ผู้จัดการรายวัน360-คปพ.นัดภาคประชาชนยื่นเรื่องค้าน 2 ร่างกฎหมายปิโตรเลียมฯ พรุ่งนี้ที่รัฐสภา เหตุไม่สนผลประโยชน์ชาติ พร้อมเกาะติดการประชุม สนช.ศุกร์นี้ด้วย “ธีระชัย” ชี้ไม่ได้แก้ตามคำสั่งนายกฯ แค่ "ลวง-พราง" ระบบสัมปทานเหมือนเดิม ยันร่าง คปพ. ไม่เข้าข่ายกฎหมายการเงิน เตือน "พรเพชร" วินิจฉัยเพี้ยนเจอกันที่ศาลรัฐธรรมนูญ "ม.ล.กรกสิวัฒน์" ระบุ สนช. เจอตบหน้า เมินนำผลศึกษา กมธ. ไปใช้ ด้าน สนพ.เผยผลศึกษา กรณีก๊าซฯ 2 แหล่งขาดช่วง ต้องนำเข้า LNG เพิ่ม ย้ำปี 64 วิกฤตสุด ค่าไฟอาจพุ่งหนัก
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 11.00 น. วานนี้ (23 มิ.ย.) ที่ห้องเทียนสิน โรงแรมเอเชีย เครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย (คปพ.) ได้จัดการแถลงข่าวถึงความคืบหน้าในการยื่นคัดค้านการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ปิโตรเลียม (ฉบับที่. ...) พ.ศ. ... และร่าง พ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม (ฉบับที่. ...) พ.ศ. ... ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) รวมทั้งการเข้าชื่อของประชาชนในการเสนอร่าง พ.ร.บ.การประกอบกิจการปิโตรเลียมของประชาชน ต่อประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) โดยมีแกนนำเครือข่าย อาทิ ม.ล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรี นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ และนายนพ สัตยาศัย เข้าร่วม
นายปานเทพ กล่าวว่า ที่ประชุม สนช.ได้บรรจุวาระการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ปิโตรเลียมฯ และร่าง พ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียมฯ ในวันที่ 24 มิ.ย.นี้ แต่ร่างกฎหมายทั้ง 2 ฉบับ ไม่ได้มีการแก้ไขให้เป็นไปตามผลการศึกษาของคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาปัญหาการบังคับใช้ พ.ร.บ.ปิโตรเลียม พ.ศ.2514 และ พ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ.2514 คปพ. จึงขอให้ สนช. ไม่รับพิจารณาร่างกฎหมายทั้ง 2 ฉบับดังกล่าว เนื่องจากอาจมีผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อความมั่นคงของชาติ ทั้งทางเศรษฐกิจ พลังงาน และทางการทหาร รวมทั้งอธิปไตยด้านพลังงานของประเทศ
"คปพ. ขอเป็นกำลังใจให้ สนช. แสดงความกล้าหาญทางจริยธรรม เป็นที่พึ่งหวังของประชาชน ในการยืนหยัดการแก้ไขร่างพ.ร.บ.ปิโตรเลียมทั้ง 2 ฉบับให้เป็นไปตามผลการศึกษาของ กมธ.ที่ สนช.ได้เคยรับรองไว้แล้ว เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติและประชาชนอย่างแท้จริง"นายปานเทพกล่าว
นายปานเทพ กล่าวว่า คปพ. ขอเชิญชวนประชาชนให้เข้าชื่อร่วมเสนอร่าง พ.ร.บ.การประกอบกิจการปิโตรเลียมฯ ของ คปพ. ซึ่งมีการบัญญัติเนื้อหาตามผลการศึกษา กมธ. ของ สนช. และได้เคยผ่านความเห็นชอบในการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน โดนสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว รวมทั้งขอเชิญชวนประชาชนมาร่วมเข้าชื่อในการคัดค้านร่างกฎหมายของกระทรวงพลังงาน และเข้าชื่อเพื่อเสนอร่าง พ.ร.บ.การประกอบกิจการปิโตรเลียมฯ ในวันที่ 23 มิ.ย.นี้ ที่สโมสรรัฐสภา ตั้งแต่เวลา 09.00 น.เป็นต้นไป โดยจะมีการยื่นหนังสือถึงประธาน สนช.ในเวลา 10.00 น. รวมทั้งขอให้ประชาชนผู้สนใจร่วมติดตามการพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.ปิโตรเลียมฯ และร่าง พ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียมฯ ของที่ประชุม สนช.ร่วมกันในวันที่ 24 มิ.ย.ที่รัฐสภาด้วย
