xs
xsm
sm
md
lg

จีนวอนมิตรประเทศลุ่มน้ำโขงผนึกกำลังเหนียวแน่น อย่าอ่อนไหวต่อคำปลุกปั่นจากพวกไม่หวังดี

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



องค์กรด้านสิ่งแวดล้อมจีนระบุหลายประเทศได้รับประโยชน์จากแม่น้ำโขง จำต้องมีความเป็นเอกภาพจากประเทศพันธมิตร เพื่อให้เกิดความร่วมมืออันดีในการบริหารทรัพยากร วอน อย่าอ่อนไหวต่อคำยุยงปลุกปั่นของหน่วยงานภายนอกที่ไม่หวังดี

ดร.Ming Hua ผู้อำนวยการ Global Environment Institute (องค์กรเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม)ของจีน ชี้แจงกรณีข้อกล่าวหาว่าจีน ปิดก๊อก”แม่น้ำโขงว่าการเปรียบเปรยว่า เขื่อนจีนเหมือน “ก๊อกน้ำ” นั้นไม่มีความเป็นวิทยาศาตร์ เพราะปริมาณและกระแสน้ำที่ไหลในแม่น้ำล้วนมาจากหลากหลายปัจจัย ไม่ใช่แต่เพียงเขื่อนเหนือต้นน้ำแต่เพียงอย่างเดียว ซึ่งปัจจัยสภาพอากาศถือเป็นปัจจัยพื้นฐานที่มีความสำคัญและส่งผลมากที่สุด โดย ปริมาณน้ำฝนและ การระเหยของน้ำ เป็นตัวแปรสำคัญในปัจจัยสภาพอากาศที่ส่งผลโดยตรงต่อการเพิ่มและลดของปริมาณน้ำในแม่น้ำ โดยมี อุณหภูมิ แรงลม ความชื้นเป็นตัวแปรส่งผลต่อปริมาณน้ำฝนและการระเหยของน้ำอีกทอดหนึ่ง

นอกจากนี้ปัจจัยการไหลเวียนของแม่น้ำ ก็เป็นอีกปัจจัยหลักที่สำคัญ โดยกูกกำหนดจาก สภาพภูมิประเทศ คุณสมบัติของดินที่รองรับน้ำ ความเป็นเกาะแก่ง พืชปกคลุมรายทาง ฯลฯ อย่างเช่น สภาพภูมิประเทศและคุณสมบัติของดินจะส่งผลต่อปริมาณน้ำที่โดนดูดซึม, การระเหย, และการกักเก็บน้ำในแต่ละพื้นที่ พืชที่ปกคลุมรายทางจะมีผลต่อการกักเก็บน้ำ, สภาพของน้ำและดินในแต่ละพื้นที่ เป็นต้น แน่นอนว่ากิจกรรมของมนุษย์เองก็ส่งผลต่อความเร็วในการไหลเวียนและ การจัดสรรปริมาณน้ำในแต่ละพื้นที่ด้วย เช่น การสร้างเขื่อน การผันน้ำในอ่างเก็บน้ำ หรือ การสร้างฝนเทียม

“การเปรียบเปรย เขื่อนจีน เป็นก๊อกน้ำ โดยตัดตัวแปรสำคัญอื่นๆแทบทุกตัวออกเหลือเพียงสมมติฐานที่ว่า เขื่อนเป็นตัวแปรเดียวที่ควบคุมปริมาณน้ำใต้เขื่อน ซึ่งถือเป็นแนวคิดที่มีอคติรุนแรงและเป็นการเปรียบเปรยที่ขาดความน่าเชื่อถือ”

