xs
xsm
sm
md
lg

อดีตผู้พิพากษา ออก จม.เปิดผนึกเรียกร้องยกเลิก พ.ร.บ.แก้ไข ป.วิฯ แพ่ง ฉบับ 27 ชี้ขัดครรลองความยุติธรรม

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



“ยินดี วัชรพงศ์ ต่อสุวรรณ” ทำจดหมายเปิดผนึกถึงประธานรัฐสภา ส.ส. ส.ว.และประธานศาลฎีกา เรียกร้องยกเลิก พ.ร.บ.แก้ไข ป.วิฯ แพ่ง ฉบับที่ 27 ที่บัญญัติให้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ถือเป็นที่สุด หากจะฎีกาต้องได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา ทำให้สิทธิของประชาชนในการแสวงหาความยุติธรรมเหลือเพียง 2 ศาล ขัดต่อรัฐธรรมนูญและครรลองของระบบความยุติธรรม

วันที่ 3 ก.พ. 2564 นางยินดี วัชรพงศ์ ต่อสุวรรณ อดีตผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา ได้ทำจดหมายเปิดผนึกถึงประธานรัฐสภา ประธานวุฒิสภา ประธานศาลฎีกา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา เรียกร้องให้มีการยกเลิก พระราชบัญญัติแก้ไขประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 27) พ.ศ. 2558 เนื่องจากเป็นกฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึงความยุติธรรม ขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 เป็นกฎหมายที่ขัดต่อครรลองของระบบความยุติธรรมที่เป็นประเพณีของการปกครองประเทศในระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และเป็นกฎหมายที่ขัดต่อแนวนโยบายแห่งรัฐตามรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 68 โดยมีรายละเอียดดังนี้


จดหมายเปิดผนึก

วันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔

เรื่อง การลิดรอนสิทธิในความยุติธรรมของประชาชน

กราบเรียน ฯพณฯ ประธานรัฐสภา ฯพณฯ ประธานวุฒิสภา ฯพณฯ ประธานศาลฎีกา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา

ข้อ ๑. กรณีสืบเนื่องมาจากเมื่อคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติหรือ คสช.ได้ทำการยึดอำนาจรัฐนั้น ทำให้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ สิ้นสุดลง และได้มีประกาศ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ( ฉบับชั่วคราว ) พ.ศ.๒๕๕๗ เป็นหลักการปกครองประเทศแทน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ( พ.ศ.๒๕๕๐ ) นั้น ได้มีการแก้ไขประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ แพ่งด้วยวิธีการออกพระราชบัญญัติแก้ไขประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ( ฉบับที่ ๒๗ ) พ.ศ. ๒๕๕๘ มาใช้บังคับ ซึ่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งฯดังกล่าว เป็นกฎหมายที่ขัดต่อนิติประเพณีการปกครองประเทศในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เพราะเป็นกฎหมายที่ขัดต่อพระบรมราชโองการพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ในเรื่อง “สิทธิในความยุติธรรม” ( Right To Justice ) ที่ได้มีพระบรมราชโองการประกาศพระราชทานให้แก่ประชาชนมาตั้งแต่รัตนโกสินทร์ศก ๑๒๗ ซึ่งประชาชนจะต้อง ได้รับการพิจารณาพิพากษาคดีในชั้นที่หนึ่ง จากศาลสามศาลตามลำดับศาล คือ ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกา ( สูงสุด ) พระบรมราชโองการพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ที่ได้พระราชทานสิทธิในความยุติธรรมให้แก่ประชาชนดังกล่าว เป็นสิทธิของประชาชนที่เกิดขึ้นจากการปกครองประเทศในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ซึ่งพระบรมราชโองการพระมหากษัตริย์ใน สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์มีผลเป็นกฎหมาย เมื่อไม่ได้มีพระบรมราชโองการของพระองค์ท่านเอง หรืออำนาจเด็ดขาดอื่นใดยกเลิกเพิกถอนโดยเฉพาะแล้ว พระบรมราชโองการนั้นย่อมมีผลอยู่ตามนั้น ( ตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๒๓๗๒/๒๕๓๕ ) ต่อมาแม้ได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข การคุ้มครองซึ่งสิทธิในความยุติธรรมที่ประชาชนได้รับ พระราชทานโดยพระบรมราชโองการพระมหากษัตริย์ก็มิได้เปลี่ยนแปลงไปแต่อย่างใด ประชาชนยังคงมีสิทธิในความยุติธรรมจากการพิจารณาพิพากษาคดีจากศาลสามศาลตามลำดับชั้นศาลต่อเนื่องมาเป็น เวลานานกว่า ๑๐๐ ปีแล้ว สิทธิในความยุติธรรมของประชาชนที่จะต้องได้รับการพิจารณาคดีในชั้นที่หนึ่งจากศาลสามศาลตามลำดับศาลนั้น จึงเป็นนิติประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ( พ.ศ. ๒๕๖๐ ) ก็ได้บัญญัติรับรองสิทธิในความยุติธรรมดังกล่าวไว้ตามมาตรา ๒ ว่า " ประเทศไทยมีการปกครอง ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข " ดังนั้นพระบรมราชโองการพระมหากษัตริย์ ในรัชกาลที่ ๕ ที่ได้พระราชทานสิทธิในความยุติธรรมแก่ประชาชนซึ่งมีผลเป็นกฎหมายแล้ว ( ก่อนที่ประเทศไทยจะเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย ) จึงไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้

โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ได้ทรงมีพระบรมราชโองการ ประกาศให้ใช้พระธรรมนูญศาลยุติธรรม รัตนโกสินทร์ศก ๑๒๗ และพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาความแพ่ง รัตนโกสินทร์ศก ๑๒๗ มาบังคับใช้ เมื่อวันที่ ๑๔ มิถุนายน รัตนโกสินทร์ศก ๑๒๗ โดย พระธรรมนูญศาลยุติธรรมรัตนโกสินทร์ศก ๑๒๗ ได้บัญญัติไว้ในมาตรา ๖ ว่า " ศาลฎีกาซึ่งได้ตั้งขึ้นโดย พระบรมราชานุญาตนั้น ให้เป็นศาลสูงสุดในการพิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวง จะมีกรรมการกี่คนแล้วแต่ จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เมื่อกรรมการประชุมพร้อมกันไม่น้อยกว่า ๓ จึงเป็นองค์คณะตรวจตัดสิน ฎีกาได้ แลถ้าความเรื่องใดมีปัญหาด้วยข้อกฎหมาย หรือมีข้อสงสัยอันใดในกระบวนพิจารณาพิพากษา แลกรรมการศาลฎีกาเห็นสมควรที่จะนำความขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณา ขอพระราชทานพระบรมราช วินิจฉัย ก็ให้ศาลฎีกามีอำนาจนำความขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณาได้ก่อนพิพากษาคดีนั้นๆ "

