สปท.พอใจ รธน.เน้นปราบโกง ชี้จุดอ่อนด้านการเมือง “คำนูณ” ห่วงพรรคเสนอ 3 ชื่อชิงนายกฯก่อปัญหาวิกฤตอนาคต ล็อกตายแคนดิเดต แนะดึงมาตรการคุมการใช้เงินรัฐ กลับใส่ร่าง รธน. “วิทยา” อัดคะแนนตกน้ำแค่วาทกรรมเอื้อนายทุนนั่ง รมต. “วันชัย” ตั้งฉายาสวนนักการเมือง “ฉบับปราบหมาขี้เรื้อน” ด้าน “รสนา” เสนอใส่ “เพศสภาพ” กลับคืนหวังสร้างความเท่าเทียม
การประชุมสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) โดยมี ร.อ.ทินพันธุ์ นาคะตะ ประธาน สปท.เป็นประธานการประชุม มีวาระการอภิปรายแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อร่างรัฐธรรมนูญร่างแรกของคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) โดยให้คณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปชุดต่างๆ ร่วมแสดงความเห็น
นายเสรี สุวรรณภานนท์ ประธานคณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการเมือง ได้อภิปรายถึงจุดเด่นของร่างรัฐธรรมนูญ เรื่องเสรีภาพที่บัญญัติกว้างขึ้น รวมถึงการวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาเรื่องรัฐธรรมนูญ ที่บัญญัติชัดเจนให้ศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้ชี้ และการเน้นให้เป็นรัฐธรรมนูญฉบับปราบโกง ด้วยการกำหนดไม่ให้คนทุจริตต่อหน้าที่และการเลือกตั้งเข้าสู่การเมือง
ส่วนจุดที่ยังมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมก็มีอยู่หลายเรื่อง เช่น ควรให้มี ส.ส.แบบแบ่งเขตเท่านั้น เพื่อป้องกันปัญหาธุรกิจการเมือง ควรกำหนดให้แบ่งเขตใหญ่ ส.ส.ไม่เกิน 3 คน ที่สะท้อนความต้องการของคนได้หลายกลุ่ม ลดการซื้อเสียง ต่างจากการแบ่งเขตเล็ก และการกาบัตรใบเดียวที่มีปัญหา รวมถึงต้องจัดการระบบ แก้ปัญหาการเมืองด้วยการทำให้มีเสถียรภาพ ด้วยการได้มาซึ่งนักการเมืองที่ดี แทนที่จะตั้งโจทย์ทำให้รัฐบาลอ่อนแอ ขณะที่การได้มาซึ่งนายกรัฐมนตรี ก็ยังไม่เห็นความจำเป็นที่ให้เสนอนายกรัฐมนตรีล่วงหน้า อีกทั้งการเปิดทางคนนอกก็ควรมีเฉพาะในสถานการณ์วิกฤต
นายเสรีกล่าวว่า การได้มาซึ่ง ส.ว.ก็เป็นไปด้วยความยุ่งยาก ที่ให้มาจากการเลือกกันเองระหว่างสาขาต่างๆ ที่ไม่ได้มีหลักประกันว่าจะไม่มีการบล็อกโหวตเกิดขึ้น อีกทั้งยังมีความเป็นห่วงกรณีให้ผู้ที่จะสมัคร ส.ว.ต้องลาออกจากสมาชิกพรรคการเมืองไม่น้อยกว่า 10 ปี ที่ถูกมองว่าเป็นระยะเวลานานเกินไป ปิดโอกาสประชาชนที่ไปมีส่วนร่วมกับพรรคการเมือง และไม่สอดคล้องความเหมาะสม โดยยกกรณีของ กรธ.ที่ยังให้เว้นวรรคเพียง 2 ปีเท่านั้น รวมถึงการกำหนดเงื่อนไขการแก้รัฐธรรมนูญที่ยากเกินไป จนอาจนำมาสู่วิกฤตทางการเมือง และฉีกรัฐธรรมนูญอีกครั้งหนึ่ง
