นายกรัฐมนตรี เตรียมคิกออฟกองทุนหมู่บ้านที่เมืองทองธานีสัปดาห์หน้า พร้อมอัดฉีดเอสเอ็มอี และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ปฏิเสธไม่ใช่ประชานิยม "สมคิด" จัดให้ ลดภาษีเงินได้นิติบุคคลเหลือ 10% สองรอบบัญชี ยกเว้นภาษีให้เอสเอ็มอีเกิดใหม่ 5 ปี พร้อมหว่านสินเชื่อ 2.6 แสนล้าน อีกด้านขีดเส้นใต้รถคันแรก จะต้องรับมอบรถยนต์โมเดลตามใบจองภายในวันที่ 30 ก.ย. นี้
วันนี้ (8 ก.ย.) ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า วันนี้แข็งแรงขึ้นแล้ว ขาเจ็บน้อยลง สำหรับผลการประชุม ครม. ประเด็นหลักคือเรื่องเศรษฐกิจ เรื่องมาตรการต่างๆ ในเมื่อเรากำหนดมาตรการเอาไว้แล้วทั้งตามมติ ครม. การเดินหน้าการขับเคลื่อน ในสัปดาห์หน้าจะคิกออฟเรื่องเหล่านี้ที่เมืองทองธานี จะมีการเชิญกองทุนหมู่บ้าน และจะมีการเตรียมการประชุมล่วงหน้าไว้ก่อน ว่าจะดำเนินการอย่างไร เพื่อให้ประชาชนรู้ว่านี่คือสิ่งที่เราจะทำจริงๆ ในเรื่องงบการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในระดับฐานราก และสร้างความเข้มแข็งของเขาให้ได้ ไม่ใช่การทำประชานิยม เงินที่เราลงทุนไปจะเกิดประโยชน์และรายได้มากที่สุด รวมทั้งต้องดูเรื่องกฎหมายด้วย การทำอะไรก็ตามต้องใช้กฎหมาย อะไรที่ติดขัดอาจจะใช้มาตรา 44 บ้างเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
นายกฯ กล่าวต่อว่า ที่ประชุมวันนี้คุยเรื่องเงินลงทุน เงินทุนของเอสเอ็มอี ค่าประกันการเพิ่มทุน เพื่อจูงใจให้เอสเอ็มอีทั้งหมดเข้าระบบ ที่ขณะนี้เอสเอ็มอีทั่วประเทศประมาณ 2.7 ล้านราย จำนวนนี้มีมากกว่า 2 ล้านรายที่ไม่ขึ้นทะเบียนในระบบ แต่เขาได้เสียภาษี ตอนนี้ก็ได้เพิ่มเม็ดเงินเข้าไปในธนาคารรัฐ เพื่อเร่งและสร้างแรงจูงใจ ส่งเสริมและสร้างความเข้มแข็งให้เขาได้พัฒนาประสิทธิภาพการผลิตได้ บางอย่างผลิตออกมาแล้วขายไม่ได้ ต้องมีการปรับปรุงกันอย่างไร และเรื่องมาตรการทางภาษี เป็นสิ่งที่รัฐบาลนี้จะใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด ซึ่งเป็นหลักการทั่วไปอยู่แล้วในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจให้ผู้ที่ยังไม่เข้มแข็ง ผู้ที่ต้องมีการพัฒนาและปรับปรุง เพราะมีหลายอย่างที่ต้องสอดคล้องกับสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ที่มีการแยกเป็น 3 ประเภท 1.เข้มแข็งและขยายกิจการ 2.ไปต่างประเทศ 3.ฟื้นฟูกิจการที่กำลังจะเริ่มใหม่ จะต้องมีการซับพอร์ตทั้งหมด ถ้าคนเล่านี้ไม่เข้ามาอยู่ในระบบการสนับสนุนต่างๆก็ทำได้ยาก อย่าเพิ่งกังวลเรื่องภาษี อย่าไปกลัว มีหลักเกณฑ์ในการจ่ายอยู่แล้ว ซึ่งวันนี้ ครม. มีการอนุมัติขั้นต้นไปแล้ว
