ผิดหรือไม่ “ดร.อานนท์” โยงปมรถ ส.ส.ก้าวไกล ขนคนร่วมชุมนุมที่ทำผิด ม.112, 116 เข้าข่ายสนับสนุน? “ตู่-จตุพร” ห่วง “ม็อบไม่มีแกนนำ” 6 มี.ค. อย่าเดินไปหาความตาย จงเดินไปหาความยุติธรรม “เพจดัง” เผย เป้าหมายทำร้ายตำรวจ
น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง วันนี้ (5 มี.ค. 64) ผศ.ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ อาจารย์ประจำคณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒน บริหารศาสตร์ (NIDA) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว ระบุว่า
“รถใครหว่า มีส่วนช่วยจัดส่ง mobster ที่ร่วมกระทำความผิดมาตรา 112 หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และมาตรา 116 ยุยงปลุกปั่นให้เกิดความกระด้างกระเดื่องวุ่นวายในบ้านเมือง มุ่งหมายจะล้มล้างการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รถ ส.ส. พรรคก้าวไกล เชียวเหวย น่าจะได้คดีไปด้วยนะครับ”
ขณะเดียวกัน นายจตุพร พรหมพันธุ์ หรือ “ตู่” ประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) เฟซบุ๊กไลฟ์ peace talk ถึงการเคลื่อนไหวในวันที่ 6 มี.ค.ว่า
น่าห่วงใย เพราะการชุมนุมไม่มีแกนนำจัดการ จะมีเรื่องได้ง่าย ปัญหาคือ เราไม่ควรเดินไปหาความตาย แต่ควรเดินไปหาความยุติธรรม ความเป็นจริงที่สังคมรับได้ การชุมนุม 6 มีนาคมนี้ ไม่ควรมีใครต้องบาดเจ็บล้มตาย ขอให้รัฐในฐานะผู้ปกครองต้องระมัดระวัง หลีกเลี่ยงการปะทะ ถ้าไม่มีการขัดขวางก็ไม่มีการปะทะ และไม่เกิดเรื่องรุนแรงขึ้น ขอให้กลไกรัฐอย่าแข่งขันกับพม่าในการปราบปรามประชาชน ขอให้การชุมนุมได้แสดงออกด้วยความปลอดภัย รัฐอย่าได้เร่งให้เกิดโรคแทรกขึ้น เพื่อนำมาอ้างความชอบธรรมในการใช้ความรุนแรง
ถึงที่สุด เชื่อว่า สถานการณ์ข้างหน้า ในเดือนมีนาคมจะเห็นอะไรที่รวดเร็ว โดยเฉพาะปัญหาที่มาจาก รธน. ซึ่งมีรอยร้าวมาก รอวันแตกสลาย ถ้ารัฐบาลคิดแต่ว่า รธน. คือ ความได้เปรียบแล้ว แต่อีกด้านหนึ่งมอง รธน.จะเป็นจุดกระแทกใจประชาชนอย่างรุนแรง ซึ่งจะเป็นสายป่านสุดท้ายระหว่างรัฐบาลกับประชาชน ขอเชิญชวนประชาชนจับมือต่อสู้เพื่อเอาชาติให้รอด ส่วนความขัดแย้งส่วนตัวควรเก็บพักไว้ก่อน โดยมาร่วมมือกันเฉพาะหน้าก่อน เพราะนั่นจะเป็นวันประชาชนประกาศชัย” (จากไทยโพสต์)
ที่น่าสนใจไม่แพ้กัน เพจเฟซบุ๊ก ซึ่งต้องพิสูจน์ โพสต์ข้อความระบุว่า
“#แกนนำอำมหิต ? อยากจัดม็อบ “เเต่ไม่อยากรับผิดชอบ”
เลย สร้างวาทกรรม “ม็อบไม่มีเเกนนำ” เพื่อที่จะลอยตัว ไม่ต้องรับผิดชอบ ทั้งคดีความ เเละ “ชีวิตผู้ชุมนุม” ?
ย้อนรอยดูการโพสต์ของ FB เยาวชนปลดแอก
กับวาทกรรม ม็อบไม่มีเเกนนำ
24 กุมภาพันธ์ เวลา 20:00 น. เยาวชนปลดเเอก
โพสต์ข้อความ >
เปิดตัว! REDEM - ประชาชนสร้างตัว
24 กุมภาพันธ์ เวลา 20:08 น. เยาวชนปลดแอก
โพสต์ข้อความ >
28 กุมภานี้! จะเป็นจุดเริ่มต้นของการชุมนุมโดย REDEM ที่มวลชนจะเป็นผู้ร่วมกันตัดสินใจ
เวลา 20.00 น. ของวันพรุ่งนี้ (25 กุมภาพันธ์ 2564) REDEM มวลชนจะร่วมกันโหวตเลือกว่า สถานที่ชุมนุมจะเป็นที่ใด!