อันเป็นการที่พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ได้ทรงพระราชทานกฎหมายมาใช้บังคับเพื่อให้อาณา ประชาราษฎร์ได้รับความยุติธรรมที่จะต้องมี การตรวจสอบกัน ( Judicial Review ) อย่างน้อยสามระดับชั้นศาล และถ้ามีเรื่องปัญหาข้อกฎหมาย ( Rule of Law ) หรือมีข้อสงสัยอันใดในกระบวน พิจารณาพิพากษาคดีซึ่งเป็นหลักนิติธรรม ( Due Process of Law ) แล้วโดยกรรมการศาลฎีกา เห็นสมควรจะนำความขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัย ก็ให้ศาลฎีกามี อำนาจนำความขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณาได้ก่อนพิพากษาคดีนั้นได้ หนทางที่จะแสวงหาความยุติธรรม ในราชอาณาจักรไทย จึงมิได้จำกัดสิทธิเฉพาะในศาลสามศาลเท่านั้น แต่ยังอาจแสวงหาความยุติธรรมได้จากองค์พระมหากษัตริย์ โดยกรรมการศาลฎีกาเห็นควรนำความขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณาขอ พระราชทานพระบรมวินิจฉัยได้อีกด้วย โดยตระหนักว่าสิทธิในความยุติธรรมนั้นเป็นปัญหาสำคัญเกี่ยว กับความสงบสุขของประเทศชาติและความสงบเรียบร้อยของประชาชน เพราะเป็นปัญหาเกี่ยวกับสิทธิ เสรีภาพของประชาชนอันเป็นหลักสิทธิมนุษยชน จึงได้บัญญัติให้กรรมการศาลฎีกาสามารถนำปัญหาข้อ กฎหมาย ( Rule of Law ) และปัญหาหลักนิติธรรม ( Due Process of Law ) ขึ้นกราบบังคมทูลขอ พระราชทานพระบรมราชวินิจฉัยในฐานะเป็นประมุของราชอาณาจักรได้

และพระธรรมนูญศาลยุติธรรมรัตนโกสินทร์ศก ๑๒๗ มาตรา ๗ บัญญัติว่า " คำพิพากษา ของศาลฎีกาที่ได้พิพากษาเสร็จเด็ดขาดไปแล้วในคดีเรื่องใด ห้ามมิให้คู่ความทูลเกล้าฯถวายฎีกาชั้นที่ ๒ อีก " โดยกฎหมายห้ามมิให้คู่ความทูลเกล้าถวายฎีกานั้น จะต้องเป็นกรณีที่ศาลฎีกาได้พิจารณาและ พิพากษาคดีเสร็จเด็ดขาดไปแล้วเท่านั้น จึงห้ามมิให้ทูลเกล้าถวายฎีกาชั้นที่สองอีก

การปกครองประเทศไทยในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ซึ่งอำนาจอธิปไตยไม่ใช่เป็นของปวง ชนชาวไทยนั้น พระมหากษัตริย์ได้ให้หลักประกันความยุติธรรมแก่อาณาประชาราษฎร์ในเรื่องความ ยุติธรรม หรือสิทธิในความยุติธรรม ( Right to Justice ) อันเป็นหลักประกันในความยุติธรรมซึ่ง เกี่ยวพันในสิทธิเสรีภาพในชีวิต ร่างกายและทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันในสิทธิขั้นพื้นฐานของราษฎร ( Fundamental Right ) นั้น โดยต้องได้รับพิจารณาคดีจากศาลสามระดับ คือ ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา ซึ่งได้มีมาก่อนที่ประเทศไทยจะมีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด โดยโปรดเกล้า ให้ประกาศให้ใช้พระธรรมนูญศาลยุติธรรมกับพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาความแพ่งรัตนโกสินทร์ศก ๑๒๗ ไว้ เมื่อวันที่ ๑ มิถุนายน ( ประกาศราชกิจจานุเบกษา วันที่ ๑๔ มิถุนายน รัตนโกสินทร์ ๑๒๗ ) และ เมื่อได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย โดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม ออกใช้บังคับในวันที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๔๗๕ คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์[ ตามประกาศประธานสภา ผู้แทนราษฎร ลงวันที่ ๗ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๗๗ ] ได้ตราพระราชบัญญัติให้ใช้พระธรรมนูญ ศาลยุติธรรม พุทธศักราช ๒๔๗๗ และพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง พุทธศักราช ๒๔๗๗ ขึ้นใช้บังคับโดยแยกต่างหากจากกัน เป็นพระราชบัญญัติให้ใช้พระธรรมนูญศาล ยุติธรรม พุทธศักราช ๒๔๗๗ และพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง พุทธศักราช ๒๔๗๗ เมื่อวันที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๔๗๘ ขึ้นใช้บังคับพร้อมกัน ( ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๔๗๘ ) ซึ่งก็ยังคงให้ประชาชนได้รับความยุติธรรมตามลำดับชั้นศาลเป็นสาม ชั้นศาล โดยมาตรา ๒ ได้บัญญัติว่า ศาลยุติธรรมตามพระธรรมนูญนี้แบ่งออกเป็นสามชั้นคือ (๑) ศาล ชั้นต้น ( ๒) ศาลอุทธรณ์ (๓) ศาลฎีกา ( ศาลสูงสุด ) และให้สิทธิคู่ความอุทธรณ์ ฎีกาคำพิพากษา หรือ คำสั่งให้ถึงศาลสูงสุด คือ ศาลฎีกา โดยยังคงให้สิทธิในกระบวนการพิจารณาคดีให้ได้รับความยุติธรรม สามชั้นศาล สิทธิในความยุติธรรมของประชาชนดังกล่าวเป็นสิทธิที่ได้เกิดขึ้น โดยอำนาจสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่พระมหากษัตริย์ได้พระราชทานหลักประกันสิทธิในความยุติธรรม โดยให้ประชาชนได้รับความคุ้มครองซึ่งสิทธิในความยุติธรรม โดยศาลยุติธรรมในสามระดับชั้นศาลอย่าง เท่าเทียมกัน หลักประกันความยุติธรรมหรือหลักการคุ้มครองซึ่งสิทธิในความยุติธรรมนั้น เป็นการ คุ้มครองสิทธิ เสรีภาพในชีวิต ร่างกายและทรัพย์สินของประชาชน ซึ่งเป็นหลักความยุติธรรมตามหลัก สิทธิมนุษยชนตามมาตรฐานสากล ซึ่งประเทศไทยมีมาก่อนที่จะมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็น ระบอบประชาธิปไตย และมีต่อเนื่องมาจนมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย สิทธิในความยุติธรรมที่ประชาชนจะได้รับการพิจารณาคดีจากศาลยุติธรรมทั้งสามระดับชั้น เป็นสิทธิที่ เป็นไปตามหลักกฎหมาย ( Rule of Law ) และตามหลักนิติธรรมหรือกระบวนการยุติธรรมตาม กฎหมาย ( Due Process of Law ) อันเป็นหลักสิทธิมนุษยชน ( Human Right ) ตามกฎบัตร สหประชาชาติ ซึ่งเป็นสิทธิที่เกิดขึ้นโดยอำนาจแห่งองค์พระมหากษัตริย์ซึ่งเป็นอำนาจสูงสุดของการ ปกครอง ( Supremacy ) ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่พระมหากษัตริย์พระราชทานให้แก่ ประชาชนนั้น สอดคล้องกับมาตรฐานสากลในการคุ้มครองซึ่งสิทธิมนุษยชน ( Human Right ) ตาม กฎบัตรสหประชาชาติ ( Charter of The United Nations ) ซึ่งกฎบัตรสหประชาชาติมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ ๒๔ ตุลาคม ๒๔๘๐ อันเป็นเวลาภายหลังที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ได้ทรง ให้ความคุ้มครองซึ่งสิทธิในความยุติธรรมตามหลักสิทธิมนุษยชน โดยได้ทรงให้ประกาศให้ใช้พระธรรมนูญศาลยุติธรรมกับพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาความแพ่งในรัตนโกสินทร์ศก ๑๒๗ ( พ.ศ.๒๔๕๑) เพื่อ คุ้มครองสิทธิมนุษยชนของประชาชนชาวไทยไว้ก่อนแล้ว และเมื่อประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญแห่งราช อาณาจักรสยามออกใช้บังคับเป็นฉบับแรกเมื่อวันที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๔๗๕ คณะผู้สำเร็จราชการแทน พระองค์ ก็ได้ตราพระราชบัญญัติให้ใช้พระธรรมนูญศาลยุติธรรม พ.ศ.๒๔๗๗ และพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง พ.ศ.๒๔๗๗ ใช้บังคับ เมื่อวันที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๔๗๘ ( ประกาศ ราชกิจจานุเบกษาวันที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๔๗๘ ) อันเป็นการยืนยันการให้ความคุ้มครองซึ่งสิทธิในความ ยุติธรรมแก่ประชาชนโดยอำนาจแห่งองค์พระมหากษัตริย์ที่พระราชทานให้แก่ประชาชน และหลักการ ให้ความคุ้มครองซึ่งสิทธิในความยุติธรรมตามกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมตามกฎหมายจากศาลยุติธรรมก็ยังคงได้รับการคุ้มครองมาจนปัจจุบัน โดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ( พ.ศ.๒๕๖๐ )

ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวชิราลงกรณ์บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลปัจจุบัน ได้ทรงตราไว้ ณ วันที่ ๖ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๖๐ โดยมิได้เปลี่ยนแปลงหลักการคุ้มครองและการรับรองซึ่งสิทธิในความยุติธรรมที่ประชาชนจะต้อง ได้รับการพิจารณาพิพากษาคดีจากศาลสามลำดับชั้นศาลแต่อย่างใด หลักประกันความยุติธรรมที่ประชาชนจะต้องได้รับการพิจารณาคดีจากศาลในสามลำดับชั้นศาล จึงเป็นนิติประเพณีการปกครอง ประเทศในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขมานานกว่า ๑๐๐ ปีแล้ว โดย รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ( พ.ศ.๒๕๖๐ ) ก็ได้บัญญัติรับรองสิทธิการเข้าถึงความยุติธรรม ของประชาชนไว้ในมาตรา ๖๘ วรรคหนึ่ง การที่ประชาชนจะได้รับความยุติธรรมจากการพิจารณา พิพากษาคดีของศาลในสามลำดับชั้นศาลนั้น จะต้องได้รับความคุ้มครองอย่างเสมอภาคกัน จะเลือก ปฏิบัติไม่ได้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ( พ.ศ.๒๕๖๐ ) มาตรา ๔ และมาตรา ๒๗ และ จะตั้งศาลขึ้นใหม่หรือจะกำหนดวิธีพิจารณาเพื่อพิจารณาพิพากษาคดีใดคดีหนึ่งหรือมีข้อหาฐานใด ฐานหนึ่งโดยเฉพาะแทนศาลที่มีตามกฎหมายนั้นไม่ได้ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา ๑๘๙

หลักประกันในความยุติธรรมหรือสิทธิในความยุติธรรม ( Right To Justice ) หรือสิทธิ การเข้าถึงซึ่งความยุติธรรม ( Access To Justice ) เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนจะต้องได้รับ การพิจารณาคดีจากศาลยุติธรรมสามชั้น คือ ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกา ( ศาลสูงสุด ) เพื่อคุ้มครองซึ่งสิทธิ เสรีภาพ ในชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของประชาชนนั้น เป็นกรณีที่จะตั้งศาลขึ้น เพื่อให้มีอำนาจศาลซ้อนกับอำนาจศาลเดียวกันเพื่อจะพิจารณาพิพากษาคดีใดคดีหนึ่ง หรือไม่ พิจารณาพิพากษาคดีใดคดีหนึ่งแทนศาลที่มีตามกฎหมายนั้นไม่อาจกระทำได้ รัฐธรรมนูญทุกฉบับได้บัญญัติห้ามมิให้มีการตั้งศาลขึ้นใหม่ เพื่อพิจารณาพิพากษาคดีใดคดีหนึ่ง หรือคดีที่มีข้อหาใด ข้อหาหนึ่งโดยเฉพาะแทนศาลที่มีอยู่ตามกฎหมายที่ตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัตินั้นจะกระทำมิได้
คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ( พ.ศ.๒๔๘๙ ) ได้บัญญัติไว้ในมาตรา ๘๒ , รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ( ฉบับชั่วคราว ) ( พ.ศ.๒๔๙๐ ) บัญญัติไว้ในมาตรา ๙๐ , รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ( พ.ศ.๒๔๙๒ ) บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๖๓ , รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ( แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. ๒๔๙๕ ) บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๐๑ , รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ( พ.ศ.๒๕๑๑ ) บัญญัติไว้ใน มาตรา ๑๕๙ , รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ( พ.ศ.๒๕๑๗ ) บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๐๔ , รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ( พ.ศ.๒๕๒๑ ) บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๗๑ , รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณา จักรไทย ( พ.ศ.๒๕๓๔ ) บัญญัติไว้ใน มาตรา ๑๘๘ , รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ( พ.ศ.๒๕๔๐ ) บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๓๔

และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ( พ.ศ.๒๕๕๐ ) ก็ได้บัญญัติไว้เช่นเดียวกัน โดยบัญญัติไว้ในมาตรา ๑๙๘ ว่า
“บรรดาศาลทั้งหลายจะตั้งขึ้นได้ก็แต่โดยพระราชบัญญัติ
การตั้งขึ้นใหม่เพื่อพิจารณาพิพากษาคดีใดคดีหนึ่งหรือคดีที่มีข้อหาฐานใดฐานหนึ่ง โดยเฉพาะแทนศาลที่มีอยู่ตามกฎหมายสำหรับพิจารณาพิพากษาคดีนั้น จะกระทำมิได้
การบัญญัติกฎหมายให้มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วย ธรรมนูญศาลหรือวิธีพิจารณาเพื่อใช้แก่คดีใดคดีหนึ่งโดยเฉพาะ จะกระทำมิได้”

