ปม “วัคซีน” ยังไม่จบ “ดร.นิว” ให้ฉายา “ลูซเซอร์ทอน” ยก 2 ข้อเท็จจริงโต้บิดเบือน หลังอ้างทำเพื่อปกป้องสถาบัน “เจ้าตัว” ชู 3 ข้อสังเกต 3 ข้อเสนอ สร้างภาพบวก หลังถูกกระแสให้ร้ายสถาบันฯโจมตีหนัก และดิ้นสู้คดี 112
น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง วันนี้ (7 ก.พ. 64) เฟซบุ๊ก Suphanat Aphinyan ของ ดร.ศุภณัฐ อภิญญาณ หรือ “ดร.นิว” นักวิจัยภายใต้สถาบันวิจัย MAST Center และ คณะวิศวกรรมชีวการแพทย์ University of Arkansas ประเทศสหรัฐอเมริกา โพสต์หัวข้อ “ลูซเซอร์ทอน #มีวันนี้เพราะพ่อให้”
โดยระบุว่า “ลูซเซอร์ทอน” ออกมาโชว์โง่ บิดเบือนเรื่องวัคซีนแข่งกับฟายบูด ให้สัมภาษณ์กับสื่อต่างประเทศ ความว่า “คุณมีความคุ้มกันทางกฎหมาย เพราะว่ากษัตริย์เป็นประมุขแห่งรัฐ แต่ในฐานะผู้ขายซึ่งมีสัญญากับทางรัฐบาล เขาคือผู้ถือหุ้นของบริษัทนี้ และถ้ามีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น รัฐบาลไม่สามารถฟ้องร้องเจ้าของบริษัทได้”
ไม่นึกว่า ลูซเซอร์ทอนที่เป็นนักธุรกิจ แต่กลับโง่ได้ถึงขนาดนี้ บ่งบอกได้อย่างชัดเจนว่า ธุรกิจที่มีอยู่ ทำเองหรือคนอื่นสร้างไว้ให้ ถ้าไม่มีคุณพ่อพัฒนา จึงรุ่งเรืองกิจ ลูซเซอร์ทอนก็คงไม่มีวันนี้
เพราะข้อเท็จจริงง่ายๆ คือ...
ข้อเท็จจริงที่ 1: พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไม่ใช่ผู้ขาย และไม่ใช่ผู้ทำสัญญากับรัฐบาล ผู้ขายและทำสัญญากับรัฐบาล คือ บริษัท AstraZeneca ซึ่ง บริษัท AstraZeneca เป็นผู้คัดเลือกบริษัท Siam Bioscience ให้เป็นฐานผลิตวัคซีนโควิดแห่งเดียวในภูมิภาคอาเซียน
ข้อเท็จจริงที่ 2: เหตุผลที่ฟ้องร้องพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไม่ได้ ไม่ใช่เพราะว่าพระมหากษัตริย์มีความคุ้มกันทางกฎหมายในฐานะประมุขแห่งรัฐ หากแต่พระองค์ทรงอยู่ในฐานะของผู้ถือหุ้น และบริษัทเป็นนิติบุคคล ถ้าเกิดการฟ้องร้องขึ้นมา ผู้ที่เป็นคู่กรณีผูกพันตามกฎหมาย คือ กรรมการบริษัท ไม่ใช่ผู้ถือหุ้น
แม้ว่า ลูซเซอร์ทอน จะกลับลำพลิกลิ้น... แล้วอ้างว่าทำเพื่อปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ แต่การกระทำที่เห็นๆ กันอยู่ ก็ยังเต็มไปด้วยเจตนาในการบิดเบือนให้ร้ายและบ่อนทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์ ชนิดที่เรียกได้ว่า “มันเป็นสันดาน”
เรื่องหน้าไหว้-หลังหลอก สุดย้อนแย้ง แล้วปิดท้ายด้วยข้ออ้าง “ผมจำไม่ได้” ต้องยกให้ #ลูซเซอร์ทอน เท่านั้น
#ขนาดลอกยังตก ลูซเซอร์ทอนเคยกล่าวไว้ #ผมแม่งไม่รู้เรื่องอะไรเลย
#ลูซเซอร์ทอนคือทอนคนขี้แพ้
