xs
xsm
sm
md
lg

เก็บตก! 2.6 หมื่นล้าน สารพัดแผนก่อสร้าง “พัฒนาโครงข่ายคมนาคม” ครม.สัญจรเหนือตอนล่าง 2

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


เก็บตก! ครม.สัญจรเหนือตอนล่าง 2 “กำแพงเพชร นครสวรรค์ พิจิตร อุทัยธานี” ไฟเขียวแผนพัฒนาโครงข่ายคมนาคม/ขนส่ง วงเงินรวม 26,970 ล้าน ปี 63 สร้างถนนเลี่ยงเมืองนครสวรรค์ เชื่อวงแหวนตะวันออก-ตะวันตกเต็มวง ขยายทางหลวง “นครสวรรค์-ชัยภูมิ” เชื่อมเหนืออีสาน 4 พันล้าน ขยาย 4 เลนเชื่อมสายเอเชีย รับ Bio Hub จ่อพัฒนา “จุดพักรถบรรทุกบรรพตพิสัย” รองบปี 62 ด้าน “ขนส่งทางราง” 902 กม.ของบกลางปี 62-ขนส่งทางน้ำ 200 ล้าน ลุ้น EIA/HIA

วันนี้ (14 มิ.ย.) แหล่งข่าวจากทำเนียบรัฐบาล เปิดเผยว่า การประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจร พื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 2 (กำแพงเพชร นครสวรรค์ พิจิตร และอุทัยธานี) ได้เห็นชอบแนวทางการพัฒนาโครงข่ายค้านคมนาคมขนส่งของกระทรวงคมนาคม ตามที่นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี กำกับการบริหารราชการกระทรวงคมนาคม เสนอ หลังจากมีข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรีในคราวประชุม ครม.สัญจร ภาคเหนือตอนล่าง 1 ตามข้อสั่งการในการพัฒนาโครงข่ายทางหลวง แผ่นดินหมายเลข 101 จังหวัดกำแพงเพชร-สุโขทัย-อุตรดิตถ์-แพร่-น่าน-พะเยา-เชียงราย เพื่อเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวมรดกโลก โดยให้คำนึงถึงความเหมาะสมค้านการลงทุนในรูปแบบร่วมทุนกับเอกชน (PPP) ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และประโยชน์ที่ประชาชนในพื้นที่จะไค้รับต่อไปในอนาคต

ผลการดำเนินงานทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 101 สายกำแพงเพชร-สุโขทัย-แพร่-น่าน-ด่านชายแดนห้วยโกน มีระยะทางรวม 505 กิโลเมตร ได้รับงบประมาณก่อสร้างเป็นทางขนาด 4 ช่องจราจร ไปแล้วในช่วงที่มีปริมาณจราจรสูงและย่านชุมชน ระยะทาง 116 กิโลเมตร คงเหลือเป็นทาง 2 ช่องจราจร ระยะทาง 389 กิโลเมตร ซึ่งในปีงบประมาณ 2562 ได้รับการจัดสรรงบประมาณ (เบื้องต้น) ช่วงอำเภอร้องกวาง-น่าน ตอน บ้านห้วยแก๊ต-บ้านน้ำอุ่น ระยะทาง 16 กิโลเมตร ส่วนที่เหลือกรมทางหลวงได้บรรจุไว้ในแผนพัฒนาทางหลวง 10 ปี และจะได้ทยอยเสนอขอรับจัดสรรงบประมาณเพื่อดำเนินการปรับปรุงเป็นช่วงๆ ตามความเหมาะสมกับสภาพจราจรและลักษณะทางกายภาพของพื่นที่ต่อไป