ส่วนการทำประชามติในรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวที่ยังถกเถียงประเด็นเสียงข้างมากของผู้มีสิทธิ หรือผู้มาใช้สิทธินั้น ตนเห็นว่ารัฐธรรมนูญปี 2550 ผ่านประชามติด้วยเสียงข้างมากของผู้มาใช้สิทธิยังเกิดปัญหาการไม่ยอมรับจนเกิดวิกฤต ดังนั้น หากร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ทำประชามติโดยใช้เสียงเกินกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิแล้วผ่านได้จะทำให้มีความยั่งยืน
ด้านนายคำนูณ สิทธิสมาน อภิปรายว่า ระบบเลือกตั้งของ กรธ.เป็นระบบที่นำมาใช้เป็นประเทศแรกของโลก ที่ผ่านมาเคยใช้ในเพียงบางรัฐของประเทศเยอรมัน ซึ่งยังไม่รู้มีผลดีผลเสียอย่างไร การให้ลงคะแนนเพียงเฉพาะ ส.ส.แบบแบ่งเขตแล้วนำมาคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ เป็นการตัดสิทธิในการเลือกของประชาชนลงไปจากเดิมเป็นประเด็นสำคัญ รวมถึงพรรคการเมืองทุนน้อยทางเลือกใหม่ จากที่เคยมีโอกาสได้ ส.ส.บัญชีรายชื่ออย่างน้อย 1 คน ถ้าใช้ระบบบัตรเดียวเป็นการตัดหนทางพรรคเหล่านี้ไปโดยสิ้นเชิง การตัดทางเลือกของประชาชนที่จะมีพรรคการเมืองเลือดใหม่เข้ามาในสภาฯ เป็นการตัดสิทธิที่ตนไม่เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง
ส่วนระบบเลือกนายกฯ น่าจะเป็นประเทศแรกที่ใช้ระบบนี้มีขึ้นมาเพื่ออะไร ถ้าเราจะเปิดกว้างให้นายกฯ ไม่จำเป็นต้องเป็น ส.ส.ก็ให้เลือกในสภาได้ถ้าเรากำหนดไว้เป็นกรณีพิเศษ โดยให้ใช้เสียงข้างมากเด็ดขาด ต้องเห็นพ้องต้องกันทั้งสภาจริงๆ หรือจะเขียนล็อกเพิ่มเติมก็ได้ การไปล็อกไว้กับพรรคละไม่เกิน 3 ชื่อ หากเกิดการพลิกผันที่บ้านเมืองไม่ต้องการคนที่เสนอชื่อไว้ หรือหลังการเลือกตั้งผ่านไปแล้ว 1-2 ปี กระบวนการเลือกนายกฯ จะต้องเอาคนที่เคยเสนอชื่อไว้แล้วมาเลือกอีก เป็นการมัดตัวไว้ให้ต้องมาผูกพันตลอดไป แม้แต่เสียชีวิตก็ไม่ได้ จะทำให้ทางเลือกในอนาคตลดน้อยลงไปอีก
ทั้งนี้ ยังไม่มีการกำหนดระยะเวลาในการเลือกนายกฯ นับจากวันเปิดประชุมสภาฯ นัดแรกภายใน 30 วัน เหมือนรัฐธรรมนูญฉบับที่ผ่านมา รวมถึงการกำหนดระยะเวลาประกาศผลการเลือกตั้งไว้ถึง 60 วัน เพราะการเลือกตั้งแบบนี้ต้องรู้คะแนน ส.ส.เขตแน่นอน จึงคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อได้ใช่หรือไม่ จึงเป็นเหตุที่ทำให้ใช้ระยะเวลายาวนาน
นายคำนูณกล่าวว่า ร่างรัฐธรรมนูญยังขาดสาระสำคัญเกี่ยวกับการควบคุมการใช้เงินของหน่วยงานของรัฐ ซึ่งเคยมีในรัฐธรรมนูญปี 2550 มาตรา 170 ที่ควรนำกลับมาด้วย ประเด็นเรื่องการปฏิรูปที่ต้องกำหนดเป็นกลไกที่แยกจากการบริหารราชการแผ่นดินปกติ เพื่อให้เป็นบรรทัดฐานสมกับความเรียกร้องต้องการของประชาชนที่ต้องการปฏิรูปประเทศ รวมถึงการที่รัฐบาลจะอยู่ในกรอบยุทธศาสตร์ชาติและมาตรฐานทางจริยธรรม การมีกรอบไว้ชัดเจนและถูกวางไว้ล่วงหน้าจะสร้างการเสียสมดุลขึ้นมาทำให้เกิดวิกฤตอีกหรือไม่ ดังนั้นต้องมีกรอบที่ยอมรับกันได้ตามสมควร
