แถลงการณ์ ครป. 4 ปี คสช. ชี้ ปฏิรูปล้มเหลวมีแต่ตั้งกลไกแผนงานซ้ำซ้อน ผลาญงบ ไม่มีผลเป็นรูปธรรม ทุจริตไม่ต่างจากกอ่นรัฐประหาร บริหารชาติแบบรวยกระจุก จนกระจาย เอื้อนายทุนใหญ่ และใช้ ม.44 กระทบสิทธิจำนวนมาก สรุปไม่อาจฝากความหวังปฏิรูปประเทศให้กับ คสช. ได้อีกต่อไป จี้เร่งคืนอำนาจ ปชช. ประกาศวันเลือกตั้งให้ชัด
วันนี้ (22 พ.ค.) แถลงการณ์คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) เรื่อง “4 ปี คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กับการปฏิรูปประเทศไทย”
นับเป็นเวลา 4 ปีที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้เข้าควบคุมอำนาจการปกครองประเทศโดยอ้างว่า “สถานการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในหลายๆ พื้นที่ของประเทศ เป็นผลให้ประชาชน ผู้บริสุทธิ์เสียชีวิต ได้รับบาดเจ็บ และเกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินอย่างต่อเนื่อง และมีแนวโน้มขยายตัวจนอาจเกิดเหตุการณ์ร้ายแรงที่จะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติ และความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนโดยรวมนั้น เพื่อให้สถานการณ์ดังกล่าวกลับเข้าสู่สภาวะปกติโดยเร็ว ประชาชนในชาติเกิดความรัก ความสามัคคี เช่นเดียวกับห้วงที่ผ่านมา ตลอดจนเพื่อเป็นการปฏิรูปโครงสร้างทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และอื่นๆ เพื่อให้เกิดความชอบธรรมกับทั่วทุกฝ่าย จึงมีความจำเป็นต้องเข้าควบคุมอำนาจในการปกครองประเทศ” เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 นั้น
คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) ขอแสดงท่าทีและความเห็นต่อกรณีดังกล่าวดังนี้
1. เราเห็นว่า การปฏิรูปประเทศ อันหมายถึงการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของประเทศในทุกด้าน ให้ดีขึ้นหรือมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งป้องกันการผูกขาด แก้ปัญหาการทุจริตฉ้อฉล และเกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติประชาชนมากที่สุด โดยเฉพาะการปฏิรูปการเมือง ปฏิรูประบบราชการ ปฏิรูปตำรวจและกระบวนการยุติธรรม อันเป็นข้อเสนอประชาชนก่อนจะมีการรัฐประหารเกิดขึ้น และต้องถือเป็นภารกิจหลักของ คสช. และรัฐบาลทุกชุดที่จะต้องดำเนินการตามเจตนารมณ์ของประชาชน แต่ช่วงที่ผ่านมา พบกว่าการปฏิรูปประเทศของ คสช. มีแต่การแต่งตั้งกลไกคณะกรรมการปฏิรูปด้านต่างๆ และแผนงานที่ซ้ำซ้อน ซ้ำซาก สิ้นเปลืองงบประมาณเป็นจำนวนมาก แต่ไม่มีผลงานที่ชัดเจนเป็นรูปธรรมแต่อย่างใด ถือว่าการปฏิรูปที่ผ่านมาล้มเหลวเกือบสิ้นเชิง
2. เราเห็นว่า ปัญหาการทุจริต ใช้อำนาจอย่างฉ้อฉลอันเป็นโรคร้ายของสังคมไทยในยุครัฐบาลเลือกตั้งก็ยังเกิดขึ้นและทวีความรุนแรงในช่วงที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นกรณีการโกงเงินคนจนที่ลุกลามกว่า 60 จังหวัดทั่วประเทศ กรณีเงินทอนวัด กรณีกองทุนเสมาพัฒนาชีวิต เป็นต้น ทั้งนี้ รายงานขององค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ (Transparency International หรือTI) ระบุว่า แทบไม่เห็นผลงานการปราบปรามทุจริตของคณะรัฐประหารไทยว่า มีความแตกต่างจากก่อนที่จะมีการรัฐประหารเกิดขึ้นอย่างไร ทั้งนี้ TI ได้แถลงถึง ดัชนีภาพลักษณ์การคอร์รัปชั่นในภาครัฐทั่วโลก (Corruption Perception Index - CPI) ประจำปี 2560 ผลปรากฏว่า ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 96 ของ 180 ประเทศทั่วโลกได้คะแนน CPI 37 คะแนน จาก 100 คะแนน ซึ่งยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของโลกที่ได้ 43 คะแนน
