ในการประชุมสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.)วานนี้ (8ก.พ.) มีร.อ.ทินพันธุ์ นาคะตะ ประธานสปท. เป็นประธานการประชุม มีวาระการอภิปรายแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อร่างรัฐธรรมนูญร่างแรก ของ กรธ. โดยให้คณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปชุดต่างๆ ร่วมแสดงความเห็น
นายเสรี สุวรรณภานนท์ ประธานกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการเมือง กล่าวถึงจุดเด่นของร่าง รธน.ว่า เรื่องเสรีภาพที่บัญญัติกว้างขึ้น รวมถึงการวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาเรื่องรธน. ที่บัญญัติชัดเจน ให้ศาลรธน. เป็นผู้ชี้ และการเน้นให้เป็นรธน.ฉบับปราบโกง ด้วยการกำหนดไม่ให้คนทุจริตต่อหน้าที่และการเลือกตั้ง เข้าสู่การเมือง
ส่วนจุดที่ยังมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติม เช่น ควรให้มีส.ส.แบบแบ่งเขตเท่านั้น เพื่อป้องกันปัญหาธุรกิจการเมือง ควรกำหนดให้แบ่งเขตใหญ่ ส.ส.ไม่เกิน 3 คน ที่สะท้อนความต้องการของคนได้หลายกลุ่ม ลดการซื้อเสียง ต่างจากการแบ่งเขตเล็ก และการกาบัตรใบเดียวที่มีปัญหา รวมถึงต้องจัดการระบบ แก้ปัญหาการเมืองด้วยการทำให้มีเสถียรภาพ ด้วยการได้มาซึ่งนักการเมืองที่ดี แทนที่จะตั้งโจทย์ทำให้รัฐบาลอ่อนแอ ขณะที่การได้มาซึ่งนายกรัฐมนตรี ก็ยังไม่เห็นความจำเป็นที่ให้เสนอชื่อนายกฯ ล่วงหน้า อีกทั้งการเปิดทางคนนอกก็ควรมีเฉพาะในสถานการณ์วิกฤติ
ขณะที่การได้มาซึ่ง ส.ว.ก็เป็นไปด้วยความยุ่งยาก ที่ให้มาจากการเลือกกันเองระหว่างสาขาต่างๆ ที่ไม่ได้มีหลักประกันว่าจะไม่มีการ บล็อกโหวตเกิดขึ้น อีกทั้งยังมีความเป็นห่วงกรณีให้ผู้ที่จะสมัคร ส.ว.ต้องลาออกจากสมาชิกพรรคการเมืองไม่น้อยกว่า 10 ปี ที่ถูกมองว่าเป็นระยะเวลานานเกินไป ปิดโอกาสประชาชนที่ไปมีส่วนร่วมกับพรรคการเมือง และไม่สอดคล้องความเหมาะสม โดยยกกรณีของกรธ. ที่ยังให้เว้นวรรคเพียง 2 ปี เท่านั้น รวมถึงการกำหนดเงื่อนไข การแก้รธน. ที่ยากเกินไป จนอาจนำมาสู่วิกฤตทางการเมือง และฉีกรธน. อีกครั้งหนึ่ง
นายคำนูณ สิทธิสมาน อภิปรายว่า ระบบเลือกตั้งของกรธ. เป็นระบบที่นำมาใช้เป็นประเทศแรกของโลก ที่ผ่านมาเคยใช้ในเพียงบางรัฐของประเทศเยอรมนี ซึ่งยังไม่รู้มีผลดีผลเสียอย่างไร การให้ลงคะแนนเพียงเฉพาะส.ส.แบบแบ่งเขต แล้วนำมาคำนวณส.ส.บัญชีรายชื่อ เป็นการตัดสิทธิในการเลือกของประชาชนลงไปจากเดิมเป็นประเด็นสำคัญ รวมถึงพรรคการเมืองทุนน้อยทางเลือกใหม่ จากที่เคยมีโอกาสได้ส.ส.บัญชีรายชื่อ อย่างน้อย 1 คน ถ้าใช้ระบบบัตรเดียวเป็นการตัดหนทางพรรคเหล่านี้ไปโดยสิ้นเชิง
