นายกรัฐมนตรีเข้าพบนักธุรกิจเอกชนญี่ปุ่น ประสานความร่วมมือ หวังสร้างความเชื่อมั่น ให้เป็นฐานการผลิต โวอยากให้ดูว่าใครเป็นมิตร ย้ำรัฐบาลนี้สุจริต-โปร่งใส แจงคลอดภาษีมรดก ระบุทุกคนพร้อมให้ความร่วมมือ ย้ำไม่ได้ทำเพื่อตัวเอง เปรียบเหมือนรัฐธรรมนูญ เหน็บจับผิดแล้วยังไง
วันนี้ (1 ก.พ.) ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ภายหลังจากที่นายอะคิโอะ มิมุระ ประธานสภาหอการค้าและอุตสาหกรรมญี่ปุ่น (Japan Chamber of Commerce and Industry : JCCI) และผู้บริหารระดับสูงภาคเอกชนญี่ปุ่นเข้าเยี่ยมคารวะว่า วันนี้เป็นการประชุมร่วมกับคณะนักธุรกิจใหญ่ของญี่ปุ่นในการประสานความร่วมมือต่อกันซึ่งเราได้มีการลงทุนร่วมกันอยู่แล้ว
“ครั้งนี้เขามากันคณะใหญ่ และเขายังเป็นเจ้าของกิจการบริษัทเป็นแสนบริษัททั่วโลก ซึ่งที่อยู่ในเมืองไทยมีประมาณ 1,600 กว่าบริษัท เพราะฉะนั้นถือว่าเป็นการสร้างความเชื่อมั่นในการลงทุนต่อไปในหลายๆ เรื่อง ไม่ว่าจะเป็นการสร้างความเชื่อมโยงของเอสเอ็มอี ให้ความรู้การพัฒนาเทคโนโลยี และสนับสนุนให้ไทยเป็นฐานการผลิตของภูมิภาค สิ่งเหล่านี้ขึ้นอยู่กับความไว้วางใจและความเชื่อมั่นของเขา” พล.อ.ประยุทธ์กล่าว
พล.อ.ประยุทธ์กล่าวต่อว่า ตนอยากให้คนไทยได้เรียนรู้ว่าเราจะอยู่กันอย่างไรในโลกใบนี้ ใครที่เป็นมิตรกับเรา เราจะต้องพูดคุยกันให้อยู่ในกรอบภายใต้กฎหมาย ภายใต้ความสุจริตและโปร่งใส รัฐบาลตนทำแบบนี้ทุกเรื่อง จะเห็นได้ว่าเขาไว้วางใจเรามากขึ้น ทั้งนี้ ต้องขอบคุณไปยังนายชินโซ อะเบะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ตนเจอกัน 6 ครั้ง มีความก้าวหน้าไปตามลำดับ และตนขอร้องให้ปีนี้เขาช่วยเรา
ทั้งนี้ ถ้าจะสามารถเสริมสร้างความเข้มแข็ง สร้างความเชื่อมโยงให้เป็นฐานการผลิตได้โดยที่ไทยมีส่วนร่วมกับฐานการผลิตดังกล่าวด้วยทั้งต้นทาง กลางทาง ปลายทาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัตถุดิบที่เรามีอยู่ในประเทศ ถ้าอยู่ในวงจรของเขาได้มันก็ทำให้ราคาสินค้าของเราสูงขึ้น เรื่องอื่นๆ เป็นเรื่องของสัญญา ข้อตกลงทางการค้า อะไรที่เป็นปัญหาของเราก็ต้องบอกให้เขาทราบ และหารือร่วมกันต่อไป ถ้าเราไปตัดประเด็นต่างๆ มันทำไม่ได้ เพราะเราไม่ใช่ประเทศใหญ่โต ต้องดูผกระทบที่จะเกิดขึ้นตามมาในภายหลัง
พล.อ.ประยุทธ์ยังกล่าวถึงกฎหมายภาษีมรดกที่บังคับใช้ในวันนี้ว่า ไม่มีปัญหาเป็นเรื่องของกฎหมาย ซึ่งทุกคนพร้อมให้ความร่วมมือ โดยต้องดูว่าผลประโยชน์โดยรวมอยู่ที่ไหน และดูว่ากฎหมายที่ออกนั้นทำเพื่อใคร