ทั้งนี้ เพราะสิ่งที่ คสช. ได้ดำเนินการเกี่ยวกับการปราบปรามการทุจริตในช่วงที่ผ่านมา เป็นการดำเนินการแบบฉาบฉวย แค่การโยกย้ายข้าราชการชั้นผู้น้อย แต่ไม่ได้มีมาตรเด็ดขาดในการเอาคนกระทำผิดมาลงโทษ อีกทั้งยังกีดกันประชาชนออกจากการมีส่วนร่วมในการติดตามและตรวจสอบการทุจริตให้มีประสิทธิภาพอีกด้วย แม้กระทั่งการข่มขู่คุกคามประชาชนในรูปแบบต่างๆ รวมทั้งการ SLAPP (Strategic Litigation against People Participation) หรือการฟ้องคดีเพื่อปิดปากประชาชน ในการมีส่วนร่วมทางสังคมและการเมืองของประชาชนด้วย
3. เราเห็นว่า การบริหารประเทศของรัฐบาลที่ผ่านมา ก่อให้เกิดสภาพ “รวยกระจุก จนกระจาย” กลุ่มธุรกิจหรือนายทุนรายใหญ่ได้รับผลประโยชน์จากการพัฒนาที่ผ่านมามากกว่าคนยากจน ซึ่งเป็นประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ ดังปรากฏตามตัวเลขของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (อ้างอิงข้อมูลจากสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เมื่อปี 2560) ที่ระบุว่า ธุรกิจขนาดใหญ่มีจำนวนน้อย เพียง 0.3% ของประเทศ แต่มีสัดส่วนรายได้จำนวนมากถึง 50.7% ของรายได้ประชาชาติทั้งหมด ขณะที่ภาคธุรกิจขนาดกลางจำนวน 0.51% มีสัดส่วนรายได้ 14.6% และธุรกิจรายย่อย 99.19% แต่มีรายได้ร่วมกัน 34.7% นั่นหมายความว่า คนส่วนน้อยควบคุมเศรษฐกิจขนาดใหญ่ของประเทศ ทำให้สังคมมีความเหลื่อมล้ำมากยิ่งขึ้น ดังที่ องค์กรการกุศล OXFAM ได้จัดให้ไทยอยู่ในอันดับที่ 3 ของประเทศที่มีการกระจายรายได้แย่ที่สุดในโลกเป็นรองแค่รัสเซียและอินเดียเท่านั้น นั่นหมายถึงรัฐบาลล้มเหลวในการกระจายรายได้ให้เกิดความเป็นธรรมกับประชาชนทั้งประเทศ
4. เราเห็นว่า 4 ปีที่ผ่านมาของการปกครองประเทศ พบว่ามีคำสั่งหัวหน้า คสช. จำนวนมากที่กระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน โดยเฉพาะคำสั่งฯ ที่ 3/2558 เป็นคำสั่งที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 ทั้งนี้เพราะรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวนี้ ได้ให้การคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพของประชาชน แต่ที่ผ่านมาการบังคับใช้คำสั่งดังกล่าวนี้ไม่เป็นไปตามหลักนิติธรรม อีกทั้งการวินิจฉัยของเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้อง ก็ไม่ได้มีหลักการว่า “การชุมนุมหรือการแสดงออกซึ่งสิทธิเสรีภาพของประชาชน ลักษณะใด สามารถกระทำได้ หรือลักษณะใด ไม่สามารถกระทำได้” ทำให้เจ้าหน้าที่รัฐมักวินิจฉัยโดยอ้างเหตุความมั่นคงเป็นหลัก ทำให้เกิดการละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนตลอดมา
ครป. เห็นว่า การปฏิรูปประเทศในสถานการณ์อนาคตข้างหน้า เราไม่อาจฝากความหวังไว้กับกลไกของรัฐ คสช. ได้อีกต่อไป ดังนั้น การปฏิรูปประเทศเพื่อแก้ไขวิกฤติที่สังคมไทยเผชิญอยู่นั้น จึงเป็นภารกิจของประชาชนที่ต้องทำให้การปฏิรูปเป็นจริง เราจึงขอเรียกร้องให้ คสช. ดำเนินการตามสัญญาด้วยการคืนอำนาจให้กับประชาชนโดยเร็ว เร่งประกาศวันเลือกตั้งที่แน่นอนและชัดเจน เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการสร้างประชาธิปไตยต่อไป