ทั้งนี้ ตามข้อสั่งการให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาดำเนินการเพิ่มประสิทธิภาพทางหลวง โดยการขยายช่องจราจรบนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 115 กำแพงเพชร-พิจิตร-พิษณุโลก โดยให้คำนึงถึงความเหมาะสมด้านการลงทุนในรูปแบบร่วมทุนกับเอกขน (PPP) ผลกระทบด้านสั่งแวดล้อม และ ประโยชน์ที่ประชาชนในพี้นที่จะได้รับต่อไปในอนาคต ผลการดำเนินงานทางหลวงหมายเลข 115 สายกำแพงเพชร-พิจิตร ระยะทาง 103 กิโลเมตร ได้รับการก่อสร้างเป็นทางขนาด 4 ช่องจราจรแล้ว 51 กิโลเมตร เหลือเป็นทางขนาด 2 ช่องจราจร 52 กิโลเมตร และในปีงบประมาณ 2562 ได้รับการจัดสรรงบประมาณ (เบื้องต้น) ช่วงกำแพงเพชร-พิจิตร ตอนบ้านศรีริลัย-บ้านทุ่งรวงทอง ระยะทาง 13 กิโลเมตร ส่วนที่เหลือกรมทางหลวงได้บรรจุไว้ในแผนพัฒนาทางหลวง 10 ปี และจะได้ทยอยเสนอขอรับงบประมาณปรับปรุงเป็นช่วงๆ ตามความเหมาะสมกับสภาพจราจรและลักษณะทางกายภาพของพี้นที่ต่อไป

กรณีข้อสั่งการให้กระทรวงคมนาคม หารือกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และกระทรวงวัฒนธรรม เกี่ยวกับการพัฒนาโครงข่ายคมนาคมที่เชื่อมโยงการท่องเที่ยวระหว่างจังหวัด กลุ่มจังหวัด และภูมิภาค รวมทั้งเปิดโอกาสให้ประชาชนในท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมเพื่อให้ชุมชนได้รับประโยชน์จากการท่องเที่ยว ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม ผลการดำเนินงาน รมว.คมนาคม และ รมว.ท่องเที่ยวและกีฬาได้ลงนามในคำสั่งร่วมเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2561 แต่งตั้งคณะกรรมการร่วมเพื่อการพัฒนาโครงข่ายคมนาคมเชื่อมโยงการท่องเที่ยวเพื่อพัฒนาโครงข่ายการคมนาคมเชื่อมโยงการท่องเที่ยว ระหว่างจังหวัด กลุ่มจังหวัด และภูมิภาค รวมทั้งเป็ดโอกาสให้คนในท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมเพื่อให้ชุมชน ได้รับประโยชน์จากการท่องเที่ยวทั้งในทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และสั่งแวดล้อม ปัจจุบันอยู่ระหว่างการลงพี้นที่สำรวจเส้นทางเพื่อประเมินศักยภาพในการพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวแล้ว

อย่างไรก็ตาม กรมทางหลวงได้มีการก่อสร้างปรับปรุง และบูรณะทางหลวง เพื่อรองรับและส่งเสริมการท่องเที่ยวในภาคเหนือ โดยจะรับข้อเสนอแนะมาพิจารณาทบทวนถึงความเหมาะสมและจัดลำดับความสำคัญร่วมกับโครงการอื่นๆ ทั่วประเทศ หากมีความจำเป็นและเหมาะสมก็จะดำเนินการ ตามลำดับความสำคัญเพื่อพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ต่อไป

พัฒนาโครงข่ายคมนาคมขนส่ง เหนือตอนล่าง 2 วงเงินรวม 26,970 ล้านบาท

สำหรับแนวทางการพัฒนาโครงข่ายด้านคมนาคมขนส่งของกระทรวงคมนาคม กระทรวงคมนาคมได้กำหนดเป้าหมายการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 2 (กำแพงเพชร นครสวรรค์ พิจิตร และอุทัยธานี) สอดคล้องในทิศทางเดียวกับการพัฒนาภาคเหนือในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 -2564) ของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยเน้นการเสริมศักยภาพของโครงสร้างพื้นฐาน พัฒนา โครงข่ายเส้นทางและระบบขนส่งย่อยที่เชื่อมต่อกับระบบหลักของประเทศและอนุภูมิภาคตามแนวระเบียงเศรษฐกิจ เหนือ-ใต้ และแนวตะวันออก-ตะวันตก พัฒนาเมืองสถานีขนส่งระบบราง รวมถึงสนับสนุนการเชื่อมโยงเส้นทาง ท่องเที่ยว เพื่อส่งเสริมกิจกรรมท่องเที่ยวและสร้างรายได้ตลอดปี ซึ่งจะเป็นการเชื่อมโยงห่วงโซ่มูลค่าของระบบเศรษฐกิจภาคเข้ากับระบบเศรษฐกิจของประเทศโดยมีแนวทางการพัฒนาที่สำคัญ 3 แนวทาง

