xs
xsm
sm
md
lg

ม.44 ได้ผล ดัชนีชี้วัด “คอร์รัปชันโลกปี 58” ไทยขยับขึ้น 10 อันดับ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

เว็ปไซต์องค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ www.transparency.org/cpi2015  ประกาศผลคะแนนภาพลักษณ์คอร์รัปชันโลกประจำปี 2558 โดยพบว่า ผลการจัดอันดับดัชนีชี้วัดภาพลักษณ์คอร์รัปชัน ประจำปี 2558 ประเทศไทยได้คะแนน 38 คะแนนจากคะแนนเต็ม 100 คะแนน
ม.44 ได้ผล อันดับดัชนีชี้วัด “คอร์รัปชันปี 58” ไทยขยับ 10 อันดับระดับโลก ระดับอาเซียนที่ 3 เท่าเดิม เผยได้ 38 จาก 100 คะแนน อยู่ที่ 76 จาก 168 ประเทศทั่วโลก จากเดิมอันดับที่ 85 เผยอยู่ระดับเดียวกับ “ตูนิเซีย-แซมเบีย-อินเดีย-บราซิล” ส่วนเดนมาร์กยังเบอร์หนึ่งโลก รักษาแชมป์อันดับหนึ่ง 2 ปีซ้อน ด้านองค์กรไทยฯ เชื่อเพราะขยับหลักสูตร “โตไปไม่โกง” ในโรงเรียนทั่วประเทศต่อเนื่อง

วันนี้ (27 ม.ค.) มีรายงานว่า เว็บไซต์องค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ www.transparency.org/cpi2015 ประกาศผลคะแนนภาพลักษณ์คอร์รัปชันโลกประจำปี 2558 โดยพบว่าผลการจัดอันดับดัชนีชี้วัดภาพลักษณ์คอร์รัปชันประจำปี 2558 ประเทศไทยได้คะแนน 38 คะแนน จากคะแนนเต็ม 100 คะแนน

ดร.จุรี วิจิตรวาทการ เลขาธิการมูลนิธิองค์กรเพื่อความโปร่งใสในประเทศไทย (TransparencyThailand) เปิดเผยว่า ประเทศไทยได้คะแนน 38 คะแนนจากคะแนนเต็ม 100 คะแนน อันดับที่76 จาก 168 ประเทศทั่วโลก และเป็นอันดับที่ 3 ในกลุ่มประเทศอาเซียนในการจัดอันดับประจำปี 2558 นี้

องคก์รเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ (Transparency International) ได้จัดอันดับประเทศทั้งหมด168 ประเทศทั่วโลก ปรากฏว่าประเทศเดนมาร์กได้คะแนนสูงสุด 91 คะแนน สามารถรักษาแชมป์เป็นอันดับที่ 1 ได้สองปีซ้อน ขณะที่ประเทศที่ได้คะแนนลดลงจากเดิมอย่างมากกว่าปีที่แล้ว ได้แก่ บราซิล กัวเตมาลา และเลโซโท

ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบอันดับเฉพาะกลุ่มประเทศอาเซียน ประเทศไทยมีคะแนนเป็นอันดับที่ 3 รองจากสิงคโปร์ และมาเลเซีย ส่วนประเทศบรูไนไม่ได้อยู่ในการจัดอันดับครั้งนี้

ดร.จุรีกล่าวว่า “การจัดอันดับคอร์รัปชันเป็นวิธีการกระตุ้นให้ผู้คนทั่วโลกหันมาสนใจปัญหาทุจริตคอร์รัปชันว่าเป็นปัญหาร่วมกันของคนทั้งโลก ไม่ใช่เป็นปัญหาของประเทศกำลังพัฒนาหรือเป็นปัญหาของประเทศใดประเทศหนึ่งเท่านั้น โดยประเทศไทยในช่วงที่ผ่านมานั้นจะเห็นได้ว่า มีความตื่นตัวต่อการแก้ไขปัญหาเป็นอย่างมาก ทุกภาคส่วนได้ริเริ่ม ผลักดัน และพยายามแก้ไขปัญหาอย่างจริงจังโดยเฉพาะด้านการปลูกจิตสำนึกและการป้องกัน ไม่ว่า จะเป็นการขับเคลื่อนให้ใช้หลักสูตร “โตไปไม่โกง” ในโรงเรียนทั่ว ประเทศ การสร้าง “สำนึกไทยไม่โกง” แก่ประชาชนทุกกลุ่มอาชีพ การออกพระราชบัญญัติอำนวยความสะดวกเพื่อช่วยให้การดำเนินงานของภาคธุรกิจเอกชนเมื่อต้องขออนุมัติหรือใบอนุญาตจากภาครัฐมีความรวดเร็วและเที่ยงธรรม รวมทั้งการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารผ่านช่องทาง อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ หรือแม้แต่ในรัฐธรรมนูญที่กำลังร่างกันอยู่ก็มีกลไกพิเศษหลายอย่างที่ออกแบบมาเพื่อป้องกันการทุจริตคอร์รัปชันโดยเฉพาะ

