xs
xsm
sm
md
lg

เปิดชื่อโครงการ-งบฯ โรดแมปร่วมขับเคลื่อนแก้ยากจน ระยะ 4 ปี ยุติยากจนทุกรูปแบบในทุกที่

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


เปิดชื่อโครงการ-งบประมาณ โรดแมปร่วมบูรณาการ “ขับเคลื่อนแก้ปัญหาความยากจน ระยะ 4 ปี” สนองนโยบาย “ยุติความยากจนทุกรูปแบบในทุกที่” ด้าน “สภาพัฒน์” ขอหน่วยงานรัฐรายงานความก้าวหน้า เป้าหมายการพัฒนา ทุก 6 เดือน เผย ปี 61 รัฐบาล เตรียมดัน 10 กฎหมาย แก้ปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำ

วันนี้ (19 มี.ค.) มีรายงานจากทำเนียบรัฐบาลว่า เมื่อเร็วๆ นี้ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือสภาพัฒน์ ได้นำเสนอแผนการติดตามและรายงานผลการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ปี 2561-2564 เป้าหมาย (Roadmap) ที่ 1 เรื่องการแก้ปัญหาความยากจน “ยุติความยากจนทุกรูปแบบในทุกที่” ต่อรัฐบาล ตามแนวคิดของนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เพื่อ "เป้าหมายยุติความยากจนทุกรูปแบบในทุกที่" โดยสภาพัฒน์ขอให้หน่วยงานที่มีโครงการแก้ปัญหาความยากจน รายงานความก้าวหน้าต่อคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน/สศช. ทุก 6 เดือน หรือภายในเวลาที่กำหนด

โดยเป้าประสงค์ ที่ 1. ของแผนนี้ มีเป้าหมายระบุว่า ภายในปี 2573 รัฐบาลจะขจัดความยากจนขั้นรุนแรงของประชาชนในทุกพื้นที่ให้หมดไปซึ่งในปัจจุบันความยากจนวัดจากคนที่มีค่าใช้จ่ายดำรงชีพรายวัน ต่ำกว่า $1.25 ต่อวัน โดยตัวชี้วัด คือ สัดส่วนประชากรที่มีรายได้ต่ำกว่าเส้นความยากจนสากล จำแนกตามเพศอายุ สถานะการจ้างงาน และที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ (ชุมชนเมือง/ชนบท) ทั้งนี้กำหนดเป้าหมายประเทศ ว่า ภายในปี 2573 สามารถขจัดความยากจนขั้นรุนแรงของประชาชนในทุกพื้นที่ให้หมดไป และภายใน 5 ปี ลดปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ของกลุ่มคนที่มีฐานะทางเศรษฐกิจสังคมที่แตกต่างกันและแก้ไขปัญหาความยากจน (แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564)

ตามการดำเนินงานระยะกลาง (พ.ศ. 2561-2564) ของเป้าประสงค์ เพื่อขจัดความยากจน ขั้นรุนแรงของประชาชนในทุกพื้นที่ให้หมดไป เพิ่มโอกาสให้กับกลุ่มเป้าหมายประชากรที่ยากจนเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพของรัฐและมีอาชีพ เช่น โครงการการจัดสวัสดิการการสงเคราะห์เด็ก ผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ด้อยโอกาสในสังคม ของ มท. (กทม.) วงเงิน 5,935 ล้านบาท โครงการสร้างหลักประกันด้านรายได้แก่ผู้สูงอายุ (ปี 2561) มท.(สถ.) 7,623,546 ราย 60,447ล้านบาท

โครงการสนับสนุนการเสริมสร้างสวัสดิการทางสังคมให้แก่ผู้พิการหรือทุพพลภาพ (ปี 2561) มท. (สถ.) 1,525,508 ราย 14,644 ล้านบาท โครงการสนับสนุนเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด พม. 2,695,410 ราย 15,423 ล้านบาท โครงการบริการสวัสดิการแก่เด็กยากจนอุดหนุนเงินสงเคราะห์เด็กในครอบครัวขาดแคลน พม. 967,420 ราย 967.4400 ล้านบาท

