xs
xsm
sm
md
lg

อนุกมธ.ลุ่มน้ำใต้ กางแผนผนึกกำลังทุกหน่วยงานแก้ปัญหาน้ำภาคใต้ทางเป็นระบบ

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



อนุกมธ.ลุ่มน้ำใต้ กางแผนการแก้ปัญหาน้ำภาคใต้ ผนึกกำลังทุกหน่วยงานรับผิดชอบ-ประชาชน-สถาบันศึกษา แก้ปัญหาทั้งระบบ เสนอปรับลดทุกขั้นตอนที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินงานให้กระชับ ชัดเจน เพื่อแก้ปัญหาได้รวดเร็วและเป็นจริง พร้อมดัน1ตำบล1 แก้มลิง


วันนี้(3 ธ.ค.)นายสาคร เกี่ยวข้อง ส.ส.กระบี่ พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะประธานอนุกรรมาธิการ(อนุกมธ.ฯ) ลุมน้ำภาคใต้ กล่าวรายงานผลการศึกษาต่อที่ประชุมสภาผู้แทนราษฏร ว่า ลุมน้ำใต้มีด้วยกัน5 ลุ่มน้ำหลักๆจาก 25 ลุ่มน้ำของประเทศไทย ถือ เป็นภูมิภาคที่สร้างรายได้ให้ประเทศอย่างมาก มีทะเลทั้งสองฝั่ง มีระบบนิเวศน์ชายฝั่ง เป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำตามธรรมชาติ มีการผลิตทางการเกษตร ทั้งยางพารา และปาล์มน้ำมัน มีการผลิตและแปรรูปมายาวนาน มีความได้เปรียบทางสภาพภูมิศาสตร์อย่างมาก การมุ่งเน้นการท่องเที่ยวให้สู่มาตรฐานสากลควบคู่ไปกับการเกษตร การพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การเช่ือมโยงในภาคส่วนต่างๆให้เป็นเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญ และเป็นเมืองตากอากาศ รวมทั้งเป็นเมืองเศรษฐกิจที่เชื่อมโยงการค้า การลงทุนกับภูมิภาคอื่น ซึ่งจากการที่ได้มีการประชุม 22 ครั้ง และลงพื้นที่ศึกษาดูงานครอบคลุม14 จังหวัดใน5 ครั้ง อนุกมธ.ได้ข้อสรุปและข้อสังเกตต่างๆที่มีความสำคัญในการบริหารจัดการพัฒนาลุมน้ำภาคใต้ดังนี้

การจัดการแหล่งน้ำเพื่อสนับสนุนแหล่งท่องเที่ยว โดยเฉพาะพื้นที่เกาะ และพื้นที่เกาะสำคัญ เช่น การจัดการหาน้ำเพิ่มบนเกาะภูเก็ต โครงการเพิ่มประสิทธิภาพอ่างเก็บน้ำ โครงการสูบน้ำ ผันน้ำจากบนฝั่งพังงา และสุราษฏรธานี ไปสู่ภูเก็ตเพื่อการอุปโภค บริโภค และผลิตน้ำประปา เพื่อจัดกับรายได้จากการท่องเที่ยว การจัดหาแหล่งน้ำในอ.เกาะลันตา จว.กระบี่ ที่ประชาชนยังไม่รู้จักน้ำประปา และการจัดหาแหล่งน้ำที่กรมชลประทานไปจัดหาเดิมก็มีขนาดเล็กไม่เพียงพอต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจการท่องเที่ยว ซึ่งก็มีการส่งเจ้าหน้าที่จากกรมชลประทานไปสำรวจแหล่งน้ำเพื่อสร้างอ่างเก็บน้ำและพัฒนาแหล่งน้ำเก่า เช่นแหล่งน้ำหัวแหลมกลาง อ่างเก็บน้ำคลองโขง เพื่อรองรับในอ.เกาะลันตา รวมถึงเกาะพีพีที่มีการศึกษาถึงการผลิตน้ำเค็มเป็นน้ำจืดด้วยระบบอาร์โอ และวางขยายระบบน้ำอุปโภค บริโภคในพื้นที่ที่สำคัญทางการท่องเที่ยวเช่นหาดไร่เลย์