ขณะที่นายวิทยา แก้วภราดัย อภิปรายว่า ขอเสนอให้มี ส.ส.ระบบเดียว คือ ระบบเขต แต่ให้มีเขตใหญ่ขึ้น โดยให้มี ส.ส.ในเขต 3 คน เพราะถึงแม้ว่า จะได้ ส.ส.มาจากการซื้อเสียง ส.ส. 2 คน แต่ก็จะได้คนดีมาในเขต 1 คน อีกทั้ง คำว่าคะแนนตกน้ำนั้น เป็นเพียงวาทกรรมที่เอื้อประโยชน์ให้คนบางกลุ่มเท่านั้น
ส่วนหน้าที่ของ ส.ว.ขอให้มีเพียงแค่หน้าที่การกลั่นกรองกฎหมายอย่างเดียว ซึ่งจะทำให้ที่มาของ ส.ว.มีความปลอดโปร่งและมีความสบายใจมากขึ้น และเสนอแนะให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) มีหน้าที่เพียงจัดการเลือกตั้งให้สุจริตและเที่ยงธรรมเท่านั้น ส่วนการวินิจฉัยเกี่ยวกับปัญหาการทุจริตเลือกตั้งนั้น ควรจะให้มีการจัดตั้งศาลแผนกคดีเลือกตั้งเป็นการเฉพาะ
ส่วนนายวันชัย สอนศิริ กล่าวว่า ที่มาสมาชิกวุฒิสภาแบบการเลือกกันเองโดยไขว้ระหว่าง 20 กลุ่มสังคมเป็นการแก้ไขปัญหาไม่ตรงจุด จึงเห็นควรให้ใช้วิธีการสรรหาอย่างเดิม แต่ปรับแก้คุณสมบัติของผู้เข้ารับการสรรหาให้สูงขึ้น นอกจากนี้ยังไม่เห็นด้วยที่มีการดึงศาลมาเกี่ยวข้องการการเมืองมากเกินไปซึ่งส่วนตัวเห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญถึงร้อยละ 85 ส่วนที่มีบางคนออกมาระบุว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ห่วยแตกนั้น สะท้อนให้เห็นว่าบุคคลนั้นไม่ได้อ่านเนื้อหาอย่างละเอียด ส่วนที่เรียกว่ารัฐธรรมนูญฉบับขี้เรื้อนนั้น ตนคิดว่าน่าจะเป็นรัฐธรรมนูญฉบับ “ปราบหมาขี้เรื้อนมากกว่า”
นอกจากนี้ สปท.ยังมีการอภิปรายในด้านต่างๆ อาทิ พ.ต.ต.ยงยุทธ สาระสมบัติ ประธานกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน ที่เรียกร้องให้กำหนดเรื่องยุทธศาสตร์ชาติ ย้ายจากหมวดแนวนโยบายแห่งรัฐ ไปอยู่ในหน้าที่ของรัฐ เพื่อให้เกิดความชัดเจนที่รัฐต้องดำเนินการมากขึ้น
ขณะที่ น.ส.รสนา โตสิตระกูล เสนอให้กำหนดสัดส่วนเพศหญิง ในการดำเนินการทางการเมือง และบัญญัติ “เพศสภาพ” กลับมาใส่ไว้ในร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมเท่าเทียม นำไปสู่สังคมที่มีความปรองดอง
ด้าน พญ.คุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ อภิปรายว่า การแก้ไขระบบราชการต้องมีระบบการป้องกันไม่ให้การเมืองเข้าแทรกแซง โดยต้องมีความชัดเจนในเครื่องมือที่จะป้องกัน แต่ในรัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่มี ซึ่งการปฏิรูปตำรวจ รัฐธรรมนูญให้ความสำคัญคือใส่ในบทเฉพาะกาล นอกจากนี้ การปฏิรูปส่วนอื่นจะทำอย่างไรให้มีการปฏิรูปต่อไป เพราะในรัฐธรรมนูญพูดแต่เรื่องการศึกษา กับตำรวจเท่านั้น