รวมทั้งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ( พ.ศ.๒๕๖๐ ) ก็ได้บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๘๙ ว่า
“บรรดาศาลทั้งหลายจะตั้งขึ้นได้ แต่โดยพระราชบัญญัติ
การตั้งศาลขึ้นใหม่หรือกำหนดวิธีพิจารณาเพื่อพิจารณาพิพากษาคดีใดคดีหนึ่งหรือที่มี ข้อหาฐานใดฐานหนึ่งโดยเฉพาะแทนศาลที่มีตามกฎหมายสำหรับพิจารณาพิพากษาคดีนั้นๆจะกระทำมิได้”
จากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยที่ใช้ในการปกครองประเทศไทยตลอดมา รวมทั้ง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๕๐ และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๖๐ ได้ตราไว้เป็นหลักในการปกครองประเทศไทยไม่ให้บัญญัติกฎหมายให้มีผลที่จะเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไข เพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยพระธรรมนูญศาลหรือกฎหมายวิธีพิจารณาเพื่อให้ใช้หรือไม่ใช้แก่คดีใดคดี หนึ่งไม่ได้ โดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๕๐ และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร ไทย พ.ศ.๒๕๖๐ ได้บัญญัติยืนยันในหลักการคุ้มครองและรับรองซึ่งสิทธิเสรีภาพและความเสมอภาคของ ประชาชนที่จะต้องได้รับความยุติธรรมทางศาลอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกัน โดยจะแก้ไขเปลี่ยนแปลงพระธรรมนูญศาลหรือกฎหมายวิธีพิจารณาเพื่อที่จะให้ศาลฎีกาซึ่งเป็นศาลสูงสุดและเป็นผู้ใช้อำนาจ อธิปไตยของปวงชนชาวไทยทางศาลแทนพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุข โดยจะให้ศาลฎีกา พิจารณาหรือไม่พิจารณาคดีใดคดีหนึ่ง หรือจะพิจารณาหรือไม่พิจารณาคดีหลายคดีไม่ได้ เพราะ เป็นกฎหมายเพื่อปิดกั้นและขัดขวางศาลฎีกามิให้ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ ตาม กฎหมาย และหลักนิติธรรมเพื่อประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติและความผาสุกของประชาชน โดยรวม ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ( พ.ศ. ๒๕๖๐ ) มาตรา ๓ วรรคหนึ่ง วรรคสอง ได้แต่อย่างใด การกระทำดังกล่าวก็เป็นการที่ศาลฎีกาปฏิบัติหน้าที่โดยขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณา จักรไทย พ.ศ.๒๕๖๐ มาตรา ๑๘๙ และเป็นการที่ศาลฎีกาปฏิบัติหน้าที่กับประชาชนชนชาวไทยอย่างไม่ เสมอภาคกัน เป็นการเลือกปฏิบัติ เลือกคุ้มครองซึ่งศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์ สิทธิ และเสรีภาพเฉพาะ บางคน บางกลุ่มที่จะอนุญาตให้ฎีกาต่อศาลฎีกาได้เท่านั้น ส่วนคดีที่ศาลในศาลฎีกาไม่อนุญาตให้ฎีกา ต่อศาลฎีกาก็หมดสิทธิในการแสวงหาความยุติธรรมจากศาลฎีกา และไม่ได้รับความคุ้มครองสิทธิที่จะ เข้าถึงซึ่งความยุติธรรมตามหลักกฎหมาย และตามกระบวนการยุติธรรมตามกฎหมายได้ การอนุญาต ให้ฎีกาหรือไม่อนุญาตให้ฎีกาคดีต่อศาลฎีกา และการไม่รับฎีกาที่ไม่อนุญาตให้ฎีกานั้น เป็นการ กระทำที่เลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม และเป็นการกระทำที่ขัดต่อแนวนโยบายแห่งรัฐที่รัฐจะต้อง จัดระบบการบริหารงานในกระบวนการยุติธรรมทุกด้านให้มีประสิทธิภาพ เป็นธรรมและไม่เลือก ปฏิบัติและให้ประชาชนเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้โดยสะดวก รวดเร็ว และไม่เสียค่าใช้จ่ายสูง เกินสมควรตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๖๘ การอนุญาตหรือหรือไม่อนุญาตให้ฎีกาของศาลฎีกาและการ รับหรือไม่รับฎีกาของศาลฎีกานั้น จึงเป็นการที่ศาลฎีกานำพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๗ ) พ.ศ. ๒๕๕๘ และข้อกำหนดประธานศาลฎีกาว่าด้วยการขออนุญาตฎีกาในคดีแพ่ง พ.ศ.๒๕๕๘ ข้อ ๑๓ มาเป็นเครื่องมือเพื่อพิจารณาและมีคำสั่งรับฎีกา หรือไม่รับฎีกาคดี ของคู่ความ

ข้อ ๒. พระราชบัญญัติแก้ไขประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ( ฉบับที่ ๒๗ ) พ.ศ. ๒๕๕๘ ออกใช้บังคับ ในระหว่างที่ประเทศไทยโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. ใช้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ( ฉบับชั่วคราว ) พุทธศักราช ๒๕๕๗ มาเป็นหลักในการปกครองประเทศ โดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ( ฉบับชั่วคราว ) ดังกล่าว ได้ให้หลักประกันในสิทธิขั้น พื้นฐานของประชาชนในเรื่องศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาค โดยบัญญัติ ไว้ในมาตรา ๔ ว่า " ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ ศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาค บรรดาที่ชนชาวไทยเคยได้รับความคุ้มครองตามประเพณีการปกครองประเทศไทย ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและตามพันธกรณีระหว่างประเทศที่ประเทศ ไทยมีอยู่แล้ว ย่อมได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญนี้ " ดังนั้น สิทธิในความยุติธรรม ( Right To Justice ) และสิทธิในการเข้าถึงซึ่งความยุติธรรม ( Access To Justice ) ที่ประชาชนจะได้รับการ พิจารณาพิพากษาคดีจากศาลยุติธรรมสามระดับศาล ซึ่งเป็นนิติประเพณีของการปกครองประเทศ ไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขนั้น เป็นกฎหมายซึ่งไม่อาจจะแก้ไข เปลี่ยนแปลงได้ แม้อยู่ในระหว่างการยึดอำนาจรัฐของคสช.ก็ตาม เพราะจะขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย ( ฉบับชั่วคราว ) พุทธศักราช ๒๕๕๗ มาตรา ๔ โดยประชาชนมีสิทธิในความ ยุติธรรมที่จะต้องได้รับการพิพากษาคดีจากศาลในสามระดับชั้นศาลอย่างเท่าเทียมกัน ตามที่เคยได้รับ ความคุ้มครองตามประเพณีการปกครองในประเทศในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น ประมุข การแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ( ฉบับที่ ๒๗ ) พ.ศ.๒๕๕๘ ซึ่ง บัญญัติให้การฎีกาคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลอุทธรณ์ให้กระทำได้เมื่อได้รับอนุญาตจากศาลฎีกานั้น ก็เป็น การแก้ไขประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งโดยขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ( ฉบับชั่วคราว ) พุทธศักราช ๒๕๕๗ มาตรา ๔ และเมื่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ( พ.ศ. ๒๕๖๐ ) ออกใช้บังคับเป็นกฎหมายสูงสุดในปัจจุบัน ก็ได้บัญญัติรับรองและคุ้มครองสิทธิในความ ยุติธรรมที่ประชาชนจะต้องได้รับความยุติธรรมจากศาลในสามระดับชั้น คือ ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา โดยบัญญัติรับรองระบอบการปกครองของประเทศไทยว่า ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุข ทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติ แห่งรัฐธรรมนูญ และศาลต้องปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ กฎหมายและหลักนิติธรรม และ รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ บทบัญญัติของกฎหมาย กฎ หรือข้อบังคับ หรือการกระทำ นั้น เป็นอันใช้บังคับไม่ได้ เมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้บังคับแก่กรณีใด ให้กระทำการนั้นหรือวินิจฉัยกรณีนั้นตามประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรง เป็นประมุข และบรรดาศาลทั้งสามจะตั้งขึ้นได้แต่โดยพระราชบัญญัติ การตั้งศาลขึ้นใหม่หรือกำหนดวิธี พิจารณาเพื่อพิจารณาพิพากษาคดีใดคดีหนึ่งหรือที่มีข้อหาฐานใดฐานหนึ่ง โดยเฉพาะแทนศาลที่มีตาม กฎหมายสำหรับพิจารณาพิพากษาคดีนั้นๆจะกระทำมิได้ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ( พ.ศ. ๒๕๖๐ ) มาตรา ๒ มาตรา ๓ มาตรา ๕ และมาตรา ๑๘๙ ดังนั้นพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ( ฉบับที่ ๒๗ ) พ.ศ.๒๕๕๘ จึงเป็นกฎหมายที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ อีกด้วย

