สะเก็ดไฟ
ไม่รู้ดูทิศทางลม หรือไตร่ตรองไม่ดี หรือไปรับงานใครมาหรือเปล่า สำหรับข้อเสนอของประธานคณะอนุกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ที่มี สมพงษ์ สระกวี เป็นประธาน ที่โพล่งออกมาเสนอให้พิจารณาเพิ่มค่าตอบแทนแก่นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ส.ส. และ ส.ว. โดยเทียบเคียงกับโครงสร้างเงินเดือนของผู้บริหารองค์การมหาชน ที่ได้รับเงินเดือน 2 - 3 แสนบาท
โดยอ้างว่าจะช่วยลดปัญหาการทุจริตลงได้ พร้อมชักแม่น้ำทั้งห้า ว่า ตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และ พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญ ที่จะมีผลบังคับใช้หลังจากนี้ จะมีการตรวจสอบควบคุมนักการเมืองอย่างเข้มข้น ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองจะถูกตรวจสอบอย่างเข้มงวด ทั้งจากมาตรฐานทางจริยธรรมของนักการเมือง กฎหมาย 3 ชั่วโคตร การตรวจสอบบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน ไม่สามารถประกอบอาชีพอื่นใดได้ มีรายได้มาจากการเป็นนักการเมืองอย่างเดียว
แปลไทยเป็นไทย คือ สมพงษ์ กำลังจะบอกว่า ที่ผ่านมา สาเหตุที่นักการเมืองโกงกิน เพราะมีเงินเดือนน้อย แล้วพอเงินเดือนน้อยไม่พอ ต้องมาเจอกฎเหล็กสารพัดที่คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) เขียนสกัดเอาไว้ ทีนี้เป็นนักการเมืองเหมือนกับเข้าเนื้ออย่างเดียว ไม่ได้อะไรสักอย่าง
แต่ก็น่าสนใจเหมือนกันว่า ที่สมพงษ์ดันเอานักการเมืองไปเทียงเคียบกับผู้บริหารองค์การมหาชน โดยหยิบสิ่งที่เหมือนเพียงอย่างเดียว คือ วาระการดำรงตำแหน่ง แต่กลับไม่พูดถึงลักษณะเนื้องานของสองอาชีพที่แตกต่างกันมาฟื้นฝอยหาตะเข็บแม้สักนิด
แต่ก็คงไม่ผิดเพราะจะพูดไปการเลือกเทียบเคียงกับผู้บริหารองค์การมหาชน เพราะปัจจุบันองค์การมหาชนมีค่าตอบแทนที่สูงลิ่ว ถ้าไปหยิบอาชีพอื่นมาเงินเดือนของนักการเมืองก็คงไม่ได้เพิ่มจากเดิมสักเท่าไหร่ แต่ถ้าหยิบองค์การมหาชนมา ถ้าเกิดฟลุ๊กได้ ในอนาคตจะอิ่มหนำสำราญกันถ้วนหน้า เพราะมาประชุมบ้างไม่ประชุมบ้าง อย่างน้อยๆ ก็มีเงินเดือนมหาศาลรองรับ
ทว่า ข้อเสนอของอนุ กมธ. ชุดนี้ มันมองเป็นอย่างอื่นไม่ได้เลยนอกจากการเอาเงินไปบำเรอนักการเมืองอย่างเดียว ส่วนประโยชน์อย่างอื่นในทางปฏิบัติแทบไม่อาจบังเกิดได้ โดยเฉพาะข้ออ้างที่ระบุว่า จะทำให้การทุจริตลดลง ที่เอาเข้าจริงยิ่งตรงกันข้าม เผลอๆ จะทำให้นักการเมืองยิ่งโกงเข้าไปใหญ่ ขึ้นชื่อว่า นักการเมืองไทยต่อให้เงินเดือนหลายแสนก็ไม่สามารถล้างนิสัยได้