พล.ต.ท.อำนวย นิ่มมะโน กล่าวว่า การปฏิรูปตำรวจควรจะให้ สปท.เป็นคนทำ ไม่จำเป็นต้องตั้งกลไกหรือองค์กรใหม่ขึ้นมาทำ และให้คณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปด้านยุติธรรมเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการ เพื่อให้การปฏิรูปออกมาหน้าตาเหมือนพ่อแม่
การประชุมสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) โดยมี ร.อ.ทินพันธุ์ นาคะตะ ประธาน สปท.เป็นประธานการประชุม มีวาระการอภิปรายแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อร่างรัฐธรรมนูญร่างแรกของคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) โดยให้คณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปชุดต่างๆ ร่วมแสดงความเห็น
นายเสรี สุวรรณภานนท์ ประธานคณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการเมือง ได้อภิปรายถึงจุดเด่นของร่างรัฐธรรมนูญ เรื่องเสรีภาพที่บัญญัติกว้างขึ้น รวมถึงการวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาเรื่องรัฐธรรมนูญ ที่บัญญัติชัดเจนให้ศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้ชี้ และการเน้นให้เป็นรัฐธรรมนูญฉบับปราบโกง ด้วยการกำหนดไม่ให้คนทุจริตต่อหน้าที่และการเลือกตั้งเข้าสู่การเมือง
ส่วนจุดที่ยังมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมก็มีอยู่หลายเรื่อง เช่น ควรให้มี ส.ส.แบบแบ่งเขตเท่านั้น เพื่อป้องกันปัญหาธุรกิจการเมือง ควรกำหนดให้แบ่งเขตใหญ่ ส.ส.ไม่เกิน 3 คน ที่สะท้อนความต้องการของคนได้หลายกลุ่ม ลดการซื้อเสียง ต่างจากการแบ่งเขตเล็ก และการกาบัตรใบเดียวที่มีปัญหา รวมถึงต้องจัดการระบบ แก้ปัญหาการเมืองด้วยการทำให้มีเสถียรภาพ ด้วยการได้มาซึ่งนักการเมืองที่ดี แทนที่จะตั้งโจทย์ทำให้รัฐบาลอ่อนแอ ขณะที่การได้มาซึ่งนายกรัฐมนตรี ก็ยังไม่เห็นความจำเป็นที่ให้เสนอนายกรัฐมนตรีล่วงหน้า อีกทั้งการเปิดทางคนนอกก็ควรมีเฉพาะในสถานการณ์วิกฤต
นายเสรีกล่าวว่า การได้มาซึ่ง ส.ว.ก็เป็นไปด้วยความยุ่งยาก ที่ให้มาจากการเลือกกันเองระหว่างสาขาต่างๆ ที่ไม่ได้มีหลักประกันว่าจะไม่มีการบล็อกโหวตเกิดขึ้น อีกทั้งยังมีความเป็นห่วงกรณีให้ผู้ที่จะสมัคร ส.ว.ต้องลาออกจากสมาชิกพรรคการเมืองไม่น้อยกว่า 10 ปี ที่ถูกมองว่าเป็นระยะเวลานานเกินไป ปิดโอกาสประชาชนที่ไปมีส่วนร่วมกับพรรคการเมือง และไม่สอดคล้องความเหมาะสม โดยยกกรณีของ กรธ.ที่ยังให้เว้นวรรคเพียง 2 ปีเท่านั้น รวมถึงการกำหนดเงื่อนไขการแก้รัฐธรรมนูญที่ยากเกินไป จนอาจนำมาสู่วิกฤตทางการเมือง และฉีกรัฐธรรมนูญอีกครั้งหนึ่ง
ส่วนการทำประชามติในรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวที่ยังถกเถียงประเด็นเสียงข้างมากของผู้มีสิทธิ หรือผู้มาใช้สิทธินั้น ตนเห็นว่ารัฐธรรมนูญปี 2550 ผ่านประชามติด้วยเสียงข้างมากของผู้มาใช้สิทธิยังเกิดปัญหาการไม่ยอมรับจนเกิดวิกฤต ดังนั้น หากร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ทำประชามติโดยใช้เสียงเกินกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิแล้วผ่านได้จะทำให้มีความยั่งยืน