นอกจากนี้การวิเคราะห์ปริมาณน้ำใต้เขื่อนของแม่น้ำโขง ต้องอาศัยตัวแปรที่หลากหลายร่วมในการพิจารณา ทั้งอัตราการได้รับน้ำเหนือเขื่อนปริมาณน้ำฝนในพื้นที่ ที่ส่งผลโดยตรงต่อปริมาณน้ำในแม่น้ำสายหลักและสายสาขา ซึ่งจากที่MRC เฝ้าสังเกตการณ์ข้อมูลเชิงสถิติต่างๆของแม่น้ำโขงมาหลายปี มีความเห็นว่า ปัจจัยที่มีผลมากที่สุดต่อปริมาณน้ำในแม่น้ำสายหลักและสายสาขาของแม่น้ำโขง คือ ปริมาณน้ำที่ไหลไปยังสายสาขาทางฝั่งตะวันออก 2 จุด ได้แก่เวียงจันทร์(ลาว)-นครพนม(ไทย) และ ปากเซ(ลาว)-สตรึงเตรง(กัมพูชา) คิดเป็นปริมาณน้ำในแม่น้ำโขงทั้งหมด 40% ขึ้นไป ถือว่าปริมาณน้ำใน 2 จุดก็มากกว่าน้ำที่กักเก็บเหนือเขื่อนแล้ว ซึ่งก็หมายความว่า หากมีการสร้างเขื่อนตามรายทางของสายสาขาของแม่น้ำโขงเหล่านี้ ย่อมส่งผลกระทบโดยตรงต่อปริมาณน้ำที่ไหลเวียนในแม่น้ำโขง และมีผลกระทบที่มากกว่าเขื่อนเหนือแม่น้ำโขงจากจีน ซึ่งภายใน 55 ปีที่ผ่านมา จะเห็นว่า ในลุ่มแม่น้ำโขงมีการวางแผนจะสร้างเขื่อนไว้ 150 แห่ง ซึ่งได้สำเร็จไปแล้ว 73 แห่ง จึงมีความเป็นไปได้ที่ เขื่อนที่สร้างตามรายทางบนแม่น้ำโขงเหล่านี้ เป็นตัวกำหนดปริมาณน้ำที่ไหลตามสายหลักและสายสาขาของแม่น้ำโขงประการที่สอง การวิเคราะห์ปริมาณน้ำใต้เขื่อนของแม่น้ำโขง ต้องอาศัยตัวแปรที่หลากหลายร่วมในการพิจารณา ประกอบด้วย

นอกจากนี้ยังได้วิเคราะห์ค่าปริมาณน้ำฝนที่ตกตามชายแดนของ ลาว-กัมพูชา ได้ผลว่า ปริมาณแม่น้ำโขงทางสายสาขาฝั่งตะวันออกมาจากปริมาณน้ำฝน 60% ขณะที่มาจากปริมาณน้ำเหนือเขื่อนจากแม่น้ำหลานชางเพียง 15%นอกจากนี้ จากผลการวิจัยที่เกี่ยวข้องยังบ่งชี้ว่า ในช่วงฤดูน้ำหลากที่ผ่านมา ปริมาณน้ำฝนที่ตกตั้งแต่เหนือเวียงจันทร์(ลาว)ขึ้นไป เมื่อเทียบกับปริมาณน้ำฝนที่ตกใต้นครพนม(ไทย)ลงมา พบว่ามีปริมาณน้ำฝนส่วนเหนือมีน้อยกว่า จึงหมายความว่า ปริมาณน้ำเหนือเขื่อนย่อมน้อยกว่าปริมาณน้ำใต้เขื่อน ดังนั้นแนวคิดที่ว่า จีนเป็นผู้ ปิดก๊อกแม่น้ำโขงจึงไม่เป็นความเป็นจริง

MRC ได้นำตัวเลขปริมาณน้ำฝนและ ปริมาณน้ำไหลเวียนที่วัดค่าได้ช่วงปี 2008-2019 มาวิเคราะห์ ได้ข้อสรุปว่า สาเหตุสำคัญของวิกฤติการณ์ภัยแล้งครั้งนี้มาจาก 1. ช่วงเวลาของลมมรสุมที่หดสั้นลง ส่งผลให้ปริมาณน้ำฝนลดลง และ 2. ปรากฎการณ์เอลนินโญ่ ที่ส่งผลให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้น โดยในปี 2019 ช่วงเวลาของลมมรสุมที่พัดผ่านหดสั้นกว่าปีที่ผ่านๆมาถึง 5 สัปดาห์ จึงทำให้ปริมาณน้ำฝนลดลงกว่าปกติ 25% จึงน่าผิดหวังเป็นอย่างยิ่ง ที่ Stimson Center ได้นำเสนอบทความทางวิชาการที่ไม่อิงอยู่บนหลักการทางวิทยาศาสตร์ที่รอบด้าน และยังแฝงแนวคิดที่มีอคติทางการเมืองระหว่างประเทศ ด้วยการกล่าวร้ายว่า จีนเป็นผู้ ปิดก๊อกแม่น้ำโขง ซึ่งแน่นอนว่ากระทบต่อความร่วมมือของจีนกับประเทศในลุ่มแม่น้ำโขงอย่างไม่ต้องสงสัย