นายธีระชัย กล่าวเสริมว่า สิ่งที่กระทรวงพลังงานยกร่างในร่าง พ.ร.บ.ปิโตรเลียมฯ และร่าง พ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียมฯ ไม่ได้เป็นไปตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรี เพื่อเพิ่มทางเลือกในการบริหารจัดการปิโตรเลียมให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศ มีเพียงถ้อยคำเรื่องระบบการแบ่งปันผลผลิต แต่ในเนื้อหาจริงๆ ไม่มีระบบการแบ่งปันผลผลิตตามหลักสากล เนื่องจากไม่สามารถนำอธิปไตยทางพลังงานกลับมาเป็นของปวงชนชาวไทยได้ และกระบวนการในการคัดเลือกผู้ที่จะเข้ามารับสัมปทานก็ยังวนเวียนอยู่ในระบบการใช้ดุลพินิจของข้าราชการเหมือนเดิม ไม่ได้ใช้วิธีประมูลโปร่งใส การร่างกฎหมายลักษณะนี้ จึงเป็นเรื่องของการลวงและการพราง
ทั้งนี้ นายธีระชัยยืนยันว่า ร่าง พ.ร.บ.การประกอบกิจการปิโตรเลียมฯ ของ คปพ. ไม่ใช่กฎหมายการเงิน เพราะ คปพ. เสนอเฉพาะในส่วนของร่างแก้ไข พ.ร.บ.ปิโตรเลียมฯ เพียงฉบับเดียว ที่เป็นกระบวนการบริหารจัดการปิโตรเลียมเท่านั้น ไม่ได้ยุ่งกับร่าง พ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียมฯ แต่อย่างใด หากประธาน สนช. ซึ่งเป็นผู้วินิจฉัยมองว่าเป็นกฎหมายด้านการเงิน คปพ.ก็จำเป็นต้องยยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยต่อไป
ด้านม.ล.กรกสิวัฒน์ กล่าวว่า ร่าง พ.ร.บ.ปิโตรเลียมฯ และร่าง พ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียมฯ ของกระทรวงพลังงานที่กำลังเข้า สนช. เป็นการไม่ให้เกียรติ สนช. เป็นอย่างมาก เนื่องจากไม่ได้มีการให้ความสำคัญต่อผลการศึกษาของ กมธ.วิสามัญของ สนช.เอง ซึ่งหากที่ประชุม สนช.จะลงมติรับร่างไปได้ ก็ถือเป็นเรื่องที่แปลกประหลาดมาก
วันเดียวกันนี้ สมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ ได้จัดงานสัมมนาเรื่อง "ผลกระทบและทางออกสัมปทานปิโตรเลียมหมดอายุ" โดยนายประเสริฐ สินสุขประเสริฐ รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กล่าวถึงการเตรียมการในเรื่องนี้ว่า สนพ. ได้เตรียมแผนรองรับมือแหล่งก๊าซฯ เอราวัณและบงกชที่จะสิ้นสุดอายุสัมปทานปี 2565-66 ไว้แล้ว โดยได้ทำกรณีศึกษาแบบเลวร้ายสุด (Worst Case) ที่รัฐเปิดประมูลการแข่งขันเพื่อหาผู้มาบริหารจัดการและได้เป็นรายใหม่ที่ไม่ใช่ผู้รับสัมปทานเดิม คือบริษัท เชฟรอน ประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด และบมจ.ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (ปตท.สผ.) ซึ่งจะทำให้ปริมาณก๊าซฯจากเดิมที่ 2 แหล่งผลิตได้ 2,200ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวันจะทยอยหายไปเฉลี่ยรวม 1,500 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน
"หากได้ผู้รับสัมปทานรายเดิม ทุกอย่างก็จะไม่กระทบ แต่หากเปิดประมูล ซึ่งจะใช้เวลา 1 ปีหรือเสร็จราวพ.ค.2560 ผู้รับสัมปทานรายเดิมก็จะไม่เจาะหลุมเพื่อรักษาระดับก๊าซฯ เพราะลงทุนแล้วไม่คุ้ม ทำให้ช่วงรอยต่อก๊าซฯ จะลดและหายไปราว 1,500 ล้านลบ.ฟุตต่อวัน ซึ่งต้องนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) มาแทนเพิ่มขึ้นราว 18.5-20 ล้านตันในช่วงปี 2561-2564 ขณะที่โครงสร้างพื้นฐานรองรับการนำเข้าLNG จะเสร็จไม่ทัน เพราะเฟสแรกกำหนดรองรับไว้เพียง 11.5 ล้านตันในปี 2562 และเฟส 2 อีก 7.5 ล้านตันในปี 2565"นายประเสริฐกล่าว
ทั้งนี้ ช่วงปี 2561-64 เมื่อรวมการนำเข้าLNGทั้งหมดจะอยู่ประมาณ 30 ล้านตัน (กรณีโรงไฟฟ้าถ่านหินรวม 3,000เมกะวัตต์ไม่เกิดด้วยแล้ว) โดยปี 2561 ต้องนำเข้าLNG 5 ล้านตัน ขณะที่ปี 2562และปี 2563 นำเข้าปีละ 6 ล้านตัน ปี 2564 นำเข้า 9 ล้านตันและปี 2565 นำเข้า 4 ล้านตัน โดยสิ่งที่กังวลมากสุด คือ ในปี 2564 ที่จะขาดถึง 9 ล้านตัน เมื่อแปรเป็นกำลังการผลิตไฟฟ้าสูงถึง 6,300 เมกะวัตต์ รัฐต้องหาวิธีในการป้องกันไม่ให้ไฟฟ้าขาดแคลนหรือดับ เช่น หามาตรการประหยัดให้มากสุดและอาจถึงขั้นบังคับใช้เชื้อเพลิงอื่นกรณีน้ำมันเตา ดีเซล หากช่วงดังกล่าวราคาแพงก็ย่อมจะกระทบค่าไฟฟ้าที่สูงขึ้น
นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่หน่วยธุรกิจน้ำมัน บมจ.ปตท. กล่าวว่า ปตท.สผ. ได้เตรียมแผนที่เตรียมความพร้อมในการประมูลแหล่งก๊าซฯ ที่จะหมดอายุสัมปทาน เพราะเป็นแหล่งในประเทศไทยและหน้าที่หลักดูแลแหล่งพลังงานในประเทศ ส่วนกรณีปริมาณก๊าซฯ เลวร้ายสุดที่จะหายไปช่วงรอยต่อ ปตท. ได้เตรียมแผนรองรับไว้แล้ว เพราะจะกระทบอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและต้องนำเข้าแอลพีจี (LPG) เพิ่มขึ้น
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 11.00 น. วานนี้ (23 มิ.ย.) ที่ห้องเทียนสิน โรงแรมเอเชีย เครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย (คปพ.) ได้จัดการแถลงข่าวถึงความคืบหน้าในการยื่นคัดค้านการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ปิโตรเลียม (ฉบับที่. ...) พ.ศ. ... และร่าง พ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม (ฉบับที่. ...) พ.ศ. ... ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) รวมทั้งการเข้าชื่อของประชาชนในการเสนอร่าง พ.ร.บ.การประกอบกิจการปิโตรเลียมของประชาชน ต่อประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) โดยมีแกนนำเครือข่าย อาทิ ม.ล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรี นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ และนายนพ สัตยาศัย เข้าร่วม