ทั้งนี้ เราจะใช้เวลาที่มีอยู่ในขณะนี้ในเรื่องการขับเคลื่อนประเทศ 1.สิ่งที่มันต้องถอยหลัง ที่มันต้องหยุดมาเป็นระยะเวลานานพอสมควร เรามีศักยภาพพร้อมทุกอย่าง เราต้องขับเคลื่อนและเดินหน้าประเทศให้ได้ในทุกมิติ 2.ต้องเพิ่มความเข้มแข็งและพื้นฐานด้านเศรษฐกิจ และเพิ่มขีดอำนาจความเข้มแข็งเรื่องการส่งออก เรื่องรายได้ที่จะเข้าประเทศ รวมถึงเรื่องการลงทุน เพราะในเศรษฐกิจใหม่ไม่ได้พึ่งการส่งออกแต่เพียงอย่างเดียว เขาเคยทำกันหรือไม่ตนอยากจะรู้ เอสเอ็มอีเขาเคยทำกันหรือไม่ วันนี้เอสเอ็มอีเขาก็มาทำร่วมกับธนาคารรัฐ และก็ร่วมกับการบริหารของรัฐบาล มีคนเข้ามาเยอะแยะ มีการยกระดับหลายแห่ง ที่ทำทั้งหมดท่านเกี่ยวแต่เรื่องการเมือง เกี่ยวกับเรื่องมาตรา 44 เรื่องที่มันจบไปแล้วก็ไม่จบ ตนทำให้มันจบไง เรื่องที่มันเป็นความขัดแย้งให้จบไปก่อน
นายกฯ กล่าวว่า เรื่องการเร่งรัดการลงทุนพื้นฐานวันนี้ชัดเจนขึ้น ทั้งรถไฟ รถไฟฟ้า ต้องเร่งให้ได้ โดยที่เราไม่ต้องเสียประโยชน์ ไม่ใช่เหมือนที่ผ่านมา อะไรก็ไม่รู้งุบงิบๆกันอยู่ มันก็เดินไม่ได้หมดนั้นแหละ มันต้องชัดเจน อะไรที่ตัดสินใจไปแล้วมันผ่านการกลั่นกรอง วิเคราะห์ มากมาย บางสื่อก็ไปเขียนอะไรไม่รู้ ไม่รู้ข้อมูลแล้วนำไปเขียน เขียนไปก็ไม่ได้ประโยชน์นี่คือปัญหาของเรา คนที่ให้ข้อมูลท่าน ท่านต้องรู้ว่าเป็นพวกไหน ถ้าเป็นเรื่องธุรกิจ การลงทุน การทำสัญญา ดูสิว่าคนที่มันมาบอกท่านเป็นคนอย่างไร บริษัทนี้เป็นบริษัทที่ใช้ได้ไหม ส่วนใหญ่มีการร้องเรียนจากพวกนั้นทั้งนั้นแหละ ที่มีการประมูลแข่งขันก้นแล้วไม่ได้ ก็มาตีข้างนอก มันก็ทำไม่ได้ ทุกวันนี้ท่านก็ทำอะไรไม่ได้ รถเมล์ก็วิ่งไม่ได้ อะไรก็ไม่ได้ แล้วท่านจะเอาอะไรจากตนล่ะ ท่านก็ต้องกลั่นกรองหน่อย จะเสนอข่าวอะไรก็แล้วแต่
นอกจากนี้ การลงทุนพื้นฐานวันนี้มีการลงทุนขนาดเล็ก ขนาดใหญ่ วางอนาคตประเทศ และมีการขับเคลื่อนมากขึ้น มีการใช้คณะกรรมการยุทธศาสตร์ของรัฐบาล จะทำให้เข้าใจว่าเขาทำงานกันอย่างไร ก็ทำสามอย่างนั่นแหละ ความขัดแย้งก็ร่วมกับคสช. บริหารประเทศก็ร่วมกับรัฐบาล ปรองดองก็ร่วมกับกระบวนการยุติธรรม เอาคดีความเยียวยากันอย่างไร ดูเรื่องง่ายไปก่อน ยากค่อยไปว่ากันทีหลัง เพราะต้องมีการออกกฎหมาย เรื่องการปฏิรูปก็นำแผนเข้ามา อะไรที่ทำได้ก็ทำ อะไรที่จะต้องมีการบูรณาการระหว่างกระทรวง มาตรา 44 ต้องบูรณาการให้ได้ กฎหมายกระทรวงมันทำอะไรไม่ได้ทั้งหมด นั่นคือแนวทางที่จะต้องมีการปรับโครงสร้างต่อไปในอนาคต ถ้าไม่ทำแบบนี้มันทำไม่ได้ จะต้องมีการนำร่องให้เห็นก่อน ไม่ใช่อยู่ดีๆจะไปปรับ