เงินแสนสำหรับนักการเมืองนั้นจะว่าไปขี้ปะติ๋วด้วยซ้ำ หลักฐานก็เห็นอยู่ทนโท่หลายคดีหลายกรณีเวลาทุจริตคอร์รัปชันฟาดกันเป็นสิบล้านร้อยล้าน เงินแสนมันไม่คุ้มที่จะเสี่ยงโกงหรอก ดังนั้น จะมาบอกว่าเงินเดือนเยอะแล้วจะอยู่นิ่งๆ ไม่สูบไม่ดูดงบหลวง คนที่คิดแบบนั้นไปสะกิดให้ตื่นทีเถอะ
ไปเล่าให้ชาวบ้านชาวช่องเขาฟัง เขายังขากถุยกลับมาเลยเชื่อขนมกินได้ว่า พอนักการเมืองมีเงินเดือนหลักแสนแล้วจะเปลี่ยนนิสัยทันทีหรือไม่ ข้อหนึ่งที่ลืมกันเสียมิไม่ได้เลยคือ ในสนามเลือกตั้งนักการเมืองเหล่านี้ลงทุนลงแรงกันหลายล้านบาทเพื่อให้ตัวเองเป็น ส.ส. นี่ยังไม่นับรวมค่าเบิกทางในการลงสมัครแต่ละพื้นที่ต่างๆ ให้กับนายทุนของแต่ละพรรคด้วย
ถามว่า นักการเมืองลงทุนขนาดนั้นเพื่อจะมารับเงินแสนอย่างนั้นหรือ มันย้อนแย้งสิ้นดี เพราะถ้าอย่างนั้นสู้ไปประกอบอาชีพที่ตัวเองทำอยู่ ไม่ว่าจะใต้ดินบนดินสิ่งที่ได้มหาศาลกว่าเยอะ จะมายืนตรงนี้ให้เหนื่อยฟรีทำไม เงินเดือนเท่านี้ใช้ไม่กี่วันก็หมด แต่การเข้ามาก็เพื่อต้องการถอนทุนคืน จากนั้นก็แสวงหากำไรให้สาสม อย่าคิดว่าเป็นส.ส.แล้วจนพอเงินเดือนน้อย เพราะช่องทางในการเสาะแสวงหากำไรมันเยอะ
ยิ่งเป็นรัฐมนตรียิ่งไม่ต้องพูดถึงวิ่งเต้นกันมาเพื่อเงินเดือนหลักแสนอย่างนั้นหรือ บางคนควักกระเป๋าเพื่อให้ได้เป็นเสนาบดีหมดเป็นสิบๆ ล้าน เพื่อมาลำบากคงไม่ใช่ แต่เพราะการเข้ามาอยู่ตรงนี้แล้ว มันทำให้มีทั้งอำนาจและช่องทางในการต่อยอดทรัพย์สินของตัวเอง โครงการหนึ่งฟาดเรียบกันเป็นหลักสิบล้านร้อยล้าน เป็นไม่กี่เดือน ถ้าโกยเก่งก็คุ้มแล้ว
ดังนั้น เรื่องใช้เงินเดือนหลักแสนมาล่อ พับใส่ลิ้นชักเก็บไปเลย ส่วนที่อ้างว่ากฎเหล็กเยอะเหลือเกินจนขยับไม่ได้ ตรงนี้ยิ่งส่อเจตนาไม่ดี เพราะเหมือนกับว่าพอโกงไม่ได้ก็เลยต้องการเงินเดือนเยอะๆ มาทดแทน ถามว่าทำไมเราต้องไปง้อด้วย ในเมื่อผู้ที่จะมาทำหน้าที่ตรงนี้ตามสเปกก็บอกอยู่แล้วว่า ต้องเป็นคนที่เสียสละ ซื่อสัตย์ สุจริต คนอื่นๆ ที่ไม่ได้อยู่ในข่ายนี้เขาก็ไม่ได้มีการบังคับขู่เข็ญสักหน่อยว่าจะต้องมา
ต้องบอกว่าแนวคิดนี้โดนคนนินทาหมาดูถูกไม่น้อย เพราะนี่คือตรรกะของคนที่มีหน้าที่ทำเรื่องปฏิรูปประเทศ เปลี่ยนแปลงอะไรให้ดีขึ้น ต้องหาทางขจัดการทุจริต สกรีนนักการเมืองน้ำใส แต่นี่ไปๆ มาๆ ไม่ต่างกับมีหน้าที่ในการหาช่องให้นักการเมืองโกงกินเสียอย่างงั้น ไม่รู้ว่าจะมาปฏิรูปหรือปฏิลวงกันแน่