นายปานเทพ กล่าวว่า ที่ประชุม สนช.ได้บรรจุวาระการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ปิโตรเลียมฯ และร่าง พ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียมฯ ในวันที่ 24 มิ.ย.นี้ แต่ร่างกฎหมายทั้ง 2 ฉบับ ไม่ได้มีการแก้ไขให้เป็นไปตามผลการศึกษาของคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาปัญหาการบังคับใช้ พ.ร.บ.ปิโตรเลียม พ.ศ.2514 และ พ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ.2514 คปพ. จึงขอให้ สนช. ไม่รับพิจารณาร่างกฎหมายทั้ง 2 ฉบับดังกล่าว เนื่องจากอาจมีผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อความมั่นคงของชาติ ทั้งทางเศรษฐกิจ พลังงาน และทางการทหาร รวมทั้งอธิปไตยด้านพลังงานของประเทศ
"คปพ. ขอเป็นกำลังใจให้ สนช. แสดงความกล้าหาญทางจริยธรรม เป็นที่พึ่งหวังของประชาชน ในการยืนหยัดการแก้ไขร่างพ.ร.บ.ปิโตรเลียมทั้ง 2 ฉบับให้เป็นไปตามผลการศึกษาของ กมธ.ที่ สนช.ได้เคยรับรองไว้แล้ว เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติและประชาชนอย่างแท้จริง"นายปานเทพกล่าว
นายปานเทพ กล่าวว่า คปพ. ขอเชิญชวนประชาชนให้เข้าชื่อร่วมเสนอร่าง พ.ร.บ.การประกอบกิจการปิโตรเลียมฯ ของ คปพ. ซึ่งมีการบัญญัติเนื้อหาตามผลการศึกษา กมธ. ของ สนช. และได้เคยผ่านความเห็นชอบในการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน โดนสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว รวมทั้งขอเชิญชวนประชาชนมาร่วมเข้าชื่อในการคัดค้านร่างกฎหมายของกระทรวงพลังงาน และเข้าชื่อเพื่อเสนอร่าง พ.ร.บ.การประกอบกิจการปิโตรเลียมฯ ในวันที่ 23 มิ.ย.นี้ ที่สโมสรรัฐสภา ตั้งแต่เวลา 09.00 น.เป็นต้นไป โดยจะมีการยื่นหนังสือถึงประธาน สนช.ในเวลา 10.00 น. รวมทั้งขอให้ประชาชนผู้สนใจร่วมติดตามการพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.ปิโตรเลียมฯ และร่าง พ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียมฯ ของที่ประชุม สนช.ร่วมกันในวันที่ 24 มิ.ย.ที่รัฐสภาด้วย
นายธีระชัย กล่าวเสริมว่า สิ่งที่กระทรวงพลังงานยกร่างในร่าง พ.ร.บ.ปิโตรเลียมฯ และร่าง พ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียมฯ ไม่ได้เป็นไปตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรี เพื่อเพิ่มทางเลือกในการบริหารจัดการปิโตรเลียมให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศ มีเพียงถ้อยคำเรื่องระบบการแบ่งปันผลผลิต แต่ในเนื้อหาจริงๆ ไม่มีระบบการแบ่งปันผลผลิตตามหลักสากล เนื่องจากไม่สามารถนำอธิปไตยทางพลังงานกลับมาเป็นของปวงชนชาวไทยได้ และกระบวนการในการคัดเลือกผู้ที่จะเข้ามารับสัมปทานก็ยังวนเวียนอยู่ในระบบการใช้ดุลพินิจของข้าราชการเหมือนเดิม ไม่ได้ใช้วิธีประมูลโปร่งใส การร่างกฎหมายลักษณะนี้ จึงเป็นเรื่องของการลวงและการพราง
ทั้งนี้ นายธีระชัยยืนยันว่า ร่าง พ.ร.บ.การประกอบกิจการปิโตรเลียมฯ ของ คปพ. ไม่ใช่กฎหมายการเงิน เพราะ คปพ. เสนอเฉพาะในส่วนของร่างแก้ไข พ.ร.บ.ปิโตรเลียมฯ เพียงฉบับเดียว ที่เป็นกระบวนการบริหารจัดการปิโตรเลียมเท่านั้น ไม่ได้ยุ่งกับร่าง พ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียมฯ แต่อย่างใด หากประธาน สนช. ซึ่งเป็นผู้วินิจฉัยมองว่าเป็นกฎหมายด้านการเงิน คปพ.ก็จำเป็นต้องยยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยต่อไป
