“ธีระชัย” ซัด “ประยุทธ์” บิดเบือน ทำสื่อนำไปขยายความต่อแบบผิด ๆ โต้ “แม่ลูกจันทร์” คอลัมนิสต์ไทยรัฐ คปพ. ไม่เคยค้านเปิดประมูลแหล่งเอราวัณ - บงกช เพียงแต่ขอให้โปร่งใส อีกทั้งช่วงเปลี่ยนผ่านไม่ทำก๊าซหดหายไปวันละ 2.2 พันล้าน ลบ.ฟุุตตามอ้าง เพราะก๊าซจะยังคงไหลออกมาตลอด พร้อมลั่นหากต้องนำเข้าก๊าซจริง มีแต่จะทำค่าไฟถูกลง เนื่องจากของไทยแพงกว่าตลาดโลกอยู่ 3 - 5 เท่า จี้ ก.พลังงาน ชี้แจงจริงหรือไม่ และใครได้รับผลประโยชน์
วันนี้ (6 มิ.ย.) นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้โพสต์เฟซบุ๊ก “Thirachai Phuvanatnaranubala” ตอบโต้คอลัมน์ของหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ซึ่งเขียนโดยผู้ใช้นามปากกา “แม่ลูกจันทร์” ว่า คำกล่าวของท่านนายกฯ เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ทำให้สื่อมวลชนเอาไปขยายแบบผิด ๆ ตัวอย่างคอลัมน์ สำนักข่าวหัวเขียว ในไทยรัฐวันนี้
แม่ลูกจันทร์เขียนว่า แปลงเอราวัณ/บงกช ภาคประชาชนค้านทุกแบบ จะขยายอายุสัมปทานก็ไม่ยอม จะเปิดประมูลให้เอกชนรายใหม่ก็ไม่เอา ตรงนี้ผิดเต็ม ๆ ครับ
กฎหมายเขาห้ามขยายอายุสัมปทาน ไม่ใช่ภาคประชาชน ส่วนการเปิดประมูล ภาคประชาชนชูจั๊กแร้เห็นด้วยใจขาดครับ เพียงแต่ขอให้เป็นประมูลโปร่งใส แบบคลื่นโทรศัพท์ 4 จีเท่านั้น
แม่ลูกจันทร์เขียนอีกว่า ภาคประชาชนเรียกร้องให้ยึดแหล่งก๊าซคืนเป็นของรัฐ แล้วให้รัฐลงทุนสำรวจ ขุด เจาะเอง ซึ่งเสี่ยงขาดทุน ตรงนี้ผิดเต็ม ๆ อีกแล้วครับ แหล่งก๊าซจะกลับเป็นของรัฐโดยอัตโนมัติ เมื่อสัมปทานเดิมหมดอายุ ซึ่งการที่ประเทศได้อธิปไตยทางพลังงานคืน ทุกคนต้องดีใจ และภาคประชาชนไม่ได้แนะให้รัฐลงทุนสำรวจ ขุด เจาะเอง ซึ่งเสี่ยงขาดทุน แต่แนะให้นำออกประมูล ให้เอกชนเขาเป็นผู้ลงทุน เป็นผู้รับความเสี่ยง
สุดท้าย แม่ลูกจันทร์ เขียนว่า ในช่วงเปลี่ยนผ่าน ทั้งสองแปลงจะต้องหยุดผลิตไม่ต่ำกว่า 5 ปี ก๊าซจะหายไป 2,200 ล้าน ลบ.ฟุต ต่อวัน ต้องนำเข้าก๊าซจากต่างประเทศมาทดแทน ซึ่งแพงกว่า และจะทำให้ค่าไฟฟ้าแพงขึ้นอีกยูนิตละ 65 สตางค์ ตรงนี้ผิดอย่างเหลือเชื่อเลยครับ เพราะก๊าซออกมาด้วยตัวเองขณะนี้ 2,200 ล้าน ลบ.ฟุต ต่อวัน และจะไม่มีใครไปอุดท่อ จึงจะไหลออกมาตลอด 5 ปี ในช่วงเปลี่ยนผ่าน ถึงแม้อัตราการไหลจะค่อย ๆ ทยอยลดลงตามธรรมชาติ แต่ก็จะลดลงเพียงเล็กน้อยต่อปี ไม่ใช่ปริมาณที่ไหลอยู่ 2,200 ล้าน ลบ.ฟุต ต่อวัน จู่ ๆ จะหมดไปเหลือ -0-
นอกจากนี้ แม่ลูกจันทร์อาจจะไม่ทราบว่า ก๊าซที่ผลิตในไทย แพงกว่าตลาดโลก 3 - 5 เท่า ดังนั้น ถ้าต้องนำเข้าก๊าซเพื่อทดแทนจริง ๆ ค่าไฟมีแต่จะถูกลง