ประกอบด้วย 1. การพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งทางบก ให้ครอบคลุมเพื่อกระจายความเจริญ เพิ่มระดับในการเข้าถึงพื้นที่ภายในภาคและระหว่างภาค และเชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน 2. การพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งทางรางเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันและยกระดับ เศรษฐกิจของภาคโดยรวม และ 3. การพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งทางน้ำให้สามารถใข้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสมและเต็มประสิทธิภาพ

โดยมีการดำเนินงานที่สำคัญ ดังนี้ การพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งหางบก มีงบประมาณลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานหางถนนของกระทรวงคมนาคม ระหว่างปี 2557-2562 กระทรวงคมนาคม โดยกรมทางหลวงและกรมทางหลวงชนบทได้ดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานทางถนนในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 2 (จังหวัดกำแพงเพชร นครสวรรค์ พิจิตร และอุทัยธานี) วงเงินงบประมาณรวม 26,970.006 ล้านบาท ในช่วงระหว่างปี 2557-2561 เป็นวงเงินรวม 21,290.707 ล้านบาท และได้รับการจัดสรรงบประมาณปี 2562 (เบื้องต้น) ของแผนงาน/โครงการที่จะดำเนินการ วงเงินรวม 5,679.299 ล้านบาท

ปี 2563 สร้างถนนเลี่ยงเมืองนครสวรรค์ เชื่อมวงแหวนตะวันออก-ตะวันตกเต็มวง

สำหรับผลการดำเนินงานพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางถนน กรมทางหลวง และกรมทางหลวงชนบท ได้ส่งเสริมการพัฒนาโครงข่ายเส้นทางหลวงสายหลัก สายรอง เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงการเดินทางระหว่างจังหวัด กลุ่มจังหวัด และภูมิภาคอื่นตลอดแนวระเบียงเศรษฐกิจเหนือ-ใต้ แนวตะวันออก-ตะวันตก รวมทั้งการบูรณะปรับปรุงเส้นทางให้สามารถรองรับการเดินทางของประชาชนได้สะดวก รวดเร็ว และมีความปลอดภัยมากขึ้น เช่น โครงการก่อสร้างบูรณะปรับปรุงหางหลวง หมายเลข 1 (พหลโยธิน) ซึ่งเป็นทางหลวงสายหลักที่เชื่อมโยงจังหวัดในพื้นที่ภาคเหนือทั้งแต่จังหวัดนครสวรรค์จนถึงจังหวัดเชียงราย มีอายุการใช้งานนานเกินอายุการออกแบบ มีปริมาณการจราจรสูงและเพิ่มจำนวนมากขึ้นทุกปี ทำให้สายทางช่วงนครสวรรค์-สลกบาตร จังหวัดนครสวรรค์ ระยะทาง 20 กิโลเมตร มีความชำรุดเสียหายถึงขั้นโครงสร้าง จำเป็นต้องได้รับการซ่อมแซมในลักษณะ reconstruction โดยกรนทางหลวงได้รับงบประมาณปี 2560-2562 เพื่อดำเนินการจำนวน 589 ล้านบาท ขณะนี้อยู่ระหว่างการก่อสร้าง ได้ผลงานร้อยละ 47 กำหนดแล้วเสร็จเดือนพฤศจิกายน 2561

โครงการก่อสร้างบูรณะทางหลวงหมายเลข 122 สายทางเลี่ยงเมืองนครสวรรค์ (ด้านตะวันตก) ระยะทาง 12 กิโลเมตร เป็นเส้นทางเพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัดในตัวเมืองนครสวรรค์ มีความชำรุดเสียหายถึงขั้นโครงสร้างทาง คันทางต่ำ เมื่อฤดูน้ำหลากจะเกิดน้ำท่วมสายทาง ประกอบกับมีปริมาณการจราจรสูงและเพิ่มมากขึ้นทุกปี จำเป็นต้องได้รับการบูรณะปรับปรุง พร้อมยกระดับคันทางให้สูงขึ้น โดยกรมทางหลวงได้รับงบประมาณปี 2560-2563 เพื่อดำเนินการจำนวน 542 ล้านบาท ขณะนี้อยู่ระหว่างการก่อสร้าง ได้ผลงานร้อยละ 44 กำหนดแล้วเสร็จเดือนมกราคม 2562