ข้อ ๓. พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ( ฉบับที่ ๒๗ ) พ.ศ.๒๕๕๘ นั้น เป็นกฎหมายที่ได้เปลี่ยนความยุติธรรมตามหลักกฎหมายและหลักนิติธรรม ซึ่ง บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งที่ให้ประชาชนมีสิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาหรือ คำสั่งศาลอุทธรณ์ไปยังศาลฎีกาได้นั้น เป็นให้คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์ให้เป็นที่สุด ( ตาม ป.วิแพ่งมาตรา ๒๔๔/๑ ) โดยประชาชนมีสิทธิแสวงหาความยุติธรรมได้ ๓ ชั้นศาลนั้น ก็จะ เหลือเพียง ๒ ศาล คือ ศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์เท่านั้น
เป็นการแก้ไขประมวลกฎหมายวิธี พิจารณาความแพ่งโดยตัดสิทธิของประชาชนฝ่ายที่แพ้คดีไม่สามารถแสวงหาความยุติธรรมได้อีกต่อไป เพราะคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้เป็นที่สุด แต่ในขณะเดียวกันคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ซึ่งถึงที่สุดได้ ให้สิทธิและได้รับรองสิทธิแก่คู่ความฝ่ายชนะคดีที่ได้ประโยชน์จากคำพิพากษาซึ่งถึงที่สุดในศาลอุทธรณ์นั้นแล้ว ซึ่งไม่อาจเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นได้ เพราะเป็นบทบัญญัติของกฎหมายบังคับเด็ดขาด สำหรับฝ่ายที่ชนะคดีในศาลอุทธรณ์ ( Mandatory Provision ) แต่ได้บัญญัติให้การฎีกา คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์ให้กระทำได้สำหรับฝ่ายที่แพ้คดี เมื่อได้รับอนุญาตจากศาล ฎีกา คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ก็ไม่เป็นที่สุดเมื่อคู่ความขออนุญาตฎีกา และการที่จะได้รับอนุญาตให้ฎีกาก็มิใช่เป็นการที่คู่ความได้รับอนุญาตจากศาลฎีกาโดยตรงและโดยเสมอภาคกัน เพราะได้มีการ แก้ไขประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๔๘ ให้คำร้องที่ขออนุญาตฎีกานั้น ให้พิจารณา และวินิจฉัยโดยองค์คณะผู้พิพากษาที่ประธานศาลฎีกาแต่งตั้ง ซึ่งประกอบด้วยรองประธานศาลฎีกา และผู้พิพากษาในศาลฎีกาซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาศาลฎีกาอีกอย่างน้อยสามคน องค์คณะผู้พิพากษา ๔ นายที่กฎหมายให้อำนาจประธานศาลฎีกาแต่งตั้งขึ้นเพื่อพิจารณาคำร้องขออนุญาต ฎีกานั้น เป็นกฎหมายที่ให้อำนาจประธานศาลฎีกาตั้งคณะบุคคลเป็นศาลซ้อนในศาลฎีกา เพื่อ พิจารณาคำร้องที่ขออนุญาตฎีกาว่าจะอนุญาตให้ฎีกา หรือไม่อนุญาตให้ฎีกา คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ จึงไม่ถึงที่สุดเมื่อศาลที่ตั้งขึ้นซ้อนให้ศาลฎีกาอนุญาตให้ฎีกา แต่ถ้าศาลที่ซ้อนในศาลฎีกาไม่อนุญาต ให้ฎีกา คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ซึ่งถึงที่สุดไปแล้วและกลับมาเป็นไม่ถึงที่สุดก็กลับไปถึงที่สุดตามเดิม เมื่อได้อ่านคำสั่งไม่อนุญาตให้ฎีกาให้คู่ความฟัง ซึ่งเกิดความไม่แน่นอนในระบบของกฎหมาย ระบบ ของความยุติธรรม และกระบวนการยุติธรรม เพราะมีศาลซ้อนในศาลฎีกาทำหน้าที่อนุญาตหรือไม่ อนุญาตให้คู่ความฎีกาคดีสู่ศาลฎีกา เป็นความแกว่งของกฎหมายที่ไม่มีความแน่นอนและไม่มีความ เสมอภาคในสิทธิที่จะฎีกาคดีของประชาชน กรณีดังกล่าวจึงเป็นช่องทางให้เกิดการทุจริตในระบบ ของกระบวนการยุติธรรมได้ ( Systematic Corrupt in Judiciary ) ซึ่งเป็นมหันตภัยต่อความ มั่นคงของรัฐในราชอาณาจักรอย่างยิ่ง เพราะมีผลกระทบต่อความเป็นอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ พิพากษา เป็นกฎหมายที่ใช้เป็นช่องทางหรือใช้เป็นเครื่องมือที่จะเอารัดเอาเปรียบ หรือกลั่นแกล้งกัน ได้โดยง่าย