ด้านนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ที่ประชุมเห็นชอบมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ในระยะเร่งด่วน แบ่งเป็น 2 ระยะ โดยระยะแรก เป็นการบรรเทาความเดือดร้อนให้เอสเอ็มอีด้วยการลดภาษีเงินได้นิติบุคคลเหลือ 10% สำหรับเอสเอ็มอีที่มีกำไรตั้งแต่ 300,001 บาทขึ้นไป เป็นเวลา 2 รอบบัญชี และยกเว้นภาษีให้เอสเอ็มอีกลุ่มที่เริ่มกิจกรรมใหม่ เป็นเวลา 5 ปี คาดว่ารัฐจะสูญเสียรายได้ราว 5,000 ล้านบาท พร้อมกับการอนุมัติวงเงินสินเชื่อช่วยเหลือเอสเอ็มอีอีก 3 โครงการ วงเงินรวม 260,000 ล้านบาท ส่วนระยะที่ 2 เป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้เอสเอ็มอีทั้งระบบ โดยจากนี้กระทรวงอุตสาหกรรมจะกลับไปจัดทำมาตรการมาเสนออีกครั้ง
ด้าน นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว.คลัง กล่าวว่า มาตรการช่วยเหลือเอสเอ็มอีนี้แบ่งออกเป็น 2 มาตรการ คือ มาตรการทางการเงิน มี 3 มาตรการย่อย ประกอบด้วย โครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนให้กับเอสเอ็มอี วงเงิน 100,000 ล้านบาท โดยธนาคารออมสินจะเป็นผู้ปล่อยกู้ให้กับธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงิน ดอกเบี้ย 0.1% และให้ธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินปล่อยกู้ให้เอสเอ็มอี ดอกเบี้ยไม่เกินปีละ 4% ระยะเวลา 7 ปี โดยให้เสนอคำขอรับสินเชื่อได้ถึง 31 ธ.ค.58 ส่วนวงเงินชดเชยดอกเบี้ย รัฐจะชดเชยให้วงเงินรวม 20,020 ล้านบาท ซึ่งในช่วง 4 ปีแรก รัฐจะชดเชยให้ปีละ 2,860 ล้านบาท
นอกจากนี้ ยังมีการปรับปรุงหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการค้ำประกันสินเชื่อโครงการพีจีเอส ของบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) จากวงเงินเดิม 80,000 ล้านบาท เป็น 100,000 ล้านบาท พร้อมปรับปรุงเงื่อนไขการรับประกันความเสี่ยงของธนาคารพาณิชย์จากเดิมต้องรับภาระจ่ายชดเชยสัดส่วน 30% ของวงเงินกู้ เปลี่ยนเป็น 15% แรก บสย.จะรับประกันความเสี่ยงให้เพิ่มเติม ส่วนที่เหลืออีก 15% บสย.จะแบ่งกับธนาคารพาณิชย์ฝ่ายละ 7.5% เพื่อช่วยจูงใจให้ธนาคารพาณิชย์ปล่อยสินเชื่อให้เอสเอ็มอีมากขึ้น โดยรัฐจะชดเชยค่าธรรมเนียมค้ำประกันตลอดอายุโครงการ รวม 10,250 ล้านบาท โดยช่วง4 ปีแรก ชดเชยให้ 4,000 ล้านบาท รวม 14,250 ล้านบาท โดยสิ้นสุดระยะเวลาขอค้ำถึง 30 มิ.ย.59 นอกจากนั้น ให้ธนาคารออมสิน ธนาคารกรุงไทย และธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (เอสเอ็มอีแบงค์) ตั้งกองทุนร่วมลงทุน วงเงินรวม 6,000 ล้านบาท เพื่อช่วยเอสเอ็มอีที่มีฐานเงินทุนไม่เพียงพอ ให้สามารถกู้เงินกับสถาบันการเงินได้