โครงการก่อสร้างถนนเลี่ยงเมืองนครสวรรค์ด้านตะวันออก เพื่อให้ถนนวงแหวนด้านตะวันออกและตะวันตกมีความเชื่อมต่อกันเต็มวง โดยกรมทางหลวงจะขอรับจัดสรรงบประมาณในปี 2563 เพื่อดำเนินการก่อสร้างทางแนวใหม่ รวมทั้งแยกต่างระดับในช่วงแยกทางหลวงแผ่นดินมายเลข 117 (อำเภอเก้าเลี้ยว) บรรจบทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 225

ขยายทางหลวงหมายเลข 225 “นครสวรรค์-ชัยภูมิ” เชื่อมเหนืออีสาน 4 พันล้าน

โครงการก่อสร้างขยายทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 225 จังหวัดนครสวรรค์-ชัยภูมิ เป็นเส้นทางที่เชื่อมโยงระหว่างภาคเหนือกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยจะขยายช่องทางจราจรจาก 2 ช่องทาง เป็น 4 ช่องทางจราจร ระยะทาง 253 กิโลเมตร ซึ่งปัจจุบันกรมทางหลวงได้ดำเนินก่อสร้างเส้นทางเป็น 4 ช่องทางจราจรไปแล้วระยะทาง 58 กิโลเมตร แบ่งเป็นช่วงนครสวรรค์-อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ ระยะทาง 33 กิโลเมตร วงเงิน 2,000 บาท จะขอรับจัดสรรงบประมาณปี 2563, ช่วงอำเภอชุมแสง-อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ ระยะทาง 37 กิโลเมตร วงเงิน 2,150 ล้านบาท ได้รับจัดสรรงบประมาณในปี 2562 (เบื้องต้น) แล้ว

โครงการก่อสร้างขยายทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 แยกอินทร์บุรี-อำเภอสากเหล็ก โดยจะขยายช่องจราจรจาก 2 ช่องจราจร เป็น 4 ช่องจราจร ระยะทางรวม 172 กิโลเมตร แบ่งการดำเนินงานเป็นแต่ละช่วง ดังนี้ จังหวัดนครสวรรค์ ตอนแยกอินทร์บุรี-บ้านหนองบัวทอง ระยะทาง 28 กิโลเมตร วงเงิน 2,300 ล้านบาท ได้รับจัดสรรงบประมาณปี 2562 (เบื้องต้น) แล้ว, ตอนบ้านหนองบัวทอง-สี่แยกไดตาล ระยะทาง 33 กิโลเมตร วงเงิน 1,700 ล้านบาท จะขอรับจัดสรรงบประมาณในปี 2564 ,ตอนสี่แยกไดตาล-อำเภอหนองบัว ระยะทาง 30 กิโลเมตร และ ตอนอำเภอหนองบัว-อำเภอทับคล้อ ระยะทาง 41 กิโลเมตร มีแผนจะดำเนินงานในปี 2565 จังหวัดพิจิตร ตอนอำเภอทับคล้อ-อำเภอสากเหล็ก ระยะทาง 30 กิโลเมตร วงเงิน 1,380 ล้านบาท จะขอรับจัดสรรงบประมาณในปี 2563 ,ตอนอำเภอหนองบัว-อำเภอทับคล้อ ระยะทาง 41 กิโลเมตร มีแผนจะดำเนินงานในปี 2565

โครงการก่อสร้างขยายทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 115 กำแพงเพชร-พิจิตร ระยะทางรวม 67 กิโลเมตร โดยจะขยายช่องจราจรจาก 2 ช่องจราจร เป็น 4 ช่องจราจร ซึ่งปัจจุบัน กรมทางหลวงได้ดำเนินการก่อสร้างขยายเส้นทางเป็น 4 ช่องจราจรไปแล้วระยะทาง 5 กิโลเมตร คงเหลือทางขนาด 2 ช่องจราจรอีก 32 กิโลเมตร โดยแบ่งการดำเนินงานเป็นแต่ละช่วง ดังนี้ จังหวัดกำแพงเพชร ตอนบ้านศรีวิลัย-บ้านทุ่งรวงทอง ระยะทาง 13.5 กิโลเมตร วงเงิน 570 ล้านบาท ได้รับจัดสรรงบประมาณปี 2562 (เบื้องต้น) แล้ว, ตอนอำเภอไทรงาม-แยกปลวกสูง ระยะทาง 23 กิโลเมตร วงเงิน 1,200 ล้านบาท จะขอรับจัดสรรงบประมาณในปี 2563, จังหวัดพิจิตร ตอนอำเภอสากเหล็ก-พิจิตร ระยะทาง 15 กิโลเมตร วงเงิน 600 ล้านบาท จะขอรับจัดสรรงบประมาณในปี 2564