ที่น่าสนใจไม่แพ้กัน เมื่อวันที่ 4 ก.พ. 64 เฟซบุ๊ก Warong Dechgitvigrom ของ “หมอวรงค์” นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม รักษาการหัวหน้าพรรคไทยภักดี โพสต์หัวข้อ “#ธนาธรอ้างปกป้องสถาบัน”
โดยระบุว่า “วันนี้ผมไปยื่นเอกสารสำคัญ ให้กระทรวงดีอีเอส กรณีนายธนาธร ไลฟ์เรื่องวัคซีน และกระทรวงขอให้ศาล มีคำสั่งลบคลิปนี้ เพราะมีข้อมูลบิดเบือน สร้างความเสื่อมเสียต่อสถาบัน
แต่นายธนาธรใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อศาล ผมจึงนำเอกสารสำคัญไปมอบให้ เพื่อให้กระทรวงดีอีเอส มอบต่อศาล ไปยื่นคัดค้านคำขอนายธนาธร
ที่สำคัญ สัญญาการซื้อขายวัคซีนนั้น เป็นเรื่องของรัฐบาล กับทางแอสตราเซเนกา ประเทศอังกฤษ และ แอสตราเซเนกา จ้าง Siam Bioscience ผลิต ถ้ามีอะไรเกิดขึ้น ควรจะเป็นเรื่องของแอสตราเซเนกา กับทางรัฐบาล
นายธนาธร กลับโยงไปที่บริษัทผู้ผลิต ซึ่งควรจะเป็นเรื่องของแอสตราเซเนกา ซึ่งเป็นผู้ว่าจ้าง Siam Bioscience และในส่วนของ Siam Bioscience ถ้ามีอะไรเกิดขึ้น ควรจะเป็นกรรมการบริษัทที่รับผิดชอบ
แต่ นายธนาธร กลับพุ่งเป้าไปที่ผู้ถือหุ้น ซึ่งโยงไปถึงในหลวง ทั้งๆ ที่ไม่ได้เกี่ยวข้องอะไร แต่ทำให้ประชาชนเข้าใจผิด เขาโยงถึงในหลวงถึง 14 ครั้ง ทั้งๆ ที่ควรจะเป็นกรรมการบริษัท Siam Bioscience ที่ต้องรับผิดชอบ (ถ้ามีปัญหาใดๆ)
ข้อมูลแปลกๆ ที่ได้รับ คือ การที่นายธนาธรทำแบบนี้ เพราะเขาคิดว่า เขาต้องการปกป้องสถาบัน...???
ขณะเดียวกัน วันนี้ เฟซบุ๊ก Thanathorn Juangroongruangkit - ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ของ นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ มาใหม่ โดยโพสต์หัวข้อ [3 ข้อสังเกต + 3 ข้อเสนอ แผนการบริหารจัดการวัคซีนโควิด เพื่อพาประเทศคืนสู่ความเป็นปกติโดยเร็วที่สุด ]
ที่น่าสนใจคือ ข้อเสนอ 3 ข้อ หลังแสดงความคิดเห็นตอบโต้ที่รัฐบาลอธิบาย
กล่าวคือ 1. เป้าหมายการฉีดวัคซีนเดือนละ 5 ล้านเข็ม น้อยเกินไปและช้าเกินไป ผมเข้าใจว่า เกิดจากการส่งมอบวัคซีนช้า รัฐบาลจึงต้องเร่งเจรจาหาผู้ผลิตที่สามารถส่งมอบได้เร็วกว่านี้โดยคำนึงถึงเรื่องราคาเป็นประเด็นรอง นายกรัฐมนตรีต้องนั่งสั่งการกำกับการเจรจาจัดหา และติดตามความคืบหน้าด้วยตนเองทุกวัน เพื่อสนับสนุนการทำงานของข้าราชการและบุคลากรทางการแพทย์ที่ทำงานอย่างหนักอยู่ แต่ติดขัดขั้นตอนทางราชการที่ล่าช้า