ขณะที่ พล.ต.วีรชน สุคนธปฏิภาค รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ถึงการกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดการรับมอบรถยนต์ตามโครงการรถยนต์คันแรก ตามที่กระทรวงการคลังนำเสนอว่า ที่ประชุมได้อนุมัติตามที่กระทรวงการคลังเสนอ โดยกำหนดให้ผู้ขอใช้สิทธิตามโครงการฯ จะต้องรับมอบรถยนต์ภายในวันที่ 30 ก.ย. 2558 และจะต้องเป็นรถยนต์ตามโมเดลในใบจองเท่านั้น พร้อมให้ยื่นเอกสารเพิ่มเติมภายใน 90 วัน นับถัดจากวันรับมอบรถยนต์ตามที่กำหนดไว้ในมติ ครม. เมื่อวันที่ 30 ก.ค. 2555 โดยหากรับมอบรถยนต์ภายหลังวันที่ 30 ก.ย. ให้ถือว่าไม่ได้รับสิทธิตามโครงการฯนี้ และจะไม่สามารถเรียกร้องสิทธิและค่าเสียหายใดๆกับทางราชการได้ ทั้งนี้มติครม.เมื่อวันที่ 13 ก.ย. 2554 ได้อนุมัติหลักการและแนวทางการคืนเงินแก่ผู้ซื้อรถยนต์ตามโครงการฯ ตั้งแต่วันที่ 16 ก.ย. 2554 – 31 ธ.ค. 2555 แต่ช่วงปลายปี 2554ได้เกิดเหตุอุทกภัยเป็นเหตุให้ไม่สามารถส่งมอบรถยนต์ได้ทันตามวันที่สิ้นสุดโครงการฯ และจากผลการดำเนินงานมีผู้อยู่ในสถานะขอใช้สิทธิ จำนวน 1,234,773 ราย เป็นเงิน 91,125ล้านบาท ปัจจุบันยังยังมีผู้ไม่ได้ยื่นเอกสารเพิ่มเติม จำนวน 111,481 ราย ซึ่งทางกรมสรรพสามิตได้ส่งแบบสอบถามไปยังกลุ่มดังกล่าว และมีผู้ตอบแบบสอบถามกลับมา จำนวน 10,289ราย โดยไม่ประสงค์จะขอใช้สิทธิมีจำนวนถึง 7,620 ราย
วันนี้ (8 ก.ย.) ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า วันนี้แข็งแรงขึ้นแล้ว ขาเจ็บน้อยลง สำหรับผลการประชุม ครม. ประเด็นหลักคือเรื่องเศรษฐกิจ เรื่องมาตรการต่างๆ ในเมื่อเรากำหนดมาตรการเอาไว้แล้วทั้งตามมติ ครม. การเดินหน้าการขับเคลื่อน ในสัปดาห์หน้าจะคิกออฟเรื่องเหล่านี้ที่เมืองทองธานี จะมีการเชิญกองทุนหมู่บ้าน และจะมีการเตรียมการประชุมล่วงหน้าไว้ก่อน ว่าจะดำเนินการอย่างไร เพื่อให้ประชาชนรู้ว่านี่คือสิ่งที่เราจะทำจริงๆ ในเรื่องงบการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในระดับฐานราก และสร้างความเข้มแข็งของเขาให้ได้ ไม่ใช่การทำประชานิยม เงินที่เราลงทุนไปจะเกิดประโยชน์และรายได้มากที่สุด รวมทั้งต้องดูเรื่องกฎหมายด้วย การทำอะไรก็ตามต้องใช้กฎหมาย อะไรที่ติดขัดอาจจะใช้มาตรา 44 บ้างเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
