“เสี่ยเปี๋ยง - สยามอินดิก้า” โดนอีก! อนุกรรมการ ป.ป.ช. สอบทุจริตจีทูจีมันสำปะหลัง ทำรัฐเสียหาย 3 หมื่นล้านบาท เพิ่มผู้ถูกกล่าวหารวม 84 ราย หลังเปิดชื่อรอบแรก 31 ราย รอบสองอีก 53 ราย เกี่ยวข้องกับ 7 สัญญา ซื้อขายมันสำปะหลัง และผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ในยุครัฐบาล ยิ่งลักษณ์ เผย “ยรรยง พวงราช” อดีต รมว.พาณิชย์ รบ. เพื่อไทย ก็เข้าข่ายสมัยนั่งปลัดพาณิชย์ ส่วนเอกชนไทย - เทศ ถูกกล่าวเพิ่ม 50 รายรวด
วันนี้ (31 ต.ค.) มีรายงานจากคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ว่า ภายหลัง ป.ป.ช. ตั้ง คณะอนุกรรมการไต่สวนข้อเท็จจริง กรณีกล่าวหา นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ อดีต รมว.พาณิชย์ นพ.วีระวุฒิ วัจนะพุกกะ อดีตเลขานุการ รมว.พาณิชย์ กับพวกรวม 31 ราย หลังพบว่า การซื้อขายมันสำปะหลัง (มันเส้น) ในรูปแบบสัญญาการซื้อขายแบบรัฐต่อรัฐ (จีทูจี) โดยมิชอบ มีนางสาวสุภา ปิยะจิตติ กรรมการ ป.ป.ช. เป็นประธานอนุกรรมการไต่สวน
เบื้องต้นพบว่า อาจมีการทุจริตเหมือนกับการขายข้าวจีทูจี จากการแสวงหาข้อเท็จจริงแล้ว พบว่า ในสมัยรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้มีการทำสัญญาซื้อขายมันสำปะหลัง และผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง จำนวนรวม 7 สัญญา ปริมาณรวม 4,790,000 ตัน จำนวนเงินรวม 30,642,500,000 บาท และบริษัทที่เข้ามาทำสัญญาซื้อขายกับกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ในฐานะตัวแทนของราชอาณาจักรไทย ไม่ใช่บริษัทที่ได้รับมอบหมาย หรือรับมอบอำนาจจากรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีน ให้เข้ามาทำสัญญาซื้อขายแบบรัฐต่อรัฐ (จีทูจี) โดยการกระทำนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะเอื้ออำนวย หรือช่วยเหลือให้บริษัทดังกล่าวได้เป็นผู้มีสิทธิทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐ โดยมุ่งหมาย หรือหลีกเลี่ยงเพื่อไม่ให้มีการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม ประกอบกับการพิจารณาให้ความเห็นชอบในเรื่องของราคาที่ซื้อขาย
ข้อเท็จจริงปรากฏว่า ได้ให้ความเห็นชอบในราคาตามข้อเสนอของบริษัท ซึ่งเป็นราคาที่ต่ำกว่าข้อเสนอของฝ่ายไทย เว้นแต่สัญญาที่ 2/2013 ซึ่งเสนอราคาเท่ากันทั้งฝ่ายไทยและฝ่ายจีน การกระทำดังกล่าวจึงก่อให้เกิดความเสียหายแก่กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ และประเทศชาติอย่างร้ายแรง
มีรายงานว่า ล่าสุด คณะอนุกรรมการไต่สวนข้อเท็จจริง ได้เพิ่มชื่อผู้ถูกกล่าวหาขึ้นอีกทั้งหมด 53 ราย มีทั้งอดีตข้าราชการ และกลุ่มเอกชน ประกอบด้วย
1. กลุ่มอดีตข้าราชการ-เจ้าหน้าที่ของรัฐ 3 ราย
1. นายยรรยง พวงราช เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงพาณิชย์
2. นายคณิต วาสิกานนท์ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง ผอ.กองมาตรฐานสินค้านำเข้าส่งออก กรมการค้าต่างประเทศ
3. พ.ต.ท.ธนิต กรปรีชา เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรองสารวัตร งานสายตรวจ 1 กองกำกับการ 1 กองบังคับการตำรวจจราจร สารวัตรศูนย์ฝึกอบรม กองบัญชาการตำรวจนครบาล และสารวัตรกลุ่มงานสัญญา กองกฎหมาย
2.กลุ่มเอกชน 50 ราย
1. Ms.Zhou Jing
2. Ms.Gong Shaoyan
3. Mr.Xie Mein หรือ Xie Mian
4. Mr.Zhou Guoxiong
5. บริษัท สยามอินดิก้า จำกัด
6. นายอภิชาติ จันทร์สกุลพร (เสี่ยเปี๋ยง)
7. น.ส.รัตนา แซ่เฮ้ง
8. น.ส.เรืองวัน เลิศสลารักษ์
9. น.ส.สุธิดา จันทะเอ หรือ สุทธิดา ผลดี
10. น.ส.สุนีย์ จันทร์สกุลพร
11. น.ส.อรวรรณ ศรัทธาสกุล หรือนัสลักษณ์ ศศิปัญญเลิศ