สิ่งสำคัญที่จะทำให้การแก้ไขปัญหาทุจริตคอร์รัปชันได้ผลอย่างยั่งยืนนั้น คนในสังคมต้องมีค่านิยมที่ถูกต้อง ควรปลูกฝังและสร้างการรับรู้ค่านิยมที่ถูกต้องตั้งแต่วัยเด็ก ผู้ใหญ่ควรเป็นตัวอย่างที่ดี สื่อก็ต้องช่วยกระตุ้นและตอกย้าให้คนในสังคมรับรู้ซึมซับอย่างสม่ำเสมอ

มีรายงานว่า จากข้อมูลมูลนิธิองค์กรเพื่อความโปร่งใสในประเทศไทย (Transparency Thailand) ระบุว่าการจัดอันดับในการจัดอันดับดัชนีชี้วัดภาพลักษณ์คอร์รัปชัน ประจำปี 2557 ประเทศไทยได้คะแนน 38 คะแนน จากคะแนนเต็ม 100 คะแนน อยู่อันดับที่ 85 จากการจัดอันดับทั้งหมด 175 ประเทศทั่วโลก และเป็นอันดับที่ 12 จาก 28 ประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

ผลการจัดอันดับปีนี้ ประเทศไทยมีผลคะแนนดีขึ้นบ้าง แต่ได้อันดับดีกว่าเดิมเมื่อเปรียบเทียบจากปีที่แล้วซึ่งได้อันดับที่ 102 ในระดับโลก และอันดับที่ 16 ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เมื่อพิจารณาเฉพาะกลุ่มประเทศอาเซียน มีเพียงประเทศสิงคโปร์ และมาเลเซียเท่านั้นที่มีคะแนนเกิน 50 คะแนน โดยประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 3 จาก 9 ประเทศ ในกลุ่มอาเซียน

“การจัดอันดับดัชนีภาพลักษณ์คอร์รัปชันเป็นวิธีการที่ใช้กระตุ้นความสนใจ ของผู้คนทั่วโลกต่อปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันที่มีการทำกันทุกปีอย่างต่อเนื่อง ซึ่งผลคะแนนปีนี้ประเทศไทยเรามีคะแนนดีขึ้นเล็กน้อย จาก 35 คะแนนในปีที่แล้วมาเป็น 38 คะแนน และขยับอันดับขึ้นมาจากอันดับที่ 102 เป็นอันดับที่ 85 ซึ่งการที่อันดับของประเทศไทยเลื่อนขึ้นเป็นเพราะหลายประเทศที่เคยมีคะแนนเท่ากันหรือมากกว่าเราในปีที่แล้ว ได้คะแนนเท่าเดิมหรือบางประเทศกลับได้คะแนนลดลงหรือเพิ่มขึ้น แต่ยังน้อยกว่าเรา ซึ่งอาจหมายถึงในช่วงปีที่ผ่านมา หลายภาคส่วนได้พยายามมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาและเห็นผลของการแก้ปัญหาบางด้าน เช่น การปลูกฝังความดีให้เด็กๆ ในการเรียนการสอนหลักสูตร “โตไปไม่โกง” และการดำเนิน “โรงเรียนคุณธรรม” รวมถึงการตื่นตัวของภาคธุรกิจในการต่อต้านการทุจริต

มีรยงานว่า ตลอดปี 2558 รัฐบาล คสช.ได้ประกาศใช้ มาตรา 44 ในรัฐธรรมนูญ ชั่วคราว ปี 2557 โดยเห็นได้ชัดเจนจาก กรณีหัวหน้า คสช.ได้ใช้มาตรา 44 สั่งพักงานข้าราชการส่อทุจริต ถึง 3 ชุดใน 2 ปี


ผลการจัดอันดับปี 2558
ผลการจัดอันดับปี 2557
ไทยอยู่อันดับเดียวกันตูนีเซีย แซมเบีย
กำลังโหลดความคิดเห็น