xs
xsm
sm
md
lg

ฤดูหาเสียงเป็น ส.ว. วาระเริ่มแรก อย่าบิดเบือนประชามติ 7 สิงหา

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


ร่างรัฐธรรมนุญที่ ประชาชน 16 ล้านคน ลงประชามติรับรองเมื่อวันที่ 7 สิงหาคมที่ผ่านมา กำหนดวิธีการเลือกนายกรัฐมนตรีไว้ว่า ให้ พรรคการเมือ งเสนอชื่อ คนจะเป็นนายกรัฐมนตรี ให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเลือก โดยมีขั้นตอนดังนี้

1.ให้พรรคการเมืองส่ง รายชื่อบุคคลที่พรรคจะเสนอชื่อ เป็นนายกรัฐมนตรี ไม่เกิน 3 ชื่อ ให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง ( กกต.) ก่อนปิดการรับสมัคร เลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และให้ กตต. ประกาศรายชื่อให้ประชาชนทราบ พรรคการเมืองจะไม่เสนอชื่อ คนที่จะเป็นนายกฯก็ได้ คนที่ได้รับการเสนอชื่อจากพรรคการเมืองให้เป็นนายกฯ ไม่ต้องเป็น สส. เพราะขณะที่เสนอชื่อ ยังไม่มีการเลือกตั้ง จึงไม่มีใครเป็น สส. และจะเป็นคนนอก ไม่ได้สังกัดพรรคการเมืองนั้นก็ได้ แต่ต้องมีคุณสมบัติ และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ และเจ้าตัวยินยอม

2. เมื่อเลือกตั้งเสร็จ มีสภาผู้แทนราษฎรแล้ว ให้ สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี จากบุคคลที่มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองแจ้งไว้กับ กกต. เฉพาะ พรรคการเมืองที่สมาชิกได้รับเลือกเป็น สส. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ของจำนวน สส. ที่มีอยู่ทั้งหมดในสภา คือ 25 คนขึ้นไป เท่านั้น จึงจะมีสิทธิเสนอชื่อบุคคลในบัญชีรายชื่อของตน เข้าชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

นอกจากนั้น ยังต้องมี สส. รับรอง ไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 ของ จำนวน สส.ที่มีอยู่ คือ 50 คน

ดังนั้น พรรคประชาชนปฏิรูป ของนายไพบูลย์ นิติตะวัน ที่ประกาศว่า จะเสนอชื่อ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี ต้องให้พลเอกประยุทธ์ยินยอม และต้องมี สส. ในสภา ไม่น้อยกว่า 25 คน และต้องล่ารายชื่อ สส. ในสภาฯให้ครบ 50 คน จึงจะเสนอชื่อ พลเอกประยุทธ์ เป็นนายกรัฐมนตรีได้

3.การเลือก นายกรัฐมนตรี ให้ สส. ลงคะแนนโดยเปิดเผย โดยผู้ที่จะได้เป็นนากยฯ ต้องมีคะแนนเสียงมากกว่า กึ่งหนึ่ง คือ 251 คน

ในบท เฉพาะกาล มาตรา 272 เขียนเผื่อไว้ว่า “ในวาระเริ่มแรก ...” ซึ่งหมายถึง การเลือกนายกรัฐมนตรี หลังจากมีการเลือกตั้งครั้งแรก หากไม่สามารถแต่งตั้ง นายกรัฐมนตรี จากบุคคลที่อยุ่ในบัญชีรายชื่อของ พรรคการเมือง ได้ ก็ให้ยกเว้น ไม่ต้องเลือกคนที่อยุ่ในบัยชีรายชื่อได้ โดย สส. ไม่น้อยกว่า กึ่งหนึ่ง คือ 250 คน เสนอชื่อ ให้ ประชุมร่วม สส. กับ สว. พิจารณา ด้วยคะแนนไม่น้อยกว่า 3 ใน 5 คือ 500 คน จาก จำนวน สส . บวก สว. ทั้งหมด 750 คน จึงจะยกเว้นไม่ต้องเลือกคนในบัญชีรายชื่อพรรคการเมืองเป็นนายกรัฐมนตรีได้ แต่ กระบวนการเลือก ต้องเป็นไปตามบทบัญญัติในรัฐธรรรมนูญ คือ ต้องให้พรรคการเมืองที่มี สส. ไม่ต่ำกว่า 25 คน เป็นผู้เสนอ โดยมี สส. ไม่ต่ำกว่า 50 คน รับรอง และ ได้รับเสียงจาก สส. ต่ำกว่า 250 คน

ร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับนี้ จึงให้ อำนาจ สส. เท่านั้น เป็นผู้เสนอชื่อ และเลือก นายกรัฐมนตรี