12. นายนิมล รักดี
13. น.ส.กรรณิกา เพชรสุวรรณ์
14. บริษัท ไทเกอร์ดิสทริบิวชั่นแอนด์โลจิสติคส์ จำกัด
15. นายบุญเกียรติ โชควัฒนา
16. นายวิเชียร กันตถาวร
17. น.ส.สุรีย์รัตน์ ปิยะอารีธรรม
18. นางกอบสุข แสงสวัสดิ์
19. นายวิทยา จีระผานุกร
20. นายธรรมรัตน์ โชควัฒนา
21. นายเวทิต โชควัฒนา
22. น.ส.ปัทมา มหาพรหม
23. นายไพโรจน์ หิรัญวงศ์สว่าง
24. บริษัท กั้วฮั่ว จำกัด
25. นายยาน ดิง
26. นายดีเซง ดิง
27. นายจรัล พูลสวัสดิ์
28. นายธราพงษ์ ตั้งนุศาสน์
29. บริษัท ยิ่งวัฒนาทาปิโอก้า จำกัด
30. นางรัชนี วีระกุล
31. นางจุไรรัตน์ วีระกุล
32. บริษัท เอเชียโกลเด้นไรซ์ จำกัด
33. นายสมบัติ เฉลิมวุฒินันท์
34. นายชัยวัฒน์ นิ้มวัฒนา
35. นายพรชัย โตนิติวงศ์
36. นายวิชัย บุญธนาพิบูลย์
37. นางกุลภัทรา ปรีชา
38. นายสมศักดิ์ พงศ์มณีรัตน์
39. นายสมศักดิ์ ชินศักดิ์ชัย
40. นายสมเกียรติ พันธุ์นิธิทร
41. นายประหยัด ติ๊บมุ่ง
42. น.ส.พรลภัส วรรณจักร
43. นายวีระชาติ ทุ่งไผ่แหลม
44. นายธีรพงษ์ พิรารักษ์
45. นายชาญวิทย์ มงคลวัฒนา
46. น.ส.วิไลลักษณ์ ปิติพรสัมฤทธิ์
47. น.ส.รุ่งรวี สง่าเขียว
48. นางปัญญาทิพย์ ตั้งเกษมวิบูลย์
49. นางเดือนเพ็ญ แบ๊ะหลี
50. Mr.Kai Feng
โดยทั้งหมดจะถูกคณะอนุกรรมการไต่สวน กล่าวหาเพิ่มเติมว่า กระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการตามประมวลกฎหมายอาญา หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ หรือทุจริตต่อตำแหน่งหน้าที่ตามกฎหมายอื่น กรณีทุจริตในการซื้อขายมันสำปะหลังและผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังแบบจีทูจี จำนวน 7 สัญญา ปริมาณ 4,790,000 ตัน มูลค่ารวม 30,642,500,000 บาท
มีรายงานว่า เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2558 สำนักงาน ป.ป.ช. ได้เผยแพร่รายชื่อบริษัทที่เข้ามาทำสัญญาซื้อขายกับกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ในฐานะตัวแทนของราชอาณาจักรไทย ไม่ใช่บริษัทที่ได้รับมอบหมาย ดำเนินการแสวงหาข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐานเสร็จแล้ว ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าในสมัยรัฐบาล นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้มีการทำสัญญาซื้อขายมันสำปะหลังและผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง จำนวนรวม 7 สัญญา ปริมาณรวม 4,790,000 ตัน จำนวนเงินรวม 30,642,500,000 บาท ได้แก่
โครงการปี 2554/2555 จำนวน 4 สัญญา
สัญญาที่ 1/2012 กับบริษัท Hainan Province Grain and oil Trading Company ระบาย มันสำปะหลังเส้น ปริมาณ 1,000,000 ตัน จำนวนเงิน 5,200,000,000 บาท
สัญญาที่ 2/2012 กับบริษัท Hainan Grain Warehousing Industrial Corporation ระบาย มันสำปะหลังเส้น ปริมาณ 500,000 ตัน จำนวนเงิน 2,625,000,000 บาท
สัญญาที่ 3/2012 กับบริษัท Hainan Grain Warehousing Industrial Corporation ระบาย แป้งมันสำปะหลัง ปริมาณ 500,000 ตัน จำนวนเงิน 5,200,000,000 บาท
สัญญาที่ 4/2012 กับบริษัท Hainan Grain and Oil Industrial Trading Company ระบาย มันสำปะหลังเส้น ปริมาณ 700,000 ตัน จำนวนเงิน 3,675,000,000 บาท
โครงการปี 2555/2556 จำนวน 3 สัญญา
สัญญาที่ 1/2013 กับบริษัท Hainan Grain Warehousing Industrial Corporation ระบาย มันสำปะหลังเส้น ปริมาณ 1,350,000 ตัน จำนวนเงิน 6,885,000,000 บาท
สัญญาที่ 2/2013 กับบริษัท Hainan Grain Warehousing Industrial Corporation ระบาย มันสำปะหลังเส้น (โครงการ 2551/2552) ปริมาณ 150,000 ตัน จำนวนเงิน 420,000,000 บาท