ส่วนในจว.สุราษฏรธานี เช่น เกาะเต่า เกาะพงัน เกาะสมุย จะมีการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็กที่สามารถดำเนินการได้รวดเร็ว รวมถึงพัฒนาอ่างเก้บน้ำต่างๆบนเกาะนั้นๆด้วย และการนำน้ำจากเขื่อนรัชชประภามาใช้ในเหกาะสมุย จว.พังงา ที่มีปัญหาขาดแคลนน้ำอุปโภค บริโภค ทั้งที่มีน้ำธรรมชาติพอเพียงที่จะพัฒนาเป็นน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค และเพื่อการเกษตรได้ทั้งเกาะ แต่ก็พยายามที่จะสร้างฝายเพื่อชะลอน้ำ และการศึกษาถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด เป็นการเชื่อมต่อเพื่อการฟื้นฟูและของบประมาณจากทางสภาด้วย

จว.ตรังก็มีการพัฒนาในเกาะสำคัญ เช่น เกาะลิบง เกาะพยาม พัฒนาอ่าวแก้มลิงใหญ่ โดยประสานงานกับสำนักงานปฏิรูปที่ดินที่ยังมีปัญหาการใช้พื้นที่ ประกอบกับการพัฒนาระบบน้ำใต้ดินบนเกาะที่มีศักยภาพในการพัฒนาไปสู่ธนาคารน้ำใต้ดินได้ โดยอนุกมธ.ได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาหารือเพื่อบูรณาการแบบพิเศษ ตลอดจนจัดทำระบบบำบัดน้ำเสียบนเกาะ เพื่อการกระจายน้ำและจ่ายน้ำให้มีศักยภาพ

นายสาคร กล่าวต่อว่า ได้ศึกษากลุ่มลุ่มน้ำปากพนังที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมทรัพยากรธรรมชาติ กรมชลประทาน และการประปาส่วนภูมิภาค ที่มีอ่างเก็บน้ำสำรอง และคลองชะอวด ซึ่งเป็นคลองสาขาของลุ่มน้ำปากพนัง ซึ่งเป็นการช่วยเหลือนกรณีที่มีน้ำหลาก และลดผลกระทบในปัญหาน้ำท่วม มีการเร่งรัดจัดการอ้างเก็บน้ำห้วยน้ำใสในอ.ชะอวดที่จะเพิ่มศักยภาพและให้ประชาชนมีส่วนร่วม รวมถึงการแก้ปัญหาป่าพุควนเค็ง ที่มีปัญหาไฟไหม้ทุกปี โดยต้องรักษาระดับน้ำในป่าพุให้มีระดับเหมาะสมด้วยการก่อสร้างคันดิน และปรับปรุงผังต่างๆเพื่อช่วยเหลือไปยังลุ่มน้ำใกล้เคียงด้วย

นอกจากนี้ยังมีลุ่มน้ำพื้นที่ชายแดนใต้คือลุ่มน้ำปัตตานี ลุ่มน้ำทะเลสาปสงขลา ทางอนุกมธ.มีการลงไปดูการใช้นำ้ของประชาชน เช่นความต้องการใช้น้ำจืดของภาคการเกษตร การใช้น้ำกร่อยของภาคการประมงในคาบสมุทรสทิ้งพระ ที่มีน้ำไหลท่วมในหน้าฝนและแห้งแล้งอย่างรุนแรงในฤดูแล้ง คงต้องใช้การบริหารจัดการน้ำอย่างเร่งด่วน ซึ่งขณะนี้เรายังไม่มีการบริหารจัดการที่สมบูรณ์ ทำให้มีปัญหาน้ำท่วมภาคใต้อย่างรวดเร็ว และเกิดต่อเนื่องมาทุกปี