แต่ คำถามเพิ่มเติม หรือคำถามพ่วง ที่ประชาชน 10 ล้านคน ลงประชามติเห็นชอบ ให้ สมาชิกวุฒิสภา ชุดแรก 250 คน ซึ่ง คณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. แต่งตั้ง ร่วมลงมติเลือก นายกรัฐมนตรี ใน “ วาระเริ่มแรก” คือ ในการเลือกนายกรัฐมนตรี หลังการเลือกตั้งครั้งแรกเท่านั้น

นี่คือ ฉันทามติของประชาชนที่ เห็นชอบกับ กระบวนการเข้าสู่อำนาจ คือ ให้ สส. ที่มาจากการเลือกตั้ง เสนอชื่อ นายกรัฐมนตรี และให้ สส. กับ สว. ที่มาจาก คสช. เป็นคนเลือก

หลังทราบผลการลงประชามติอย่างเป็นทางการ คณะกรรมการร่าง รธน. มีหน้าที่ แก้ไขร่าง รั,ฐธรรมนูญ โดยเอาเนิ้อหาของ คำถามพ่วง ที่ให้ สว. ร่วมโหวต นายกรัฐมนตรี ใส่เข้าไป แล้วส่งให้ ศาลรัฐธรรมนูญ พิจารณา หากศาลรัฐธรรมนูญเห็นชอบ ก็นำขึ้นทูลเกล้า ฯ ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ

มาบัดนี้ มี สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ( สนช.) บางส่วน และ สมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ( สปท) บางคน “ เหาะเกินลงกา” สวมวิญญาณศรีธนณชัย ตีความฉันทามติของประชาชนว่า เมื่อคำถามพ่วง เห็นชอบให้ ส.ว ลงมติเลือกนากรัฐมนตรีได้ ก็หมายความว่า ส.ว. สามารถเสนอชื่อ นายกรัฐมนตรีได้ด้วย โดยอ้างว่า เป็นการตีความตามเจตนารมณ์ของคำถามพ่วง

ก่อนการลงประชามติ ตัวแทน สนช. ตัวแทน สนข. ที่ไปออกทีวี อธิบายว่า หน้าที่ของ ส.ว. นอกจากหน้าที่ทั่วไปคือ กลั่นกรองกฎหมายแล้ว ยังมีหน้าที่เป็นองครักษ์พิทักษ์การปฏิรุปด้วย ดังนั้น จึงขอมีส่วนร่วม ตั้งแต่ต้นทางคือ การร่วมให้ความเห็นชอบ การเลือกนายกรัฐมนตรี ร่วมกับ สส. ด้วย

หากเจตนารมณ์ของคำถามพ่วงต้องการให้ ส.ว. เลือกนายกฯด้วย ทำไมจึงไม่บอกประชาชนให้รู้ด้วย และทำไม สนช. จึงไม่เขียนคำถามพ่วงว่า ในระยะเริ่มแรก เห็นชอบไหมที่จะให้ ส.ว. เสนอชื่อ และลงมติเลือก นายกรัฐมนตรี

การลงประชามติ โจทย์ หรือคำถามที่จะให้ประชาชนเลือกว่า เอา หรือ ไม่เอา ต้องชัดเจน ไม่ต้องมาเถียงกันภายหลังว่า จะตีความอย่างแคบ หรืออย่างกว้าง หรือ เจตนารมณ์ของคำถามพ่วงคืออะไร

หากมีการแก้ไขร่าง รธน. โดยให้ ส.ว. เสนอชื่อนายกรัฐมนตรีได้ด้วย ต้องถือว่า ร่าง รธน. ที่แก้ไขนี้ เป็นคนละฉบับกับ ที่ คณะกรรมการร่าง รธน. นำมาให้ ประชาชน ลงประชามติเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม เพราะ ร่างรธน ที่ ประชาชนลงมติรับไปนั้น ให้ ส.ส. เท่านั้น ที่เป็นผู้เสนอชื่อ นายกรัฐมนตรี ส.ว. มีสิทธิเพียงเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบเท่านั้น ไม่มีสิทธิเสนอ

นั่นคือ การหลอกลวงประชาชน ให้ลงประชามติรับร่าง รธน ฉบับหนึ่ง แต่กลับเอาร่าง รธน อีกฉบับ ที่ประชาชนไม่ได้เห็นชอบมาใช้ ซึ่งไม่รุ้ว่า เป็นใบสั่ง ของ คสช. เอง หรือว่า เป็นการหาเสียงเอาหน้า ของ บรรดา สนช และ สปท. เหล่านั้น โดยหวังว่า คสช. จะเห็นผลงาน เลือกให้ มา “ รับใช้ชาติ- พิทักษ์การปฏิรูป” แต่งตั้งให้เป็น ส.ว. ในวาระเริ่มแรก


กำลังโหลดความคิดเห็น