ข้อ ๔.
พระราชบัญญัติแก้ไขประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ( ฉบับที่ ๒๗ ) พ.ศ. ๒๕๕๘ ออกใช้บังคับ โดยให้มีคณะผู้พิพากษา ๔ นาย ที่แต่งตั้งโดยประธานศาลฎีกาทำหน้าที่เป็นศาล ซ้อนศาลในศาลฎีกา เพื่อพิจารณาอนุญาตให้ฎีกาหรือไม่อนุญาตให้ฎีกาคดีสู่ศาลฎีกานั้น เป็นกฎหมายที่ ออกใช้บังคับเพื่อที่ตัดเขตอำนาจศาลฎีกาและเขตอำนาจการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลฎีกาที่ประชาชนมีสิทธิที่จะฎีกาคดีต่อศาลฎีกาได้ ให้กลายเป็นศาลฎีกาที่ไม่มีเขตอำนาจศาล ( Territorial Jurisdiction ) และไม่มีเขตอำนาจการพิจารณาพิพากษาคดี ( Jurisdiction ) ให้กับประชาชนได้อีก เลย นอกจากจะได้รับอนุญาตให้ฎีกาโดยศาลที่ประธานศาลฎีกาตั้งคณะผู้พิพากษา ๔ นายขึ้นมา เป็น “ คณะบุคคล” ทำหน้าที่เป็นศาลซ้อนอยู่ในศาลฎีกา และต้องตั้งคณะผู้พิพากษา ๔ นายทุกครั้งที่คู่ความขออนุญาตฎีกาต่อศาลฎีกา เมื่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ( พ.ศ.๒๕๖๐ ) ออก ใช้บังคับในวันที่ ๖ เมษายน ๒๕๖๐ โดยมาตรา ๑๘๙ ได้บัญญัติห้ามมิให้ใช้วิธีพิจารณากำหนด เพื่อที่จะพิจารณาพิพากษาคดีใดคดีหนึ่งเป็นการเฉพาะแทนศาลที่มีตามกฎหมายเพื่อพิจารณา พิพากษาคดีนั้นๆไม่ได้ พระราชบัญญัติแก้ไขประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ( ฉบับที่ ๒๗ ) พ.ศ. ๒๕๕๘ เป็นกฎหมายตั้งคณะบุคคลทำหน้าที่เป็นศาลและมีอำนาจอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ศาล ฎีกาพิจารณาพิพากษาคดีได้ หรือไม่พิจารณาพิพากษาคดีใดก็ได้นั้น ทำให้ศาลฎีกาไม่มีสถานภาพเป็น ศาลยุติธรรม เพราะเป็นศาลไม่มีเขตศาลและไม่มีเขตอำนาจพิจารณาคดีของศาลฎีกา ประชาชนไม่ สามารถเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมของศาลฎีกาได้ ศาลฎีกาจะมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีใดได้ ต้องอยู่ภายใต้การอนุญาตของศาลองค์คณะ ๔ นายที่ประธานศาลฎีกาเป็นผู้แต่งตั้ง และศาลองค์ คณะ ๔ นาย พิจารณาอนุญาตให้ฎีกาคดีได้เท่านั้น ศาลฎีกาจึงมีเขตศาลและมีเขตอำนาจพิจารณาคดี ได้ การเข้าถึงความยุติธรรมจากศาลฎีกาได้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับการได้รับอนุญาตให้ฎีกาจากศาลที่ ประธานศาลฎีกาตั้งองค์คณะ ๔ นาย ขึ้นเป็นศาลซ้อนในศาลฎีกา ทำให้ศาลฎีกามีสภาพเป็นใหญ่ แต่ไม่มีอำนาจ พระราชบัญญัติแก้ไขประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ( ฉบับที่ ๒๗ ) พ.ศ. ๒๕๕๘ จึงเป็นกฎหมายที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ( พ.ศ.๒๕๖๐ ) มาตรา ๖๘ และ มาตรา ๑๘๙

พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ( ฉบับที่ ๒๗ ) พ.ศ. ๒๕๕๘ เป็นกฎหมายที่บัญญัติให้สิทธิหรือไม่ให้สิทธิในความยุติธรรมในศาลสูงสุดโดยการฎีกาคดีขึ้น สู่ศาลฎีกานั้นไปอยู่ในอำนาจของ "คณะบุคคล" ที่มิใช่เป็น "คณะบุคคล" ที่เกิดขึ้นโดยพระราชบัญญัติตามรัฐธรรมนูญมาตรา ๑๘๙ วรรคหนึ่ง แต่เป็น "คณะบุคคล" ที่เกิดขึ้นโดยการแต่งตั้งจากประธานศาลฎีกาให้เป็นองค์คณะผู้พิพากษา ซึ่งเป็นกฎหมายที่ให้อำนาจประธานศาลฎีกาตั้งศาลขึ้นใน ศาลฎีกา โดยมีองค์คณะผู้พิพากษา ๔ นาย ที่ไม่ใช่เป็นองค์คณะตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ โดยศาลที่ตั้งขึ้นใหม่มีอำนาจสั่งให้ศาลฎีกามีเขตอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีได้ เมื่อองค์ คณะผู้พิพากษา ๔ นาย มีคำสั่งอนุญาตให้ฎีกา และศาลฎีกาไม่มีเขตศาลและมีเขตอำนาจพิจารณา พิพากษาคดีเมื่อองค์คณะผู้พิพากษา ๔ นาย มีคำสั่งไม่อนุญาตให้ฎีกา และการที่องค์คณะผู้พิพากษา ๔ นาย มีคำสั่งอนุญาตให้ฎีกา หรือไม่อนุญาตให้ฎีกาในเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือหลายเรื่อง ย่อมเป็นการปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมทั้งกับคู่ความฝ่ายที่ขออนุญาตฎีกาและฝ่ายที่ชนะคดีซึ่งไม่ต้องฎีกา และเกิด ความไม่เสมอภาคกันระหว่างคดีที่ศาลฎีกาอนุญาตให้ฎีกากับคดีที่ศาลไม่อนุญาตให้ฎีกา ทำให้คดีที่ ได้รับอนุญาตให้ฎีกาสามารถเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้สามระดับชั้นคือ ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา ส่วนคดีที่ไม่ได้รับอนุญาตให้ฎีกาก็จะเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้ ๒ ระดับชั้น คือ ศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์เท่านั้น พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ( ฉบับที่ ๒๗ ) เป็นกฎหมายให้อำนาจประธานศาลฎีกาตั้งศาลซ้อนศาลฎีกาขึ้นในศาลฎีกา ซึ่งขัดต่อหลักการมีศาลสถิตย์ยุติธรรมและขัดต่อหลักความเสมอภาคของประชาชนในเรื่องสิทธิในความ ยุติธรรมและการเข้าถึงซึ่งความยุติธรรม ขัดต่อหลักศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์ สิทธิและเสรีภาพที่ จะได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ ก่อให้เกิดความเหลือมล้ าในระบบความยุติธรรมกับประชาชน เป็นวงกว้างซึ่งมีผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ( ฉบับที่ ๒๗ ) พ.ศ.๒๕๕๘ มาตรา ๓, ๔ , ๕, ๖ จึงเป็นกฎหมาย ที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ( พ.ศ.๒๕๖๐ ) มาตรา ๑๘๙ ประกอบกับ มาตรา ๔ มาตรา ๒๗ มาตรา ๖๘ ซึ่งใช้บังคับไม่ได้ตามรัฐธรรมนูญมาตรา ๕