นายกฯ กล่าวต่อว่า ที่ประชุมวันนี้คุยเรื่องเงินลงทุน เงินทุนของเอสเอ็มอี ค่าประกันการเพิ่มทุน เพื่อจูงใจให้เอสเอ็มอีทั้งหมดเข้าระบบ ที่ขณะนี้เอสเอ็มอีทั่วประเทศประมาณ 2.7 ล้านราย จำนวนนี้มีมากกว่า 2 ล้านรายที่ไม่ขึ้นทะเบียนในระบบ แต่เขาได้เสียภาษี ตอนนี้ก็ได้เพิ่มเม็ดเงินเข้าไปในธนาคารรัฐ เพื่อเร่งและสร้างแรงจูงใจ ส่งเสริมและสร้างความเข้มแข็งให้เขาได้พัฒนาประสิทธิภาพการผลิตได้ บางอย่างผลิตออกมาแล้วขายไม่ได้ ต้องมีการปรับปรุงกันอย่างไร และเรื่องมาตรการทางภาษี เป็นสิ่งที่รัฐบาลนี้จะใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด ซึ่งเป็นหลักการทั่วไปอยู่แล้วในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจให้ผู้ที่ยังไม่เข้มแข็ง ผู้ที่ต้องมีการพัฒนาและปรับปรุง เพราะมีหลายอย่างที่ต้องสอดคล้องกับสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ที่มีการแยกเป็น 3 ประเภท 1.เข้มแข็งและขยายกิจการ 2.ไปต่างประเทศ 3.ฟื้นฟูกิจการที่กำลังจะเริ่มใหม่ จะต้องมีการซับพอร์ตทั้งหมด ถ้าคนเล่านี้ไม่เข้ามาอยู่ในระบบการสนับสนุนต่างๆก็ทำได้ยาก อย่าเพิ่งกังวลเรื่องภาษี อย่าไปกลัว มีหลักเกณฑ์ในการจ่ายอยู่แล้ว ซึ่งวันนี้ ครม. มีการอนุมัติขั้นต้นไปแล้ว
ทั้งนี้ เราจะใช้เวลาที่มีอยู่ในขณะนี้ในเรื่องการขับเคลื่อนประเทศ 1.สิ่งที่มันต้องถอยหลัง ที่มันต้องหยุดมาเป็นระยะเวลานานพอสมควร เรามีศักยภาพพร้อมทุกอย่าง เราต้องขับเคลื่อนและเดินหน้าประเทศให้ได้ในทุกมิติ 2.ต้องเพิ่มความเข้มแข็งและพื้นฐานด้านเศรษฐกิจ และเพิ่มขีดอำนาจความเข้มแข็งเรื่องการส่งออก เรื่องรายได้ที่จะเข้าประเทศ รวมถึงเรื่องการลงทุน เพราะในเศรษฐกิจใหม่ไม่ได้พึ่งการส่งออกแต่เพียงอย่างเดียว เขาเคยทำกันหรือไม่ตนอยากจะรู้ เอสเอ็มอีเขาเคยทำกันหรือไม่ วันนี้เอสเอ็มอีเขาก็มาทำร่วมกับธนาคารรัฐ และก็ร่วมกับการบริหารของรัฐบาล มีคนเข้ามาเยอะแยะ มีการยกระดับหลายแห่ง ที่ทำทั้งหมดท่านเกี่ยวแต่เรื่องการเมือง เกี่ยวกับเรื่องมาตรา 44 เรื่องที่มันจบไปแล้วก็ไม่จบ ตนทำให้มันจบไง เรื่องที่มันเป็นความขัดแย้งให้จบไปก่อน
นายกฯ กล่าวว่า เรื่องการเร่งรัดการลงทุนพื้นฐานวันนี้ชัดเจนขึ้น ทั้งรถไฟ รถไฟฟ้า ต้องเร่งให้ได้ โดยที่เราไม่ต้องเสียประโยชน์ ไม่ใช่เหมือนที่ผ่านมา อะไรก็ไม่รู้งุบงิบๆกันอยู่ มันก็เดินไม่ได้หมดนั้นแหละ มันต้องชัดเจน อะไรที่ตัดสินใจไปแล้วมันผ่านการกลั่นกรอง วิเคราะห์ มากมาย บางสื่อก็ไปเขียนอะไรไม่รู้ ไม่รู้ข้อมูลแล้วนำไปเขียน เขียนไปก็ไม่ได้ประโยชน์นี่คือปัญหาของเรา คนที่ให้ข้อมูลท่าน ท่านต้องรู้ว่าเป็นพวกไหน ถ้าเป็นเรื่องธุรกิจ การลงทุน การทำสัญญา ดูสิว่าคนที่มันมาบอกท่านเป็นคนอย่างไร บริษัทนี้เป็นบริษัทที่ใช้ได้ไหม ส่วนใหญ่มีการร้องเรียนจากพวกนั้นทั้งนั้นแหละ ที่มีการประมูลแข่งขันก้นแล้วไม่ได้ ก็มาตีข้างนอก มันก็ทำไม่ได้ ทุกวันนี้ท่านก็ทำอะไรไม่ได้ รถเมล์ก็วิ่งไม่ได้ อะไรก็ไม่ได้ แล้วท่านจะเอาอะไรจากตนล่ะ ท่านก็ต้องกลั่นกรองหน่อย จะเสนอข่าวอะไรก็แล้วแต่