“ต้องดูกฎหมายว่าที่ออกมาทำเพื่อใคร เพื่อผมหรือเปล่า เพื่อรัฐบาลหรือเปล่า เพื่อคนรวยหรือเปล่า เพื่อคนจนหรือเปล่า ไปดูตรงโน้น รัฐธรรมนูญก็เป็นแบบเดียวกันทั้งนั้นแหละ ถ้าจับตรงนั้นดีตรงโน้นไม่ดี แล้วจะเป็นอย่างไร ประเทศไทยมันเท่ากันหมดไหมตอนนี้ ถ้าไม่เหมือนจะต้องไปหาวิธีการกันมา เพราะกฎหมายทำเพื่อให้เกิดความเท่าเทียมไม่ใช่หรือ” พล.อ.ประยุทธ์กล่าว
สำหรับการพิจาณาความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (TPP) พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า อยู่ในขั้นตอนการหารืออยู่ ว่าจะต้องทำอย่างไร ในส่วนที่เรามีปัญหาอยู่บ้างอย่างสินค้าจีไอ เรื่องยา ใช่ไหม ต้องดูว่าเราไม่ร่วมเลยจะได้ไหม แล้วถ้าร่วมจะเป็นอย่างไรนี่คือสิ่งที่รัฐบาลคิด แต่ถ้าไม่ร่วมกับใครเลยแล้วจะมีปัญหาหรือไม่ เราแข็งแรงพอหรือยังก็ไม่รู้ ซึ่งตรงนั้นเรากำลังพิจารณาอยู่ ขอให้ไว้ใจว่าไม่ได้ทำเพื่อใคร
พล.ต.วีรชน สุคนธปฏิภาค รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี สรุปสาระสำคัญ ว่า สภาหอการคาและอุตสาหกรรมญี่ปุน (Japan Chamber of Commerce and Industry: JCCI) เปนสภาหอการค้าที่ใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่น โดย 1 ใน 3 ของภาคเอกชนในประเทศญี่ปุนเป็นสมาชิกอยู่ คิดเป็นมากกว่า 4,500 บริษัท โดยในวันนี้ มีตัวแทนจากบริษัทชั้นนำที่เดินทางมาจากญี่ปุ่น จำนวน 60 ราย ครอบคลุมสาขาต่างๆ ทั้งด้านการค้า อุตสาหกรรมการผลิต การเงินการธนาคาร การสารสนเทศและด้านการศึกษา เป็นต้น
การเข้าเยี่ยมคารวะนายกรัฐมนตรีในวันนี้ สะท้อนให้เห็นว่า ญี่ปุ่นมีความเชื่อมั่นต่อเสถียรภาพของไทย โดย ประธาน JCCI ได้แสดงความชื่มชมต่อนโยบายส่งเสริมการลงทุนของรัฐบาล ทั้งเรื่องสิทธิประโยชน์ด้านการลงทุน นโยบายคลัสเตอร์และซูเปอร์คลัสเตอร์ ตลอดจน แผนการส่งเสริม SMEs จากประเทศญี่ปุ่นในประเทศไทย พร้อมย้ำว่า ไทยเป็นประเทศห่วงโซ่การผลิต (global value chain) ที่สำคัญของญี่ปุ่นในการส่งสินค้าต่อไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลก ในขณะที่ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึงความสำคัญของญี่ปุ่น ที่มีส่วนสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจไทย พร้อมย้ำว่า ไทยกำลังมองไปขางหนา เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจอยางยั่งยืนใหกับภูมิภาคนี้ โดยเฉพาะต้องอาศัยความร่วมมือจากภาคเอกชนญี่ปุน ในรูปแบบแบบ Thailand + 1
โดยการหารือประกอบด้วย 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1. การเขารวมการเจรจาความตกลงTPP ซึ่งภาคเอกชนญี่ปุ่นสนับสนุนให้รัฐบาลไทยให้เข้าร่วม เนื่องจากเห็นว่าจะช่วยส่งเสริม supply chain และ value chain ระหว่างไทยและญี่ปุ่น ซึ่งไทยมีความสนใจและอยู่ระหว่างการศึกษาอย่างถี่ถวน
