ข้อ ตามมาตรา 108/1

สรุปสั้นๆ คือ การได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวของผู้ต้องหาหรือจำเลย เป็นสิทธิที่พึงได้รับ แต่ศาลต้องวินิจฉัยคำร้องขอให้ปล่อยตัวชั่วคราว ตามเงื่อนไขมาตรา 108 และศาลอาจจะไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวก็ได้ หากมีเหตุอันควรเชื่อเหตุใดเหตุหนึ่งใน 5 เหตุ ตามมาตรา 108/1

แน่นอน, สิ่งสำคัญ ก็คือ เราควรเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรม เพราะหาไม่แล้ว ก็จะไม่มีใครตัดสิน “ถูก-ผิด” หรือ ให้ความยุติธรรมได้

อย่าลืมว่า การต่อสู้ทางการเมือง ย่อมมีสองฝ่ายเป็นขั้วขัดแย้ง และมีสาวกของสองข้างให้การสนับสนุน ดังนั้น เป็นธรรมดาอยู่ดีที่แต่ละฝ่ายจะเข้าข้างฝ่ายตัวเอง ไม่ว่าจะเรื่องอะไร สังเกตให้ดี

ที่สำคัญ คือ การตีความข้อกฎหมายเข้าข้างตัวเอง เพื่อผลประโยชน์ที่ตัวเองและพวกพ้องจะได้รับ และอย่าคิดว่า นักกฎหมายที่อ้างว่า ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย จะมีสำนึกรับผิดชอบชั่วดีอันสูงส่งกว่าคนอื่น เมื่อผลประโยชน์อยู่เบื้องหน้า ไม่อย่างนั้น คงไม่มีคำว่า “บิดเบือนสืบสันดานกะปิบูด” ที่มีคนเอามาโจมตีหรอก จริงหรือไม่?


กำลังโหลดความคิดเห็น