โครงการพัฒนาศักยภาพและสร้างโอกาสเพื่อให้มีอาชีพและรายได้ พม. 8,228 ราย 241.4823 ล้านบาท *สงเคราะห์เงินทุนประกอบอาชีพแก่ผู้ติดเชื้อเอดส์และผู้ได้รับผลกระทบจากปัญหาเอดส์ 53.2098 ล้านบาท *บริการจัดสวัสดิการเพื่อสร้างโอกาสและทางเลือกให้คนไร้ที่พึ่งกลับสู่ครอบครัวและชุมชน พม. 1,080 ราย 158.1305 ล้านบาท­ส่งเสริมทักษะอาชีพแก่คนไร้ที่พึ่งและคนขอทานในสถานคุ้มครองฯ 2,200 ราย 30.1420 ล้านบาท ฝึกอบรมฝีมือแรงงานให้ผู้มีรายได้น้อยและวิสาหกิจชุมชนพัฒนาฝีมือให้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนและผู้มีรายได้น้อย เป้าหมายรวม 5 ปี รง. (กพร.) 32,400 คน 134 ล้านบาท เป็นต้น

เป้าประสงค์ที่ 2 ภายในปี 2573 ลดสัดส่วนชาย หญิง และเด็กในทุกช่วงวัยที่อยู่ภายใต้ความยากจนในทุกมิติ ตามนิยามของแต่ละประเทศให้ลดลงครึ่งหนึ่ง มีตัวชี้วัด คือ สัดส่วนประชากรที่อยู่ต่ำกว่าเส้นความยากจนของประเทศ จำแนกตามเพศและอายุ และสัดส่วนของผู้ชายผู้หญิง และเด็กในทุกช่วงวัยที่ยากจนในทุกมิติตามนิยามของแต่ละประเทศ มีเป้าหมายประเทศ คือ ลดสัดส่วนชาย หญิง และเด็กในทุกช่วงวัยที่อยู่ภายใต้ความยากจนในทุกมิติให้ลดลงอย่างน้อยครึ่งหนึ่งภายในปี 2573

การดำเนินงานระยะกลาง (พ.ศ. 2561-2564) ของเป้าประสงค์นี้ เช่น โครงการพัฒนาทักษะอาชีพแก่สตรีและครอบครัว - พัฒนาทักษะอาชีพแก่สตรีกลุ่มเสี่ยงในสถาบัน 682.4556 ล้านบาท - พัฒนาทักษะส่งเสริมการประกอบอาชีพแก่สตรีและครอบครัว) พม. (กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว) 579.5185 ล้านบาท โครงการสถาบันพัฒนาศักยภาพและอาชีพคนพิการ พม. (กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ) 150 ล้านบาท

โครงการพัฒนาศักยภาพนักร้องนักดนตรีคนพิการในที่สาธารณะ พม. (กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ) 6,000 คน 60 ล้านบาท โครงการส่งเสริมความมั่นคงด้านอาชีพและรายได้สำหรับกลุ่มเป้าหมายอย่างบูรณาการ (บริการกู้ยืมเงินกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ) พม. (กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ) 13,000 คน 5,100 ล้านบาท เป็นต้น

เป้าประสงค์ที่ 3 ดำเนินการให้ทุกคนมีระบบและมาตรการการคุ้มครองทางสังคมในระดับประเทศให้เหมาะสมรวมถึงการให้ห้อง/พื้นที่ที่มีพื้น และบรรลุการครอบคลุมถึงกลุ่มที่ยากจนและเปราะบาง ภายในปี 2573 มีตัวชี้วัด คือ สัดส่วนของประชากรที่ได้รับความคุ้มครองตามระบบและมาตรการคุ้มครองทางสังคม จำแนกตามเพศ และแบ่งเป็น เด็ก ผู้ว่างงาน ผู้สูงอายุ ผู้พิการ หญิงตั้งครรภ์ เด็กเกิดใหม่ เหยื่อที่ได้รับบาดเจ็บจากการทำงาน ผู้ยากจน และผู้อยู่ในสถานะเปราะบาง