ถ้ารัฐบาลบ้าจี้เอาข้อเสนอนี้ไปสานต่อ ต้องบอกว่าอาการหนักกว่า หรือถ้าทำจริงๆ งานนี้คงมีใบสั่งมาจากผู้มากบารมีอีกแล้ว เพราะถ้าย้อนสำรวจดูอนุกมธ.ชุดนี้ ก็กำเนิดมาจาก กมธ. ปฏิรูปการเมืองที่มีเสรี สุวรรณภานนท์ เป็นประธาน กมธ. ก็อย่างที่รู้กันทั่วบ้านทั่วเมืองว่า เสรี เป็นหนึ่งใน 2 กุมาiแห่งบ้านป่ารอยต่อ คู่กับ วันชัย สอนศิริ กมธ. ปฏิรูปการเมือง ที่ถูกขนานนามว่า เป็นไอ้ห้อยไอ้โหนของสภา
นี่ยังดีกว่าไหวตัวทัน เสรี รีบออกมาตัดบทว่า ยังไม่ได้พิจารณา และถ้าเสนอมาก็ควรให้ข้อเสนอเรื่องการขึ้นเงินเดือนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตกไป เพราะไม่เป็นที่ตอบรับของสังคม สวนกระแสกับความรู้สึกของประชาชน ตรงนี้ช่วยเซฟไปได้เยอะ ทำให้เสียแค่คนเดียว คือ สมพงษ์ ที่มีภาพลักษณ์ติดอยู่ว่า เป็นเสื้อแดงโดยสัญชาตญาณคนก็เลยแห่ไปด่าสมพงษ์ หาว่าจะช่วยเหลือเพื่อนๆ ในพรรคเพื่อไทย และกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) เป็นความคิดฟุ้งๆ ธรรมดา ไม่เป็นกระแสอะไรมาก เดี๋ยวก็หายไป
ไม่รู้คิดอย่างได้อย่างไรมาเสนอแบบนี้ และมาเสนอช่วงนี้ ปัดโธ่! หรือเป็นเพราะกำลังจะหมดสภาพสมาชิก สปท. ในไม่กี่วันก็เลยขอทิ้งบอมบ์สักลูกใสมาก
ไม่รู้ดูทิศทางลม หรือไตร่ตรองไม่ดี หรือไปรับงานใครมาหรือเปล่า สำหรับข้อเสนอของประธานคณะอนุกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ที่มี สมพงษ์ สระกวี เป็นประธาน ที่โพล่งออกมาเสนอให้พิจารณาเพิ่มค่าตอบแทนแก่นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ส.ส. และ ส.ว. โดยเทียบเคียงกับโครงสร้างเงินเดือนของผู้บริหารองค์การมหาชน ที่ได้รับเงินเดือน 2 - 3 แสนบาท
โดยอ้างว่าจะช่วยลดปัญหาการทุจริตลงได้ พร้อมชักแม่น้ำทั้งห้า ว่า ตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และ พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญ ที่จะมีผลบังคับใช้หลังจากนี้ จะมีการตรวจสอบควบคุมนักการเมืองอย่างเข้มข้น ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองจะถูกตรวจสอบอย่างเข้มงวด ทั้งจากมาตรฐานทางจริยธรรมของนักการเมือง กฎหมาย 3 ชั่วโคตร การตรวจสอบบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน ไม่สามารถประกอบอาชีพอื่นใดได้ มีรายได้มาจากการเป็นนักการเมืองอย่างเดียว
