“ศาลปกครองสูงสุด” แก้คำพิพากษาศาลปกครองกลาง สั่ง ผบช.ภ.3 คืนสิทธิการเป็นผู้สมัครนายสิบตำรวจ “ณรงค์ โพธิษา” หลังวินิจฉัยรอยสักที่เจ้าตัวมีอยู่ในร่มผ้า ลบแล้วขนาดไม่น่าเกลียด ไม่เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติหน้าที่ โฆษกศาลปกครองดักไม่ใช่ใช้เป็นบรรทัดฐานคนมีรอยสัก ยังคงอยู่ในดุลพิจ ตร.พิจารณาเป็นกรณี
วันนี้ (6 ก.ย.) ศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลปกครองกลางเป็นให้เพิกถอนประกาศรายชื่อผู้ได้รับคัดเลือกในการรับสมัครและคัดเลือกบุคคลภายนอกผู้มีประกาศนียบัตรประโยคมัธยมศึกษาตอนปลายหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพหรือเทียบเท่าเพื่อบรรจุเป็นนักเรียนนายสิบตำรวจ พ.ศ. 2555 ลงวันที่ 24 ต.ค. 2555 เฉพาะส่วนที่ให้นายดำรงศักดิ์ หรือณรงค์ โพธิษา ไม่ผ่านการตรวจร่างกายโดยให้มีผลย้อนหลังไปจนถึงวันที่ออกคำสั่ง โดยให้ผู้บัญชาการตำรวจภาค 3 ดำเนินการคืนสิทธิในฐานะผู้สมัครสอบที่สอบผ่านข้อเขียน สมรรถภาพ และผ่านการตรวจร่างกายแล้วให้นายดำรงศักดิ์ทดสอบความเหมาะสมกับตำแหน่ง (สอบสัมภาษณ์) ตามที่ประกาศรับสมัครฯ ลงวันที่ 2 เม.ย. และหลักเกณฑ์ที่กฎหมายหรือระเบียบในเรื่องดังกล่าวกำหนดและประกาศผลสอบเฉพาะส่วนของนายดำรงศักดิ์ต่อไปภายใน 60 วันนับจากวันที่คดีถึงที่สุด
ทั้งนี้ คดีดังกล่าวสืบเนื่องจากนายดำรงศักดิ์ได้สอบผ่านข้อเขียนเพื่อบรรจุเป็นนักเรียนนายสิบตำรวจประจำปี 2555 สายป้องกันและปราบปราม (บช.น.5) และได้ผ่านการทดสอบความเหมาะสมกับตำแหน่งภาคทดสอบสมรรถภาพร่างกายแล้ว แต่เมื่อเข้าตรวจร่างกายกลับได้รับแจ้งผลวินิจฉัยว่ามีรอยสักที่ขัดต่อหลักเกณฑ์การบรรจุเป็นนักเรียนนายสิบตำรวจ จึงมีหนังสือขอให้ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 3 ทบทวนการตรวจร่างกายใหม่ แต่กลับมีการยืนยันผลการวินิจฉัยเดิมและมีผลไม่ผ่านการตรวจร่างกาย นายดำรงศักดิ์จึงฟ้องต่อศาลปกครองเพื่อให้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้เพิกถอนผลการประกาศผลการคัดเลือกและให้ผู้ฟ้องคดีผ่านการตรวจร่างกาย