มีเป้าหมายประเทศ คือ ประชาชนมีความมั่นคงในชีวิต มีงาน และรายได้ที่มั่นคงพอเพียงต่อการดำรงชีวิต มีที่อยู่อาศัยและความปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สิน ได้แก่ 1. ประชาชนทุกคนเข้าถึงสวัสดิการพื้นฐานอย่างทั่วถึงเท่าเทียม และเป็นธรรมและมีหลักประกันในการดำรงชีวิต 2. ประชากรเป้าหมายได้รับการคุ้มครองสิทธิและบริการสวัสดิการ และ 3. ประชากรเป้าหมายมีความมั่นคงในที่อยู่อาศัยและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

การดำเนินงานระยะกลาง (พ.ศ. 2561-2564) ของเป้าประสงค์นี้ เช่น เป้าหมายผู้ยากจนและอยู่ในสถานะเปราะบาง ได้แก่ ประชาชนทุกคนต้องเข้าถึงสวัสดิการพื้นฐานอย่างทั่วถึงเป็นธรรมและมีหลักประกันในการดำรงชีวิตจำแนกเป็น เช่น โครงการจัดสวัสดิการสังคมในสถาบันแก่คนไร้ที่พึ่ง บริการสวัสดิการสังคมในสถาบันแก่ - คนไร้ที่พึ่งตาม พ.ร.บ.การคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง - คนไร้ที่พึ่งตาม พ.ร.บ.สุขภาพจิต และผู้กระทำการขอทานตาม พ.ร.บ.ควบคุมการขอทาน กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ 1,187 ล้านบาท ให้การคุ้มครองในศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ 1,025 ล้านบาท โครงการพัฒนาและส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมบนพื้นที่สูง (140,000 คน) กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ 51 ล้านบาท

โครงการสงเคราะห์ช่วยเหลือแก่ผู้ยากไร้ บริการเงินสงเคราะห์แก่คนไร้ที่พึ่ง - เงินสงเคราะห์ผู้ยากไร้และไร้ที่พึ่ง - เงินสงเคราะห์ผู้ติดเชื้อเอดส์และครอบครัว - เงินสงเคราะห์ผู้ตกทุกข์ได้ยากกลับภูมิลำเนา - เงินทุนประกอบอาชีพผู้ติดเชื้อและครอบครัว 3,328 ล้านบาท โครงการที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อยในเมืองและชนบทมีความมั่นคงในที่อยู่อาศัย การเคหะแห่งชาติ 53,637 ล้านบาท โครงการแก้ไขปัญหาที่ดินทำกิน (เป้าหมาย 51,982 คน) กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ 113 ล้านบาท

โครงการต่อผู้สูงอายุที่ยากจน เช่น โครงการพัฒนาเครือข่ายการดูแลและคุ้มครองทางสังคมผู้สูงอายุในชุมชน กรมกิจการผู้สูงอายุ 90 ล้านบาท โครงการพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน สำนักอนามัย กทม. 23.3775 ล้านบาท โครงการต่อผู้พิการ โครงการส่งเสริมการมีบัตรประจำตัวคนพิการ กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ 127 ล้านบาท - นักเรียนในโรงเรียนเฉพาะความพิการ จำนวน 81,358 คน - เด็กพิการในศูนย์การศึกษาพิเศษ จำนวน 145,480 คน - นักเรียนพิการในโรงเรียนรวม จำนวน 1,685,720 คน

โครงการให้บริการสงเคราะห์ผู้สูงอายุในภาวะยากลำบาก กรมกิจการผู้สูงอายุ โครงการพัฒนาเครือข่ายการดูแลและคุ้มครองทางสังคมผู้สูงอายุในชุมชน 90 ล้านบาท โครงการพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน สำนักอนามัย กทม. 23.3775 ล้านบาท

เป้าประสงค์ที่ 4 ภายในปี 2573 สร้างหลักประกันว่าชายและหญิงทุกคนโดยเฉพาะที่ยากจนและเปราะบางมีสิทธิเท่าเทียมกันในทรัพยากรทางเศรษฐกิจรวมถึงการเข้าถึงบริการขั้นพื้นฐานการเป็นเจ้าของและมีสิทธิในที่ดินและอสังหาในรูปแบบอื่น มรดกทรัพยากรธรรมชาติเทคโนโลยีใหม่ที่เหมาะสม และบริการทางการเงิน ซึ่งรวมถึงระบบการเงินระดับฐานราก มีตัวชี้วัด สัดส่วนของประชากรอาศัยในครัวเรือนที่เข้าถึงบริการขั้นพื้นฐาน และสัดส่วนของประชากรผู้ใหญ่ที่มีเอกสารสิทธิ์ในที่ดินถูกต้องตามกฎหมายรับรองการถือครองที่ดินและประชากรเหล่านี้ทราบถึงสิทธิของตนในที่ดินที่ตนถือครองจำแนกตามเพศและประเภทการถือครอง

