“ เป็นเรื่องน่ายินดีอย่างยิ่ง สำหรับคณะศิษยานุศิษย์ ที่ท่านเจ้าคุณฯ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ ชั้นรองสมเด็จฯ ที่พระพรหมคุณาภรณ์ เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2547 ......
ศิษย์คนหนึ่ง กราบนมัสการถามท่านว่า ถ้าท่านได้เลื่อนสมณศักดิ์ อีกครั้ง ก็จะเป็นสมเด็จแล้ว พวกเราจะพูดกับท่านอย่างไรดี เพราะเมื่อเป็นสมเด็จ จะมีคำเรียกนำหน้าใหม่ว่า “ ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ” และพวกเราก็อาจจะไม่คุ้นเคย
ท่านตอบว่า “ ยังหรอก อีกนาน ... เคยยังไงก็ยังงั้น ก็เรียกเหมือนเดิมนั่นแหละ “
( จากหนังสือ วิถีแห่งปราชญ์ ปฏิปทา จริยวัตร ขอ งพระพรหมคุณาภรณ์ ( ป.อ.ปยุตโต ) เรียบเรียงโดย พนิตา อังจันทร์ เพ็ญ ตอนที่ 65 เลื่อนสมณศักดิ์ หน้า 181 , 183 )
วันที่ 5 ธันวาคมนี้ ซึ่งเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ท่านเจ้าคุณฯ จะได้เลื่อนสมณศักดิ์ เป็น สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ เป็นสมเด็จพระราชาคณะองค์แรกในรัชกาลใหม่ หลังจากดำรงสมณศักดิ์ เป็นรองสมเด็จพระราชาคณะมานาน 11 ปี
นอกจากตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดญาณเวศกวัน ซึ่งเป็นวัดราษฎร์ ไม่ใช่พระอารามหลวง พระพรหมคุณาภรณ์ไม่มีตำแหน่ง “ เจ้าคณะ”ซึ่งเป็นตำแหน่งทางการปกครอง ไม่ว่าในระดับใดๆ โดยปกติ พระราชาคณะระดับสมเด็จ รองสมเด็จจะมีตำแหน่ง เจ้าคณะจังหวัด เจ้าคณะภาค เจ้าคณะหนด้วย
พระพรหมคุณาภรณ์ มีสมณศักดิ์เป็น รองสมเด็จพระราชาคณะมาตั้งแต่ พ.ศ. 2547 ในแง่อาวุโส มีอาวุโส เป็นอันดับสอง รองจาก พระพรหมวชิรญาณ เจ้าอาวาสวัดยานนาวา ซึ่งเป็นรองสมเด็จฯ เมื่อ พ.ศ. 2544 และเป็นกรรมการมหาเถรสมาคมในปีเดียวกันจนถึงปัจจุบัน
การเลื่อนสมณศักดิ์พระพรหมคุณาภรณ์เป็นสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ เป็นการทดแทนตำแหน่ง สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ( วีระ ภททจารี) เจ้าอาวาสวัดสุทัศน์เทพวราราม ซึ่งมรณภาพเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา
แม้จะไม่มีตำแหน่งทางการปกครอง และไม่ใช่เป็นรองสมเด็จฯที่มีอาสวุโสสูงสุด แต่การที่พระพรหมคุณาภรณ์ได้รับการเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นสมเด็จพระราชาคณะองค์ใหม่ ซึ่งจะต้องเป็นกรรมการมหาเถรสมาคมโดยตำแหน่งด้วย นำมาซึ่งความปิติยินดีของพุทธศาสนิกชน เพราะต่างประจักษ์แจ้งในผลงานด้านการศึกษา ค้นคว้า เผยแผ่ หลักธรรมที่แท้ และวัตรปฏิบัติที่เรียบง่าย งดงาม ของท่าน
พระพรหมคุณาภรณ์นั้น ถือได้ว่า เป็น “ปราชญ์” แห่งศาสนาพุทธนิกายเถรวาท เพราะมีความรู้ที่ลึกซึ้งในเรื่องหลักธรรม ตามพระไตรปิฎก และนำเอาหลักธรรมเหล่านั้น ไปขยายความ เชื่อมโยงกับปัญหาสังคมในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับบุคคล ครอบครัว ประเทศชาติ ไปจนถึงระดับโลก
นอกจากนั้น ยังใช้หลักธรรมในการทำความเข้าใจศาสตร์แขนงอื่นๆ เช่น การแพทย์ วิทยาศาสตร์ เศรษฐ,ศาสตร์ และนิติศาสตร์ ฯลฯ อย่างมีเหตุผล รับฟังได้