ด้วยจิตสมานฉันท์และเชื่อมั่นในพลังประชาชน แถลงโดยคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) แถลงเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2561
วันนี้ (22 พ.ค.) แถลงการณ์คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) เรื่อง “4 ปี คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กับการปฏิรูปประเทศไทย”
นับเป็นเวลา 4 ปีที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้เข้าควบคุมอำนาจการปกครองประเทศโดยอ้างว่า “สถานการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในหลายๆ พื้นที่ของประเทศ เป็นผลให้ประชาชน ผู้บริสุทธิ์เสียชีวิต ได้รับบาดเจ็บ และเกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินอย่างต่อเนื่อง และมีแนวโน้มขยายตัวจนอาจเกิดเหตุการณ์ร้ายแรงที่จะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติ และความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนโดยรวมนั้น เพื่อให้สถานการณ์ดังกล่าวกลับเข้าสู่สภาวะปกติโดยเร็ว ประชาชนในชาติเกิดความรัก ความสามัคคี เช่นเดียวกับห้วงที่ผ่านมา ตลอดจนเพื่อเป็นการปฏิรูปโครงสร้างทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และอื่นๆ เพื่อให้เกิดความชอบธรรมกับทั่วทุกฝ่าย จึงมีความจำเป็นต้องเข้าควบคุมอำนาจในการปกครองประเทศ” เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 นั้น
คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) ขอแสดงท่าทีและความเห็นต่อกรณีดังกล่าวดังนี้
1. เราเห็นว่า การปฏิรูปประเทศ อันหมายถึงการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของประเทศในทุกด้าน ให้ดีขึ้นหรือมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งป้องกันการผูกขาด แก้ปัญหาการทุจริตฉ้อฉล และเกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติประชาชนมากที่สุด โดยเฉพาะการปฏิรูปการเมือง ปฏิรูประบบราชการ ปฏิรูปตำรวจและกระบวนการยุติธรรม อันเป็นข้อเสนอประชาชนก่อนจะมีการรัฐประหารเกิดขึ้น และต้องถือเป็นภารกิจหลักของ คสช. และรัฐบาลทุกชุดที่จะต้องดำเนินการตามเจตนารมณ์ของประชาชน แต่ช่วงที่ผ่านมา พบกว่าการปฏิรูปประเทศของ คสช. มีแต่การแต่งตั้งกลไกคณะกรรมการปฏิรูปด้านต่างๆ และแผนงานที่ซ้ำซ้อน ซ้ำซาก สิ้นเปลืองงบประมาณเป็นจำนวนมาก แต่ไม่มีผลงานที่ชัดเจนเป็นรูปธรรมแต่อย่างใด ถือว่าการปฏิรูปที่ผ่านมาล้มเหลวเกือบสิ้นเชิง
2. เราเห็นว่า ปัญหาการทุจริต ใช้อำนาจอย่างฉ้อฉลอันเป็นโรคร้ายของสังคมไทยในยุครัฐบาลเลือกตั้งก็ยังเกิดขึ้นและทวีความรุนแรงในช่วงที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นกรณีการโกงเงินคนจนที่ลุกลามกว่า 60 จังหวัดทั่วประเทศ กรณีเงินทอนวัด กรณีกองทุนเสมาพัฒนาชีวิต เป็นต้น ทั้งนี้ รายงานขององค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ (Transparency International หรือTI) ระบุว่า แทบไม่เห็นผลงานการปราบปรามทุจริตของคณะรัฐประหารไทยว่า มีความแตกต่างจากก่อนที่จะมีการรัฐประหารเกิดขึ้นอย่างไร ทั้งนี้ TI ได้แถลงถึง ดัชนีภาพลักษณ์การคอร์รัปชั่นในภาครัฐทั่วโลก (Corruption Perception Index - CPI) ประจำปี 2560 ผลปรากฏว่า ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 96 ของ 180 ประเทศทั่วโลกได้คะแนน CPI 37 คะแนน จาก 100 คะแนน ซึ่งยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของโลกที่ได้ 43 คะแนน