ข้อ ๕. การตั้งศาลซ้อนขึ้นในศาลฎีกาเป็นการตั้งศาลโดยไม่ได้ออกเป็นพระราชบัญญัติ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๘๙ วรรคหนึ่ง แต่ใช้วิธีการตั้งศาลขึ้นซ้อนในศาลฎีกา โดยการแก้ไข ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความแพ่ง ( ฉบับที่ ๒๗ ) พ.ศ.๒๕๕๘ มาตรา ๕ ซึ่งให้ยกเลิกความในมาตรา ๒๔๗ และบัญญัติความ ใหม่ขึ้นแทน ซึ่งเกิดผลเป็นการห้ามมิให้ประชาชนฎีกาคดีโดยเด็ดขาด ประชาชนจะฎีกาได้ก็ต้องอยู่ ภายใต้เงื่อนไขของการขออนุญาตฎีกาจากผู้พิพากษาคณะ ๔ นายที่ประธานศาลฎีกาตั้งขึ้นเป็นราย คดี และบัญญัติให้อำนาจประธานศาลฎีกาออกข้อกำหนดของประธานศาลฎีกา เมื่อได้รับความ เห็นชอบจากที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาและประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้ ซึ่งประธาน ศาลฎีกาได้ออกข้อกำหนดประธานศาลฎีกาว่าด้วยการอนุญาตให้ฎีกาในคดีแพ่ง พ.ศ.๒๕๕๘ โดยความ เห็นชอบจากที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา และได้ออกใช้บังคับโดยประกาศราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ แล้วนั้น ( แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง โดยยกเลิกความใน มาตรา ๒๔๘ และมาตรา ๒๔๙ ) การให้อำนาจผู้พิพากษาศาลฎีกาออกกฎหมายเป็นกฎหรือข้อกำหนดของประธานศาลฎีกาได้โดยที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา มาใช้บังคับเพื่อลิดรอนซึ่งสิทธิ เสรีภาพ และ ความเสมอภาคของประชาชนในการใช้สิทธิการเข้าถึงซึ่งความยุติธรรมของศาลฎีกา อันมิใช่เป็นกฎ หรือข้อกำหนดที่ใช้ในการบริหารงานในศาลฎีกานั้น ไม่อาจกระทำได้ เพราะขัดต่อหลักการปกครอง ประเทศในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยพระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจอธิปไตยในการออกกฎหมายใช้บังคับกับประชาชนในทางที่ลิดรอนซึ่งสิทธิและเสรีภาพของ ประชาชนได้นั้น ก็โดยทางรัฐสภาซึ่งเป็นฝ่ายนิติบัญญัติและทรงใช้อำนาจตุลาการทางศาล ตาม รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ( พ.ศ.๒๕๖๐ ) มาตรา ๑ มาตรา ๒ และ มาตรา ๓ วรรคหนึ่ง และ ศาลไม่ว่าจะเป็นประธานศาลฎีกาหรือที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาก็ไม่มีอำนาจหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญที่จะ ออกกฎหรือข้อกำหนดอันเป็นกฎหมายมาใช้บังคับเพื่อการลิดรอนซึ่งสิทธิ เสรีภาพ และความเสมอ ภาคของประชาชนได้ เพราะขัดต่อหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรง เป็นประมุข ศาลจึงไม่ใช่เป็นผู้ออกกฎหรือข้อกำหนดเพื่อใช้บังคับต่อสิทธิ เสรีภาพและความเสมอ ภาคในทางที่ลิดรอนซึ่งสิทธิ เสรีภาพและความเสมอภาคของประชาชนได้ แต่ศาลเป็นผู้ใช้บังคับ กฎหมาย เป็นผู้ตีความการบังคับใช้กฎหมาย การออกข้อกำหนดของประธานศาลฎีกาว่าด้วยการ อนุญาตให้ฎีกาในคดีแพ่ง พ.ศ. ๒๕๕๘ โดยความเห็นชอบของที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา จึงเป็นการออกกฎ หรือข้อกำหนดเพื่อให้อำนาจคณะผู้พิพากษา ๔ นายที่ประธานศาลฎีกาตั้งขึ้นใช้กฎหรือข้อกำหนดไปทำ การลิดรอนซึ่งสิทธิในความยุติธรรม ( Right To Justice ) สิทธิและเสรีภาพในชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สิน และศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์ของประชาชน ( Fundamental Right ) และยังเป็นการขัดต่อหลักการ ปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยพระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจ อธิปไตยในการออกกฎหมายโดยผ่านทางรัฐสภาซึ่งเป็นฝ่ายนิติบัญญัติ กฎหรือข้อกำหนดของประธานศาล ฎีกาว่าด้วยการขออนุญาตฎีกาในคดีแพ่ง พ.ศ.๒๕๕๘ ดังกล่าวจึงขัดต่อรัฐธรรมนูญตามมาตรา ๓ วรรค หนึ่ง มาตรา ๔ มาตรา ๒๗ มาตรา ๖๘ และมาตรา ๑๘๙ ซึ่งใช้บังคับไม่ได้ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๕

ข้อ ๖. พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ( ฉบับที่ ๒๗ ) ได้บัญญัติโดยกำหนดปัญหาสำคัญที่ศาลฎีกาควรวินิจฉัยอนุญาตให้ฎีกาได้ในกรณีต่อไปคือ
(๑) ปัญหาเกี่ยวกับประโยชน์สาธารณะหรือความสงบเรียบร้อยของประชาชน
(๒) เมื่อคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยข้อกฎหมายที่สำคัญขัดกันหรือขัดกับแนวบรรทัดฐานของคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลฎีกา
(๓) คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยข้อกฎหมายที่สำคัญซึ่งยังไม่มีแนวคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลฎีกามาก่อน
(๔) เมื่อคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์ขัดกับคำพิพากษาหรือคำสั่งอันถึงที่สุดของศาลอื่น
(๕) เพื่อเป็นการพัฒนาการตีความกฎหมาย
(๖) ปัญหาอื่นตามข้อกำหนดของประธานศาลฎีกา