ด้านนายคำนูณ สิทธิสมาน อภิปรายว่า ระบบเลือกตั้งของ กรธ.เป็นระบบที่นำมาใช้เป็นประเทศแรกของโลก ที่ผ่านมาเคยใช้ในเพียงบางรัฐของประเทศเยอรมัน ซึ่งยังไม่รู้มีผลดีผลเสียอย่างไร การให้ลงคะแนนเพียงเฉพาะ ส.ส.แบบแบ่งเขตแล้วนำมาคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ เป็นการตัดสิทธิในการเลือกของประชาชนลงไปจากเดิมเป็นประเด็นสำคัญ รวมถึงพรรคการเมืองทุนน้อยทางเลือกใหม่ จากที่เคยมีโอกาสได้ ส.ส.บัญชีรายชื่ออย่างน้อย 1 คน ถ้าใช้ระบบบัตรเดียวเป็นการตัดหนทางพรรคเหล่านี้ไปโดยสิ้นเชิง การตัดทางเลือกของประชาชนที่จะมีพรรคการเมืองเลือดใหม่เข้ามาในสภาฯ เป็นการตัดสิทธิที่ตนไม่เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง
ส่วนระบบเลือกนายกฯ น่าจะเป็นประเทศแรกที่ใช้ระบบนี้มีขึ้นมาเพื่ออะไร ถ้าเราจะเปิดกว้างให้นายกฯ ไม่จำเป็นต้องเป็น ส.ส.ก็ให้เลือกในสภาได้ถ้าเรากำหนดไว้เป็นกรณีพิเศษ โดยให้ใช้เสียงข้างมากเด็ดขาด ต้องเห็นพ้องต้องกันทั้งสภาจริงๆ หรือจะเขียนล็อกเพิ่มเติมก็ได้ การไปล็อกไว้กับพรรคละไม่เกิน 3 ชื่อ หากเกิดการพลิกผันที่บ้านเมืองไม่ต้องการคนที่เสนอชื่อไว้ หรือหลังการเลือกตั้งผ่านไปแล้ว 1-2 ปี กระบวนการเลือกนายกฯ จะต้องเอาคนที่เคยเสนอชื่อไว้แล้วมาเลือกอีก เป็นการมัดตัวไว้ให้ต้องมาผูกพันตลอดไป แม้แต่เสียชีวิตก็ไม่ได้ จะทำให้ทางเลือกในอนาคตลดน้อยลงไปอีก
ทั้งนี้ ยังไม่มีการกำหนดระยะเวลาในการเลือกนายกฯ นับจากวันเปิดประชุมสภาฯ นัดแรกภายใน 30 วัน เหมือนรัฐธรรมนูญฉบับที่ผ่านมา รวมถึงการกำหนดระยะเวลาประกาศผลการเลือกตั้งไว้ถึง 60 วัน เพราะการเลือกตั้งแบบนี้ต้องรู้คะแนน ส.ส.เขตแน่นอน จึงคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อได้ใช่หรือไม่ จึงเป็นเหตุที่ทำให้ใช้ระยะเวลายาวนาน
นายคำนูณกล่าวว่า ร่างรัฐธรรมนูญยังขาดสาระสำคัญเกี่ยวกับการควบคุมการใช้เงินของหน่วยงานของรัฐ ซึ่งเคยมีในรัฐธรรมนูญปี 2550 มาตรา 170 ที่ควรนำกลับมาด้วย ประเด็นเรื่องการปฏิรูปที่ต้องกำหนดเป็นกลไกที่แยกจากการบริหารราชการแผ่นดินปกติ เพื่อให้เป็นบรรทัดฐานสมกับความเรียกร้องต้องการของประชาชนที่ต้องการปฏิรูปประเทศ รวมถึงการที่รัฐบาลจะอยู่ในกรอบยุทธศาสตร์ชาติและมาตรฐานทางจริยธรรม การมีกรอบไว้ชัดเจนและถูกวางไว้ล่วงหน้าจะสร้างการเสียสมดุลขึ้นมาทำให้เกิดวิกฤตอีกหรือไม่ ดังนั้นต้องมีกรอบที่ยอมรับกันได้ตามสมควร