โดยเป้าหมายประเทศ 1. ภายในปี 2573 มีหลักประกันว่าชายและหญิงทุกคน โดยเฉพาะที่ยากจนและเปราะบางมีสิทธิเท่าเทียมกันในทรัพยากรทางเศรษฐกิจรวมถึงการเข้าถึงบริการขั้นพื้นฐานการเป็นเจ้าของและมีสิทธิในที่ดินและอสังหาฯ ในรูปแบบอื่น มรดกทรัพยากรธรรมชาติเทคโนโลยีใหม่ที่เหมาะสม และบริการทางการเงิน ซึ่งรวมถึงระบบการเงินระดับฐานราก 2. การสร้างโอกาส ความเสมอภาค และเท่าเทียมกันทางสังคมโดยทำให้สังคมไทยเป็นสังคมที่เป็นธรรม มีความเหลื่อมล้ำน้อย 3. ปี พ.ศ. 2573 ประชากรไทยมีโอกาสได้เข้ารับบริการการศึกษาเพิ่มมากขึ้นตามกำหนด : ประถมศึกษา ร้อยละ 100 มัธยมต้น ร้อยละ 100 มัธยมปลาย ร้อยละ 90 (ที่มา : แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579)

4. ปี พ.ศ. 2564 คาดการณ์ว่าจะสามารถเพิ่มจำนวนผู้ใช้น้ำเพิ่ม 1.24 ล้านราย คิดเป็นการให้บริการครัวเรือนทั่วประเทศ (Water coverage) ร้อยละ 18.5 ครัวเรือนและครัวเรือนนอกพื้นที่บริการของ กปภ.ที่ได้ประโยชน์จากการที่ กปภ.สนับสนุนให้มีน้ำประปาที่ได้มาตรฐาน มีจำนวน 500,000 ครัวเรือน และ 5. ได้วางแผนการลงทุนเพื่อปรับปรุงขยายระบบประปาในส่วนภูมิภาค ระยะ 10 ปี (พ.ศ. 2565-2574) ซึ่งประมาณการว่าเมื่อสิ้นสุดแผนในปี 2574 จะสามารถเพิ่มจำนวนผุ้ใช้น้ำประมาณ 50.3 ล้านครัวเรือน

การดำเนินงานระยะกลาง (พ.ศ. 2561-2564) ของเป้าประสงค์นี้ เช่นโครงการพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน มท. (กทม.) 93.5100 ล้านบาท เพิ่มโอกาสการศึกษาต่อระดับการศึกษาที่สูงขึ้นของนักเรียนโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร มท. (กทม.) 47.6 ล้านบาท โครงการส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กให้ได้มาตรฐาน พม.100,000 แห่ง 407.7987 ล้านบาท โครงการสร้างทักษะชีวิตแก่เด็กและเยาวชนกลุ่มเสี่ยงนอกระบบการศึกษา ในจังหวัดเขตพิเศษ พม.84,300 คน 167 ล้านบาท โครงการระบบหลักประกันโอกาสทางสังคมแก่เด็กด้อยโอกาสนอกระบบการศึกษา พม. 77 จังหวัด 250 ล้านบาท