แปลไทยเป็นไทย คือ สมพงษ์ กำลังจะบอกว่า ที่ผ่านมา สาเหตุที่นักการเมืองโกงกิน เพราะมีเงินเดือนน้อย แล้วพอเงินเดือนน้อยไม่พอ ต้องมาเจอกฎเหล็กสารพัดที่คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) เขียนสกัดเอาไว้ ทีนี้เป็นนักการเมืองเหมือนกับเข้าเนื้ออย่างเดียว ไม่ได้อะไรสักอย่าง
แต่ก็น่าสนใจเหมือนกันว่า ที่สมพงษ์ดันเอานักการเมืองไปเทียงเคียบกับผู้บริหารองค์การมหาชน โดยหยิบสิ่งที่เหมือนเพียงอย่างเดียว คือ วาระการดำรงตำแหน่ง แต่กลับไม่พูดถึงลักษณะเนื้องานของสองอาชีพที่แตกต่างกันมาฟื้นฝอยหาตะเข็บแม้สักนิด
แต่ก็คงไม่ผิดเพราะจะพูดไปการเลือกเทียบเคียงกับผู้บริหารองค์การมหาชน เพราะปัจจุบันองค์การมหาชนมีค่าตอบแทนที่สูงลิ่ว ถ้าไปหยิบอาชีพอื่นมาเงินเดือนของนักการเมืองก็คงไม่ได้เพิ่มจากเดิมสักเท่าไหร่ แต่ถ้าหยิบองค์การมหาชนมา ถ้าเกิดฟลุ๊กได้ ในอนาคตจะอิ่มหนำสำราญกันถ้วนหน้า เพราะมาประชุมบ้างไม่ประชุมบ้าง อย่างน้อยๆ ก็มีเงินเดือนมหาศาลรองรับ
ทว่า ข้อเสนอของอนุ กมธ. ชุดนี้ มันมองเป็นอย่างอื่นไม่ได้เลยนอกจากการเอาเงินไปบำเรอนักการเมืองอย่างเดียว ส่วนประโยชน์อย่างอื่นในทางปฏิบัติแทบไม่อาจบังเกิดได้ โดยเฉพาะข้ออ้างที่ระบุว่า จะทำให้การทุจริตลดลง ที่เอาเข้าจริงยิ่งตรงกันข้าม เผลอๆ จะทำให้นักการเมืองยิ่งโกงเข้าไปใหญ่ ขึ้นชื่อว่า นักการเมืองไทยต่อให้เงินเดือนหลายแสนก็ไม่สามารถล้างนิสัยได้
เงินแสนสำหรับนักการเมืองนั้นจะว่าไปขี้ปะติ๋วด้วยซ้ำ หลักฐานก็เห็นอยู่ทนโท่หลายคดีหลายกรณีเวลาทุจริตคอร์รัปชันฟาดกันเป็นสิบล้านร้อยล้าน เงินแสนมันไม่คุ้มที่จะเสี่ยงโกงหรอก ดังนั้น จะมาบอกว่าเงินเดือนเยอะแล้วจะอยู่นิ่งๆ ไม่สูบไม่ดูดงบหลวง คนที่คิดแบบนั้นไปสะกิดให้ตื่นทีเถอะ
ไปเล่าให้ชาวบ้านชาวช่องเขาฟัง เขายังขากถุยกลับมาเลยเชื่อขนมกินได้ว่า พอนักการเมืองมีเงินเดือนหลักแสนแล้วจะเปลี่ยนนิสัยทันทีหรือไม่ ข้อหนึ่งที่ลืมกันเสียมิไม่ได้เลยคือ ในสนามเลือกตั้งนักการเมืองเหล่านี้ลงทุนลงแรงกันหลายล้านบาทเพื่อให้ตัวเองเป็น ส.ส. นี่ยังไม่นับรวมค่าเบิกทางในการลงสมัครแต่ละพื้นที่ต่างๆ ให้กับนายทุนของแต่ละพรรคด้วย
ถามว่า นักการเมืองลงทุนขนาดนั้นเพื่อจะมารับเงินแสนอย่างนั้นหรือ มันย้อนแย้งสิ้นดี เพราะถ้าอย่างนั้นสู้ไปประกอบอาชีพที่ตัวเองทำอยู่ ไม่ว่าจะใต้ดินบนดินสิ่งที่ได้มหาศาลกว่าเยอะ จะมายืนตรงนี้ให้เหนื่อยฟรีทำไม เงินเดือนเท่านี้ใช้ไม่กี่วันก็หมด แต่การเข้ามาก็เพื่อต้องการถอนทุนคืน จากนั้นก็แสวงหากำไรให้สาสม อย่าคิดว่าเป็นส.ส.แล้วจนพอเงินเดือนน้อย เพราะช่องทางในการเสาะแสวงหากำไรมันเยอะ