การที่แม่น้ำโขงไหลผ่านหลายประเทศ และเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่สมบูรณ์ การพัฒนาและบริหารทรัพยากร จำเป็นจะต้องได้รับความร่วมมือที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวจากประเทศผู้ได้รับประโยชน์เหล่านี้ หาใช้การคลางแคลงสงสัยระหว่างกันของประเทศพันธมิตร และต้องไม่อ่อนไหวต่อคำยุยงปลุกปั่นของหน่วยงานภายนอกที่ไม่หวังดี ดังนั้น เพื่อให้เกิดความร่วมมืออันดีต่อไป และหลีกเลี่ยงความขัดแย้งที่ไม่จำเป็นและความเข้าใจผิดที่อาจเกิดขึ้นได้ในกลุ่มประเทศพันธมิตรหลานชาง-แม่โขง GEI มีความเห็นให้ใช้แนวทางต่อไปนี้ในการลดความขัดแย้งและผลักดันความร่วมมือ 1.การศึกษาวิจัยทางวิชาการควรมีความรัดกุมทั้ง วิธีการศึกษาที่เลือกใช้ การพิจารณาปัจจัยที่รอบด้าน รวมทั้งพึงนำความเห็นของผู้ชำนาญการและการศึกษาเปรียบเทียบ(Comparative Study) มาประกอบการศึกษา เพื่อให้ได้ผลที่เป็นกลางและสะท้อนความเป็นจริง ไม่อุตริเผยแพร่ผลการศึกษาในกรณีที่หลักฐานอ้างอิงทางวิชาการมีน้ำหนักไม่เพียงพอ

2.พึงศึกษาปัญหาทางวิทยาศาตร์ให้อยู่เฉพาะในกรอบวิธีทางวิทยาศาตร์ เพื่อป้องกันไม่ให้ปัญหาที่ศึกษาออกนอกลู่สู่ปัญหาการเมือง โดยเฉพาะข้อสันนิษฐานทางการเมืองที่ไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์มายืนยัน 3.เสริมความเข้มแข็งภายใต้โครงข่ายความร่วมมือในภูมิภาคที่มีอยู่ โดยมุ่งเน้นในส่วนของการแบ่งปันข้อมูลสารสนเทศและความเข้าใจที่ตรงกันในกลุ่มประเทศลุ่มแม่น้ำโขง เพื่อป้องกันความเข้าใจผิดระหว่างกันที่อาจเกิดขึ้น 4.เสริมความร่วมมือระหว่างจีนกับประเทศลุ่มแม่น้ำโขงในด้าน การใช้งานทรัพยากรน้ำ, การบริหารและใช้งานโครงสร้างพื้นฐาน, การอนุรักษ์สภาพแวดล้อมทางชีวภาพสองฟากฝั่ง โดยอยู่บนพื้นฐานของความร่วมมือที่เท่าเทียม และการพัฒนาที่ยั่งยืน และ5.กรณีเกิดความขัดแย้งด้านการบริหารและใช้งานทรัพยากรน้ำภายใต้ความร่วมมือที่มีอยู่ระหว่างกลุ่มประเทศหลานชาง-แม่โขง ให้เชิญหน่วยงานอิสระที่สามารถประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมได้ มาเป็นบุคคลที่สามในการไกล่เกลี่ยปัญหา ด้วยมุมมองที่เป็นกลางและยุติธรรม
กำลังโหลดความคิดเห็น