ทั้งนี้ เพราะสิ่งที่ คสช. ได้ดำเนินการเกี่ยวกับการปราบปรามการทุจริตในช่วงที่ผ่านมา เป็นการดำเนินการแบบฉาบฉวย แค่การโยกย้ายข้าราชการชั้นผู้น้อย แต่ไม่ได้มีมาตรเด็ดขาดในการเอาคนกระทำผิดมาลงโทษ อีกทั้งยังกีดกันประชาชนออกจากการมีส่วนร่วมในการติดตามและตรวจสอบการทุจริตให้มีประสิทธิภาพอีกด้วย แม้กระทั่งการข่มขู่คุกคามประชาชนในรูปแบบต่างๆ รวมทั้งการ SLAPP (Strategic Litigation against People Participation) หรือการฟ้องคดีเพื่อปิดปากประชาชน ในการมีส่วนร่วมทางสังคมและการเมืองของประชาชนด้วย
3. เราเห็นว่า การบริหารประเทศของรัฐบาลที่ผ่านมา ก่อให้เกิดสภาพ “รวยกระจุก จนกระจาย” กลุ่มธุรกิจหรือนายทุนรายใหญ่ได้รับผลประโยชน์จากการพัฒนาที่ผ่านมามากกว่าคนยากจน ซึ่งเป็นประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ ดังปรากฏตามตัวเลขของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (อ้างอิงข้อมูลจากสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เมื่อปี 2560) ที่ระบุว่า ธุรกิจขนาดใหญ่มีจำนวนน้อย เพียง 0.3% ของประเทศ แต่มีสัดส่วนรายได้จำนวนมากถึง 50.7% ของรายได้ประชาชาติทั้งหมด ขณะที่ภาคธุรกิจขนาดกลางจำนวน 0.51% มีสัดส่วนรายได้ 14.6% และธุรกิจรายย่อย 99.19% แต่มีรายได้ร่วมกัน 34.7% นั่นหมายความว่า คนส่วนน้อยควบคุมเศรษฐกิจขนาดใหญ่ของประเทศ ทำให้สังคมมีความเหลื่อมล้ำมากยิ่งขึ้น ดังที่ องค์กรการกุศล OXFAM ได้จัดให้ไทยอยู่ในอันดับที่ 3 ของประเทศที่มีการกระจายรายได้แย่ที่สุดในโลกเป็นรองแค่รัสเซียและอินเดียเท่านั้น นั่นหมายถึงรัฐบาลล้มเหลวในการกระจายรายได้ให้เกิดความเป็นธรรมกับประชาชนทั้งประเทศ
4. เราเห็นว่า 4 ปีที่ผ่านมาของการปกครองประเทศ พบว่ามีคำสั่งหัวหน้า คสช. จำนวนมากที่กระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน โดยเฉพาะคำสั่งฯ ที่ 3/2558 เป็นคำสั่งที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 ทั้งนี้เพราะรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวนี้ ได้ให้การคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพของประชาชน แต่ที่ผ่านมาการบังคับใช้คำสั่งดังกล่าวนี้ไม่เป็นไปตามหลักนิติธรรม อีกทั้งการวินิจฉัยของเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้อง ก็ไม่ได้มีหลักการว่า “การชุมนุมหรือการแสดงออกซึ่งสิทธิเสรีภาพของประชาชน ลักษณะใด สามารถกระทำได้ หรือลักษณะใด ไม่สามารถกระทำได้” ทำให้เจ้าหน้าที่รัฐมักวินิจฉัยโดยอ้างเหตุความมั่นคงเป็นหลัก ทำให้เกิดการละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนตลอดมา
ครป. เห็นว่า การปฏิรูปประเทศในสถานการณ์อนาคตข้างหน้า เราไม่อาจฝากความหวังไว้กับกลไกของรัฐ คสช. ได้อีกต่อไป ดังนั้น การปฏิรูปประเทศเพื่อแก้ไขวิกฤติที่สังคมไทยเผชิญอยู่นั้น จึงเป็นภารกิจของประชาชนที่ต้องทำให้การปฏิรูปเป็นจริง เราจึงขอเรียกร้องให้ คสช. ดำเนินการตามสัญญาด้วยการคืนอำนาจให้กับประชาชนโดยเร็ว เร่งประกาศวันเลือกตั้งที่แน่นอนและชัดเจน เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการสร้างประชาธิปไตยต่อไป
ด้วยจิตสมานฉันท์และเชื่อมั่นในพลังประชาชน แถลงโดยคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) แถลงเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2561