ประเด็นที่สอง การเสริมสรางสภาพแวดลอมทางธุรกิจเพื่อแข่งขันในระดับสากล โดยญี่ปุ่นมีความคาดหวังให้ไทยเป็นฐานการผลิตสำคัญแก่ญี่ปุ่นไปสู่ภูมิภาคและโลก และชื่นชมที่รัฐบาลไทยที่มีนโยบายลดภาษีให้แก่ภาคเอกชนที่มีสถาบันค้นคว้าและวิจัย โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์ ซึ่งปัจจุบัน บริษัท Honda มีการพัฒนาฐานการวิจัยและพัฒนา สำหรับ รถมอเตอร์ไซต์และรถยนต์สี่ล้อ มีการสร้างสนามทดสอบรถยนต์แห่งแรกในเอเชียแปซิฟิก ซึ่งรวมถึงการพัฒนาบุคลากรและให้ความรู้แก่วิศวกรไทยด้วย ทั้งนี้ ภาคเอกชนญี่ปุ่นแสดงความมั่นใจว่า สิทธิประโยชน์ทางภาษีนี้ จะช่วยให้ไทยเป็นฐานด้าน R&D ที่สำคัญในภูมิภาคนี้ นอกจากนี้ ยังเสนอให้ไทยเป็นผู้นำในการสร้างมาตรฐานเดียวกันนี้ให้กับอาเซียน โดยการสร้างสนามทดสอบและทดลองยานยนต์ที่ได้มาตรฐานโลก ตามที่ได้มีการลงนามในศูนย์ทดสอบยานยนต์แห่งชาติ เมื่อเดือน พ.ย. 2558 และในปัจจุบัน รัฐบาลกำลังจัดตั้งศูนย์ทดสอยยางและยานยนต์ที่จังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งจะช่วยส่งเสริมการดำเนินธุรกิจของภาคเอกชนญี่ปุ่นมากขึ้นด้วย
ประเด็นสุดท้าย คือ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่มีคุณภาพสูง โดยมีการหารือเกี่ยวกับความรวมมือดานระบบราง ซึ่งมีการลงนามความรวมมือ 3 ฉบับ คือ รถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ - เชียงใหม และรถไฟรางคูแนว SouthernCorridor และความรวมมือในโครงการรถไฟฟาสายสีมวงและสีแดง ซึ่งมีความคืบหนาไปดวยดี ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรียังได้เสนอให้มีความร่วมมือด้านการวางระบบพื้นฐาน ระบบสัญญานการเดินรถและการแบ่งผลประโยชน์ระหว่างทาง และพร้อมสนับสนุนให้ญี่ปุ่นเข้ามาสร้างโรงงานผลิตชิ้นส่วนอะไหล่รถไฟและจัดตั้งศูนย์ซ่อมบำรุงในประเทศไทย ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่สองประเทศในการลดต้นทุน
สำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ ไทยเสนอให้ญี่ปุ่นใช้ไทยเป็นฐานการผลิตรถยนต์ประหยัดพลังงานอื่นๆ นอกเหนือจาก Eco car เช่น รถยนต์ไฟฟ้า และเสนอความร่วมมือระหว่างภาคเอกชน ในการพัฒนาสนามแข่งรถสู่มาตรฐานโลก เพื่อส่งเสริมการลงทุนและการขยายธุรกิจสู่รถแข่ง ซึ่งจะช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวระหว่างกันด้วย
นอกจากนี้ ญี่ปุ่นได้แสดงความชื่มชมต่อความคืบหน้าการพัฒนาร่วมกันในโครงการทวาย และแสดงความสนใจเข้ามาร่วมลงทุนในโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางพลังงานของรัฐบาลไทย ด้วย
ในตอนท้าย นายกรัฐมนตรีย้ำถึงความตั้งใจของรัฐบาลไทยในการส่งเสริมการลงทุนระหว่างสองประเทศต่อไปในอนาคต โดยภาคเอกชนญี่ปุ่นเองมีความพอใจและพร้อมเป็นพันธมิตรกับไทยในการสร้างความเข้มแข็งในภูมิภาคนี้.