ส่วนระบบเลือกนายกฯ น่าจะเป็นประเทศแรก ที่ใช้ระบบนี้มีขึ้นมาเพื่ออะไร ถ้าเราจะเปิดกว้างให้นายกฯ ไม่จำเป็นต้องเป็นส.ส. ก็ให้เลือกในสภาได้ ถ้าเรากำหนดไว้เป็นกรณีพิเศษ โดยให้ใช้เสียงข้างมากเด็ดขาด ต้องเห็นพ้องต้องกันทั้งสภาจริงๆ หรือจะเขียนล็อกเพิ่มเติมก็ได้ การไปล็อกไว้กับพรรคละไม่เกิน 3 ชื่อ หากเกิดการพลิกผันที่บ้านเมืองไม่ต้องการคนที่เสนอชื่อไว้ หรือหลังการเลือกตั้งผ่านไปแล้ว 1-2 ปี กระบวนการเลือกนายกฯ จะต้องเอาคนที่เคยเสนอชื่อไว้แล้ว มาเลือกอีก เป็นการมัดตัวไว้ให้ต้องมาผูกพันตลอดไป แม้แต่เสียชีวิตก็ไม่ได้ จะทำให้ทางเลือกในอนาคตลดน้อยลงไปอีก ทั้งนี้ ยังไม่มีการกำหนดระยะเวลาในการเลือกนายกฯ นับจากวันเปิดประชุมสภาฯ นัดแรกภายใน 30 วัน เหมือนรัฐธรรมนูญ ฉบับที่ผ่านมา รวมถึงการกำหนดระยะเวลาประกาศผลการเลือกตั้งไว้ถึง 60 วัน เพราะการเลือกตั้งแบบนี้ ต้องรู้คะแนน ส.ส.เขตแน่นอน จึงคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อได้ ใช่หรือไม่ จึงเป็นเหตุที่ทำให้ใช้ระยะเวลายาวนาน
นายคำนูณ กล่าวด้วยว่า ร่างรธน. ยังขาดสาระสำคัญเกี่ยวกับการควบคุมการใช้เงินของหน่วยงานของรัฐ ซึ่งเคยมีในรธน.ปี 50 มาตรา 170 ที่ควรนำกลับมาด้วย ประเด็นเรื่องการปฏิรูปที่ต้องกำหนดเป็นกลไกที่แยกจากการบริหารราชการแผ่นดินปกติ เพื่อให้เป็นบรรทัดฐาน สมกับความเรียกร้องต้องการของประชาชนที่ต้องการปฏิรูปประเทศ รวมถึงการที่รัฐบาลจะอยู่ในกรอบยุทธศาสตร์ชาติ และมาตรฐานทางจริยธรรม การมีกรอบไว้ชัดเจน และถูกวางไว้ล่วงหน้าจะสร้างการเสียสมดุลขึ้นมาทำให้เกิดวิกฤตอีกหรือไม่ ดังนั้นต้องมีกรอบที่ยอมรับกันได้ตามสมควร
ด้านนายวันชัย สอนศิริ กล่าวว่า ที่มา ส.ว. แบบการเลือกกันเองแบบไขว้ระหว่าง 20 กลุ่มสังคม เป็นการแก้ไขปัญหาไม่ตรงจุด จึงเห็นควรให้ใช้วิธีการสรรหาอย่างเดิม แต่ปรับแก้คุณสมบัติของผู้เข้ารับการสรรหาให้สูงขึ้น นอกจากนี้ ยังไม่เห็นด้วยที่มีการดึงศาล มาเกี่ยวข้องการเมืองมากเกินไป ซึ่งส่วนตัวเห็นด้วยกับร่างรธน. ถึงร้อยละ 85 ส่วนที่มีบางคนออกมาระบุว่า ร่างรธน.ฉบับนี้ "ห่วยแตก" นั้น สะท้อนให้เห็นว่า บุคคลนั้นไม่ได้อ่านเนื้อหาอย่างละเอียด ส่วนที่เรียกว่ารธน.ฉบับ"ขี้เรื้อน"นั้น ตนคิดว่าน่าจะเป็นรธน.ฉบับ"ปราบหมาขี้เรื้อนมากกว่า"
น.ส.รสนา โตสิตระกูล เสนอให้กำหนดสัดส่วนเพศหญิง ในการดำเนินการทางการเมือง และบัญญัติ"เพศสภาพ" กลับมาใส่ไว้ในร่างรธน. เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมเท่าเทียม นำไปสู่สังคมที่มีความปรองดอง
คุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ อภิปรายว่า การแก้ไขระบบราชการ ต้องมีระบบการป้องกันไม่ให้การเมืองเข้าแทรกแซง โดยต้องมีความชัดเจนในเครื่องมือที่ป้องกัน แต่ในรธน. ฉบับนี้ไม่มี ซึ่งการปฏิรูปตำรวจ รธน.ให้ความสำคัญคือใส่ในบทเฉพาะกาล นอกจากนี้การปฏิรูปส่วนอื่นจะทำอย่างไรให้มีการปฏิรูปต่อไป เพราะในรธน.พูดแต่เรื่องการศึกษา กับตำรวจเท่านั้น