“ พุทธธรรม” ซึ่งเขียนขึ้นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ.2514 ตามการอารธนาของโครงการตำราสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อรวมในชุดหนังสือ วรรรไวทยากร เพื่อจัดพิมพ์ถวาย พระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ หรือ พระองค์วรรณ ในโอกาสพระชนมมายุครบ 80 ชันษา และต่อมามีการปรับปรุง เพิ่ม ขยายเนื้อหา จากที่มีเนื้อหา 200กว่าหน้า เพิ่มเป็น 1,000 กว่าหน้า เป็นหนังสือที่ทรงคุณค่าทางพระพุทธศาสนามากที่สุดเล่มหนึ่ง เพราะประมวลหลักพุทธธรรม หรือกฎของธรรมชาติในแง่มุมต่างๆ โดยดึงเอาคำอธิบายจากพระไตรปิฎก, อรรถกถา,ฎีกา, อนุฎีกา ฯลฯ มาไว้อย่างครบถ้วน สมบูรณ์
พระพรหมคุณาภรณ์ เขียนหนังสือไว้กว่า 300 เล่ม ทั้งยังมีการบันทึกเสียงการบรรยายธรรม การตอบปัญหา ซึ่งมีผู้ขออนุญาตพิมพ์ และผลิตแผ่นซีดี เอ้มพี 3 เพื่อแจกจ่ายให้ประชาชนทั่วไป โดยท่านไม่เคยคิดค่าลิขสิทธิ์เลย
หลักธรรมที่พระพรหมคุณาภรณ์เผยแผ่ทั้งที่เป็นหนังสือที่เขียนขึ้น แผ่นซีดีบันทึดการบรรยายธรรม ไม่ได้เน้น ธรรมขั้นสูงเพื่อการหลุดพ้น แต่เป็นเรื่อง การนำหลักธรรม ไปใช้เพื่อการสร้างสังคมที่ดีงาม คนอยุ่ร่วมกันอย่างสันติ มีความสุข
สมเด็จพระราชาคณะองค์ใหม่จึงเป็นเสมือนแสงแห่งธรรมที่สาดส่องสว่าง นำความปิติยินดีให้เกิดขึ้นในหมู่พุทธศาสนิกชน
*************************************
พระพรหมคุณาภรณ์นั้น ถือได้ว่า เป็น “ปราชญ์” แห่งศาสนาพุทธนิกายเถรวาท เพราะมีความรู้ที่ลึกซึ้งในเรื่องหลักธรรม ตามพระไตรปิฎก และนำเอาหลักธรรมเหล่านั้น ไปขยายความ เชื่อมโยงกับปัญหาสังคมในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับบุคคล ครอบครัว ประเทศชาติ ไปจนถึงระดับโลก
นอกจากนั้น ยังใช้หลักธรรมในการทำความเข้าใจศาสตร์แขนงอื่นๆ เช่น การแพทย์ วิทยาศาสตร์ เศรษฐ,ศาสตร์ และนิติศาสตร์ ฯลฯ อย่างมีเหตุผล รับฟังได้
ศิษย์คนหนึ่ง กราบนมัสการถามท่านว่า ถ้าท่านได้เลื่อนสมณศักดิ์ อีกครั้ง ก็จะเป็นสมเด็จแล้ว พวกเราจะพูดกับท่านอย่างไรดี เพราะเมื่อเป็นสมเด็จ จะมีคำเรียกนำหน้าใหม่ว่า “ ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ” และพวกเราก็อาจจะไม่คุ้นเคย
ท่านตอบว่า “ ยังหรอก อีกนาน ... เคยยังไงก็ยังงั้น ก็เรียกเหมือนเดิมนั่นแหละ “
( จากหนังสือ วิถีแห่งปราชญ์ ปฏิปทา จริยวัตร ขอ งพระพรหมคุณาภรณ์ ( ป.อ.ปยุตโต ) เรียบเรียงโดย พนิตา อังจันทร์ เพ็ญ ตอนที่ 65 เลื่อนสมณศักดิ์ หน้า 181 , 183 )
วันที่ 5 ธันวาคมนี้ ซึ่งเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ท่านเจ้าคุณฯ จะได้เลื่อนสมณศักดิ์ เป็น สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ เป็นสมเด็จพระราชาคณะองค์แรกในรัชกาลใหม่ หลังจากดำรงสมณศักดิ์ เป็นรองสมเด็จพระราชาคณะมานาน 11 ปี
นอกจากตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดญาณเวศกวัน ซึ่งเป็นวัดราษฎร์ ไม่ใช่พระอารามหลวง พระพรหมคุณาภรณ์ไม่มีตำแหน่ง “ เจ้าคณะ”ซึ่งเป็นตำแหน่งทางการปกครอง ไม่ว่าในระดับใดๆ โดยปกติ พระราชาคณะระดับสมเด็จ รองสมเด็จจะมีตำแหน่ง เจ้าคณะจังหวัด เจ้าคณะภาค เจ้าคณะหนด้วย
พระพรหมคุณาภรณ์ มีสมณศักดิ์เป็น รองสมเด็จพระราชาคณะมาตั้งแต่ พ.ศ. 2547 ในแง่อาวุโส มีอาวุโส เป็นอันดับสอง รองจาก พระพรหมวชิรญาณ เจ้าอาวาสวัดยานนาวา ซึ่งเป็นรองสมเด็จฯ เมื่อ พ.ศ. 2544 และเป็นกรรมการมหาเถรสมาคมในปีเดียวกันจนถึงปัจจุบัน