นอกจากนี้ การลงทุนพื้นฐานวันนี้มีการลงทุนขนาดเล็ก ขนาดใหญ่ วางอนาคตประเทศ และมีการขับเคลื่อนมากขึ้น มีการใช้คณะกรรมการยุทธศาสตร์ของรัฐบาล จะทำให้เข้าใจว่าเขาทำงานกันอย่างไร ก็ทำสามอย่างนั่นแหละ ความขัดแย้งก็ร่วมกับคสช. บริหารประเทศก็ร่วมกับรัฐบาล ปรองดองก็ร่วมกับกระบวนการยุติธรรม เอาคดีความเยียวยากันอย่างไร ดูเรื่องง่ายไปก่อน ยากค่อยไปว่ากันทีหลัง เพราะต้องมีการออกกฎหมาย เรื่องการปฏิรูปก็นำแผนเข้ามา อะไรที่ทำได้ก็ทำ อะไรที่จะต้องมีการบูรณาการระหว่างกระทรวง มาตรา 44 ต้องบูรณาการให้ได้ กฎหมายกระทรวงมันทำอะไรไม่ได้ทั้งหมด นั่นคือแนวทางที่จะต้องมีการปรับโครงสร้างต่อไปในอนาคต ถ้าไม่ทำแบบนี้มันทำไม่ได้ จะต้องมีการนำร่องให้เห็นก่อน ไม่ใช่อยู่ดีๆจะไปปรับ
ด้านนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ที่ประชุมเห็นชอบมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ในระยะเร่งด่วน แบ่งเป็น 2 ระยะ โดยระยะแรก เป็นการบรรเทาความเดือดร้อนให้เอสเอ็มอีด้วยการลดภาษีเงินได้นิติบุคคลเหลือ 10% สำหรับเอสเอ็มอีที่มีกำไรตั้งแต่ 300,001 บาทขึ้นไป เป็นเวลา 2 รอบบัญชี และยกเว้นภาษีให้เอสเอ็มอีกลุ่มที่เริ่มกิจกรรมใหม่ เป็นเวลา 5 ปี คาดว่ารัฐจะสูญเสียรายได้ราว 5,000 ล้านบาท พร้อมกับการอนุมัติวงเงินสินเชื่อช่วยเหลือเอสเอ็มอีอีก 3 โครงการ วงเงินรวม 260,000 ล้านบาท ส่วนระยะที่ 2 เป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้เอสเอ็มอีทั้งระบบ โดยจากนี้กระทรวงอุตสาหกรรมจะกลับไปจัดทำมาตรการมาเสนออีกครั้ง
ด้าน นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว.คลัง กล่าวว่า มาตรการช่วยเหลือเอสเอ็มอีนี้แบ่งออกเป็น 2 มาตรการ คือ มาตรการทางการเงิน มี 3 มาตรการย่อย ประกอบด้วย โครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนให้กับเอสเอ็มอี วงเงิน 100,000 ล้านบาท โดยธนาคารออมสินจะเป็นผู้ปล่อยกู้ให้กับธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงิน ดอกเบี้ย 0.1% และให้ธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินปล่อยกู้ให้เอสเอ็มอี ดอกเบี้ยไม่เกินปีละ 4% ระยะเวลา 7 ปี โดยให้เสนอคำขอรับสินเชื่อได้ถึง 31 ธ.ค.58 ส่วนวงเงินชดเชยดอกเบี้ย รัฐจะชดเชยให้วงเงินรวม 20,020 ล้านบาท ซึ่งในช่วง 4 ปีแรก รัฐจะชดเชยให้ปีละ 2,860 ล้านบาท