นายเสรี สุวรรณภานนท์ ประธานกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการเมือง กล่าวถึงจุดเด่นของร่าง รธน.ว่า เรื่องเสรีภาพที่บัญญัติกว้างขึ้น รวมถึงการวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาเรื่องรธน. ที่บัญญัติชัดเจน ให้ศาลรธน. เป็นผู้ชี้ และการเน้นให้เป็นรธน.ฉบับปราบโกง ด้วยการกำหนดไม่ให้คนทุจริตต่อหน้าที่และการเลือกตั้ง เข้าสู่การเมือง
ส่วนจุดที่ยังมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติม เช่น ควรให้มีส.ส.แบบแบ่งเขตเท่านั้น เพื่อป้องกันปัญหาธุรกิจการเมือง ควรกำหนดให้แบ่งเขตใหญ่ ส.ส.ไม่เกิน 3 คน ที่สะท้อนความต้องการของคนได้หลายกลุ่ม ลดการซื้อเสียง ต่างจากการแบ่งเขตเล็ก และการกาบัตรใบเดียวที่มีปัญหา รวมถึงต้องจัดการระบบ แก้ปัญหาการเมืองด้วยการทำให้มีเสถียรภาพ ด้วยการได้มาซึ่งนักการเมืองที่ดี แทนที่จะตั้งโจทย์ทำให้รัฐบาลอ่อนแอ ขณะที่การได้มาซึ่งนายกรัฐมนตรี ก็ยังไม่เห็นความจำเป็นที่ให้เสนอชื่อนายกฯ ล่วงหน้า อีกทั้งการเปิดทางคนนอกก็ควรมีเฉพาะในสถานการณ์วิกฤติ
ขณะที่การได้มาซึ่ง ส.ว.ก็เป็นไปด้วยความยุ่งยาก ที่ให้มาจากการเลือกกันเองระหว่างสาขาต่างๆ ที่ไม่ได้มีหลักประกันว่าจะไม่มีการ บล็อกโหวตเกิดขึ้น อีกทั้งยังมีความเป็นห่วงกรณีให้ผู้ที่จะสมัคร ส.ว.ต้องลาออกจากสมาชิกพรรคการเมืองไม่น้อยกว่า 10 ปี ที่ถูกมองว่าเป็นระยะเวลานานเกินไป ปิดโอกาสประชาชนที่ไปมีส่วนร่วมกับพรรคการเมือง และไม่สอดคล้องความเหมาะสม โดยยกกรณีของกรธ. ที่ยังให้เว้นวรรคเพียง 2 ปี เท่านั้น รวมถึงการกำหนดเงื่อนไข การแก้รธน. ที่ยากเกินไป จนอาจนำมาสู่วิกฤตทางการเมือง และฉีกรธน. อีกครั้งหนึ่ง
นายคำนูณ สิทธิสมาน อภิปรายว่า ระบบเลือกตั้งของกรธ. เป็นระบบที่นำมาใช้เป็นประเทศแรกของโลก ที่ผ่านมาเคยใช้ในเพียงบางรัฐของประเทศเยอรมนี ซึ่งยังไม่รู้มีผลดีผลเสียอย่างไร การให้ลงคะแนนเพียงเฉพาะส.ส.แบบแบ่งเขต แล้วนำมาคำนวณส.ส.บัญชีรายชื่อ เป็นการตัดสิทธิในการเลือกของประชาชนลงไปจากเดิมเป็นประเด็นสำคัญ รวมถึงพรรคการเมืองทุนน้อยทางเลือกใหม่ จากที่เคยมีโอกาสได้ส.ส.บัญชีรายชื่อ อย่างน้อย 1 คน ถ้าใช้ระบบบัตรเดียวเป็นการตัดหนทางพรรคเหล่านี้ไปโดยสิ้นเชิง