การเลื่อนสมณศักดิ์พระพรหมคุณาภรณ์เป็นสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ เป็นการทดแทนตำแหน่ง สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ( วีระ ภททจารี) เจ้าอาวาสวัดสุทัศน์เทพวราราม ซึ่งมรณภาพเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา
แม้จะไม่มีตำแหน่งทางการปกครอง และไม่ใช่เป็นรองสมเด็จฯที่มีอาสวุโสสูงสุด แต่การที่พระพรหมคุณาภรณ์ได้รับการเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นสมเด็จพระราชาคณะองค์ใหม่ ซึ่งจะต้องเป็นกรรมการมหาเถรสมาคมโดยตำแหน่งด้วย นำมาซึ่งความปิติยินดีของพุทธศาสนิกชน เพราะต่างประจักษ์แจ้งในผลงานด้านการศึกษา ค้นคว้า เผยแผ่ หลักธรรมที่แท้ และวัตรปฏิบัติที่เรียบง่าย งดงาม ของท่าน
พระพรหมคุณาภรณ์นั้น ถือได้ว่า เป็น “ปราชญ์” แห่งศาสนาพุทธนิกายเถรวาท เพราะมีความรู้ที่ลึกซึ้งในเรื่องหลักธรรม ตามพระไตรปิฎก และนำเอาหลักธรรมเหล่านั้น ไปขยายความ เชื่อมโยงกับปัญหาสังคมในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับบุคคล ครอบครัว ประเทศชาติ ไปจนถึงระดับโลก
นอกจากนั้น ยังใช้หลักธรรมในการทำความเข้าใจศาสตร์แขนงอื่นๆ เช่น การแพทย์ วิทยาศาสตร์ เศรษฐ,ศาสตร์ และนิติศาสตร์ ฯลฯ อย่างมีเหตุผล รับฟังได้
“ พุทธธรรม” ซึ่งเขียนขึ้นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ.2514 ตามการอารธนาของโครงการตำราสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อรวมในชุดหนังสือ วรรรไวทยากร เพื่อจัดพิมพ์ถวาย พระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ หรือ พระองค์วรรณ ในโอกาสพระชนมมายุครบ 80 ชันษา และต่อมามีการปรับปรุง เพิ่ม ขยายเนื้อหา จากที่มีเนื้อหา 200กว่าหน้า เพิ่มเป็น 1,000 กว่าหน้า เป็นหนังสือที่ทรงคุณค่าทางพระพุทธศาสนามากที่สุดเล่มหนึ่ง เพราะประมวลหลักพุทธธรรม หรือกฎของธรรมชาติในแง่มุมต่างๆ โดยดึงเอาคำอธิบายจากพระไตรปิฎก, อรรถกถา,ฎีกา, อนุฎีกา ฯลฯ มาไว้อย่างครบถ้วน สมบูรณ์
พระพรหมคุณาภรณ์ เขียนหนังสือไว้กว่า 300 เล่ม ทั้งยังมีการบันทึกเสียงการบรรยายธรรม การตอบปัญหา ซึ่งมีผู้ขออนุญาตพิมพ์ และผลิตแผ่นซีดี เอ้มพี 3 เพื่อแจกจ่ายให้ประชาชนทั่วไป โดยท่านไม่เคยคิดค่าลิขสิทธิ์เลย
หลักธรรมที่พระพรหมคุณาภรณ์เผยแผ่ทั้งที่เป็นหนังสือที่เขียนขึ้น แผ่นซีดีบันทึดการบรรยายธรรม ไม่ได้เน้น ธรรมขั้นสูงเพื่อการหลุดพ้น แต่เป็นเรื่อง การนำหลักธรรม ไปใช้เพื่อการสร้างสังคมที่ดีงาม คนอยุ่ร่วมกันอย่างสันติ มีความสุข
สมเด็จพระราชาคณะองค์ใหม่จึงเป็นเสมือนแสงแห่งธรรมที่สาดส่องสว่าง นำความปิติยินดีให้เกิดขึ้นในหมู่พุทธศาสนิกชน
*************************************
พระพรหมคุณาภรณ์นั้น ถือได้ว่า เป็น “ปราชญ์” แห่งศาสนาพุทธนิกายเถรวาท เพราะมีความรู้ที่ลึกซึ้งในเรื่องหลักธรรม ตามพระไตรปิฎก และนำเอาหลักธรรมเหล่านั้น ไปขยายความ เชื่อมโยงกับปัญหาสังคมในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับบุคคล ครอบครัว ประเทศชาติ ไปจนถึงระดับโลก
นอกจากนั้น ยังใช้หลักธรรมในการทำความเข้าใจศาสตร์แขนงอื่นๆ เช่น การแพทย์ วิทยาศาสตร์ เศรษฐ,ศาสตร์ และนิติศาสตร์ ฯลฯ อย่างมีเหตุผล รับฟังได้