รุ่มจวกใหญ่ ส.ส.อนาคตใหม่ อดีตผู้กำกับหนังเกย์ กำกับฉากชายจูบชายกลางสภา อย่างไม่รู้สึกผิด “อุ๊- หฤทัย” ด่า “ล่าแม่มดเทียม” รุ่นพี่เตือน “ล้ำไป” สองซีไรต์ ฉะ “กาลเทศะไม่มี”
น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง วันนี้(20 ธ.ค.62) หฤทัย ม่วงบุญศรี หรือ “อุ๊” นักร้องชื่อดัง โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก โดยระบุว่า
“เออ "ล่าแม่มด" เค้าใช้สำหรับ ผู้บริสุทธิ์ที่ถูกตัดสินประหารชีวิต โดยศาสนจักร ด้วยการไต่สวนของศาลศาสนา ที่ขาดวัถตุพยานหลักฐานในการไต่สวน จึงมีการตัดสินประหารชีวิตอย่างไม่เป็นธรรม ทำให้มีผู้ประสบเคราะห์กรรมเป็นจำนวนมาก ในสมัยยุคกลางของทวีปยุโรป
ไม่เหมือนมึง อย่างมึงเค้าเรียกผู้ที่กระทำความผิด พร้อมวัตถุพยานหลักฐาน ตอนที่มึงทำมึงไม่คิด คิดแต่เอามันส์ เอาสนุก แต่ตอนนี้มึงไม่สนุก มึงเรียกร้องความเป็นธรรมจากใครละ ตอนมึงทำมึงยังไม่ให้ความเป็นธรรมกับพระองค์ท่านเลย จริงไหม?
ตอนนี้มาโอดโอย เปรียบเทียบตัวเองว่าโดนล่าแม่มด กล้าทำแต่ไม่กล้ารับ โยนความผิดให้สังคมไทยที่เค้าประณามในความต่ำช้าของมึง เลวแล้วเลวอีกไม่สำนึก มึงคิดอะไรง่ายๆ แบบนี้หรือ?”
ไม่เว้นแม้แต่ ขณะเดียวกัน (20 ธ.ค.62) คริส โปตระนันทน์ ส.ส.กทม. พรรคอนาคตใหม่ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Chris Potranandana หัวข้อ “จากพี่ถึงน้อง (ขออภัยในภาษานะครับ)”
โดยระบุว่า กูมองว่า มันช็อกสังคมไทยเกินไป
มึงต้องลองคิดดูสมัยกูโต ละครไทย จูบจริงนี่ไม่มีเลยนะ
เดี๋ยวนี้ถ้าเรื่องไหนไม่จูบจริง นี่กาก
แต่ถามว่า หญิงชายดูดปากกันกลางถนนในกทม.มีหรือไม่ ก็คงต้องตอบว่า แทบจะไม่มี
คือในเมกา การจูบเป็นปรกติกว่าเมืองไทย แต่ก็ถ้ามึงนัวกันในที่สาธารณาก็ยังตกเป็นเป้าสายตานะ
มันมีคำที่เค้าใช้กันบ่อยๆ คือ
“get a room man!”
(แปลไทย แบบได้อารมณ์คือ เปิดห้องเหอะ)
คือกูว่า ประเด็นคือมึงล้ำไปไง คือมึงไม่ได้ผลักดันประเด็นแสดงออกความรักในที่สาธารณะ
ไปดูดปากโชว์เลย (French kiss) คนเลยไม่get
กูหวังดีกับมึงนะฟอร์ด จะทำไรต้องคิดเยอะๆหน่อยว่ะ ว่ามึงทำแล้วคนจะsupport ประเด็นมึงมากขึ้นหรือน้อยลง
จะเล่นการเมืองหรือเป็นนักกิจกรรมมันต่างกันแค่นิดเดียว
มึงเอาอันนี้ไปอ่านว่า
Public affection (แสดงความรักในที่สาธารณะ) กับpublic indecency (อนาจารในที่สาธารณะ) มันต่างกันยังไง (French kiss บางทีก็เป็น public indecencyนะเว่ย).