และศาลฎีกาได้ออกข้อกำหนดที่ได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา ในปัญหาสำคัญที่จะอนุญาตให้ฎีกาคดีได้คือ
(๑) คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์มีความเห็นแย้งในประเด็นสำคัญ
(๒) คำพิพากษาหรือคำสั่งศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยข้อกฎหมายสำคัญที่ไม่สอดคล้องกับความตกลงระหว่างประเทศที่มีผลผูกพันกับประเทศไทย
หลักเกณฑ์ตามพระราชบัญญัติแก้ไขประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งฯ กำหนดให้ศาลอนุญาตให้ฎีกาได้ และข้อกำหนดของประธานศาลฎีกาที่ศาลอนุญาตให้ฎีกาได้นั้น เป็นหลักเกณฑ์ที่คู่ความจะนำมาใช้เพื่อขออนุญาตให้ฎีกาไม่ได้เลย เพราะขัดกับสิทธิปัญหาความเดือดร้อน ความขัดแย้งของประชาชนที่ต้องนำคดีมาสู่ศาล คู่ความจะนำคดีมาสู่ศาลได้ก็เพราะมีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ระหว่างกัน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา ๕๕ การมีคดีกันในศาลและการที่คู่ความฎีกาคดีก็เพราะมีข้อโต้แย้งหรือข้อพิพาทระหว่างกัน การฎีกาคดี ก็เพื่อขอให้ศาลฎีกาใช้อำนาจ “ตรวจสอบคดี” ( Judicial Review ) ซึ่งเป็นเรื่องของสิทธิหรือ หน้าที่ระหว่างคู่ความ โดยคู่ความจะฎีกาคดีในประเด็นอื่นซึ่งไม่เกี่ยวกับประเด็นข้อพิพาทระหว่าง คู่ความนั้น เป็นเรื่องที่ไม่อาจกระทำได้ เพราะการจะร้องขอความยุติธรรมจากศาล ก็จะต้องร้องขอความยุติธรรมในเรื่องที่เกี่ยวกับสิทธิหน้าที่และความรับผิดของคู่ความที่จะมีกับคู่กรณีหรือไม่เท่านั้น และการฎีกาคดีก็เป็นเรื่องที่คู่ความขอให้ศาลใช้อำนาจ “ ตรวจสอบคดี” ( Judicial Review ) และ ขอให้ศาลให้ความยุติธรรมเพื่อตอบสนองความต้องการในปัญหาข้อพิพาทระหว่างกัน ( Retributive Justice ) เท่านั้น ประชาชนจะฎีกาคดีโดยจะใช้สิทธิฎีกาก็เพื่อขอความยุติธรรมกับเรื่องที่ตนไม่ได้รับ ความยุติธรรมนั้นไม่อาจกระทำได้ โดยจะฎีกาขอความยุติธรรมในเรื่องอื่นตามที่กฎหมายกำหนดไว้ ว่าเป็นปัญหาสำคัญที่ศาลฎีกาควรวินิจฉัยอนุญาตให้ฎีกา หรือปัญหาสำคัญตามข้อกำหนดของ ประธานศาลฎีกานั้นไม่อาจกระทำได้ เพราะไม่ใช่เป็นการฎีกาขอความยุติธรรมในปัญหาในคดีของตน ปัญหาสำคัญที่กฎหมายกำหนดให้ศาลฎีกาอนุญาตให้ฎีกาได้ หรือข้อกำหนดที่ศาลฎีกาอนุญาตให้ ฎีกาได้นั้น ไม่ใช่เป็นปัญหาเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ระหว่างคู่ความ แต่เป็นปัญหาในทางสังคมและ เป็นปัญหาเกี่ยวกับประโยชน์สาธารณะเพื่อมหาชน ปัญหาดังกล่าวไม่ใช่เป็นปัญหาเพื่อระงับข้อ พิพาทแห่งคดีระหว่างคู่ความ โดยคู่ความที่จะขออนุญาตฎีกาไม่อาจนำเอาปัญหาสำคัญที่บัญญัติไว้ ในกฎหมายหรือข้อกำหนดของประธานศาลฎีกามาฎีกาในคดีได้ เพราะขัดต่อหลักกฎหมายธรรมชาติ ( Natural Law ) และขัดต่อหลักของความเป็นมนุษย์ของคน ( Human Beings ) เพราะคู่ความที่ จะขออนุญาตฎีกาเป็นประชาชน ไม่ใช่เป็นพหูสูตหรือเป็นผู้รอบรู้ปัญหาทุกด้าน ประชาชนไม่ใช่ เป็นผู้บังคับใช้กฎหมาย แต่เป็นผู้ถูกกฎหมายบังคับใช้ การจะขออนุญาตฎีกาคดีก็เพื่อขอความ ยุติธรรมในปัญหาข้อพิพาทในคดีของตนเท่านั้น ประชาชนไม่อาจรู้ได้ว่าปัญหาข้อพิพาทในคดีของ ตนนั้นจะเป็นปัญหาเกี่ยวกับประโยชน์สาธารณะหรือเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของ ประชาชนหรือไม่ อย่างไร หรือคดีของตนจะเป็นการพัฒนาการตีความกฎหมายอย่างไร ซึ่ง ประชาชนผู้ฎีกาคดีไม่สามารถยกประเด็นปัญหาที่ศาลฎีกาจะอนุญาตให้ฎีกาได้ขึ้นมากล่าวอ้างในฎีกา หรือในคำร้องขออนุญาตให้ฎีกาได้ เพราะข้อกฎหมายที่ศาลจะอนุญาตให้ฎีกาคดีได้นั้น เป็นปัญหา ในทางสังคมเกี่ยวกับประโยชน์สาธารณะ เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ซึ่งปัญหา ดังกล่าวเป็นปัญหาที่ศาลฎีกาจะหยิบยกขึ้นมาพิจารณาวินิจฉัยคดีได้เอง โดยคู่ความไม่ต้องนำมา กล่าวอ้างเป็นข้อฎีกา และไม่ใช่เป็นข้อที่คู่ความจะต้องฎีกาเพื่อขอความยุติธรรมจากศาลเพื่อแก้ไขปัญหา ข้อพิพาทซึ่งเป็นเรื่องสิทธิและหน้าที่ระหว่างบุคคลได้

ดังนั้นพระราชบัญญัติแก้ไขประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ( ฉบับที่ ๒๗ ) พ.ศ.๒๕๕๘ เป็นกฎหมายที่ขัดต่อพระบรมราชโองการพระมหากษัตริย์ที่ได้พระราชทานสิทธิในความยุติธรรมและ การเข้าถึงซึ่งความยุติธรรมที่ประชาชนจะต้องได้รับความยุติธรรมจากการพิจารณาพิพากษาคดีในชั้นที่หนึ่งจากศาลสามศาลตามลำดับศาล คือ ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา ( ศาลสูงสุด ) อย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกัน และเป็นกฎหมายที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ ดังได้กราบเรียนมาแล้วในข้างต้น เป็นกฎหมายที่ไม่อาจจะนำมาบังคับใช้กับประชาชนได้ เป็นกฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อสิทธิในความยุติธรรมและการเข้าถึงซึ่งความยุติธรรมของประชาชน เป็นกฎหมายที่ขัดต่อครรลองของระบบความยุติธรรมที่เป็นประเพณีของการปกครองประเทศในระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และเป็นกฎหมายที่ขัดต่อแนวนโยบายแห่งรัฐตามรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา ๖๘ จึงขอกราบเรียน ฯพณฯ ประธานรัฐสภา ฯพณฯประธานวุฒิสภา และ ฯพณฯ ประธาน ศาลฎีกา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา ซึ่งเป็นผู้นำองค์กรการปกครองประเทศใน ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และเป็นตัวแทนของประชาชนที่จะต้องธำรงไว้ซึ่งระบอบประชาธิปไตยและอำนาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทย ได้โปรดพิจารณายกเลิกพระราชบัญญัติแก้ไขประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ( ฉบับที่ ๒๗ ) พ.ศ. ๒๕๕๘ นั้นเสีย ตามรัฐธรรมนูญมาตรา ๗๗ และได้โปรดดำเนินการให้สิทธิประชาชนได้ฎีกาคดีสู่ศาลฎีกาต่อไปด้วย ก็จักเป็นอานิสงส์แก่ประเทศชาติและประชาชนอย่างหาที่สุดมิได้

ขอแสดงความนับถืออย่างยิ่ง

( นางยินดี วัชรพงศ์ ต่อสุวรรณ )

อดีตผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา
อดีตผู้พิพากษาอาวุโสในศาลภาษีอากรกลาง
อดีตผู้พิพากษาอาวุโสในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง










กำลังโหลดความคิดเห็น