25 กุมภาพันธ์ เวลา 23:30 น. เยาวชนปลดแอก
โพสต์ข้อความ >
มวลชนกลุ่ม REDEM นัดหมายเดินขบวนขับไล่เผด็จการ! ในวันที่ 28 กุมภา รวมตัว 15.00 เป็นต้นไป
#เเต่เป็นที่น่าแปลกใจ ในการชุมุนม วันที่ 28 ก.พ. 64 #กลับไม่มีการปรากฏตัวของ “ฟอร์ด” ทัตเทพ เรืองประไพกิจเสรี เลขาธิการเยาวชนปลดแอก ว่าได้เข้าร่วมการชุมนุม
ทั้งๆ ที่ FB เยาวชนปลดเเอก เป็นคนริเริ่ม #เป็นคนเริ่มต้นกระบวนการสร้างความคิด ที่จะจัดการชุมนุม
และเมื่อมีการมีการชุมนุมเกิดขึ้น ก็มีภาพการใช้ความรุนเเรงของทางฝ่ายผู้ชุมนุม ทั้งขว้างปาสิ่งของ และรวมถึงการใช้ที่พ่นควัน พ่นเข้าใส่ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจ https://fb.watch/41BbNWRC-X/
แเละพอเริ่ม 1 มี.ค. 64 ทาง FB เยาวชนปลดแอก ก็ได้ริเริ่มโพสต์เพื่อทำการนัดหมายการชุมนุมครั้งต่อไปดังนี้
1 มีนาคม เวลา 14:34 น. FB เยาวชนปลดแอก
โพสต์ข้อความ >
การชุมนุมมวลชนกลุ่ม REDEM ซึ่งเสมือนกับระบบประชาธิปไตยทางตรงที่มวลชนร่วมกันโหวตผ่าน TELEGRAM
4 มีนาคม เวลา 00:13 น. เยาวชนปลดแอก
โพสต์ข้อความ >
REDEM เผยการปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยเบื้องต้น ในวันที่รัฐยกระดับความรุนแรง และการชุมนุมแบบไม่มีแกนนำ
4 มีนาคม มีการรายงานข่าวของสื่อมวลชนหลายสำนักตรงกันว่า ทางกลุ่ม REDEM ได้นัดการชุมอีกครั้ง ในวันที่ 6 มีนาคม #เเต่เป็นที่น่าสังเกตว่า การนัดหมายดังกล่าว ไม่มีการประกาศ ทางหน้า FB เยาวชนปลดแอก (ข้อมูล ณ 5 มี.ค. 64)
#คำถามที่เราควรจะต้องคิด การที่มีการปล่อยภาพ ว่าจะจัดการชุมนุมวันไหน เเต่ไม่ยอมโพสต์ ภาพ หน้า FB ที่เป็นทางการ #เป็นการเลี่ยงการรับผิดชอบ ในคดีความที่จะตาม เเละ ชีวิตความปลอดภัย ของผู้ชุมนุมใช่หรือไม่ ?
ดังนั้น จึงเป็นคนถามตัวโตๆ ว่า การกระทำแบบนี้ ถือเป็นเป็นการกระทำของเเกนนำ ที่มีความอำมหิตใช่หรือไม่ ?
นอกจากนี้ เพจเฟซบุ๊ก โปลิศไทยแลนด์ - Police Thailand News โพสต์ข้อความ ระบุว่า
“6 มีนาคม #ปลดทุกข์
อาละวาดหนัก
พยากรณ์ล่วงหน้า
เป้าหมาย เล่นงานตำรวจ
จับตา...👀”
แน่นอน, สิ่งที่น่าจับตามองอย่างยิ่ง ก็คือ ม็อบ 6 มี.ค.นี้ ซึ่ง “ไม่มีแกนนำ” และออกแบบให้เหมือนกับ “ม็อบฮ่องกง” หรือ “ฮ่องกงโมเดล” ว่า จะเป็นไปอย่างสร้างสรรค์กว่าที่คิด หรือ เลวร้ายกว่าที่คาดเอาไว้ นั่นคือ พาคนไปตายอย่างที่ “ตู่-จตุพร” เป็นห่วง
เพราะสิ่งที่ทุกคนเป็นห่วง ก็ใช่ว่าจะขาดไร้ซึ่งเหตุผล และบทเรียน เอาแค่ว่ามวลชนส่วนใหญ่เป็นวัยรุ่น เป็นเยาวชน ที่ยังไม่อาจควบคุมอารมณ์ได้ดีเหมือกับผู้ใหญ่ ก็นับว่าน่าเป็นห่วงแล้ว นี่ไม่นับเป้าหมายที่เคลื่อนไหว ซึ่งยากที่จะได้รับการตอบสนอง ดังนั้น โอกาสที่จะเกิดความรุนแรงจึงเป็นไปได้สูง
เหนืออื่นใด สิ่งที่ไม่อาจประเมินได้อย่างชัดเจน ก็คือ มีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด หรือ มือที่สาม ต้องการฉวยโอกาสผสมโรงให้เกิดความรุนแรง เพื่อเป้าหมายผลประโยชน์ทางการเมืองหรือไม่ และถ้ามี สิ่งที่น่ากลัว และน่าเป็นห่วงที่สุดก็คือ ชีวิตที่จะต้องเซ่นสังเวย ไม่ว่าฝ่ายใด
สุดท้าย ก็คงได้แต่ภาวนา อย่าให้เกิดความรุนแรง และการสูญเสีย มากไปกว่าที่ผ่านมาเลย เพราะคงยากที่จะบอกว่า อย่าเดินไปหาความตาย หรือไม่จริง!?