ที่เจ็บแสบไปกว่านั้น วิมล ไทรนิ่มนวล นักเขียนรางวัลซีไรต์ ก็ออกมาโพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว(20ธ.ค.62) โดยระบุว่า
“ถ้ารู้จักแต่เสรีภาพ ไม่รู้จักกาลเทศะว่าเป็นอย่างไร
ก็ต้องเอาข้าวไปกินในส้วม และขี้ในวงข้าว”
ก่อนหน้านั้น “วิมล” โพสต์ข้อความหัวข้อ "ขยะปฏิกูล"
ระบุว่า “ทำไม "พวกนักการเมืองบางจำพวก" จึงกล้าทำสิ่งที่ผิดปรกติและท้าทายเสมอมา อย่างไม่แยแสความรู้สึกนึดคิดของใคร?
"ใคร" ก็คือฝ่ายตรงข้ามกับพวกเขา
นั่นเพราะฝ่ายเดียวกับพวกเขาชื่นชมยินดีต่อการกระทำของเขา ไม่เว้นแม้กระทั่งพวกมีการศึกษาสูงๆ มีตำแหน่งทางวิชาการขลังๆ
โดยเฉพาะพวกซ้าย...ทั้งซ้ายเก่า ซ้ายแก่ ซ้ายซอมบี้ และซ้ายใหม่ ซ้ายไร้เดียงสา และแน่นอนว่าต้องรวมเอาพวกลิเบอรัลไว้ด้วย
คนพวกนี้ไม่เพียงแต่ชื่นชม แต่ยังคอยปกป้อง แก้ต่าง คอยเบี่ยงประเด็น คอยแถ...แบบนักวิชาการให้อีกด้วย
ส่วนพวกกักขฬะขยะสังคมก็คอยก่นด่าคนที่ไม่เห็นด้วยกับพวกเขาอย่างหยาบช้าถ่อยสถุล จนสงสัยว่าพ่อแม่ครูอาจารย์อบรมบ่มนิสัยพวกเขามาแบบไหน หรือเป็นโดยกมลสันดาน
แต่ผมก็ว่า "ดี" ที่พวกเขาได้สำรากขยะปฏิกูลในจิตใจออกมาให้ได้ "รู้เช่นเห็นชาติ" กันว่าเป็นอย่างไร
จะได้ตามชมชะตากรรมของพวกเขา...เหมือนชมมหรสพ.(ข้อมูลจากไทยโพสต์)
และวันก่อน(19 ธ.ค.62) วินทร์ เลียววาริณ ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ นักเขียน รางวัลซีไรต์ ก็ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กเช่นกัน หัวข้อ “ละครเรทอาร์”
เนื้อเรื่องระบุว่า “ในรัฐสภาเมื่อไม่กี่สิบชั่วโมงที่ผ่านมา ทำให้หลายคนในสังคมตั้งคำถามในเรื่อง กาลเทศะ
กาลเทศะ (คำว่า กาล ไม่มีสระอะ) คำนี้ เราได้รับการอบรมสั่งสอนมาแต่เด็ก แต่ไม่ค่อยมีคนใช้จริงๆ
ตั้งแต่คนระดับชาวบ้านไปจนถึงนักการเมือง
นักการเมืองฝรั่งก็เป็น
รอนัลด์ เรแกน ประธานาธิบดีคนที่ 40 แห่งสหรัฐอเมริกา ขึ้นชื่อในเรื่องมีอารมณ์ขัน ชอบพูดตลกแม้ในเรื่องการเมืองเครียด ๆ
ในวันที่ 11 สิงหาคม 1984 ช่วงที่สงครามเย็นยังครอบคลุมโลกใบนี้ ประธานาธิบดีรอนัลด์ เรแกน เตรียมออกอากาศทางสถานีวิทยุ ช่างเทคนิคตรวจสอบไมโครโฟนและเครื่องมือต่าง ๆ พร้อมแล้ว ก็ให้ท่านประธานาธิบดีทดลองพูดเพื่อตรวจความเรียบร้อยก่อนออกอากาศจริง
บทพูดในวันนั้นเป็นเรื่องการออกกฎหมายใหม่ฉบับหนึ่ง มันเริ่มต้นว่า :
“My fellow Americans, I’m pleased to tell you that today I signed legislation that will allow student religious groups to begin enjoying a right they’ve too long been denied...”