ด้านม.ล.กรกสิวัฒน์ กล่าวว่า ร่าง พ.ร.บ.ปิโตรเลียมฯ และร่าง พ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียมฯ ของกระทรวงพลังงานที่กำลังเข้า สนช. เป็นการไม่ให้เกียรติ สนช. เป็นอย่างมาก เนื่องจากไม่ได้มีการให้ความสำคัญต่อผลการศึกษาของ กมธ.วิสามัญของ สนช.เอง ซึ่งหากที่ประชุม สนช.จะลงมติรับร่างไปได้ ก็ถือเป็นเรื่องที่แปลกประหลาดมาก
วันเดียวกันนี้ สมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ ได้จัดงานสัมมนาเรื่อง "ผลกระทบและทางออกสัมปทานปิโตรเลียมหมดอายุ" โดยนายประเสริฐ สินสุขประเสริฐ รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กล่าวถึงการเตรียมการในเรื่องนี้ว่า สนพ. ได้เตรียมแผนรองรับมือแหล่งก๊าซฯ เอราวัณและบงกชที่จะสิ้นสุดอายุสัมปทานปี 2565-66 ไว้แล้ว โดยได้ทำกรณีศึกษาแบบเลวร้ายสุด (Worst Case) ที่รัฐเปิดประมูลการแข่งขันเพื่อหาผู้มาบริหารจัดการและได้เป็นรายใหม่ที่ไม่ใช่ผู้รับสัมปทานเดิม คือบริษัท เชฟรอน ประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด และบมจ.ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (ปตท.สผ.) ซึ่งจะทำให้ปริมาณก๊าซฯจากเดิมที่ 2 แหล่งผลิตได้ 2,200ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวันจะทยอยหายไปเฉลี่ยรวม 1,500 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน
"หากได้ผู้รับสัมปทานรายเดิม ทุกอย่างก็จะไม่กระทบ แต่หากเปิดประมูล ซึ่งจะใช้เวลา 1 ปีหรือเสร็จราวพ.ค.2560 ผู้รับสัมปทานรายเดิมก็จะไม่เจาะหลุมเพื่อรักษาระดับก๊าซฯ เพราะลงทุนแล้วไม่คุ้ม ทำให้ช่วงรอยต่อก๊าซฯ จะลดและหายไปราว 1,500 ล้านลบ.ฟุตต่อวัน ซึ่งต้องนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) มาแทนเพิ่มขึ้นราว 18.5-20 ล้านตันในช่วงปี 2561-2564 ขณะที่โครงสร้างพื้นฐานรองรับการนำเข้าLNG จะเสร็จไม่ทัน เพราะเฟสแรกกำหนดรองรับไว้เพียง 11.5 ล้านตันในปี 2562 และเฟส 2 อีก 7.5 ล้านตันในปี 2565"นายประเสริฐกล่าว
ทั้งนี้ ช่วงปี 2561-64 เมื่อรวมการนำเข้าLNGทั้งหมดจะอยู่ประมาณ 30 ล้านตัน (กรณีโรงไฟฟ้าถ่านหินรวม 3,000เมกะวัตต์ไม่เกิดด้วยแล้ว) โดยปี 2561 ต้องนำเข้าLNG 5 ล้านตัน ขณะที่ปี 2562และปี 2563 นำเข้าปีละ 6 ล้านตัน ปี 2564 นำเข้า 9 ล้านตันและปี 2565 นำเข้า 4 ล้านตัน โดยสิ่งที่กังวลมากสุด คือ ในปี 2564 ที่จะขาดถึง 9 ล้านตัน เมื่อแปรเป็นกำลังการผลิตไฟฟ้าสูงถึง 6,300 เมกะวัตต์ รัฐต้องหาวิธีในการป้องกันไม่ให้ไฟฟ้าขาดแคลนหรือดับ เช่น หามาตรการประหยัดให้มากสุดและอาจถึงขั้นบังคับใช้เชื้อเพลิงอื่นกรณีน้ำมันเตา ดีเซล หากช่วงดังกล่าวราคาแพงก็ย่อมจะกระทบค่าไฟฟ้าที่สูงขึ้น
นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่หน่วยธุรกิจน้ำมัน บมจ.ปตท. กล่าวว่า ปตท.สผ. ได้เตรียมแผนที่เตรียมความพร้อมในการประมูลแหล่งก๊าซฯ ที่จะหมดอายุสัมปทาน เพราะเป็นแหล่งในประเทศไทยและหน้าที่หลักดูแลแหล่งพลังงานในประเทศ ส่วนกรณีปริมาณก๊าซฯ เลวร้ายสุดที่จะหายไปช่วงรอยต่อ ปตท. ได้เตรียมแผนรองรับไว้แล้ว เพราะจะกระทบอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและต้องนำเข้าแอลพีจี (LPG) เพิ่มขึ้น