โครงการก่อสร้างขยายทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 333 สุพรรณบุรี- อุทัยธานี-อำเภอพยุหะคีรี จังหวดนครสวรรค์ ระยะทางรวม 183 กิโลเมตร โดยจะขยายซ่องจราจรจาก 2 ช่องจราจร เป็น 4 ช่องจราจร ปัจจุบันกรมทางหลวงได้ดำเนินการก่อสร้างขยายทางเป็น 4 ช่องจราจร ช่วงอุทัยธานี-พยุหะคีรี ระยะทาง 17 กิโลเมตรแล้ว คงเหลือทางขนาด 2 ช่องจราจรอีก 166 กิโลเมตร โดยแบ่งการดำเนินงานเป็นแต่ละช่วง ดังนี้ ช่วงอุทัยธานี-หนองขาหย่าง ระยะทาง 13 กิโลเมตร วงเงิน 520 ล้านบาท จะขอรับจัดสรรงบประมาณในปี 2563, ช่วงหนองขาหย่าง-หนองสาง ระยะทาง 12 กิโลเมตร วงเงิน 480 ล้านบาท มีแผนจะดำเนินงานในปี 2564

ขยาย 4 เลน เชื่อมสายเอเชีย รับ Bio Hub-พัฒนาจุดพักรถบรรทุก อ.บรรพตพิสัย

โครงการเพิ่มประสิทธิภาพทางหลวงหมายเลข 3212 ตอนแยก หางน้ำสาครถึงวัดหนองโพ เป็นเส้นทางสายรองที่เชื่อมระหว่างเส้นทางหลักสายเอเชีย (ทล.32) กับสถานีรถไฟหนองโพ ปัจจุบันมีปริมาณการจราจร 3,477 คันต่อวัน กรมทางหลวงมีแผนออกแบบขยายเส้นทางดังกล่าวให้เป็น 4 ช่องจราจร เพื่อรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมชีวภาพครบวงจร (Bio Hub) ในอนาคต ซึ่งจะทำให้ปริมาณการเดินทางและการขนส่งสินค้ามีปริมาณสูงขี้น อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันกรมทางหลวงได้ดูแลบำรุงรักษาทางให้อยู่ในสภาพดีเพี่อให้ประชาชนในพื้นที่และผู้ใช้ทางมีความสะดวกและปลอดภัย

ถนนสาย ค ผังเมืองรวมนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ โดยกรมหางหลวงชนบทได้ดำเนินการก่อสร้างทางขนาด 4 ช่องจราจร ระยะทาง 1.855 กิโลเมตร งบประมาณ 93.700 ล้านบาท เพี่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้เส้นทาง ช่วยประหยัดเวลาในการเดินทาง มีความปลอดภัย และรองรับการเจริญเติบโตของเมืองในอนาคต ปัจจุบันอยู่ระหว่างก่อสร้าง คาดว่าจะแล้วเสร็จประมาณเดือนพฤษภาคม 2562

ในส่วนของการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะและอำนวยความสะดวกการขนส่งสินค้า กระจายสินค้าและบริการสู่ตลาดการค้าทั้งภายในและภายนอกประเทศ ประกอบด้วย โครงการพัฒนาจุดพักรถบรรทุกตามเส้นทางขนล่งสินค้าหลักของประเทศ (Truck Rest Area) โดยกรมทางหลวงได้ทำการสำรวจแล้วพบว่า ไม่มีที่ดินที่จะทำการก่อสร้าง จุดพักรถที่อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ ตามผลการศึกษาที่สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจรได้ศึกษาไว้ แต่มีที่ดินสงวนที่จะทำการก่อสร้างจุดพักรถได้บนทางหลวงหมายเลข 1 ที่ กม.378+650 บริเวณสถานีตรวจสอบน้ำหนักบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ ดังนั้น กรมทางหลวงจึงได้ปรับแผนมาก่อสร้างในบริเวณดังกล่าว และได้รับจัดสรรงบประมาณปี 2562 (เบี้องต้น) เพี่อดำเนินการก่อสร้างแล้ว โดยใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 1-2 ปี

