เครือข่ายผู้ประกอบวิชาชีพ รปภ.ยื่นหนังสือร้อง สนช.แก้กฎหมายธุรกิจรักษาความปลอดภัย หลังได้รับผลกระทบ
วันนี้ (21 เม.ย.) เครือข่ายผู้ประกอบการและสมาคมผู้บริหารงานรวมทั้งผู้ประกอบวิชาชีพรักษาความปลอดภัยแห่งประเทศไทย (รปภ.) นำโดยนายวัชรพล บุษมงคล ได้เข้ายื่นหนังสือต่อนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ผ่านทาง นพ.เจตน์ ศิรธรานนท์ สนช. และคณะ เพื่อขอให้พิจารณาแก้ไขปรับปรุง พ.ร.บ.ธุรกิจรักษาความปลอดภัย พ.ศ. 2558 ที่มีปัญหาในทางปฏิบัติ และส่งผลกระทบต่อผู้ทำงานและผู้ประกอบการ
โดยนายวัชรพลกล่าวว่า พ.ร.บ.ฉบับนี้กำหนดให้ผู้ที่จะเข้ามาเป็นพนักงานรักษาความปลอดภัยจะต้องจบการศึกษาภาคบังคับ หรือ ม.3 โดยปัจจุบันผู้ที่จบ ม.3 มีจำนวนน้อยมาก อีกทั้งการศึกษาภาคบังคับได้เริ่มต้นบังคับใช้เมื่อปี 2545 ถึงปัจจุบัน จึงมีผู้จบการศึกษาภาคบังคับที่มีอายุปัจจุบันประมาณ 28 ปี แต่พนักงานรักษาความปลอดภัยส่วนใหญ่อายุประมาณ 30-50 ปี จึงไม่เพียงพอต่อการเข้ามาเป็นพนักงานรักษาความปลอดภัย และการขอใบอนุญาตเป็นพนักงานรักษาความปลอดภัยที่กำหนดระยะเวลา 60 วัน มี ขั้นตอนที่ยุ่งยากและมีค่าใช้จ่ายซึ่งจะไม่เสร็จตามกำหนดเวลา ส่งผลกระทบต่อการผลิตพนักงานรักษาความปลอดภัย
รวมทั้งผู้ที่จะมาเป็นพนักงานรักษาความปลอดภัยจะต้องได้รับการอบรมซึ่งมีค่าใช้จ่าย แต่คนที่มาเป็นพนักงานรักษาความปลอดภัยนั้นส่วนใหญ่มีฐานะยากจนจึงไม่มีแรงจูงใจที่จะเข้ามาเพราะมีต้นทุนสูง ปัญหาเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อธุรกิจรักษาความปลอดภัย และกระทบต่อบุคคลที่จะเข้ามาทำงาน รวมถึงสถานประกอบการต่างๆ ทางเครือข่ายจึงเห็นว่าต้องมีการปรับปรุงแก้ไขในหลายมาตรา จึงขอให้ สนช.ช่วยเหลือ
ด้าน นพ.เจตน์กล่าวว่า พ.ร.บ.ดังกล่าวมีผลบังคับใช้ไปตั้งแต่เดือน มี.ค.แล้ว ประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้น สนช.จึงไม่สามารถเข้าไปแก้ไขได้ แต่จะเสนอเรื่องให้ประธาน สนช.นำเสนอต่อรัฐบาลเพื่อแก้ปัญหาของประชาชนผู้ประกอบอาชีพ และปรับปรุง พ.ร.บ.ดังกล่าว โดยขึ้นอยู่กับรัฐบาลว่าจะมีมาตรการเยียวยาความเดือดร้อนอย่างไร
วันนี้ (21 เม.ย.) เครือข่ายผู้ประกอบการและสมาคมผู้บริหารงานรวมทั้งผู้ประกอบวิชาชีพรักษาความปลอดภัยแห่งประเทศไทย (รปภ.) นำโดยนายวัชรพล บุษมงคล ได้เข้ายื่นหนังสือต่อนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ผ่านทาง นพ.เจตน์ ศิรธรานนท์ สนช. และคณะ เพื่อขอให้พิจารณาแก้ไขปรับปรุง พ.ร.บ.ธุรกิจรักษาความปลอดภัย พ.ศ. 2558 ที่มีปัญหาในทางปฏิบัติ และส่งผลกระทบต่อผู้ทำงานและผู้ประกอบการ
โดยนายวัชรพลกล่าวว่า พ.ร.บ.ฉบับนี้กำหนดให้ผู้ที่จะเข้ามาเป็นพนักงานรักษาความปลอดภัยจะต้องจบการศึกษาภาคบังคับ หรือ ม.3 โดยปัจจุบันผู้ที่จบ ม.3 มีจำนวนน้อยมาก อีกทั้งการศึกษาภาคบังคับได้เริ่มต้นบังคับใช้เมื่อปี 2545 ถึงปัจจุบัน จึงมีผู้จบการศึกษาภาคบังคับที่มีอายุปัจจุบันประมาณ 28 ปี แต่พนักงานรักษาความปลอดภัยส่วนใหญ่อายุประมาณ 30-50 ปี จึงไม่เพียงพอต่อการเข้ามาเป็นพนักงานรักษาความปลอดภัย และการขอใบอนุญาตเป็นพนักงานรักษาความปลอดภัยที่กำหนดระยะเวลา 60 วัน มี ขั้นตอนที่ยุ่งยากและมีค่าใช้จ่ายซึ่งจะไม่เสร็จตามกำหนดเวลา ส่งผลกระทบต่อการผลิตพนักงานรักษาความปลอดภัย
รวมทั้งผู้ที่จะมาเป็นพนักงานรักษาความปลอดภัยจะต้องได้รับการอบรมซึ่งมีค่าใช้จ่าย แต่คนที่มาเป็นพนักงานรักษาความปลอดภัยนั้นส่วนใหญ่มีฐานะยากจนจึงไม่มีแรงจูงใจที่จะเข้ามาเพราะมีต้นทุนสูง ปัญหาเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อธุรกิจรักษาความปลอดภัย และกระทบต่อบุคคลที่จะเข้ามาทำงาน รวมถึงสถานประกอบการต่างๆ ทางเครือข่ายจึงเห็นว่าต้องมีการปรับปรุงแก้ไขในหลายมาตรา จึงขอให้ สนช.ช่วยเหลือ
ด้าน นพ.เจตน์กล่าวว่า พ.ร.บ.ดังกล่าวมีผลบังคับใช้ไปตั้งแต่เดือน มี.ค.แล้ว ประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้น สนช.จึงไม่สามารถเข้าไปแก้ไขได้ แต่จะเสนอเรื่องให้ประธาน สนช.นำเสนอต่อรัฐบาลเพื่อแก้ปัญหาของประชาชนผู้ประกอบอาชีพ และปรับปรุง พ.ร.บ.ดังกล่าว โดยขึ้นอยู่กับรัฐบาลว่าจะมีมาตรการเยียวยาความเดือดร้อนอย่างไร