ส่วนเหตุที่ศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษาดังกล่าวระบุว่า มาตรา 48 ของ พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 ที่บัญญัติลักษณะต้องห้ามตาม (13) ไม่เป็นผู้มีแผลเป็น ปาน รอยสัก หูด หรือซีสต์ที่ส่วนต่างๆ ของร่างกายซึ่งมีขนาดใหญ่หรือมากจนแลดูน่าเกลียด แต่การที่นายดำรงศักดิ์มีรอยสักบริเวณกลางหลังใต้ลำคอนั้น ศาลเห็นว่าเป็นรอยที่เกิดจากการลบรอยสักซึ่งมีขนาดไม่ใหญ่มากนัก เป็นรอยในร่มผ้า ไม่เป็นที่เปิดเผย เมื่อสวมเครื่องแบบปฏิบัติหน้าที่แล้วจะไม่สามารถมองเห็นได้ และที่สำคัญรอยสักของนายดำรงศักดิ์ไม่เป็นอุปสรรคขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ นายดำรงศักดิ์จึงไม่มีลักษณะต้องห้ามในการสอบแข่งขันเข้ารับราชการเป็นข้าราชการตำรวจแต่อย่างใด ดังนั้นการที่ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 3 มีมติให้นายดำรงศักดิ์เป็นผู้ไม่ผ่านการตรวจร่างกายเพราะรอยสักกลางหลังที่ลบไม่หมด จึงเป็นการใช้ดุลพินิจที่ไม่ชอบ
ด้านนายสมชาย งามวงศ์ชน ตุลาการศาลปกครองสูงสุด ในฐานะโฆษกศาลปกครอง กล่าวถึงคำพิพากษาคดีดังกล่าวว่า คงไม่ใช่ใช้เป็นบรรทัดฐานกับคนที่มีรอยสักแบบต่างๆ ที่จะสมัครเข้ารับราชการตำรวจ ที่ผ่านมามีการฟ้องคดี ศาลก็ไม่ได้เพิกถอน แต่คดีนี้ศาลใช้หลักพิจารณาว่ารอยสักของผู้ฟ้องคดีมีขนาดใหญ่จนดูน่าเกลียดหรือไม่ และเห็นว่ารอยสักผู้ฟ้องคดีอยู่ในร่มผ้า และเป็นรอยที่มีลักษณะลบแล้ว ไม่ใช่จุดที่ทำให้น่าเกลียด ที่สำคัญไม่เป็นอุปสรรคขัดขวางต่อการปฏิบัติหน้าที่จึงมีคำพิพากษาให้เพิกถอน ดังนั้น ถ้าผู้ที่สมัครเข้ารับราชการตำรวจมีรอยสักก็ยังเป็นดุลพินิจของตำรวจที่จะต้องพิจารณาเป็นกรณีไป
วันนี้ (6 ก.ย.) ศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลปกครองกลางเป็นให้เพิกถอนประกาศรายชื่อผู้ได้รับคัดเลือกในการรับสมัครและคัดเลือกบุคคลภายนอกผู้มีประกาศนียบัตรประโยคมัธยมศึกษาตอนปลายหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพหรือเทียบเท่าเพื่อบรรจุเป็นนักเรียนนายสิบตำรวจ พ.ศ. 2555 ลงวันที่ 24 ต.ค. 2555 เฉพาะส่วนที่ให้นายดำรงศักดิ์ หรือณรงค์ โพธิษา ไม่ผ่านการตรวจร่างกายโดยให้มีผลย้อนหลังไปจนถึงวันที่ออกคำสั่ง โดยให้ผู้บัญชาการตำรวจภาค 3 ดำเนินการคืนสิทธิในฐานะผู้สมัครสอบที่สอบผ่านข้อเขียน สมรรถภาพ และผ่านการตรวจร่างกายแล้วให้นายดำรงศักดิ์ทดสอบความเหมาะสมกับตำแหน่ง (สอบสัมภาษณ์) ตามที่ประกาศรับสมัครฯ ลงวันที่ 2 เม.ย. และหลักเกณฑ์ที่กฎหมายหรือระเบียบในเรื่องดังกล่าวกำหนดและประกาศผลสอบเฉพาะส่วนของนายดำรงศักดิ์ต่อไปภายใน 60 วันนับจากวันที่คดีถึงที่สุด