2. รัฐบาลต้องเริ่มออกแบบกระบวนการฉีดวัคซีนอย่างลงรายละเอียด หากเราต้องการฉีดให้ได้ 5 ล้านเข็มต่อเดือน หมายความว่า เราต้องฉีดให้ได้ 2,200 เข็มต่อจังหวัดต่อวัน ผมเชื่อว่า ถ้าเราจัดหาวัคซีนได้มากกว่านี้ต่อเดือนและออกแบบบริหารการฉีดได้ดี เราสามารถฉีดได้มากกว่า 2,200 เข็มต่อวันต่อจังหวัด
รัฐบาลต้องเริ่มกำหนดศูนย์ฉีดวัคซีนในแต่ละจังหวัดให้ชัดเจนว่าแต่ละจังหวัดมีกี่ศูนย์ที่ใดบ้าง หลังจากนั้น จึงออกแบบกระบวนการในแต่ละศูนย์ ว่า มีกี่สถานีฉีด แต่ละสถานีต้องใช้บุคลากรเท่าใด กี่ผลัด เพื่อครอบคลุมทั้ง 7 วัน บุคลากรจะมาจากไหนและต้องเพิ่มทักษะอย่างไรบ้าง
รัฐบาลต้องจัดเตรียมยานพาหนะที่จะใช้ในการขนส่งวัคซีนให้เพียงพอตลอดช่วงเวลาการฉีดวัคซีน หากจำเป็นต้องสร้าง/ต่อเติมยานพาหนะพิเศษเพิ่มเติมเพื่อจัดเก็บและขนส่ง ต้องเริ่มทำตั้งแต่วันนี้
รัฐบาลต้องออกแบบและสร้างระบบฐานข้อมูลในการเก็บข้อมูลการฉีดวัคซีนของประชาชนให้มีประสิทธิภาพ เพื่อให้สอบทานกลับได้ว่าใครฉีดวัคซีนตัวใด วันที่เท่าไหร่ มาจากชุดการผลิตไหน
3. รัฐบาลต้องเปลี่ยนท่าทีในการพูดเรื่องวัคซีนกับประชาชน คนจำนวนมากไม่อยากฉีดวัคซีนด้วยเหตุผลที่ต่างกัน รัฐบาลต้องเลิกทำให้ประชาชนกลัววัคซีน บอกข้อมูลอย่างตรงไปตรงมาเรื่องการแพ้วัคซีน ซึ่งอ้างอิงได้จากผลการทดสอบยาในระยะสาม เปิดเผยข้อมูลต่างๆ อย่างรอบด้านเพื่อให้ประชาชนไว้วางใจ หากประชาชนไม่ยอมรับการฉีดวัคซีน ต่อให้จัดหาวัคซีนมาได้ก็ไม่มีประโยชน์
ข้อเสนอของผมทั้งหมด เป็นไปด้วยความปรารถนาดีต่อพี่น้องประชาชนคนไทย บุคลากรทางการแพทย์ทุกคนทำงานหนักหามรุ่งหามค่ำเพื่อรับมือโควิด ประชาชนทั่วประเทศเผชิญความยากลำบากอย่างสาหัสจากพิษเศรษฐกิจ เราไม่อาจยกการ์ดแบบนี้ต่อไปได้อีกเป็นปีๆ รัฐบาลมีหน้าที่ต้องพาคนไทยออกจากอุโมงค์อันมืดมิดของยุคโควิดโดยเร็ว และอาวุธที่เราต้องการเร็วที่สุด ทั่วถึงที่สุด ก็คือวัคซีน
หวังว่าข้อเสนอของผมจะได้รับการรับฟังจากรัฐบาล เพื่อที่พี่น้องประชาชนคนไทยทั้งประเทศจะได้กลับคืนสู่ชีวิตอันเป็นปกติโดยเร็ว
แน่นอน, ที่น่าสนใจ ก็คือ ศาลนัดฟังคำสั่ง 8 ก.พ.นี้ กรณี “ธนาธร” ร้องขอเพิกถอนคำสั่งดีอีเอสปิดกั้น คลิปไลฟ์สด ปมวัคซีนโควิดในเพจคณะก้าวหน้า ซึ่งถูกร้องพาดพิงสถาบัน
เพราะคำตัดสินของศาลครั้งนี้ อาจมีความสำคัญต่อการสู้คดีที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะความผิดตาม ม.112 ข้อหาหมิ่นสถาบันหรือไม่
เหนืออื่นใด อาจเป็นบรรทัดฐานได้ในระดับหนึ่งว่า การแสดงออก หรือกระทำในลักษณะใด แค่ไหน จึงถือเป็นความผิด และที่สำคัญ ไม่แน่อาจนำไปเปรียบเทียบกับอีกหลายกรณีที่มีการกระทำในลักษณะเดียวกัน เพื่อที่จะได้ไม่ต้องจับแล้วปล่อยอีกต่อไป หรือคนละเรื่องเดียวกัน?