สัญญาที่ 3/2013 กับบริษัท Hainan Province Grain and Oil Trading Company ระบาย แป้งมันสำปะหลัง ปริมาณ 590,000 ตัน จำนวนเงิน 6,637,500,000 บาท
บริษัทที่เข้ามาทำสัญญาซื้อขายกับกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ในฐานะตัวแทนของราชอาณาจักรไทย ไม่ใช่บริษัทที่ได้รับมอบหมาย หรือรับมอบอำนาจจากรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีน ให้เข้ามาทำสัญญาซื้อขายแบบรัฐต่อรัฐ (G to G) โดยการกระทำนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะเอื้ออำนวยหรือช่วยเหลือให้บริษัทดังกล่าวได้เป็นผู้มีสิทธิทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐ โดยมุ่งหมายหรือหลีกเลี่ยงเพื่อไม่ให้มีการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม ประกอบกับการพิจารณาให้ความเห็นชอบในเรื่องของราคาที่ซื้อขาย ข้อเท็จจริงปรากฏว่าได้ให้ความเห็นชอบในราคาตามข้อเสนอของบริษัท ซึ่งเป็นราคาที่ต่ำกว่าข้อเสนอของฝ่ายไทย เว้นแต่สัญญาที่ 2/2013 ซึ่งเสนอราคาเท่ากันทั้งฝ่ายไทยและฝ่ายจีน การกระทำดังกล่าวจึงก่อให้เกิดความเสียหายแก่กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ และประเทศชาติ อย่างร้ายแรง
กรณีจึงมีเหตุอันควรสงสัยว่า
กลุ่มที่ 1 ผู้เจรจา ผู้พิจารณาให้ความเห็นชอบ ผู้ลงนามในสัญญา และผู้เกี่ยวข้องกับซื้อขายแบบรัฐต่อรัฐ ได้แก่
(1) นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
(2) พันตรี วีระวุฒิ วัจนะพุกกะ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
(3) นายมนัส สร้อยพลอย เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ
(4) นางปราณี ศิริพันธ์ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ
(5) นายสุรศักดิ์ เรียงเครือ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ
(6) บริษัท Hainan Province Grain and oil Trading Company
(7) Mr. Chen Houpeng ผู้มีอำนาจลงนามของบริษัท Hainan Province Grain and oil Trading Company
(8) บริษัท Hainan Grain Warehousing Industrial Corporation
(9) Mr.Xing Gucun ผู้มีอำนาจลงนามของบริษัท Hainan Province Grain and oil Trading Company
(10) บริษัท Hainan Grain and Oil Industrial Trading Company
(11) Mr. Lin Haihui ผู้มีอำนาจลงนามของบริษัท Hainan Grain and Oil Industrial Trading Company
กลุ่มที่ 2 ผู้รับมอบอำนาจ ผู้แทนนิติบุคคลของผู้รับมอบอำนาจ ผู้รับมอบอำนาจช่วงจากบริษัทที่เข้ามาทำสัญญาซื้อขายแบบรัฐต่อรัฐ เจ้าของเงินที่เกี่ยวข้องกับการชำระค่ามันสำปะหลังและผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง และผู้มีส่วนร่วมในการกระทำดังกล่าว ได้แก่
(1) บริษัท เอลัช (ประเทศไทย) จำกัด
(2) นายชู หมิง เช็น เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัท เอลัช (ประเทศไทย) จำกัด
(3) นางสาวลิอุ ยุก หมิง ไอลีน เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัท เอลัช (ประเทศไทย) จำกัด
(4) นายชู หมิง คิน เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัท เอลัช (ประเทศไทย) จำกัด
(5) นายสุธี เชื่อมไธสง
(6) Miss Chen Yifan
(7) บริษัท พี เอส ซี สตาร์ช โปรดักส์ จำกัด (มหาชน)
(8) นางสาวอารยา กำปั่นแก้ว เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัท พี เอส ซี สตาร์ช โปรดักส์ จำกัด (มหาชน)
(9) นายสุมนต์ เสรีธรณกุล เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัท พี เอส ซี สตาร์ช โปรดักส์ จำกัด (มหาชน
(10) นายสรัญ เสรีธรณกุล เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัท พี เอส ซี สตาร์ช โปรดักส์ จำกัด (มหาชน)