ส่วนระบบเลือกนายกฯ น่าจะเป็นประเทศแรก ที่ใช้ระบบนี้มีขึ้นมาเพื่ออะไร ถ้าเราจะเปิดกว้างให้นายกฯ ไม่จำเป็นต้องเป็นส.ส. ก็ให้เลือกในสภาได้ ถ้าเรากำหนดไว้เป็นกรณีพิเศษ โดยให้ใช้เสียงข้างมากเด็ดขาด ต้องเห็นพ้องต้องกันทั้งสภาจริงๆ หรือจะเขียนล็อกเพิ่มเติมก็ได้ การไปล็อกไว้กับพรรคละไม่เกิน 3 ชื่อ หากเกิดการพลิกผันที่บ้านเมืองไม่ต้องการคนที่เสนอชื่อไว้ หรือหลังการเลือกตั้งผ่านไปแล้ว 1-2 ปี กระบวนการเลือกนายกฯ จะต้องเอาคนที่เคยเสนอชื่อไว้แล้ว มาเลือกอีก เป็นการมัดตัวไว้ให้ต้องมาผูกพันตลอดไป แม้แต่เสียชีวิตก็ไม่ได้ จะทำให้ทางเลือกในอนาคตลดน้อยลงไปอีก ทั้งนี้ ยังไม่มีการกำหนดระยะเวลาในการเลือกนายกฯ นับจากวันเปิดประชุมสภาฯ นัดแรกภายใน 30 วัน เหมือนรัฐธรรมนูญ ฉบับที่ผ่านมา รวมถึงการกำหนดระยะเวลาประกาศผลการเลือกตั้งไว้ถึง 60 วัน เพราะการเลือกตั้งแบบนี้ ต้องรู้คะแนน ส.ส.เขตแน่นอน จึงคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อได้ ใช่หรือไม่ จึงเป็นเหตุที่ทำให้ใช้ระยะเวลายาวนาน
นายคำนูณ กล่าวด้วยว่า ร่างรธน. ยังขาดสาระสำคัญเกี่ยวกับการควบคุมการใช้เงินของหน่วยงานของรัฐ ซึ่งเคยมีในรธน.ปี 50 มาตรา 170 ที่ควรนำกลับมาด้วย ประเด็นเรื่องการปฏิรูปที่ต้องกำหนดเป็นกลไกที่แยกจากการบริหารราชการแผ่นดินปกติ เพื่อให้เป็นบรรทัดฐาน สมกับความเรียกร้องต้องการของประชาชนที่ต้องการปฏิรูปประเทศ รวมถึงการที่รัฐบาลจะอยู่ในกรอบยุทธศาสตร์ชาติ และมาตรฐานทางจริยธรรม การมีกรอบไว้ชัดเจน และถูกวางไว้ล่วงหน้าจะสร้างการเสียสมดุลขึ้นมาทำให้เกิดวิกฤตอีกหรือไม่ ดังนั้นต้องมีกรอบที่ยอมรับกันได้ตามสมควร
ด้านนายวันชัย สอนศิริ กล่าวว่า ที่มา ส.ว. แบบการเลือกกันเองแบบไขว้ระหว่าง 20 กลุ่มสังคม เป็นการแก้ไขปัญหาไม่ตรงจุด จึงเห็นควรให้ใช้วิธีการสรรหาอย่างเดิม แต่ปรับแก้คุณสมบัติของผู้เข้ารับการสรรหาให้สูงขึ้น นอกจากนี้ ยังไม่เห็นด้วยที่มีการดึงศาล มาเกี่ยวข้องการเมืองมากเกินไป ซึ่งส่วนตัวเห็นด้วยกับร่างรธน. ถึงร้อยละ 85 ส่วนที่มีบางคนออกมาระบุว่า ร่างรธน.ฉบับนี้ "ห่วยแตก" นั้น สะท้อนให้เห็นว่า บุคคลนั้นไม่ได้อ่านเนื้อหาอย่างละเอียด ส่วนที่เรียกว่ารธน.ฉบับ"ขี้เรื้อน"นั้น ตนคิดว่าน่าจะเป็นรธน.ฉบับ"ปราบหมาขี้เรื้อนมากกว่า"
น.ส.รสนา โตสิตระกูล เสนอให้กำหนดสัดส่วนเพศหญิง ในการดำเนินการทางการเมือง และบัญญัติ"เพศสภาพ" กลับมาใส่ไว้ในร่างรธน. เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมเท่าเทียม นำไปสู่สังคมที่มีความปรองดอง
คุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ อภิปรายว่า การแก้ไขระบบราชการ ต้องมีระบบการป้องกันไม่ให้การเมืองเข้าแทรกแซง โดยต้องมีความชัดเจนในเครื่องมือที่ป้องกัน แต่ในรธน. ฉบับนี้ไม่มี ซึ่งการปฏิรูปตำรวจ รธน.ให้ความสำคัญคือใส่ในบทเฉพาะกาล นอกจากนี้การปฏิรูปส่วนอื่นจะทำอย่างไรให้มีการปฏิรูปต่อไป เพราะในรธน.พูดแต่เรื่องการศึกษา กับตำรวจเท่านั้น