ยิ่งเป็นรัฐมนตรียิ่งไม่ต้องพูดถึงวิ่งเต้นกันมาเพื่อเงินเดือนหลักแสนอย่างนั้นหรือ บางคนควักกระเป๋าเพื่อให้ได้เป็นเสนาบดีหมดเป็นสิบๆ ล้าน เพื่อมาลำบากคงไม่ใช่ แต่เพราะการเข้ามาอยู่ตรงนี้แล้ว มันทำให้มีทั้งอำนาจและช่องทางในการต่อยอดทรัพย์สินของตัวเอง โครงการหนึ่งฟาดเรียบกันเป็นหลักสิบล้านร้อยล้าน เป็นไม่กี่เดือน ถ้าโกยเก่งก็คุ้มแล้ว
ดังนั้น เรื่องใช้เงินเดือนหลักแสนมาล่อ พับใส่ลิ้นชักเก็บไปเลย ส่วนที่อ้างว่ากฎเหล็กเยอะเหลือเกินจนขยับไม่ได้ ตรงนี้ยิ่งส่อเจตนาไม่ดี เพราะเหมือนกับว่าพอโกงไม่ได้ก็เลยต้องการเงินเดือนเยอะๆ มาทดแทน ถามว่าทำไมเราต้องไปง้อด้วย ในเมื่อผู้ที่จะมาทำหน้าที่ตรงนี้ตามสเปกก็บอกอยู่แล้วว่า ต้องเป็นคนที่เสียสละ ซื่อสัตย์ สุจริต คนอื่นๆ ที่ไม่ได้อยู่ในข่ายนี้เขาก็ไม่ได้มีการบังคับขู่เข็ญสักหน่อยว่าจะต้องมา
ต้องบอกว่าแนวคิดนี้โดนคนนินทาหมาดูถูกไม่น้อย เพราะนี่คือตรรกะของคนที่มีหน้าที่ทำเรื่องปฏิรูปประเทศ เปลี่ยนแปลงอะไรให้ดีขึ้น ต้องหาทางขจัดการทุจริต สกรีนนักการเมืองน้ำใส แต่นี่ไปๆ มาๆ ไม่ต่างกับมีหน้าที่ในการหาช่องให้นักการเมืองโกงกินเสียอย่างงั้น ไม่รู้ว่าจะมาปฏิรูปหรือปฏิลวงกันแน่
ถ้ารัฐบาลบ้าจี้เอาข้อเสนอนี้ไปสานต่อ ต้องบอกว่าอาการหนักกว่า หรือถ้าทำจริงๆ งานนี้คงมีใบสั่งมาจากผู้มากบารมีอีกแล้ว เพราะถ้าย้อนสำรวจดูอนุกมธ.ชุดนี้ ก็กำเนิดมาจาก กมธ. ปฏิรูปการเมืองที่มีเสรี สุวรรณภานนท์ เป็นประธาน กมธ. ก็อย่างที่รู้กันทั่วบ้านทั่วเมืองว่า เสรี เป็นหนึ่งใน 2 กุมาiแห่งบ้านป่ารอยต่อ คู่กับ วันชัย สอนศิริ กมธ. ปฏิรูปการเมือง ที่ถูกขนานนามว่า เป็นไอ้ห้อยไอ้โหนของสภา
นี่ยังดีกว่าไหวตัวทัน เสรี รีบออกมาตัดบทว่า ยังไม่ได้พิจารณา และถ้าเสนอมาก็ควรให้ข้อเสนอเรื่องการขึ้นเงินเดือนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตกไป เพราะไม่เป็นที่ตอบรับของสังคม สวนกระแสกับความรู้สึกของประชาชน ตรงนี้ช่วยเซฟไปได้เยอะ ทำให้เสียแค่คนเดียว คือ สมพงษ์ ที่มีภาพลักษณ์ติดอยู่ว่า เป็นเสื้อแดงโดยสัญชาตญาณคนก็เลยแห่ไปด่าสมพงษ์ หาว่าจะช่วยเหลือเพื่อนๆ ในพรรคเพื่อไทย และกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) เป็นความคิดฟุ้งๆ ธรรมดา ไม่เป็นกระแสอะไรมาก เดี๋ยวก็หายไป
ไม่รู้คิดอย่างได้อย่างไรมาเสนอแบบนี้ และมาเสนอช่วงนี้ ปัดโธ่! หรือเป็นเพราะกำลังจะหมดสภาพสมาชิก สปท. ในไม่กี่วันก็เลยขอทิ้งบอมบ์สักลูกใสมาก