ผมเองขอเรียกร้องให้กระทรวงพลังงานออกมายืนยันหรือปฏิเสธ ตารางข้างล่าง ที่แสดงว่าราคาก๊าซที่ผลิตในไทย แพงกว่าตลาดโลก 3 - 5 เท่า ว่า ถูกต้องหรือไม่และควรอธิบายแก่ประชาชน โดยเฉพาะผู้ที่ใช้ก๊าซในชีวิตประจำวัน ให้มีความกระจ่างว่าการที่ก๊าซที่ผลิตในไทย แพงกว่าตลาดโลก 3 - 5 เท่า นั้น จริงหรือไม่ เกิดจากเหตุผลใด และมีใครเป็นผู้ที่ได้ประโยชน์จากกรณีนี้หรือไม่
วันนี้ (6 มิ.ย.) นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้โพสต์เฟซบุ๊ก “Thirachai Phuvanatnaranubala” ตอบโต้คอลัมน์ของหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ซึ่งเขียนโดยผู้ใช้นามปากกา “แม่ลูกจันทร์” ว่า คำกล่าวของท่านนายกฯ เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ทำให้สื่อมวลชนเอาไปขยายแบบผิด ๆ ตัวอย่างคอลัมน์ สำนักข่าวหัวเขียว ในไทยรัฐวันนี้
แม่ลูกจันทร์เขียนว่า แปลงเอราวัณ/บงกช ภาคประชาชนค้านทุกแบบ จะขยายอายุสัมปทานก็ไม่ยอม จะเปิดประมูลให้เอกชนรายใหม่ก็ไม่เอา ตรงนี้ผิดเต็ม ๆ ครับ
กฎหมายเขาห้ามขยายอายุสัมปทาน ไม่ใช่ภาคประชาชน ส่วนการเปิดประมูล ภาคประชาชนชูจั๊กแร้เห็นด้วยใจขาดครับ เพียงแต่ขอให้เป็นประมูลโปร่งใส แบบคลื่นโทรศัพท์ 4 จีเท่านั้น
แม่ลูกจันทร์เขียนอีกว่า ภาคประชาชนเรียกร้องให้ยึดแหล่งก๊าซคืนเป็นของรัฐ แล้วให้รัฐลงทุนสำรวจ ขุด เจาะเอง ซึ่งเสี่ยงขาดทุน ตรงนี้ผิดเต็ม ๆ อีกแล้วครับ แหล่งก๊าซจะกลับเป็นของรัฐโดยอัตโนมัติ เมื่อสัมปทานเดิมหมดอายุ ซึ่งการที่ประเทศได้อธิปไตยทางพลังงานคืน ทุกคนต้องดีใจ และภาคประชาชนไม่ได้แนะให้รัฐลงทุนสำรวจ ขุด เจาะเอง ซึ่งเสี่ยงขาดทุน แต่แนะให้นำออกประมูล ให้เอกชนเขาเป็นผู้ลงทุน เป็นผู้รับความเสี่ยง
สุดท้าย แม่ลูกจันทร์ เขียนว่า ในช่วงเปลี่ยนผ่าน ทั้งสองแปลงจะต้องหยุดผลิตไม่ต่ำกว่า 5 ปี ก๊าซจะหายไป 2,200 ล้าน ลบ.ฟุต ต่อวัน ต้องนำเข้าก๊าซจากต่างประเทศมาทดแทน ซึ่งแพงกว่า และจะทำให้ค่าไฟฟ้าแพงขึ้นอีกยูนิตละ 65 สตางค์ ตรงนี้ผิดอย่างเหลือเชื่อเลยครับ เพราะก๊าซออกมาด้วยตัวเองขณะนี้ 2,200 ล้าน ลบ.ฟุต ต่อวัน และจะไม่มีใครไปอุดท่อ จึงจะไหลออกมาตลอด 5 ปี ในช่วงเปลี่ยนผ่าน ถึงแม้อัตราการไหลจะค่อย ๆ ทยอยลดลงตามธรรมชาติ แต่ก็จะลดลงเพียงเล็กน้อยต่อปี ไม่ใช่ปริมาณที่ไหลอยู่ 2,200 ล้าน ลบ.ฟุต ต่อวัน จู่ ๆ จะหมดไปเหลือ -0-
นอกจากนี้ แม่ลูกจันทร์อาจจะไม่ทราบว่า ก๊าซที่ผลิตในไทย แพงกว่าตลาดโลก 3 - 5 เท่า ดังนั้น ถ้าต้องนำเข้าก๊าซเพื่อทดแทนจริง ๆ ค่าไฟมีแต่จะถูกลง
ผมเองขอเรียกร้องให้กระทรวงพลังงานออกมายืนยันหรือปฏิเสธ ตารางข้างล่าง ที่แสดงว่าราคาก๊าซที่ผลิตในไทย แพงกว่าตลาดโลก 3 - 5 เท่า ว่า ถูกต้องหรือไม่และควรอธิบายแก่ประชาชน โดยเฉพาะผู้ที่ใช้ก๊าซในชีวิตประจำวัน ให้มีความกระจ่างว่าการที่ก๊าซที่ผลิตในไทย แพงกว่าตลาดโลก 3 - 5 เท่า นั้น จริงหรือไม่ เกิดจากเหตุผลใด และมีใครเป็นผู้ที่ได้ประโยชน์จากกรณีนี้หรือไม่