ขณะที่นายวิทยา แก้วภราดัย อภิปรายว่า ขอเสนอให้มี ส.ส.ระบบเดียว คือ ระบบเขต แต่ให้มีเขตใหญ่ขึ้น โดยให้มี ส.ส.ในเขต 3 คน เพราะถึงแม้ว่า จะได้ ส.ส.มาจากการซื้อเสียง ส.ส. 2 คน แต่ก็จะได้คนดีมาในเขต 1 คน อีกทั้ง คำว่าคะแนนตกน้ำนั้น เป็นเพียงวาทกรรมที่เอื้อประโยชน์ให้คนบางกลุ่มเท่านั้น
ส่วนหน้าที่ของ ส.ว.ขอให้มีเพียงแค่หน้าที่การกลั่นกรองกฎหมายอย่างเดียว ซึ่งจะทำให้ที่มาของ ส.ว.มีความปลอดโปร่งและมีความสบายใจมากขึ้น และเสนอแนะให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) มีหน้าที่เพียงจัดการเลือกตั้งให้สุจริตและเที่ยงธรรมเท่านั้น ส่วนการวินิจฉัยเกี่ยวกับปัญหาการทุจริตเลือกตั้งนั้น ควรจะให้มีการจัดตั้งศาลแผนกคดีเลือกตั้งเป็นการเฉพาะ
ส่วนนายวันชัย สอนศิริ กล่าวว่า ที่มาสมาชิกวุฒิสภาแบบการเลือกกันเองโดยไขว้ระหว่าง 20 กลุ่มสังคมเป็นการแก้ไขปัญหาไม่ตรงจุด จึงเห็นควรให้ใช้วิธีการสรรหาอย่างเดิม แต่ปรับแก้คุณสมบัติของผู้เข้ารับการสรรหาให้สูงขึ้น นอกจากนี้ยังไม่เห็นด้วยที่มีการดึงศาลมาเกี่ยวข้องการการเมืองมากเกินไปซึ่งส่วนตัวเห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญถึงร้อยละ 85 ส่วนที่มีบางคนออกมาระบุว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ห่วยแตกนั้น สะท้อนให้เห็นว่าบุคคลนั้นไม่ได้อ่านเนื้อหาอย่างละเอียด ส่วนที่เรียกว่ารัฐธรรมนูญฉบับขี้เรื้อนนั้น ตนคิดว่าน่าจะเป็นรัฐธรรมนูญฉบับ “ปราบหมาขี้เรื้อนมากกว่า”
นอกจากนี้ สปท.ยังมีการอภิปรายในด้านต่างๆ อาทิ พ.ต.ต.ยงยุทธ สาระสมบัติ ประธานกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน ที่เรียกร้องให้กำหนดเรื่องยุทธศาสตร์ชาติ ย้ายจากหมวดแนวนโยบายแห่งรัฐ ไปอยู่ในหน้าที่ของรัฐ เพื่อให้เกิดความชัดเจนที่รัฐต้องดำเนินการมากขึ้น
ขณะที่ น.ส.รสนา โตสิตระกูล เสนอให้กำหนดสัดส่วนเพศหญิง ในการดำเนินการทางการเมือง และบัญญัติ “เพศสภาพ” กลับมาใส่ไว้ในร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมเท่าเทียม นำไปสู่สังคมที่มีความปรองดอง
ด้าน พญ.คุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ อภิปรายว่า การแก้ไขระบบราชการต้องมีระบบการป้องกันไม่ให้การเมืองเข้าแทรกแซง โดยต้องมีความชัดเจนในเครื่องมือที่จะป้องกัน แต่ในรัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่มี ซึ่งการปฏิรูปตำรวจ รัฐธรรมนูญให้ความสำคัญคือใส่ในบทเฉพาะกาล นอกจากนี้ การปฏิรูปส่วนอื่นจะทำอย่างไรให้มีการปฏิรูปต่อไป เพราะในรัฐธรรมนูญพูดแต่เรื่องการศึกษา กับตำรวจเท่านั้น
พล.ต.ท.อำนวย นิ่มมะโน กล่าวว่า การปฏิรูปตำรวจควรจะให้ สปท.เป็นคนทำ ไม่จำเป็นต้องตั้งกลไกหรือองค์กรใหม่ขึ้นมาทำ และให้คณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปด้านยุติธรรมเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการ เพื่อให้การปฏิรูปออกมาหน้าตาเหมือนพ่อแม่