(11) นายสิรินทร์ เสรีธรณกุล เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัท พี เอส ซี สตาร์ช โปรดักส์ จำกัด (มหาชน)
(12) นายสราวุธ เสรีธรณกุล เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัท พี เอส ซี สตาร์ช โปรดักส์ จำกัด (มหาชน)
(13) นางสาวเรณู รักแม่
(14) Ms. Liang Jinmei
(15) บริษัท เอส บี พรีเมียร์ โปรดักส์ จำกัด
(16) นายสมบูรณ์ วัฒนวานิชย์กุล เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัทเอสบี พรีเมียร์ โปรดักส์ จำกัด
(17) นายลิตร พอใจ
(18) บริษัทสุวรรณเกลียวทอง จำกัด
(19) นายจักรพงศ์ ปิติพรสัมฤทธิ์ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัทสุวรรณเกลียวทอง จำกัด
(20) นายสมคิด เอื้อนสุภา
ร่วมกันกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการตามประมวลกฎหมายอาญา หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ หรือทุจริตต่อหน้าที่ตามกฎหมายอื่น ตามมาตรา 66 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 จึงมีมติให้ดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริงตามหมวด 4 ว่าด้วยการไต่สวนข้อเท็จจริง
มีรายงานว่า สำหรับ “เสี่ยเปี๋ยง และ บริษัท สยามอินดิก้า เพิ่งจะถูก คณะกรรมการ ป.ป.ช. ชี้มูลความผิด ร่วมกับ นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ กับพวกรวม 21 คน กระทำความผิดด้วยการแบ่งหน้าที่กันทำงานโดยช่วยเหลือมุ่งหมาย และเอื้อประโยชน์ให้กับบริษัท ไม่ต้องแข่งขันราคากับผู้เสนอรายอื่น แล้วนำข้าวที่ซื้อได้ในราคาที่ต่ำกว่าราคาขายในประเทศ หรือต่ำกว่าราคาที่รับจำนำ นำไปขายต่อให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในประเทศ หรือ ให้บริษัท สยามอินดิก้า นำไปขายต่ออีกทอดหนึ่ง ก่อให้เกิดความเสียหายแก่กรมการค้าต่างประเทศและประเทศชาติ คิดเป็นมูลค่ากว่า 20,000 ล้านบาท อันเป็นความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานรัฐ พ.ศ. 2542 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542
ล่าสุด สำนักงาน ปปง. ได้รวบรวมพยานหลักฐานและตรวจสอบธุรกรรมการทางการ เงินดังกล่าวพบว่ากลุ่มบุคคลดังกล่าว มีพฤติการณ์ทุจริตโดยการปลอมสัญญาให้ดูเสมือนมีการซื้อขายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ จริง รวมถึงการตรวจพบการได้ไป ซึ่งทรัพย์สินของผู้กระทำความผิดกับการทุจริตตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและ ปราบปรามการฟอกเงินทั้งกลุ่มบริษัทสยามอินดิก้า บริษัท สิราลัย (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท กีธา) และบุคคลที่เกี่ยวข้องกับนายอภิชาติ จันทร์สกุลพร (เสี่ยเปี๋ยง)
ตรวจสอบทรัพย์สินของกลุ่มผู้กระทำความผิดดังกล่าว พบว่า ทรัพย์สินดังกล่าวมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าได้มาจากการกระทำความผิดและเป็น ความผิดมูลฐานตามมาตรา 3 (5) แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2559 ที่ ประชุมคณะกรรมการธุรกรรม ได้มีมติให้ยึดและอายัดทรัพย์สินของกลุ่มบริษัท สยามอินดิก้า บริษัท สิราลัย (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นบริษัทกีธา) และบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับ นายอภิชาติ จันทร์สกุลพร (เสี่ยเปี๋ยง) เป็นเงินฝากในบัญชีธนาคารจำนวน 51 บัญชี มูลค่าประมาณ 921 ล้านบาท และที่ดินในกรุงเทพมหานคร ลำพูน ภูเก็ต พังงา พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง จำนวน 611 รายการ มูลค่าประมาณ 5,970 ล้านบาท รวมทั้งสิ้น 662 รายการ มูลค่าประมาณ 7,000 ล้านบาท