นอกจากนี้ ยังมีการปรับปรุงหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการค้ำประกันสินเชื่อโครงการพีจีเอส ของบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) จากวงเงินเดิม 80,000 ล้านบาท เป็น 100,000 ล้านบาท พร้อมปรับปรุงเงื่อนไขการรับประกันความเสี่ยงของธนาคารพาณิชย์จากเดิมต้องรับภาระจ่ายชดเชยสัดส่วน 30% ของวงเงินกู้ เปลี่ยนเป็น 15% แรก บสย.จะรับประกันความเสี่ยงให้เพิ่มเติม ส่วนที่เหลืออีก 15% บสย.จะแบ่งกับธนาคารพาณิชย์ฝ่ายละ 7.5% เพื่อช่วยจูงใจให้ธนาคารพาณิชย์ปล่อยสินเชื่อให้เอสเอ็มอีมากขึ้น โดยรัฐจะชดเชยค่าธรรมเนียมค้ำประกันตลอดอายุโครงการ รวม 10,250 ล้านบาท โดยช่วง4 ปีแรก ชดเชยให้ 4,000 ล้านบาท รวม 14,250 ล้านบาท โดยสิ้นสุดระยะเวลาขอค้ำถึง 30 มิ.ย.59 นอกจากนั้น ให้ธนาคารออมสิน ธนาคารกรุงไทย และธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (เอสเอ็มอีแบงค์) ตั้งกองทุนร่วมลงทุน วงเงินรวม 6,000 ล้านบาท เพื่อช่วยเอสเอ็มอีที่มีฐานเงินทุนไม่เพียงพอ ให้สามารถกู้เงินกับสถาบันการเงินได้
ขณะที่ พล.ต.วีรชน สุคนธปฏิภาค รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ถึงการกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดการรับมอบรถยนต์ตามโครงการรถยนต์คันแรก ตามที่กระทรวงการคลังนำเสนอว่า ที่ประชุมได้อนุมัติตามที่กระทรวงการคลังเสนอ โดยกำหนดให้ผู้ขอใช้สิทธิตามโครงการฯ จะต้องรับมอบรถยนต์ภายในวันที่ 30 ก.ย. 2558 และจะต้องเป็นรถยนต์ตามโมเดลในใบจองเท่านั้น พร้อมให้ยื่นเอกสารเพิ่มเติมภายใน 90 วัน นับถัดจากวันรับมอบรถยนต์ตามที่กำหนดไว้ในมติ ครม. เมื่อวันที่ 30 ก.ค. 2555 โดยหากรับมอบรถยนต์ภายหลังวันที่ 30 ก.ย. ให้ถือว่าไม่ได้รับสิทธิตามโครงการฯนี้ และจะไม่สามารถเรียกร้องสิทธิและค่าเสียหายใดๆกับทางราชการได้ ทั้งนี้มติครม.เมื่อวันที่ 13 ก.ย. 2554 ได้อนุมัติหลักการและแนวทางการคืนเงินแก่ผู้ซื้อรถยนต์ตามโครงการฯ ตั้งแต่วันที่ 16 ก.ย. 2554 – 31 ธ.ค. 2555 แต่ช่วงปลายปี 2554ได้เกิดเหตุอุทกภัยเป็นเหตุให้ไม่สามารถส่งมอบรถยนต์ได้ทันตามวันที่สิ้นสุดโครงการฯ และจากผลการดำเนินงานมีผู้อยู่ในสถานะขอใช้สิทธิ จำนวน 1,234,773 ราย เป็นเงิน 91,125ล้านบาท ปัจจุบันยังยังมีผู้ไม่ได้ยื่นเอกสารเพิ่มเติม จำนวน 111,481 ราย ซึ่งทางกรมสรรพสามิตได้ส่งแบบสอบถามไปยังกลุ่มดังกล่าว และมีผู้ตอบแบบสอบถามกลับมา จำนวน 10,289ราย โดยไม่ประสงค์จะขอใช้สิทธิมีจำนวนถึง 7,620 ราย