ส่งเสริมและจัดหาโครงสร้างพื้นฐานที่เหมาะสมให้กับประชากร กลุ่มต่างๆ เพื่อให้เข้าถึงบริการของรัฐและโอกาสทางสังคมได้อย่างเท่าเทียม เช่น โครงการวางท่อจ่ายน้ำประปาเร่งด่วนในกรุงเทพมหานคร ระยะที่ 4 มท. (กทม. และ กปน.) 74 เส้นทาง ระยะทาง 76.04 กิโลเมตร 109.44 ล้านบาท โครงการวางท่อขยาย เขตจำหน่ายน้ำ มท. (กปภ.) 301 แห่ง 469.4900 ล้านบาท โครงการพัฒนาระบบประปา 5 เมือง 1) กปภ.สาขาศรีสะเกษ-(อุทุมพรพิสัย)-(ทุ่งไชย)-(ห้วยทับทัน) 2) กปภ.สาขาตะกั่วป่า 3) กปภ.สาขากันตัง-(สิเกา-ปากเมง) 4) กปภ. สาขาพังงา-(ทับปุด) 5) กปภ. สาขาณุวรลักษบุรี มท. (กปภ.) 1,497.39 ล้านบาท โครงการขยายเขตระบบไฟฟ้าให้บ้านเรือนราษฎรรายใหม่ (คฟม.) มท. กฟภ.) 80 ล้านบาท โครงการขยายเขตระบบไฟฟ้าให้ครัวเรือนที่ห่างไกล (คฟก.) มท. (กฟภ.) 68 ล้านบาท โครงการขยายเขตระบบไฟฟ้าให้บ้านเรือนราษฎรรายใหม่ ระยะที่ 2 (คฟม.2) มท. 6,565 ล้านบาท โครงการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ 5,000 ล้านบาท

กิจกรรมที่ 2 การเพิ่มประสิทธิภาพโครงข่ายอินเทอร์เน็ตระหว่างประเทศสู่การเป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนข้อมูลดิจิตอลของภูมิภาคอาเซียน (ASEAN Digital Hub)เพื่อขยายความจุระบบเคเบิ้ลใต้น้ำ (Submarine Cable) โดยปรับปรุงหรือติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติม ที่ต้นทางและปลายทางของสายเคเบิ้ลใต้น้ำ รวมถึงการสร้างสายเคเบิ้ลใต้น้ำเส้นใหม่ เพื่อเพิ่มทางการรับ-ส่งข้อมูลระหว่างประเทศ เช่น โครงการบริการอินเทอร์เน็ตสาธารณะสู่ชุมชนมีบริการอินเทอร์เน็ตความเร็ว 4-30 Mbps ให้แก่ศูนย์ดิจิทัลชุมชน กศน. ตำบล และโรงเรียน ตชด.10,000 แห่ง 457.6700 บาท โครงการเพิ่มประสิทธิภาพบริการอินเทอร์เน็ตไร้สายเพื่อประโยชน์สาธารณะ(Free WiFi)188.5000 ล้านบาท

การสร้างโอกาสความเสมอภาค และเท่าเทียมกันทางสังคม โดยทำให้สังคมไทยเป็นสังคมที่เป็นธรรม มีความเหลื่อมล้ำน้อย เช่น สนับสนุนการดำเนินงานตามนโยบาย คทช. มท.(กรมที่ดิน) 1,921.158 ล้านบาท เกษตรกรได้รับการจัดที่ดินและคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรม โดยตั้งเป้าให้เกษตรกรได้รับสิทธิ์ เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน กษ. (สปก.)252,000 ราย 1,166.0898 ล้านบาท แผนงานบูรณาการจัดการปัญหาที่ดินทำกิน (หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ทส., มท., กษ., พม., กค. และ นร.) ทส.(สำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม)จัดที่ดินจำนวน 1,350,000 ไร่ 1,070.6508 ล้านบาท (งบประมาณการ จากฐานงบประมาณได้รับในปีงบประมาณ พ.ศ. 2561)

ท้ายสุด แผนยุทธศาสตร์ การพัฒนาที่อยู่อาศัย 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579) เช่นโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัย ชุดที่ 2 (ระยะที่ 1-4) จำนวน 36,400 หน่วย โครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้า ระยะที่ 2 จำนวน 2,400 หน่วย พม. (การเคหะแห่งชาติ) 38,800 หน่วย งบประมาณอุดหนุน 5,241.6000 ล้านบาท (ไม่รวมเงินลงทุนจากแหล่งเงินกู้และเงินรายได้ กคช.) ใช้หลักการอุดหนุนข้ามกลุ่มรายได้ (Cross Subsidy)

