xs
xsm
sm
md
lg

ภาค ปชช.ร้องผู้ตรวจการฯ สอบ ครม.-สนช.-กรมเชื้อเพลิงพลังงาน ชงแก้ พ.ร.บ.ปิโตรเลียม เอื้อประโยชน์เอกชน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


เลขาธิการเครือข่ายประชาชนปกป้องประเทศ เข้ายื่นหนังสือเพิ่มเติมถึงผู้ตรวจการแผ่นดิน ขอให้ตรวจสอบ ครม.-สนช.ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบหรือไม่ กรณีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน เสนอให้แก้ไข พ.ร.บ.ปิโตรเลียม ฉบับที่ 6 พ.ศ. 2560 ที่เข้าข่ายเอื้อประโยชน์เอกชน เกิดความเสียหายแก่รัฐ

วันนี้ (6 ก.ค.) เครือข่ายประชาขนปกป้องประเทศ นำโดย พันโท แพทย์หญิง กมลพรรณ ชีวพันธ์ศรี
เข้ายื่นคำร้องต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน ผ่าน นายประจักษ์ธรรม โรจนะภิรมย์ เจ้าหน้าที่สอบสวนอาวุโส สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ขอให้ตรวจสอบกรมเชื้อเพลิงพลังงาน กระทรวงพลังงาน ว่า ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ในการตั้งราคาก๊าซธรรมชาติ เช่น การตั้งราคาก๊าซธรรมชาติปากหลุม เฉลี่ยอยู่ที่ 160 บาทต่อล้านบีทียู แต่ราคาก๊าซธรรมชาติ Nymak อยู่ที่ 3$ หรือประมาณที่ 102 บาทต่อล้านบีทียู ทำให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อนเสียหายหรือไม่ เพราะราคาที่ตั้งสูงกว่าตลาดโลก ทั้งที่ค่าแรงค่าครองชีพของไทยถูกกว่าอเมริกาหลายเท่าตัว ทำให้เอกชนผู้ได้รับสัมปทานรวยขึ้น แต่ประชาขนเดือดร้อนต้องจ่ายค่าไฟฟ้าแพง ก๊าซหุงต้มแพง กรณีดังกล่าวจึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เอื้อต่อเอกชนหรือไม่

อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ ผู้ตรวจการแผ่นดินได้แจ้งผลคำวินิจฉัยกรณีที่ ภาค ปชช. ขอให้ตรวจสอบว่า การที่กรมเชื้อเพลิงเสนอแก้ไขร่าง พ.ร.บ.ปิโตรเลียม ฉบับที่ 6 พ.ศ. 2560 โดยให้มีการปรับปรุงองค์ประกอบ อำนาจหน้าที่ ของคณะกรรมการปิโตรเลียมเพื่อเพิ่มแรงจูงใจในการสำรวจปิโตรเลียม จนนำไปสู่การแก้ไข พ.ร.บ.ปิโตรเลียม 2550 และเกี่ยวข้องกับประเด็นดังกล่าว ว่า ผู้ตรวจฯ ไม่เห็นว่าเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ หรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายแต่อย่างใด รวมทั้งให้ยุติเรื่อง ซึ่งภาคประชาชนไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยนี้ เพราะผู้ตรวจฯไม่ได้พิจารณาสอบสวนข้อเท็จจริงให้ครบถ้วน ว่า เจ้าหน้าที่ที่ถูกร้องเรียนละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่จนก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชนโดยไม่เป็นธรรมอย่างไร จึงต้องมาคัดค้านการวินิจฉัยดังกล่าว และขอให้ผู้ตรวจฯดำเนินการสอบสวนอีกครั้ง รวมทั้งเมื่อ พ.ร.บ.ปิโตรเลียม 2560 และ พ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม 2560 ประกาศใช้บังคับแล้ว และมีบทบัญญัติที่เปิดช่อง เช่น ให้มีการแก้ไขอายุสัญญาจ้างสำรวจ และผลิตเป็นไม่เกิน 30 ปี จากเดิมที่ให้แค่ 6 ปี และให้เวลาสัมปทานผลิตอีก 20 ปี หรือการลดภาษีเงินได้ของเอกชนจากที่เอกชนต้องจ่ายให้รัฐจำนวน 50-60% ตามกฎหมายเดิม มาเป็นเหลือเพียง 20% ที่เป็นการเอื้อประโยชน์ให้เอกชนมากกว่ารัฐ จะถือว่า ครม. สนช. ผู้ผ่านกฎหมายกระทำการเข้าข่ายเป็นการปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 หรือไม่



กำลังโหลดความคิดเห็น