ทั้งนี้ คดีดังกล่าวสืบเนื่องจากนายดำรงศักดิ์ได้สอบผ่านข้อเขียนเพื่อบรรจุเป็นนักเรียนนายสิบตำรวจประจำปี 2555 สายป้องกันและปราบปราม (บช.น.5) และได้ผ่านการทดสอบความเหมาะสมกับตำแหน่งภาคทดสอบสมรรถภาพร่างกายแล้ว แต่เมื่อเข้าตรวจร่างกายกลับได้รับแจ้งผลวินิจฉัยว่ามีรอยสักที่ขัดต่อหลักเกณฑ์การบรรจุเป็นนักเรียนนายสิบตำรวจ จึงมีหนังสือขอให้ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 3 ทบทวนการตรวจร่างกายใหม่ แต่กลับมีการยืนยันผลการวินิจฉัยเดิมและมีผลไม่ผ่านการตรวจร่างกาย นายดำรงศักดิ์จึงฟ้องต่อศาลปกครองเพื่อให้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้เพิกถอนผลการประกาศผลการคัดเลือกและให้ผู้ฟ้องคดีผ่านการตรวจร่างกาย
ส่วนเหตุที่ศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษาดังกล่าวระบุว่า มาตรา 48 ของ พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 ที่บัญญัติลักษณะต้องห้ามตาม (13) ไม่เป็นผู้มีแผลเป็น ปาน รอยสัก หูด หรือซีสต์ที่ส่วนต่างๆ ของร่างกายซึ่งมีขนาดใหญ่หรือมากจนแลดูน่าเกลียด แต่การที่นายดำรงศักดิ์มีรอยสักบริเวณกลางหลังใต้ลำคอนั้น ศาลเห็นว่าเป็นรอยที่เกิดจากการลบรอยสักซึ่งมีขนาดไม่ใหญ่มากนัก เป็นรอยในร่มผ้า ไม่เป็นที่เปิดเผย เมื่อสวมเครื่องแบบปฏิบัติหน้าที่แล้วจะไม่สามารถมองเห็นได้ และที่สำคัญรอยสักของนายดำรงศักดิ์ไม่เป็นอุปสรรคขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ นายดำรงศักดิ์จึงไม่มีลักษณะต้องห้ามในการสอบแข่งขันเข้ารับราชการเป็นข้าราชการตำรวจแต่อย่างใด ดังนั้นการที่ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 3 มีมติให้นายดำรงศักดิ์เป็นผู้ไม่ผ่านการตรวจร่างกายเพราะรอยสักกลางหลังที่ลบไม่หมด จึงเป็นการใช้ดุลพินิจที่ไม่ชอบ
ด้านนายสมชาย งามวงศ์ชน ตุลาการศาลปกครองสูงสุด ในฐานะโฆษกศาลปกครอง กล่าวถึงคำพิพากษาคดีดังกล่าวว่า คงไม่ใช่ใช้เป็นบรรทัดฐานกับคนที่มีรอยสักแบบต่างๆ ที่จะสมัครเข้ารับราชการตำรวจ ที่ผ่านมามีการฟ้องคดี ศาลก็ไม่ได้เพิกถอน แต่คดีนี้ศาลใช้หลักพิจารณาว่ารอยสักของผู้ฟ้องคดีมีขนาดใหญ่จนดูน่าเกลียดหรือไม่ และเห็นว่ารอยสักผู้ฟ้องคดีอยู่ในร่มผ้า และเป็นรอยที่มีลักษณะลบแล้ว ไม่ใช่จุดที่ทำให้น่าเกลียด ที่สำคัญไม่เป็นอุปสรรคขัดขวางต่อการปฏิบัติหน้าที่จึงมีคำพิพากษาให้เพิกถอน ดังนั้น ถ้าผู้ที่สมัครเข้ารับราชการตำรวจมีรอยสักก็ยังเป็นดุลพินิจของตำรวจที่จะต้องพิจารณาเป็นกรณีไป