โครงการบ้านสวัสดิการข้าราชการ (เช่าซื้อ) จำนวน 14,000 หน่วย โครงการบ้านพักข้าราชการ (บ้านหลวง) จำนวน 10,000 หน่วย พม. (การเคหะแห่งชาติ) 24,000 หน่วย งบประมาณอุดหนุน 2,016 ล้านบาท (ไม่รวมเงินลงทุนจากแหล่งเงินกู้และเงินรายได้ กคช.) งบประมาณอุดหนุน 7,500 ล้านบาท รวมงบประมาณอุดหนุน 9,516 ล้านบาท แผนงานความร่วมมือกับเอกชนในการพัฒนาที่อยู่อาศัย บ้านประชารัฐ พม. (การเคหะแห่งชาติ) จำนวน 84,000 หน่วยงบประมาณอุดหนุน 12,096 ล้านบาท (ไม่รวมเงินลงทุนจากแหล่งเงินกู้และเงินรายได้ กคช.)

เป้าประสงค์ที่ 5 ภายในปี 2573 สร้างภูมิต้านทานให้แก่คนยากจนและคนที่อยู่ในสถานการณ์เปราะบาง และลดการเผชิญหน้าและความเสี่ยงต่อเหตุการณ์รุนแรง/ภัยพิบัติอันเนื่องมาจากภูมิอากาศ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม มีตัวชี้วัด คือ จำนวนประชากรที่เสียชีวิต สูญหาย และผู้ที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติ ต่อประชากร 100,000 คน มีเป้าหมายประเทศคือ ประเทศไทยมีระบบการจัดการสาธารณภัยที่ได้มาตรฐาน มีความพร้อมรองรับสถานการณ์ภัยในทุกระดับ ภายใต้การบูรณาการความร่วมมือจากทุกภาคส่วนทั้งในประเทศ และต่างประเทศ

การดำเนินงานระยะกลาง (พ.ศ. 2561-2564) ของเป้าประสงค์นี้ เช่น การจัดการสาธารณภัย ของประเทศมีความพร้อมรับมือกับสถานการณ์อย่างบูรณาการ การฝึกซ้อมแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กลุ่มจังหวัด (ปภ.) 14.4 ล้านบาท การฝึกซ้อมแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแบบบูรณาการ (ปภ.) 55.8 ล้านบาท ป้องกันและเฝ้าระวังกลุ่มเปราะบางโครงข่ายการคุ้มครองภัยพิบัติทางสังคมสำหรับผู้สูงอายุแผนการจัดการภัยพิบัติสำหรับคนพิการฉบับที่ 1 พ.ศ. 2560-2564 พม.(กรมกิจการผู้สูงอายุ) 1,200 พื้นที่ 75 ล้านบาท

จัดการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพมหานคร โครงการก่อสร้างระบบระบายน้ำในถนนสายหลักพื้นที่กรุงเทพมหานคร ระยะที่ 2 จำนวน 5 โครงการ (กทม.) 289.44 ล้านบาท โครงการก่อสร้างเขื่อน ค.ส.ล. และประตูระบายน้ำ รวม 6 โครงการ 9,745 ล้านบาท โครงการก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำรวม 4 โครงการ 16,025.8650 ล้านบาท

มีรายงานด้วยว่า ในปีงบประมาณ 2561 นี้ รัฐบาลเตรียมผลักดันกฎหมาย และร่างกฎหมายเพื่อแกัปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำ เช่น ที่บังคับใช้แล้ว กฎหมายกองทุนยุติธรรม พ.ศ. 2560 อยู่ระหว่างขั้นตอนจัดทำกฎหมาย, ร่าง พ.ร.บ.เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. ..., ร่าง พ.ร.บ.สถาบันการเงินชุมชน พ.ศ. ..., ร่าง พ.ร.บ.คณะกรรมการกำกับกิจการสหกรณ์การเงินขนาดใหญ่ พ.ศ. ..., อยู่ระหว่างการแก้ไขกฎหมาย, ร่างแก้ไข พ.ร.บ.ส่งเสริมวิสาหกิจ พ.ศ. 2548 พ.ศ. ..., ร่าง พ.ร.บ.ป่าชุมชน พ.ศ. ... และอยู่ระหว่างจัดทำร่างกฎหมาย, ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองประชาชนในการทำสะญญาขายฝาก พ.ศ. ...


กำลังโหลดความคิดเห็น