(ชาวอเมริกันทั้งหลาย ข้าพเจ้ายินดีที่จะแจ้งให้พวกท่านทราบว่าข้าพเจ้าได้เซ็นกฎหมายอนุญาตให้กลุ่มนักศึกษาศาสนาเร่ิมได้รับสิทธิที่พวกเขาถูกปฏิเสธมานาน...)
ท่านประธานาธิบดีทดลองพูดโดยแปลงบทซีเรียสให้เป็นเรื่องขำ ๆ ว่า : “My fellow Americans, I’m pleased to tell you today that I’ve signed legislation that will outlaw Russia forever. We begin bombing in five minutes.”
(ชาวอเมริกันทั้งหลาย ข้าพเจ้ายินดีที่จะแจ้งให้พวกท่านทราบว่าข้าพเจ้าได้เซ็นกฎหมายอนุญาตให้เพิกถอนรัสเซียตลอดไป เราจะเริ่มทิ้งระเบิดรัสเซียในห้านาทีนี้)
โลกเข้าโหมดสงครามโลกครั้งที่สามทันทีที่มุขตลกนี้รั่วไปถึงรัสเซีย
ผ่านไปสามสิบนาทีเมื่อไม่มีวี่แววอเมริกาปล่อยขีปนาวุธมา รัสเซียจึงลดระดับการเตรียมสงครามลงสู่ภาวะปกติ เพราะเพิ่งรู้ว่าประธานาธิบดีคนนี้ล้อเล่น
หลายปัญหาในโลกเกิดจากการพูดการกระทำเรื่องผิดกาลเทศะ ผู้ที่อยู่ในตำแหน่งสูง เป็นผู้นำหรือผู้บริหาร ต้องระมัดระวังการพูดจาและการกระทำมากกว่าคนธรรมดา เพราะสิ่งที่พูดทำเป็นตัวแทนของทั้งประเทศหรือองค์กร
คนที่เป็นผู้นำความคิดในสังคมก็ต้องระวังเช่นกัน เพราะมันอาจสร้างทัศนคติหรือค่านิยมที่ไม่ดีแก่คนอื่นได้ ต้องระวังเรื่องที่กระทบความรู้สึกของคน เพราะมันทำร้ายจิตใจคนได้
ในบ้านเรา เรามักเห็นนักการเมืองพูดจาสกปรกหยาบคายต่อ ส.ส. หญิง คนเหล่านี้ลืมไปว่าตนเองเป็นตัวแทนของชาวบ้านที่เลือกพวกเขามาและต้องรักษาเกียรติของจังหวัดนั้น ๆ
ผมมีประสบการณ์โดยตรงกับครูบาอาจารย์ที่ใช้เวลาในห้องเรียนเล่าประสบการณ์ทางเพศของตน บางครั้งมีนักศึกษาหญิงฟังอยู่ด้วย พิสูจน์ว่าความรู้เป็นคนละเรื่องกับมารยาท
การเลือกพูดเหมาะสมกับกาลเทศะเป็นการแสดงวุฒิภาวะอย่างหนึ่ง การสื่อสารเป็นเรื่องสำคัญ ไม่ใช่มีปากก็พูด ควรคิดข้ามช็อตว่าจะส่งผลอะไรตามมาด้วย
น่าเสียดายที่เราอยู่ในโลกที่คนพูดมากกว่าทำ พูดแล้วไม่รักษาคำพูด พูดเรื่องโง่ ๆ ที่ไม่สร้างสรรค์ และไม่ต้องสนใจกับกาลเทศะ
ทำให้สงสัยว่า เราจะสอนเด็กเรื่องกาลเทศะอย่างไรดี.
โพสต์เฟซบุ๊กที่ยกมานำเสนอทั้งหมด แทบไม่ต้องขยายความแม้แต่น้อย ทุกอย่างคือ เสียงสะท้อน ของคนที่มีวุฒิภาวะ และรู้กาลเทศะเป็นอย่างดีนั่นเอง