“สำหรับลุ่มน้ำพื้นที่ชายแดนภาคใต้ประกอบด้วย 3จว. คือ ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส มีหลายโครงการที่สามารถพัฒนาให้เป็น”สามเหลี่ยมมั่งคั่ง มั่นคง ยั่งยืน” โดยมีการเร่งรัดจากหลายหน่วยงานและท้องถิ่นในจังหวัดภาคใต้เพื่อการพัฒนา โดยเฉพาะบริเวณแม่น้ำสายบุรีที่ยังสามารถพัฒนาได้ ซึ่งต้องการให้มีการยกเลิกมติครม.เพื่อให้มีการพัฒนาในแม่น้ำสายนี้ได้ การบริหารจัดการน้ำในป่าพุโต๊ะแดงที่มีปัญาหาลักษณะเดียวกัน เรื่องการกั้นแนวเขตที่ชัดเจนเพื่ออนุรักษ์ให้เป็นป่าพุต้นแบบและใช้ร่วมกันได้ในหลายชุมชน โดยแต่ละป่ารวมแล้วมีพื้นที่นับหมื่นไร่ และสร้างระบบนิเวศน์อย่างดีให้กับพื้นที่ และยังมีการผลิตน้ำจืดจากน้ำทะเล ส่วนด้านสิ่งแวดล้อมโดยหน่วยรับผิดชอบหลัก ทั้งกรมทรัพยากรฯ กรมป่าไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ กรมชลประทาน สำนักงานนโยบายและแผน ขอให้มีการปรับปรุงขั้นตอน วิธีการแผนการเสนอรายละเอียดของการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมให้มีการกระชับขึ้น ปรับปรุงวิธีการลดขั้นตอนการอนุญาตให้เข้าไปพัฒนาแหล่งน้ำต่างๆในเขตอุทยาน เขตป่าไม้ต่างๆ การขอใช้พื้นที่ในระยะเวลาที่พอสมควรในการพัฒนา ไม่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินงาน เพื่อแก้ปัญหาให้ประชาชนได้รวดเร็วและเป็นจริง” ประธานอนุกมธ.ฯ กล่าว

นอกจากนี้ยังมีการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในทุกพื้นที่ที่มีการจัดทำ หรือที่มีความต้องการพัฒนาแหล่งน้ำต่างๆ โดยอนุกมธ.ฯได้พบปะพูดคุยกับประชาชนและมวลชนเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในโครงการต่างๆที่อาจจะได้รับผลกระทบเช่นการนำน้ำจากพื้นที่หนึ่งไปอีกพื้นที่หนึ่ง ทำให้เกิดความไม่เข้าใจและอาจต่อต้านได้ อีกทั้งการถ่ายโอนภาระกิจจากหน่วยงานไปยังการปกครองส่วนท้องถิ่น ที่จะต้องมีการจัดอบรม การบำรุงรักษา การใช้งาน การเตรียมความพร้อม การจัดสรรงบเพื่อบำรุงรักษา จัดความรู้เฉพาะด้าน การดูแลแหล่งน้ำร่วมกับสถาบันอุดมศึกษาให้มีการเรียนการสอนเรื่องแหล่งน้ำ โดยพัฒนาหลักสูตร ฝึกอบรมในการดูแลพัฒนาแหล่งน้ำที่สำคัญ หรือให้กรมแหล่งน้ำที่กักเก็บน้ำที่ปริมาตรน้อยกว่า2ล้านลูกบาศก์ ที่เกินศักยภาพขององค์การปกครองส่วนถิ่น ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าไปเป็นพี่เลี้ยง การบริหารจัดการของแหล่งน้ำต่างๆ การจัดแหล่งสำรองน้ำของตนเอง การจัดแหล่งน้ำต้นทุนไปใช้ ซึ่งภาคใต้จะมีปัญหาน้ำแล้งเพียงช่วงไม่กี่เดือน ต้องวิเคราะห์ในการใช้นำ้และสร้างความสมดุลย์ในการจัดสรรน้ำ โดยชุมชน การเติมน้ำใต้ดิน การจัดหาน้ำบาดาลเพื่อสนับสนุนในเขตที่ขาดแคลนน้ำอย่างจริงจัง รวมถึงขุดลอกร่องนำ้ปากแม่น้ำ เพื่อการประมง การท่องเที่ยว เช่นปากแม่น้ำปัตตานี ปากแม่น้ำกระบี่ ร่องนำ้คลองสนอ่าวนางโครงการขุดคลองผันนำ้เลี่ยงเมือง ป้องกันนำ้ท่วมชุมชนเมืองในทุกจังหวัดของภาคใต้ ตลอดจนเสนอให้มีโครงการ 1ตำบล1 แก้มลิง ในลุ่มน้ำภาคใต้ด้วย


กำลังโหลดความคิดเห็น