ขนส่งทางราง 902 กม.จ่อของบกลางปี 62-ขนส่งทางน้ำ 200 ล้าน ลุ้น EIA/HIA

นอกจากนั้น ผลการดำเนินงานพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งทางราง กระทรวงคมนาคม มีนโยบายที่จะพัฒนาโครงข่ายระบบรางให้มีประสิทธิภาพ เชื่อมโยงไปยังภาคอื่นๆ ของประเทศ เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่กลุ่มจังหวัด และสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันและยกระดับเศรษฐกิจของภาคโดยรวม การรถไฟแห่งประเทศไทย มีแผน การพัฒนาโครงข่ายทางรถไฟสายใหม่เชื่อมตะวันตก-ตะวันออก (EAST-WEST Corridor upper)จาก แม่สอด-นครพนม ระยะทางรวม 902 กิโลเมตร โดยแบ่งการพัฒนาออกเป็น 3 ช่วง ดังนี้

“ช่วงแม่สอด-ตาก-กำแพงเพชร-นครสวรรค์ ระยะทาง 256 กิโลเมตร การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ศึกษาความเหมาะสมโครงการ (Feasibility study)แล้วเสร็จปี 2558 และ จะเสนอขอรับจัดสรรงบประมาณปี 2562 (งบกลาง) เพื่อดำเนินการออกแบบรายละเอียด (Detail Design),ช่วงนครสวรรค์-บ้านไผ่ ระยะทาง 291 กิโลเมตร การรถไฟแห่งประเทศไทย จะเสนอขอรับจัดสรรงบประมาณปี 2562 (งบกลาง) เพื่อศึกษาความเหมาะสมโครงการ และช่วงบ้านไผ่-มุกดาหาร-นครพนม ระยะทาง 355 กิโลเมตร ขณะนี้อยู่ระหว่าง ขั้นตอนการขออนุมีตดำเนินโครงการก่อสร้าง”

ท้ายสุด ผลการดำเนินงานพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งทางน้ำ กระทรวงคมนาคม โดยกรมเจ้าท่า มีภารกิจในการบำรุงรักษาร่องน้ำ การป้องกันปัญหาการกัดเซาะพื้นที่ริมตลิ่ง รวมถึงพัฒนา ปรับปรุง และเพิ่มขีดความสามารถในการเดินเรือในแม่น้ำและ ประสิทธิภาพการขนส่งทางน้ำ มีโครงการสำคัญ คือ โครงการสำรวจออกแบบรายละเอียดและศึกษา ผลกระทบสิ่งแวดล้อมในรายละเอียดโครงการก่อสร้างเขื่อนยกระดับในแม่น้ำเจ้าพระยาและน่าน เพื่อการเดินเรือและลดต้นทุนการขนส่ง ได้รับงบประมาณปี 2555-2559 วงเงิน 231.760 ล้านบาท

ขณะนี้อยู่ระหว่างตรวจรับรายงานการศึกษาสิ่งแวดล้อมฉบับสมบูรณ์ และตรวจรับรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเพื่อส่งสำนักงานนโยบาย และแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพิจารณา ก่อนเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นขอบ การดำเนินโครงการ หลังจากนั้นจะได้ดำเนินการออกแบบรายละเอียดและจัดทำคำของบประมาณเพื่อก่อสร้างต่อไป

“อย่างไรก็ตาม ที่ประชุม ครม.มีมติไม่เห็นชอบในโครงการขยายไหล่ทางทางหลวงหมายเลข 1072 เนื่องจากเป็นเส้นทางที่ผ่านเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง ซึ่งนายกรัฐมนตรีให้ความเห็นว่า การขยายถนนบริเวณแหล่งท่องเที่ยว ขอให้คำนึงถึงทรัพยากรธรรมชาติเป็นหลัก อย่าทำลายป่าไม้จนกระทบสิ่งแวดล้อม สัตว์ป่า และเส้นทางน้ำ ขอให้หาแนวทางใหม่แทนการขยายถนน เช่น มีการบริหารจัดการช่วงเวลาการท่องเที่ยว จัดระบบการขนส่งคอยรับส่งนักท่องเที่ยว แทนการนำรถเข้าไปในแหล่งท่องเที่ยว ขอให้คำนึงถึงคุณภาพมากกว่าปริมาณ อย่างไรก็ตามยังคงเห็นชอบให้ทำการปรับปรุงคุณภาพพื้นผิวถนนได้”


กำลังโหลดความคิดเห็น